บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
๖. ภูริทัตตชาดก๑- (๕๔๓) ว่าด้วยพระเจ้าภูริทัต (เหล่านาคมาณพเมื่อจะประกาศข้อความนี้ จึงกราบทูลพระราชาว่า) [๗๘๔] รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่ในนิเวศน์ของท้าวธตรัฏฐะ รัตนะทั้งหมดจงมาสู่พระราชนิเวศน์ของพระองค์ ขอพระองค์จงพระราชทานพระราชธิดาแก่พระราชา (พระเจ้าพรหมทัตครั้นได้สดับดังนั้น จึงตรัสว่า) [๗๘๕] ไม่ว่ากาลไหนๆ พวกเราไม่เคยทำการวิวาห์กับพวกนาคเลย พวกเราจะทำการวิวาห์อันไม่สมควรนั้นได้อย่างไร (เหล่านาคมาณพได้ฟังพระดำรัสนั้น จึงขู่พระราชาว่า) [๗๘๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งมนุษย์ พระองค์จำต้องเสียสละพระชนมชีพ หรือแคว้นเป็นแน่ เพราะเมื่อนาคโกรธแล้ว คนเช่นพระองค์จะมีชีวิตอยู่ไม่ได้นาน [๗๘๗] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์เป็นมนุษย์ไม่มีฤทธิ์ แต่มาดูหมิ่นพญานาคธตรัฏฐะผู้มีฤทธิ์ ซึ่งเป็นลูกในอกของท้าววรุณนาคราชที่เกิดอยู่ใต้แม่น้ำยมุนา (พระเจ้าพรหมทัตตรัสว่า) [๗๘๘] เราไม่ได้ดูหมิ่นท้าวธตรัฏฐะผู้ทรงยศ เพราะท้าวธตรัฏฐะเป็นใหญ่แม้แห่งนาคเป็นอันมาก @เชิงอรรถ : @๑ พระศาสดาเมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยกรุงสาวัตถี ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน ทรงปรารภอุบาสก อุบาสิกา @ผู้รักษาอุโบสถศีล ตรัสภูริทัตตชาดกนี้ ซึ่งมีคำเริ่มต้นว่า รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่ ดังนี้ เป็นต้น @(ขุ.ชา.อ. ๑๐/๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๐๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
[๗๘๙] ถึงจะเป็นพญานาคผู้มีอานุภาพมาก ก็ไม่สมควรกับธิดาของเรา ส่วนเราเป็นกษัตริย์ของชาวแคว้นวิเทหะ และนางสมุททชาธิดาของเราก็เป็นอภิชาตบุตร (ท้าวธตรัฏฐะเมื่อทรงสั่งให้ประชุมบริษัท จึงตรัสว่า) [๗๙๐] พวกนาคกัมพลอัสสดร๑- จงเตรียมตัว จงไปประกาศให้นาคทั้งปวงรู้กัน จงพากันไปกรุงพาราณสี แต่อย่าได้เบียดเบียนใครๆ (ท้าวธตรัฏฐะตรัสบอกนาคมาณพเหล่านั้นว่า) [๗๙๑] นาคทั้งหลายจงแผ่พังพานห้อยอยู่ที่นิเวศน์ บึง ถนน ทาง ๔ แพร่ง ยอดไม้ และเสาระเนียด [๗๙๒] แม้เราก็จะนิรมิตตัวให้ใหญ่ ขาวล้วน วงล้อมเมืองใหญ่ด้วยขนดหาง ทำความกลัวให้เกิดแก่ชาวกาสี (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๗๙๓] นาคทั้งหลายได้ฟังคำของท้าวธตรัฏฐะแล้ว ต่างก็แปลงเพศเป็นหลายอย่าง พากันเข้าไปยังกรุงพาราณสี แต่มิได้เบียดเบียนใครเลย [๗๙๔] นาคเหล่านั้นต่างพากันแผ่พังพานห้อยอยู่ที่นิเวศน์ บึง ถนน ทาง ๔ แพร่ง ยอดไม้ และเสาระเนียด [๗๙๕] พวกหญิงสาวจำนวนมากได้เห็นนาคเหล่านั้น แผ่พังพานห้อยอยู่ตามที่ต่างๆ หายใจฟู่ๆ อยู่ ต่างก็พากันร้องคร่ำครวญ @เชิงอรรถ : @๑ นาคกัมพลอัสสดร หมายถึงพวกนาคที่อาศัยอยู่ที่เชิงเขาสิเนรุและเป็นญาติฝ่ายพระมารดาของท้าวธตรัฏฐะ @(ขุ.ชา.อ. ๑๐/๗๙๐/๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๐๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
[๗๙๖] ชาวกรุงพาราณสีต่างก็สะดุ้ง ตกใจ กลัว เดือดร้อน พากันไปประชุมกอดอกร้องทุกข์ว่า ขอพระองค์จงทรงพระราชทานพระราชธิดาแก่พระราชาเถิด (พราหมณ์เนสาทะไปยังสำนักพระโพธิสัตว์ถามว่า) [๗๙๗] ท่านชื่ออะไร มีนัยน์ตาแดง มีอกผึ่งผาย นั่งอยู่ในท่ามกลางป่าอันเต็มไปด้วยดอกไม้ นารี ๑๐ คนทรงเครื่องประดับสร้อยสังวาลทองคำ นุ่งผ้าสวยงาม ยืนไหว้อยู่เป็นใคร [๗๙๘] ท่านเป็นใคร มีแขนใหญ่ รุ่งเรืองอยู่ในท่ามกลางป่า เหมือนไฟอันลุกโชนด้วยเปรียง ท่านคงจะเป็นผู้มีศักดิ์ใหญ่คนใดคนหนึ่ง เป็นยักษ์หรือเป็นนาคผู้มีอานุภาพมาก (พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น ตรัสบอกว่าตนเป็นพญานาคว่า) [๗๙๙] เราเป็นนาคผู้มีฤทธิ์เดช ยากที่ใครๆ จะล่วงล้ำได้ ถ้าแม้ว่าเราโกรธแล้ว จะพึงขบกัดชนบทที่เจริญ ให้แหลกลาญไปได้ด้วยเดช [๘๐๐] เรามีมารดาชื่อสมุททชาและบิดาชื่อธตรัฏฐะ เราเป็นน้องคนเล็กของสุทัศนะ คนทั้งหลายรู้จักเราว่า ภูริทัต (พระโพธิสัตว์ตรัสบอกที่อยู่ของตนว่า) [๘๐๑] ท่านจงมองดูห้วงน้ำลึกน่ากลัวไหลวนอยู่ทุกเมื่อ นั่นเป็นที่อยู่อันดีเลิศของเรา ลึกหลายร้อยชั่วคน [๘๐๒] ท่านอย่ากลัวเลย จงเข้าไปยังแม่น้ำยมุนาที่มีน้ำสีเขียว ไหลมาจากกลางป่า จอแจไปด้วยเสียงนกยูงและนกกระเรียน เป็นที่อยู่อันเกษมสำราญของพวกผู้มีอาจารวัตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๐๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
(พระโพธิสัตว์พาพราหมณ์กับบุตรทั้ง ๒ ไปยังฝั่งแม่น้ำยมุนา ยืนอยู่ที่ริมฝั่ง แล้วกล่าวว่า) [๘๐๓] พราหมณ์ ท่านพร้อมด้วยบุตร และภรรยาไปถึงนาคพิภพแล้ว เราจะบูชาท่านด้วยกามทั้งหลาย ท่านจักได้ความสุขในนาคพิภพนั้น (พราหมณ์เนสาทะพรรณนาสมบัติของพระโพธิสัตว์ว่า) [๘๐๔] แผ่นดินมีพื้นราบเรียบรอบด้าน มีกฤษณาเป็นอันมาก ดารดาษไปด้วยหมู่แมลงค่อมทอง มีหญ้าสีเขียวชะอุ่มอุดมสวยงาม [๘๐๕] แนวป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่นิรมิตขึ้นด้วยดีน่ารื่นรมย์ใจ มีดอกปทุมบานสะพรั่งร่วงหล่นลงดารดาษ [๘๐๖] มีเสา ๘ เหลี่ยมที่ทำไว้ดีแล้ว ทุกต้นล้วนสำเร็จด้วยแก้วไพฑูรย์ ปราสาทมีเสา ๑,๐๐๐ ต้น ส่องแสงแวววาว เต็มไปด้วยนางนาคกัญญา [๘๐๗] พระองค์เป็นผู้เข้าถึงทิพยวิมานอันกว้างขวาง เกษมสำราญรื่นรมย์ ประกอบไปด้วยความสุขอย่างเลอเลิศด้วยบุญของตน [๘๐๘] พระองค์เห็นจะไม่ทรงหวังวิมานของท้าวสหัสสนัยน์ เพราะฤทธิ์อันยิ่งให้ไพบูลย์ของพระองค์นี้ ก็เหมือนของท้าวสักกะผู้รุ่งเรือง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๐๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
(พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า) [๘๐๙] อานุภาพของท้าวสักกะผู้รุ่งเรือง ใครๆ ไม่พึงบรรลุได้แม้ด้วยใจ ยศของเราทั้งหลายย่อมไม่ถึงเสี้ยว ของท้าววสวัตดีผู้รับใช้พระอินทร์ (พระโพธิสัตว์ตรัสบอกความปรารถนาของตนว่า) [๘๑๐] เราปรารถนาวิมานของเหล่าเทวดาผู้ดำรงอยู่ในความสุขนั้น จึงเข้าไปจำอุโบสถศีล นอนอยู่บนจอมปลวก (พราหมณ์เมื่อจะลากลับ จึงกล่าวว่า) [๘๑๑] ข้าพระองค์พร้อมด้วยบุตรเข้าไปป่าแสวงหาเนื้อ พวกญาติๆ ก็ยังไม่ทราบว่า ข้าพระองค์นั้นตายแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่ [๘๑๒] ข้าพระองค์ขอทูลลาพระภูริทัตผู้ทรงยศ ผู้เป็นพระโอรสของพระธิดาแคว้นกาสี พระองค์ทรงอนุญาตแล้วก็จะได้ไปเยี่ยมญาติๆ (ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๘๑๓] แท้จริง นั่นเป็นความพอใจของเราหนอ ที่ให้ท่านอยู่ในสำนักของเรา เพราะว่ากามทั้งหลายเช่นนี้จะหาได้ไม่ง่ายในหมู่มนุษย์ [๘๑๔] ถ้าท่านไม่ปรารถนาจะอยู่ เราจะบูชาท่านด้วยกามารมณ์ เราอนุญาตให้ท่านไปเยี่ยมญาติๆ ได้โดยความสวัสดี (พระโพธิสัตว์ทรงให้แก้วมณีแก่พราหมณ์แล้วตรัสว่า) [๘๑๕] เมื่อท่านทรงทิพยมณีนี้อยู่ ย่อมจะได้ทั้งปศุสัตว์และลูกๆ ขอท่านจงถือเอาทิพยมณีนี้ไปเถิด จงปราศจากโรคภัย ประสบสุขเถิด พราหมณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๐๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
(พราหมณ์จึงกล่าวว่า) [๘๑๖] ข้าแต่พระภูริทัต พระดำรัสของพระองค์เป็นกุศล ข้าพระองค์ยินดียิ่งนัก ข้าพระองค์แก่แล้วจักบวช ไม่ปรารถนากามทั้งหลาย (พระโพธิสัตว์ตรัสว่า) [๘๑๗] หากพรหมจรรย์มีการแตกทำลาย กิจที่ต้องทำด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายจะเกิดขึ้น ท่านอย่าได้มีความหวั่นใจ ควรมาหาเรา เราจะให้ทรัพย์แก่ท่านมากๆ (พราหมณ์เนสาทะกล่าวว่า) [๘๑๘] ข้าแต่พระภูริทัต พระดำรัสของพระองค์เป็นกุศล ข้าพระองค์ยินดียิ่งนัก ข้าพระองค์จักกลับมาอีก ถ้ามีความต้องการ (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๘๑๙] พระภูริทัตได้ฟังคำนี้แล้วจึงใช้ให้ชน ๔ คนไปส่งว่า ท่านทั้งหลายจงลุกขึ้นมาไปเถิด จงเตรียมตัวพาพราหมณ์ไปส่งโดยเร็ว [๘๒๐] ชนทั้ง ๔ ที่พระภูริทัตใช้ให้ไปส่ง ฟังพระดำรัสของพระภูริทัตแล้ว ลุกขึ้นพาพราหมณ์ไปส่งจนถึงโดยเร็ว (พราหมณ์เนสาทะกล่าวกับพราหมณ์อลัมปายนะว่า) [๘๒๑] แก้วมณีที่สมมติกันว่าเป็นมงคล เป็นของดี เป็นเครื่องปลื้มใจ น่ารื่นรมย์ใจ เกิดแต่หิน สมบูรณ์ด้วยลักษณะที่ท่านถืออยู่นี้ ใครให้มา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๑๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
(ลำดับนั้น พราหมณ์อลัมปายนะกล่าวว่า) [๘๒๒] แก้วมณีนี้พวกนางนาคมาณวิกาประมาณ ๑,๐๐๐ ล้วนแต่มีนัยน์ตาแดง วงล้อมไว้โดยรอบ เราเดินทางไปได้แก้วมณีนี้มาในวันนี้ (พราหมณ์เนสาทะประสงค์จะลวงพราหมณ์อลัมปายนะ ประกาศโทษ ของแก้วมณี ประสงค์จะรับเป็นของตน จึงได้กล่าวว่า) [๘๒๓] แก้วมณีอันเกิดแต่หินนี้ที่หามาได้ด้วยดี ที่บุคคลบูชานับถือ วางไว้ เก็บไว้เป็นอย่างดีทุกเมื่อ พึงทำประโยชน์ทุกอย่างให้สำเร็จได้ [๘๒๔] เมื่อบุคคลปราศจากการระมัดระวังในการเก็บรักษา หรือในการวางไว้ เก็บไว้ แก้วมณีที่เกิดแต่หินนี้ที่บุคคลหามาได้แล้วไม่ใส่ใจ ย่อมนำมาซึ่งความพินาศ [๘๒๕] คนผู้ไม่มีกุศลไม่ควรประดับแก้วมณีทิพย์นี้ เราจักให้ทองคำ ๑๐๐ แท่งแก่ท่าน ท่านจงให้แก้วมณีนี้แก่เราเถิด (ลำดับนั้น พราหมณ์อลัมปายนะกล่าวว่า) [๘๒๖] แก้วมณีของเรานี้ไม่ควรแลกเปลี่ยนด้วยโคหรือรัตนะ เพราะแก้วมณีอันเกิดแต่หินนี้สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ฉะนั้น เราไม่ควรแลกเปลี่ยนเลย (พราหมณ์เนสาทะกล่าวว่า) [๘๒๗] ถ้าท่านไม่แลกเปลี่ยนแก้วมณีด้วยโคหรือรัตนะ เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจะแลกเปลี่ยนแก้วมณีด้วยอะไร เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกข้อนั้นแก่เรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๑๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
(พราหมณ์อลัมปายนะกล่าวว่า) [๘๒๘] ผู้ใดบอกนาคใหญ่ผู้มีเดชยากที่บุคคลจะล่วงเกินได้แก่เรา เราจะให้แก้วมณีอันเกิดแต่หินนี้ อันเป็นเหมือนรุ่งเรืองด้วยเดชแก่ผู้นั้นไป (พราหมณ์เนสาทะกล่าวว่า) [๘๒๙] ครุฑตัวประเสริฐหรืออะไรหนอ แปลงเพศเป็นพราหมณ์มาแสวงหานาค ประสงค์จะนำไปเป็นภักษาของตน (พราหมณ์อลัมปายนะกล่าวว่า) [๘๓๐] ท่านพราหมณ์ เรามิได้เป็นพญาครุฑ เราไม่เคยเห็นครุฑ เราเป็นผู้สนใจด้วยงูพิษ ชนทั้งหลายรู้จักเราว่า เป็นหมองู (พราหมณ์เนสาทะกล่าวว่า) [๘๓๑] ท่านมีกำลังอะไร มีศิลปะอะไร ท่านเป็นผู้ได้รับการสนับสนุนในเรื่องอะไร จึงไม่ยำเกรงนาค (พราหมณ์อลัมปายนะนั้นเมื่อจะแสดงพลังของตน จึงกล่าวว่า) [๘๓๒] ครุฑมาบอกวิชาหมองูอย่างยอดเยี่ยม แก่ฤๅษีโกสิยโคตรผู้อยู่ป่าประจำ ประพฤติตบะมาเป็นเวลานาน [๘๓๓] เราเข้าไปหาฤๅษีตนหนึ่งบรรดาฤๅษี ผู้บำเพ็ญตนอยู่ในระหว่างภูเขา ได้บำรุงท่านด้วยความเคารพ มิได้เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๑๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
[๘๓๔] ในกาลนั้น ท่านบำเพ็ญวัตรและพรหมจรรย์ เป็นผู้มีโชค เมื่อได้สมาคมกับเรา จึงสอนมนต์ทิพย์ให้แก่เราด้วยความรัก [๘๓๕] เราได้รับการสนับสนุนในมนต์นั้น จึงไม่กลัวนาค เราเป็นอาจารย์ของพวกหมอขจัดพิษ ชนทั้งหลายรู้จักเราว่า อลัมปายนะ (พราหมณ์เนสาทะได้ฟังดังนั้น เมื่อปรึกษากับบุตร จึงกล่าวว่า) [๘๓๖] พ่อโสมทัต พวกเรารับแก้วมณีไว้สิ เจ้าจงเข้าใจ เราทั้ง ๒ อย่าละสิริที่มาถึงตนด้วยอาชญาตามความชอบใจสิ (โสมทัตผู้เป็นบุตรของพราหมณ์เนสาทะกล่าวว่า) [๘๓๗] พ่อพราหมณ์ ภูริทัตนาคราชบูชาคุณพ่อผู้ไปถึงที่อยู่ของตน เพราะเหตุไร คุณพ่อจึงปรารถนาที่จะประทุษร้าย ต่อมิตรผู้ทำความดีเพราะความหลงอย่างนี้เล่า [๘๓๘] ถ้าคุณพ่อต้องการทรัพย์ พระภูริทัตก็คงจะให้ คุณพ่อจงไปขอเถิด พระภูริทัตคงจะให้ทรัพย์เป็นอันมากแก่คุณพ่อ (พราหมณ์เนสาทะกล่าวว่า) [๘๓๙] โสมทัต การกินของที่ถึงมือถึงภาชนะ หรือตั้งอยู่เบื้องหน้าเป็นความประเสริฐ ประโยชน์ที่เห็นประจักษ์อย่าได้ล่วงเลยเราไปเลย (โสมทัตกล่าวว่า) [๘๔๐] คนผู้ประทุษร้ายมิตรสละความเกื้อกูล จะต้องหมกไหม้อยู่ในนรกอันร้ายแรง แผ่นดินย่อมสูบผู้นั้น หรือถึงมีชีวิตอยู่ก็ซูบซีด [๘๔๑] ถ้าพ่อต้องการทรัพย์ ลูกเข้าใจว่า พ่อจักต้องประสบเวรที่ตนได้ทำไว้ในไม่ช้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๑๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
(พราหมณ์เนสาทะกล่าวว่า) [๘๔๒] พราหมณ์ทั้งหลายบูชามหายัญอย่างนี้แล้วย่อมบริสุทธิ์ได้ เราจักบูชามหายัญ ก็จักพ้นจากบาปได้อย่างนี้ (โสมทัตกล่าวว่า) [๘๔๓] เชิญเถิด บัดนี้ ลูกจะขอแยกทางไป วันนี้ ลูกจะไม่ขออยู่ร่วมกับพ่อ จะไม่ขอเดินทาง ร่วมกับพ่อผู้ทำกรรมหยาบช้าอย่างนี้สักก้าวเดียว (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๘๔๔] โสมทัตผู้เป็นพหูสูตครั้นกล่าวคำนี้กับบิดา ประกาศกับเทวดาทั้งหลายแล้ว ได้หลีกไปจากที่นั้น (พราหมณ์เนสาทะพาพราหมณ์อลัมปายนะไป เห็นพญานาคภูริทัตนอนขนด อยู่บนจอมปลวกจึงชี้มือบอกว่า) [๘๔๕] ท่านจงจับนาคใหญ่นั้น จงส่งแก้วมณีนี้มาให้แก่เรา นาคใหญ่นี้มีผิวพรรณดังสีแมลงค่อมทอง ศีรษะแดง [๘๔๖] กายนั้นปรากฏดั่งกองปุยฝ้ายนอนอยู่บนจอมปลวกนั่น ท่านจงจับเอาเถิด พราหมณ์ (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๘๔๗] ลำดับนั้น พราหมณ์อลัมปายนะเอาทิพยโอสถลูบทาตัว และร่ายมนต์ป้องกันตัวอย่างนี้ จึงสามารถจับพญานาคนั้นได้ (ลำดับนั้น นาคสุทัศนะพระโอรสองค์โตของพระนางสมุททชา ทูลถามมารดาว่า) [๘๔๘] เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นข้าพระองค์ ผู้ให้สำเร็จสิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวงมาเฝ้าแล้ว อินทรีย์ของพระแม่เจ้าจึงไม่ผ่องใส พระพักตร์ของพระแม่เจ้าก็เกรียมดำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๑๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
[๘๔๙] เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นข้าพระองค์เช่นนี้ พระพักตร์ของพระแม่เจ้าก็เกรียมดำ เหมือนดอกบัวที่ถูกขยี้อยู่ในมือ [๘๕๐] ใครด่าทอท่านหรือ พระแม่เจ้ามีเวทนาอะไรหรือ เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นข้าพระองค์ผู้มาเฝ้า พระพักตร์ของพระแม่เจ้าเกรียมดำเพราะเหตุไร (พระนางสมุททชาตรัสบอกแก่สุทัศนะว่า) [๘๕๑] ลูกรัก แม่ได้ฝันล่วงมาได้หนึ่งเดือนแล้วว่า มีชายมาตัดแขนของแม่ดูเหมือนจะเป็นข้างขวา ถือเอาไปทั้งที่ยังเปื้อนเลือด เมื่อแม่กำลังร้องไห้อยู่ [๘๕๒] ตั้งแต่แม่ได้ฝันเห็นแล้ว พ่อสุทัศนะ เจ้าจงรู้เถิดว่า แม่ไม่ได้ความสุขทั้งกลางวันทั้งกลางคืน (พระนางสมุททชาครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็คร่ำครวญอยู่ว่า) [๘๕๓] เมื่อก่อน พระภูริทัตผู้ที่นางนาคกัญญา ผู้มีร่างกายสวยงาม คลุมด้วยข่ายทองคำพากันบำเรอ ยังไม่ปรากฏตัว [๘๕๔] เมื่อก่อน พระภูริทัตผู้ซึ่งเสนาทั้งหลายถือดาบอันคมกล้า แวดล้อมดังดอกกรรณิการ์บานสะพรั่งยังไม่ปรากฏตัว [๘๕๕] เอาละ บัดนี้ เราจักไปที่อยู่ของพระภูริทัต จะไปเยี่ยมเยือนน้องชายของเจ้า ผู้ดำรงอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๘๕๖] ภรรยาทั้งหลายของนาคภูริทัต ครั้นได้เห็นพระมารดาของนาคภูริทัตกำลังเสด็จมา จึงพากันเข้าประคองแขนคร่ำครวญว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๑๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
[๘๕๗] ข้าแต่พระแม่เจ้า ตลอดหนึ่งเดือนล่วงไปแต่วันนี้ พวกหม่อมฉันยังไม่ทราบว่า พระภูริทัตผู้ทรงยศพระโอรสของพระแม่เจ้าสิ้นชีพแล้ว หรือว่ายังดำรงพระชนม์อยู่ [๘๕๘] เมื่อพวกเราไม่เห็นพระภูริทัตก็จักระทมทุกข์สิ้นกาลนาน เหมือนแม่นกที่ลูกถูกฆ่าตายเห็นแต่รังที่ว่างเปล่า [๘๕๙] เมื่อพวกเราไม่เห็นพระภูริทัตก็จักระทมทุกข์สิ้นกาลนาน เหมือนแม่นกเขาที่ลูกถูกฆ่าตายเห็นแต่รังที่ว่างเปล่า [๘๖๐] เมื่อพวกเราไม่เห็นพระภูริทัต ก็จักหม่นไหม้ไปด้วยทุกข์สิ้นกาลนาน เหมือนนางนกจักรพากบนเปือกตมที่ปราศจากน้ำเป็นแน่ [๘๖๑] เหมือนเบ้าหลอมทองของพวกช่างทอง ย่อมไหม้อยู่ข้างในหาไหม้ข้างนอกไม่ฉันใด พวกเราเมื่อไม่เห็นพระภูริทัตก็ย่อมหม่นไหม้ด้วยความโศกฉันนั้น (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๘๖๒] บุตรและภรรยาในที่อยู่ของพระภูริทัต ต่างพากันล้มนอนระเกะระกะ เหมือนต้นรังที่ถูกลมพัดทำให้ย่อยยับไป [๘๖๓] ครั้นได้ยินเสียงกึกก้องของบุตรและภรรยาเหล่านั้น ในที่อยู่ของพระภูริทัตแล้ว นาคอริฏฐะและสุโภคะต่างก็วิ่งวุ่นไปในระหว่างพูดขึ้นว่า [๘๖๔] ข้าแต่พระแม่เจ้า จงเบาพระทัยเถิด อย่าเศร้าโศกเลย เพราะสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา คือ ย่อมเกิด ย่อมตาย การตายและการเกิดนี้เป็นความแปรผันของสัตว์นั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๑๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
(พระนางสมุททชามารดากล่าวว่า) [๘๖๕] ลูกรัก ถึงแม่จะทราบว่า สัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา แต่ว่าเมื่อไม่เห็นพระภูริทัต แม่ก็ได้รับความเศร้าโศก [๘๖๖] พ่อสุทัศนะ เจ้าจงรู้ไว้เถิด ถ้าคืนวันนี้ เมื่อยังไม่เห็นพระภูริทัต แม่เข้าใจว่าจักต้องตายแน่ (สุทัศนกุมารกล่าวว่า) [๘๖๗] ข้าแต่พระแม่เจ้า จงเบาพระทัยเถิด อย่าเศร้าโศกเลย ลูกทั้งหลายจักนำท่านพี่ภูริทัตมา จักเที่ยวไปตามหาท่านพี่ภูริทัตตามทิศน้อยใหญ่ [๘๖๘] ที่ภูเขา ซอกเขา บ้าน และนิคม พระแม่เจ้าจะได้ทรงเห็นท่านพี่กลับมาภายใน ๗ วัน (พราหมณ์อลัมปายนะกล่าวว่า) [๘๖๙] นาคหลุดจากมือเลื้อยไปฟุบลงที่เท้าโดยกะทันหัน ข้าแต่พ่อ คุณพ่อถูกมันกัดเอากระมังหนอ คุณพ่ออย่ากลัวเลย จงได้รับความสุขเถิด (สุทัศนกุมารผู้ปลอมตัวเป็นดาบสตามหานาคภูริทัตพี่ชายกล่าวว่า) [๘๗๐] นาคตัวนี้ไม่สามารถจะทำความทุกข์อะไรให้เราได้เลย หมองูเท่าที่มีอยู่ก็ไม่มีคนไหนจะดียิ่งกว่าเรา (พราหมณ์อลัมปายนะกล่าวว่า) [๘๗๑] ใครกันหนอ เงอะงะ แปลงเพศเป็นพราหมณ์ มายังสำนักบริษัท อวดอ้างยุทธการที่ดี ขอบริษัทจงฟังข้าพเจ้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๑๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
(สุทัศนกุมารกล่าวว่า) [๘๗๒] หมองู ท่านจงต่อสู้กับเราด้วยนาค เราจักต่อสู้กับท่านด้วยลูกเขียด ในการรบของเรานั้น เราทั้ง ๒ จงพนันกันด้วยทรัพย์เพียง ๕,๐๐๐ (พราหมณ์อลัมปายนะกล่าวว่า) [๘๗๓] มาณพ เราเท่านั้นเป็นผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์ ท่านเป็นคนจน ใครหนอจะเป็นคนค้ำประกันท่าน และอะไรเป็นเดิมพันของท่านเล่า [๘๗๔] ส่วนข้าพเจ้ามีทั้งเดิมพัน และมีทั้งคนค้ำประกันเช่นนั้น ในการขันสู้ของเราทั้ง ๒ นั้น เราทั้ง ๒ จงพนันกันด้วยทรัพย์เพียง ๕,๐๐๐ (สุทัศนกุมารเข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า) [๘๗๕] มหาบพิตร ขอพระองค์โปรดสดับคำของอาตมภาพ ขอมหาบพิตรจงทรงพระเจริญ ขอมหาบพิตรผู้ทรงเกียรติ จงทรงค้ำประกันทรัพย์ ๕,๐๐๐ ให้อาตมภาพเถิด (พระราชาตรัสว่า) [๘๗๖] หนี้เป็นของตกค้างมาแต่บิดา หรือท่านก่อมันขึ้นมาเอง ท่านพราหมณ์ เพราะเหตุไร ท่านจึงขอทรัพย์ข้าพเจ้ามากมายอย่างนี้ (สุทัศนกุมารกราบทูลว่า) [๘๗๗] พราหมณ์อลัมปายนะปรารถนาจะต่อสู้กับอาตมภาพด้วยนาค อาตมภาพจะให้ลูกเขียดกัดพราหมณ์อลัมปายนะ [๘๗๘] มหาบพิตรผู้ทรงผดุงรัฐให้เจริญ ขอเชิญพระองค์ผู้ทรงคับคั่งไปด้วยหมู่กษัตริย์ เสด็จออกไปทอดพระเนตรนาคในวันนี้เถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๑๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
(พราหมณ์อลัมปายนะกล่าวว่า) [๘๗๙] มาณพ เรามิได้ดูหมิ่นท่านด้วยวาทศิลป์เลย แต่ท่านมัวเมาศิลปะเกินไป จึงไม่ยำเกรงนาค (สุทัศนกุมารกล่าวว่า) [๘๘๐] ท่านพราหมณ์ แม้อาตมาก็มิได้ดูหมิ่นท่านด้วยวาทศิลป์ แต่ท่านกล้าลวงประชาชนด้วยนาคที่ปราศจากพิษ [๘๘๑] ประชาชนจะพึงรู้เรื่องนี้เหมือนอาตมภาพรู้จักท่าน ท่านจักไม่ได้แกลบสักกำมือหนึ่งเลย ท่านจะได้ทรัพย์แต่ที่ไหนเล่า อลัมปายนะ (พราหมณ์อลัมปายนะกล่าวว่า) [๘๘๒] ท่านคนสกปรก ม้วนชฎา รุ่มร่าม นุ่งห่มหนังสัตว์ขรุขระ เหมือนคนเงอะงะเข้ามายังบริษัท ซึ่งดูหมิ่นนาคผู้มีพิษถึงอย่างนี้ว่าไม่มีพิษ [๘๘๓] ท่านเข้ามาใกล้แล้วนั่นแหละ จึงจะรู้นาคนั้นได้ว่า เต็มไปด้วยเดชร้ายแรง๑- ข้าพเจ้าแน่ใจว่า นาคตัวนี้จักทำท่านให้เป็นเหมือนกองเถ้าไปทันที (สุทัศนกุมารกล่าวว่า) [๘๘๔] งูเรือน งูปลา งูเขียวต่างหากมีพิษ แต่นาคหัวแดงไม่มีพิษเลย (พราหมณ์อลัมปายนะกล่าวว่า) [๘๘๕] ข้าพเจ้าได้ยินมาจากเหล่าพระอรหันต์ ผู้สำรวม ผู้บำเพ็ญตบะอย่างนี้ว่า ทายกทั้งหลายให้ทานในโลกนี้แล้วย่อมไปสวรรค์ ท่านจงให้ทานเสียแต่ยังมีชีวิตเถิด ถ้าท่านมีความประสงค์จะให้ @เชิงอรรถ : @๑ เต็มไปด้วยเดชร้ายแรง หมายถึงเต็มไปด้วยพิษร้ายแรง (ขุ.ชา.อ. ๑๐/๘๘๘/๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๑๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
[๘๘๖] นาคนี้มีฤทธิ์มาก มีเดชยากที่ใครจะล่วงเกินได้ ข้าพเจ้าจะให้มันฉกท่าน มันจักทำท่านให้เป็นเถ้าไปได้ (สุทัศนกุมารกล่าวว่า) [๘๘๗] สหาย แม้เราก็ได้ยินมาจากเหล่าพระอรหันต์ ผู้สำรวม ผู้บำเพ็ญตบะอย่างนี้ว่า ทายกทั้งหลายให้ทานในโลกนี้แล้วย่อมไปสวรรค์ ท่านนั่นแหละเมื่อยังมีชีวิตอยู่จงให้ทาน ถ้าท่านมีความประสงค์จะให้ [๘๘๘] ลูกเขียดชื่อว่าอัจจิมุขีนี้เต็มไปด้วยเดชร้ายแรง เราจะให้ลูกเขียดนั้นกัดท่าน มันจักทำท่านให้เป็นเถ้าไปได้ [๘๘๙] นางเป็นธิดาของท้าวธตรัฏฐะเป็นน้องสาวต่างมารดาของเรา นางอัจจิมุขีเต็มไปด้วยเดชร้ายแรงจงกัดท่าน [๘๙๐] พรหมทัตมหาบพิตร ขอพระองค์ได้โปรดทราบไว้เถิด หากอาตมภาพหยดพิษลงบนแผ่นดิน ต้นหญ้าลดาวัลย์และรุกขชาติที่เป็นยาทั้งหลาย ก็จะพึงเฉาแห้งไปโดยไม่ต้องสงสัย [๘๙๑] พรหมทัตมหาบพิตร ขอพระองค์ได้โปรดทราบไว้เถิด หากอาตมภาพจักขว้างพิษขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะไม่ตก หิมะก็จะไม่ตกตลอด ๗ ปี [๘๙๒] พรหมทัตมหาบพิตร ขอพระองค์ได้โปรดทราบไว้เถิด หากอาตมภาพจักหยดพิษลงไปในแม่น้ำ ฝูงสัตว์คือปลาและเต่าที่เกิดในน้ำ ต่างก็จะพึงล้มตายไปทั้งหมด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๒๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
(พราหมณ์เนสาทะกล่าวว่า) [๘๙๓] เมื่อเรากำลังอาบน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ของโลก๑- ซึ่งขังอยู่ที่ท่าน้ำปยาคะ มีภูตอะไรมาฉุดเราลงสู่แม่น้ำยมุนาอันลึก (สุโภคกุมารน้องชายนาคภูริทัตกล่าวว่า) [๘๙๔] พญานาคตัวประเสริฐใดที่เป็นใหญ่ในโลก เรืองยศ ปกคลุมกรุงพาราณสีไว้โดยรอบ เราเป็นลูกของพญานาคตัวประเสริฐนั้น พราหมณ์ นาคทั้งหลายเรียกเราว่า สุโภคะ (พราหมณ์เนสาทะกล่าวว่า) [๘๙๕] ถ้าท่านเป็นโอรสของพญานาคผู้ประเสริฐ เป็นเจ้าแห่งชาวกาสี เป็นใหญ่แห่งเทวดา พระบิดาของท่านมีศักดามากผู้หนึ่ง และพระมารดาของท่านก็ไม่มีใครเทียมเท่าได้ในหมู่มนุษย์ ผู้มีอานุภาพมากเช่นท่าน ไม่สมควรฉุดแม้เพียงแต่ทาสของพราหมณ์ให้จมน้ำเลย (สุโภคกุมารกล่าวว่า) [๘๙๖] เจ้าแอบแฝงต้นไม้ ยิงเนื้อละมั่งที่มาเพื่อจะดื่มน้ำ เจ้าเนื้อมายาตัวนั้นถูกยิงแล้ว ยังวิ่งไปได้ไกลด้วยกำลังศร [๘๙๗] เจ้าได้เห็นมันล้มลงในป่าใหญ่ เจ้านั้นจึงหาบเนื้อของมันเข้าไปหาต้นไทรในเวลาเย็น เป็นต้นไม้มีใบเหลือง ระเกะระกะไปด้วยราก @เชิงอรรถ : @๑ น้ำอันศักดิ์สิทธิ์ของโลก หมายถึงน้ำที่โลกสมมติว่าสามารลอยบาปได้อย่างนี้ (ขุ.ชา.อ. ๑๐/๘๙๓/๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๒๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
[๘๙๘] กึกก้องไปด้วยเสียงร้องของนกแขกเต้าและนกสาลิกา มีฝูงนกดุเหว่าส่งเสียงร้องระงม น่ารื่นรมย์ใจ มีหญ้าแพรกเขียวอยู่เป็นประจำ [๘๙๙] พี่ชายของเรานั้นมีอานุภาพมาก รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์และยศ แวดล้อมไปด้วยนางนาคกัญญาทั้งหลาย ปรากฏตัวต่อท่านผู้อยู่ที่ต้นไทรนั้น [๙๐๐] เขาบำเรอเจ้านั้นให้เอิบอิ่มด้วยสิ่งที่น่าใคร่ทุกอย่าง เจ้ายังประทุษร้ายต่อเขาผู้มิได้ประทุษร้าย เวรของเจ้านั้นมาถึงที่นี้แล้ว [๙๐๑] เจ้าจงรีบยื่นคอออกมา เราจักไม่ให้ชีวิตแก่เจ้า เมื่อระลึกถึงเวรที่เจ้าก่อไว้ต่อพี่ชายของเรา เราจักตัดศีรษะของเจ้า (พราหมณ์เนสาทะกล่าวว่า) [๙๐๒] พราหมณ์ถือการสาธยาย(เวท) เป็นผู้ประกอบในการอ้อนวอน และเป็นผู้บูชาไฟ จึงไม่ควรถูกฆ่าด้วยเหตุ ๓ ประการนี้๑- (สุโภคกุมารกล่าวว่า) [๙๐๓] เมืองของท้าวธตรัฏฐะอยู่ภายใต้แม่น้ำยมุนา จรดภูเขาหิมพานต์ ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากแม่น้ำยมุนา ล้วนไปด้วยทองคำงามรุ่งเรือง [๙๐๔] พี่น้องร่วมอุทรของเราล้วนแต่เป็นคนขึ้นชื่อลือชา พี่น้องของเราเหล่านั้นในเมืองนั้นจักว่าอย่างใด เจ้าก็จักต้องเป็นอย่างนั้น @เชิงอรรถ : @๑ ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้ หมายถึงพราหมณ์ไม่สมควรถูกฆ่าคือใครๆ จะฆ่าพราหมณ์ไม่ได้ด้วยเหตุ ๓ ประการ @มีความเป็นผู้ควรถูกฆ่าเป็นต้นเหล่านี้ เพราะผู้ที่ฆ่าพราหมณ์ย่อมเกิดในนรก (ขุ.ชา.อ. ๑๐/๙๐๒/๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๒๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
(นาคกาณาริฏฐะ กล่าวถ้อยคำที่ผิดว่า) [๙๐๕] พี่สุโภคะ ยัญและพระเวททั้งหลายในโลก ที่พวกพราหมณ์ประกอบขึ้น มิใช่ของเล็กน้อย๑- เพราะฉะนั้น ผู้ติเตียนพราหมณ์ผู้ที่ไม่ควรติเตียน ชื่อว่าย่อมละเลยทรัพย์เครื่องปลื้มใจและธรรมของสัตบุรุษ [๙๐๖] พวกพราหมณ์ถือการสาธยาย(เวท) พวกกษัตริย์ปกครองแผ่นดิน พวกแพศย์ยึดเกษตรกรรมและพวกศูทรยึดการรับใช้ วรรณะทั้ง ๔ นี้เข้าถึงการงานตามที่อ้างมาแต่ละอย่าง กล่าวกันว่า มหาพรหมผู้มีอำนาจสร้างขึ้นไว้ [๙๐๗] แม้พวกเทพเจ้าเหล่านี้ คือ ท้าวธาดา วิธาดา วรุณ กุเวร โสมะ พระยม พระจันทร์ พระวายุ และพระอาทิตย์ ต่างก็บูชายัญโดยวิธีการต่างๆ และให้สิ่งที่น่าใคร่ทุกอย่างแก่พวกพราหมณ์ผู้สาธยาย [๙๐๘] ท้าวอัชชุนะและภีมเสนผู้มีกำลังมาก มีแขนตั้งพัน ไม่มีใครเสมอเหมือนในแผ่นดิน ยกธนูขึ้นได้ถึง ๕๐๐ คัน ก็ได้ทรงบูชาไฟในครั้งนั้น [๙๐๙] พี่สุโภคะ ผู้เลี้ยงดูพวกพราหมณ์มาเป็นเวลานาน ด้วยข้าวและน้ำตามกำลังความสามารถ มีจิตเลื่อมใสอนุโมทนาอยู่ ได้เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง [๙๑๐] พระเจ้ามุจลินท์สามารถบูชาเทวดาคือไฟผู้กินมาก มีรัศมีไม่ต่ำทรามให้อิ่มหนำด้วยเนยใส ทรงบูชายัญวิธีแก่เทวดาคือไฟผู้ประเสริฐแล้ว ได้ไปบังเกิดในทิพยคติ @เชิงอรรถ : @๑ มิใช่ของเล็กน้อย หมายถึงยัญและเวททั้งหลายในโลกนี้มิใช่ของเล็กน้อย คือ ไม่ต่ำต้อย มีอานุภาพมาก @(ขุ.ชา.อ. ๑๐/๙๐๕/๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๒๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
[๙๑๑] พระเจ้าทุทีปะผู้มีอานุภาพมาก มีพระชนมายุยืนถึง ๑,๐๐๐ ปี มีพระรูปงามน่าดูยิ่ง ทรงละแคว้นอันไม่มีที่สุดพร้อมทั้งเสนา เสด็จออกผนวชแล้ว ได้เสด็จไปสู่สวรรค์ [๙๑๒] พี่สุโภคะ พระเจ้าสาคระทรงปราบแผ่นดินอันมีสาครเป็นที่สุด รับสั่งให้ตั้งเสาเจว็ดอันงามยิ่ง ล้วนแล้วด้วยทองคำ ทรงบูชาไฟแล้ว ได้เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง [๙๑๓] พี่สุโภคะ แม่น้ำคงคาที่ไหลไปสู่มหาสมุทรเป็นที่สั่งสมนมส้ม ย่อมเป็นไปด้วยอานุภาพของผู้ใด ผู้นั้นคือพระเจ้าอังคโลมบาท ทรงบูชาไฟแล้ว เสด็จไปเกิดในพระนครของท้าวสหัสสนัยน์ [๙๑๔] เทวดาผู้ประเสริฐมีฤทธ์มาก เรืองยศ เป็นเสนาบดีของท้าววาสวะในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กำจัดมลทินด้วยวิธีโสมยาคะ ได้เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง [๙๑๕] เทพผู้ประเสริฐมีฤทธิ์มียศองค์ใดได้ทรงสร้างโลกนี้ โลกหน้า แม่น้ำภาคีรถี ภูเขาหิมพานต์ และภูเขาวิชฌะ แม้เทพองค์นั้นก็ทรงได้บำเรอไฟในกาลนั้น [๙๑๖] ภูเขามาลาคีรีก็ดี ภูเขาหิมพานต์ก็ดี ภูเขาคิชฌกูฏก็ดี ภูเขาสุทัศนะก็ดี ภูเขานิสภะก็ดี ภูเขากากเวรุก็ดี ภูเขาเหล่านี้และภูเขาใหญ่อื่นๆ ว่ากันว่า พวกพราหมณ์ผู้บูชายัญสร้างขึ้นไว้ [๙๑๗] ชนทั้งหลายเรียกพราหมณ์ถือการสาธยาย(เวท) ผู้เข้าถึงคุณแห่งมนต์ ผู้มีตบะในโลกนี้ว่า ผู้ประกอบการอ้อนวอนมหาสมุทรซัดท่วมพราหมณ์นั้น ผู้กำลังตระเตรียมน้ำอยู่ที่ฝั่งสมุทร เพราะฉะนั้น น้ำในสมุทรจึงดื่มไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๒๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
[๙๑๘] วัตถุที่ควรบูชาทั้งหลาย คือ พวกพราหมณ์ มีอยู่มากในแผ่นดินของท้าววาสวะ พราหมณ์เหล่านั้นมีอยู่ทั้งในทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศใต้ และทิศเหนือย่อมทำความรู้ให้เกิด (พระโพธิสัตว์กล่าวเฉลยว่า) [๙๑๙] พ่ออริฏฐะ แท้จริง การเรียนรู้พระเวท เป็นโทษของเหล่านักปราชญ์ แต่เป็นการกระทำของพวกคนพาล เหมือนอาการของพยับแดด เพราะเป็นของมองเห็นไม่ได้เสมอไป มีคุณทางหลอกลวง พาเอาคนผู้มีปัญญาไปไม่ได้ [๙๒๐] เวททั้งหลายมิได้มีเพื่อป้องกันคนผู้ประทุษร้ายมิตร ผู้ล้างผลาญความเจริญ เหมือนไฟที่บุคคลบำเรอแล้ว ย่อมป้องกันคนโทสจริตให้ทำกรรมชั่วไม่ได้ [๙๒๑] ถ้าคนทั้งหลายจะนำเอาไม้ที่มีอยู่ในโลกทั้งหมด พร้อมทั้งทรัพย์สมบัติของตนผสมกับหญ้าให้ไฟเผา ไฟที่มีเดชอันไม่มีใครเทียมเผาสิ่งทั้งหมด แนะพ่อลิ้นสองแฉก ใครเล่าจะพึงทำให้ไฟนั้นอิ่มได้ [๙๒๒] นมสดแปรไปได้เป็นธรรมดา คือ เป็นนมส้มแล้วก็กลับกลายไปเป็นเนยข้นฉันใด ไฟก็มีความแปรไปเป็นธรรมดาได้ฉันนั้น ไฟที่ประกอบด้วยความเพียรในการสีไฟจึงเกิดไฟได้ [๙๒๓] ไม่ปรากฏว่าไฟเข้าไปอยู่ในไม้แห้งและไม้สด เมื่อคนไม่สีไฟ ไฟก็ไม่เกิด ไฟย่อมไม่เกิดเพราะไม่มีคนทำให้เกิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๒๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
[๙๒๔] ก็ถ้าไฟจะพึงเข้าไปอยู่ภายในไม้แห้งและไม้สด ป่าทั้งหมดในโลกก็จะพึงแห้งไป และไม้แห้งก็จะพึงลุกโพลงขึ้นเองได้ [๙๒๕] ถ้าคนเลี้ยงดูไฟที่มีเปลวควันกำลังส่องแสงอยู่ ให้เผา(กิน)ไม้และหญ้า ชื่อว่าได้ทำบุญ คนเผาถ่าน คนต้มเกลือ พ่อครัว และคนเผาศพ ก็ชื่อว่าพึงได้ทำบุญด้วย [๙๒๖] ถ้าหากพราหมณ์เหล่านี้ทำบุญได้เพราะเลี้ยงไฟ ด้วยการเรียนมนต์ เพราะเลี้ยงไฟให้อิ่มหนำ คนบางคนในโลกนี้ผู้เอาเชื้อไฟให้ไฟเผาไหม้ จะไม่ชื่อว่าได้ทำบุญอย่างไรเล่า [๙๒๗] แนะพ่อลิ้นสองแฉก เพราะเหตุไร เพราะไฟเป็นสิ่งที่โลกยำเกรง พึงกินได้ทั้งของที่มีกลิ่นไม่น่าพอใจ คนเป็นอันมากไม่ชอบ และของที่พวกมนุษย์หลีกเลี่ยงไม่ประเสริฐนั้น [๙๒๘] ความจริง คนบางพวกนับถือไฟเป็นเทวดา ส่วนพวกมิลักขะนับถือน้ำเป็นเทวดา คนทั้งหมดนี้กล่าวเท็จ ไฟและน้ำไม่ใช่เทพเจ้าตนใดตนหนึ่ง [๙๒๙] ชาวโลกบำเรอไฟที่ไม่มีอินทรีย์ ไม่มีกายที่จะรับรู้สึกได้ ส่องแสงสว่าง เป็นเครื่องทำการงานของประชาชน เมื่อยังทำบาปกรรมอยู่ จะพึงถึงสุคติได้อย่างไร [๙๓๐] พวกพราหมณ์ผู้ต้องการเลี้ยงชีวิตของตนในโลกนี้กล่าวว่า พระพรหมครอบงำได้ทั้งหมด และว่าพระพรหมบำเรอไฟ เมื่อพระพรหมมีอานุภาพและมีอำนาจทุกสิ่ง ทำไมจึงไม่สร้างตนเอง แต่กลับมาไหว้ไฟที่ตนสร้างขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๒๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
[๙๓๑] คำของพวกพราหมณ์น่าหัวเราะเยาะ๑- ไม่ควรสวด ไม่เป็นความจริง พราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวคำเท็จไว้ก่อน เพราะเหตุแห่งสักการะ พราหมณ์เหล่านั้น เมื่อลาภสักการะยังไม่ปรากฏขึ้น ก็ร้อยกรองยัญที่ชื่อว่า สันติธรรม โยงเข้ากับการฆ่าสัตว์๒- (บูชายัญ) [๙๓๒] พวกพราหมณ์ถือการสาธยาย (มนต์) พวกกษัตริย์ปกครองแผ่นดิน พวกแพศย์ยึดเกษตรกรรม และพวกศูทรยึดการรับใช้ วรรณทั้ง ๔ นี้เข้าถึงการงานตามที่อ้างมาแต่ละอย่าง กล่าวกันว่า มหาพรหมผู้มีอำนาจได้สร้างขึ้นไว้ [๙๓๓] ถ้าคำนี้จะพึงเป็นคำจริงเหมือนที่พวกพราหมณ์ได้กล่าวไว้ ผู้ที่มิใช่กษัตริย์ก็ไม่พึงได้ราชสมบัติ ผู้ที่มิใช่พราหมณ์ก็ไม่พึงศึกษามนต์ คนนอกจากแพศย์ก็ไม่พึงทำเกษตรกรรม และพวกศูทรก็ไม่พึงพ้นจากการรับใช้ผู้อื่น [๙๓๔] แต่เพราะคำนี้ไม่จริง เป็นคำเท็จ ฉะนั้น พวกคนเหล่านี้จึงกล่าวเท็จทั้งนั้นเพราะเห็นแก่ท้อง๓- พวกคนมีปัญญาน้อยย่อมเชื่อถือคำนั้น พวกบัณฑิตย่อมพิจารณาเห็นคำนั้นด้วยตนเอง @เชิงอรรถ : @๑ น่าหัวเราะเยาะ หมายความว่า ขึ้นชื่อว่า คำของพวกพราหมณ์ สมควรต้องหัวเราะเยาะ เพราะอด @ทนต่อความเพ่งพินิจ(ตรวจสอบ)ของบัณฑิตไม่ได้ (ขุ.ชา.อ. ๑๐/๙๓๑/๗๘) @๒ โยงเข้ากับการฆ่าสัตว์ หมายถึงพวกพราหมณ์โยงลาภสักการะซึ่งไม่ปรากฏประมาณเท่านี้เข้ากับหมู่สัตว์ @แล้วเชื่อมสันติธรรม กล่าวคือ ลัทธิธรรมของตนอันประกอบด้วยการฆ่าสัตว์แล้วร้อยกรองคัมภีร์ชื่อ @ยัญญสูตรขึ้นไว้ (ขุ.ชา.อ. ๑๐/๙๓๑/๗๘) @๓ เพราะเห็นแก่ท้อง หมายถึงผู้อาศัยท้องเลี้ยงชีวิตหรือเพราะเหตุต้องการจะบรรจุให้เต็มท้อง @(ขุ.ชา.อ. ๑๐/๙๓๔/๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๒๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
[๙๓๕] เพราะพวกกษัตริย์ย่อมเก็บภาษีอากรจากพวกแพศย์ พวกพราหมณ์ก็ถือศัสตราเที่ยวฆ่าสัตว์ เพราะเหตุไร พระพรหมจึงไม่บันดาล โลกที่ปั่นป่วนแตกต่างกันเช่นนั้นให้เที่ยงตรงเสียเล่า [๙๓๖] เพราะถ้าพระพรหมเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง เป็นเจ้าชีวิตของหมู่สัตว์ เพราะเหตุไร จึงทำโลกทั้งปวงให้มีทุกข์ เพราะเหตุไร จึงไม่บันดาลโลกทั้งปวงให้มีแต่ความสุข [๙๓๗] เพราะถ้าพระพรหมนั้นเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง เป็นเจ้าชีวิตของหมู่สัตว์ เพราะเหตุไร จึงชักจูงให้โลกทำแต่ความพินาศโดยไม่เป็นธรรม เช่น มีมายา พูดเท็จ และมัวเมาเล่า [๙๓๘] อริฏฐะ เพราะถ้าพระพรหมนั้นเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง เป็นเจ้าชีวิตของหมู่สัตว์ แต่เป็นเจ้าชีวิตที่ไม่ชอบธรรม เมื่อธรรมมีอยู่ ก็ไม่จัดตั้งธรรม กลับจัดตั้งอธรรม [๙๓๙] ตั๊กแตน ผีเสื้อ งู แมลงภู่ หนอน และแมลงวัน ใครฆ่าแล้วย่อมบริสุทธิ์ ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมของอนารยชน ซึ่งเป็นธรรมที่ผิดของชาวกัมโพชะจำนวนมาก [๙๔๐] ก็ถ้าคนฆ่าผู้อื่นจะบริสุทธิ์ได้ แม้คนผู้ถูกฆ่าก็เข้าถึงแดนสวรรค์ได้ พวกพราหมณ์ก็ควรฆ่าพวกพราหมณ์ และพวกคนที่เชื่อพราหมณ์เหล่านั้นด้วย [๙๔๑] พวกเนื้อ ปศุสัตว์ และโคแต่ละพวก ไม่ได้อ้อนวอนเพื่อให้ฆ่าตนเองเลย ล้วนแต่ดิ้นรนต้องการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ คนทั้งหลายย่อมนำสัตว์และปศุสัตว์เข้าผูกไว้ที่เสายัญ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๒๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
[๙๔๒] พวกคนพาลยื่นหน้าพูดนำไปที่เสาบูชายัญซึ่งเป็นที่ผูกสัตว์ ด้วยการพรรณนาอย่างวิจิตรว่า เสายัญนี้จักให้ สิ่งที่น่าใคร่แก่เจ้าในโลกอื่นในสัมปรายภพแน่นอน [๙๔๓] ถ้าบุคคลจะพึงได้แก้วมณี สังข์ แก้วมุกดา ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงิน ทอง ที่เสายัญทั้งที่ไม้แห้งและไม้สด ถ้าเสายัญจะพึงให้สิ่งที่น่าใคร่ทุกอย่างในไตรทิพย์ได้ หมู่พราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในไตรเพทเท่านั้นจึงควรบูชายัญ ผู้ไม่ใช่พราหมณ์ก็ไม่ควรให้พราหมณ์บูชายัญให้เลย [๙๔๔] แก้วมณี สังข์ แก้วมุกดา ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงิน ทอง จักมีที่เสายัญ ที่ไม้แห้ง และไม้สดที่ไหน เสายัญจะพึงให้สิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวงในไตรทิพย์ที่ไหนเล่า [๙๔๕] พราหมณ์เหล่านี้เป็นผู้โอ้อวด หยาบช้า โง่เขลา โลภจัด ยื่นปากพูดนำไป ด้วยการพรรณนาอย่างหยดย้อยต่างๆ ว่า จงรับเอาไฟไป จงให้ทรัพย์แก่เรา แต่นั้น ท่านจักมีความสุขในสิ่งที่น่าปรารถนาทั้งปวง [๙๔๖] พวกพราหมณ์พาคนเข้าไปโรงบูชาไฟแล้ว ต่างก็ยื่นหน้าพูดนำไปด้วยการพรรณนาอย่างวิจิตรต่างๆ ให้เขาโกนผม โกนหนวด และตัดเล็บ ยังทรัพย์ของเขาให้สิ้นไปด้วยเวททั้งหลาย [๙๔๗] พวกพราหมณ์ผู้หลอกลวง แอบหลอกลวงได้คนหนึ่ง ก็มาประชุมกินกันเป็นอันมาก เหมือนฝูงกาตอมนกเค้า หลอกเอาจนเกลี้ยงแล้วเก็บไว้ที่บริเวณบูชายัญ [๙๔๘] พวกพราหมณ์ลวงผู้นั้นได้คนหนึ่งอย่างนี้แล้ว ก็พากันมาเป็นอันมาก ใช้ความพยายามแล้วพยายามอีก ล่อหลอกพรรณนาสิ่งที่มองไม่เห็น ปล้นเอาทรัพย์ที่มองเห็นไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๒๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
[๙๔๙] เหมือนพวกราชบุรุษที่พระราชาสอนสั่งให้เก็บส่วย ถือเอาทรัพย์ของพระราชาไป อริฏฐะ พราหมณ์เหล่านั้นเป็นเหมือนโจร มิใช่สัตบุรุษ เป็นผู้ควรจะฆ่าเสีย แต่ไม่มีใครฆ่าในโลก [๙๕๐] พวกพราหมณ์กล่าวว่า ไม้ทองหลางเป็นแขนขวาของพระอินทร์ จึงตัดเอาไม้ทองหลางมาใช้ในยัญนี้ หากคำนั้นเป็นจริง พระอินทร์ก็แขนขาด เพราะเหตุไร พระอินทร์ชนะพวกอสูรด้วยกำลังแขนนั้นได้ [๙๕๑] หากคำนั้นแหละเป็นเท็จ พระอินทร์ก็ยังมีอวัยวะสมบูรณ์ เป็นเทวดาชั้นดีเยี่ยม ไม่มีใครฆ่า แต่กำจัดพวกอสูรได้ มนต์ของพราหมณ์เหล่านี้เปล่าประโยชน์ นี้เป็นการลวงกันที่เห็นอยู่ในโลกนี้ [๙๕๒] ภูเขามาลาคีรีก็ดี ภูเขาหิมพานต์ก็ดี ภูเขาคิชฌกูฏก็ดี ภูเขาสุทัศนะก็ดี ภูเขานิสภะก็ดี ภูเขากากเวรุก็ดี ภูเขาเหล่านี้ และภูเขาใหญ่อื่นๆ กล่าวกันว่า พวกพราหมณ์ผู้บูชายัญได้สร้างไว้ [๙๕๓] ชนทั้งหลายกล่าวกันว่า พวกพราหมณ์ผู้บูชายัญเอาอิฐเช่นใดมาสร้างภูเขา อิฐเช่นนั้นมิใช่ภูเขา ภูเขาเป็นอย่างหนึ่ง ไม่หวั่นไหว เห็นได้ชัดว่าเป็นหิน [๙๕๔] ภูเขามิใช่อิฐแต่เป็นหินมานานแล้ว เหล็กและโลหะย่อมไม่เกิดในอิฐนั้น แต่เขาจะพรรณนาถึงยัญนี้ จึงกล่าวว่า พวกพราหมณ์ผู้บูชายัญได้สร้างไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๓๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
[๙๕๕] ชนทั้งหลายเรียกพราหมณ์ถือการสาธยาย(เวท) ผู้เข้าถึงคุณแห่งมนต์ ผู้มีตบะในโลกนี้ว่า ผู้ประกอบในการอ้อนวอน มหาสมุทรซัดท่วมพราหมณ์นั้น ผู้กำลังตระเตรียมน้ำอยู่ที่ฝั่งสมุทร เพราะฉะนั้น น้ำในสมุทรจึงดื่มไม่ได้ [๙๕๖] แม่น้ำพัดพาเอาพราหมณ์ผู้จบพระเวท ทรงมนต์เกินกว่าพันคนไป น้ำมีรสไม่เสียมิใช่หรือ เพราะเหตุไร มหาสมุทรที่กว้างใหญ่จึงดื่มไม่ได้ [๙๕๗] บ่อน้ำเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกมนุษย์นี้ ที่พวกขุดบ่อขุดไว้ เกิดเป็นน้ำเค็มได้ แต่มิใช่เค็มเพราะท่วมพราหมณ์ตาย น้ำในบ่อเหล่านั้นดื่มไม่ได้ นะพ่อลิ้นสองแฉก [๙๕๘] เมื่อก่อนครั้งต้นกัป ใครเป็นภรรยาของใคร ใจให้มนุษย์เกิดก่อน๑- แม้โดยธรรมดานั้น ไม่มีใครเลวกว่าใครมาแต่กำเนิด ท่านกล่าวจำแนกส่วนของสัตว์ไว้แม้อย่างนี้ [๙๕๙] แม้บุตรของคนจัณฑาลก็เรียนพระเวท สวดมนต์ได้ เป็นคนฉลาด มีความคิด ศีรษะของเขาจะไม่พึงแตก ๗ เสี่ยง มนต์เหล่านี้พวกพราหมณ์แต่งขึ้นไว้ฆ่าตน @เชิงอรรถ : @๑ ใครเป็นภรรยาของใคร หมายความว่า ใครจะชื่อว่าเป็นภรรยาของใคร เพราะในเวลานั้นยังไม่มีเพศชาย @เพศหญิง ภายหลังเกิดชื่อว่ามารดาบิดา เพราะอำนาจเมถุนธรรม ใจให้มนุษย์เกิดก่อน หมายความว่า @แท้จริง เวลานั้นใจเท่านั้นทำให้เกิดเป็นมนุษย์ คือ สัตว์ทั้งหลายบังเกิดขึ้นด้วยใจเท่านั้น @(ขุ.ชา.อ. ๑๐/๙๕๘/๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๓๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
[๙๖๐] มนต์เหล่านี้พวกพราหมณ์แต่งขึ้นด้วยวาจา แต่งขึ้น (และ) ยึดถือไว้ด้วยความโลภ เข้าถึงท่วงทำนองของพวกพราหมณ์นักแต่งกาพย์ ยากที่จะปลดเปลื้องได้ จิตของพวกคนโง่ตั้งอยู่ด้วยอาการที่ไม่สม่ำเสมอ คนไม่มีปัญญาจึงหลงเชื่อคำนั้น [๙๖๑] พราหมณ์หามีกำลังเยี่ยงลูกผู้ชาย ดุจกำลังของราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลืองไม่ ความเป็นมนุษย์ของพราหมณ์เหล่านั้นพึงเห็นเหมือนของโค๑- แต่ชาติพราหมณ์เหล่านั้นมีลักษณะไม่เสมอ [๙๖๒] ก็ถ้าพระราชาปกครองแผ่นดิน พร้อมทั้งอำมาตย์คู่ชีพ และราชบริษัทผู้รับพระราชโองการ ทรงชำนะหมู่ศัตรูลำพังพระองค์เอง ประชาราษฎร์ของพระองค์นั้นก็จะพึงมีสุขอยู่เป็นนิตย์ [๙๖๓] มนต์ของกษัตริย์และไตรเพทเหล่านี้มีความหมายเท่ากัน ถ้าไม่วินิจฉัยความแห่งมนต์และไตรเพทนั้น ก็ไม่รู้ได้ เหมือนทางที่ถูกน้ำท่วม [๙๖๔] มนต์ของกษัตริย์และไตรเพทเหล่านี้มีความหมายเท่ากัน มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ ทั้งหมดทีเดียวเป็นธรรมดาของวรรณะ ๔ นั้น [๙๖๕] พวกคหบดีใช้คนเป็นจำนวนมากให้ทำงานบนแผ่นดิน เพราะเหตุแห่งทรัพย์และข้าวเปลือกฉันใด แม้หมู่พราหมณ์ผู้ทรงไตรเพทก็ฉันนั้น ย่อมใช้คนเป็นจำนวนมากให้ทำงานบนแผ่นดินในวันนี้ @เชิงอรรถ : @๑ พึงเห็นเหมือนของโค อธิบายว่า ชาติพราหมณ์เหล่านั้นนั่นแหละเหมือนกับของโค เพราะมีปัญญาทราม @แต่มีลักษณะไม่เสมอ เพราะมีรูปร่างสัณฐานต่างกับโค (ขุ.ชา.อ. ๑๐/๙๖๑/๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๓๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
[๙๖๖] พราหมณ์เหล่านี้ก็เหมือนกับพวกคหบดี ต่างมีความขวนขวายประกอบในกามคุณเป็นนิตย์ ย่อมใช้คนเป็นจำนวนมากให้ทำการงานบนแผ่นดิน แนะพ่อลิ้นสองแฉก เพราะฉะนั้น พราหมณ์เหล่านั้นจึงไร้ปัญญา (พระเจ้าสาครพรหมทัตทูลถามพระบิดาผู้เป็นดาบสว่า) [๙๖๗] กระบวนกลอง ตะโพน สังข์ บัณเฑาะว์ และมโหระทึกนำหน้าใครมา ยังพระราชาผู้จอมทัพให้ทรงร่าเริง [๙๖๘] ใครมีหน้าสีสุกใสด้วยกรอบอุณหิสทอง ที่ติดอยู่ชายหน้าผากอันหนา มีประกายดังสายฟ้า ใครยังหนุ่มแน่นสวมสอดแล่งธนู รุ่งเรืองด้วยสิริเดินมา [๙๖๙] ใครมีพักตร์เปล่งปลั่งดังทอง เหมือนถ่านเพลิงไม้ตะเคียนที่ลุกโชนอยู่ที่ปากเบ้า รุ่งเรืองไปด้วยสิริมาอยู่ [๙๗๐] ใครมีฉัตรทองชมพูนุทพร้อมทั้งซี่ที่น่าพึงใจ สำหรับใช้กันแสงดวงอาทิตย์ ใครรุ่งเรืองไปด้วยสิริมาอยู่ [๙๗๑] ใครมีปัญญาประเสริฐ มีพัดวาลวีชนีอย่างดีเยี่ยม ที่บุคคลประคองไว้บนเศียรทั้ง ๒ ข้าง [๙๗๒] ใครถือกำหางนกยูงอันวิจิตรอ่อนสลวย มีด้ามล้วนแล้วด้วยทองและแก้วมณี เที่ยวไปมาผ่านหน้าทั้ง ๒ ข้าง [๙๗๓] ใครมีตุ้มหูอันกลมเกลี้ยงเหล่านี้ ซึ่งมีประกายดังสีถ่านเพลิงไม้ตะเคียน ซึ่งลุกโชนอยู่ที่ปากเบ้างดงามข้างหน้าทั้ง ๒ ข้าง [๙๗๔] ใครมีปลายผมอ่อนสลวยดำสนิทเห็นปานนี้ ถูกลมพัดสบัดพลิ้วอยู่เหมือนสายฟ้าพุ่งขึ้นจากท้องฟ้า ทำให้ชายหน้าผากงดงามอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๓๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒๒. มหานิบาต]
๖. ภูริทัตตชาดก (๕๔๓)
[๙๗๕] ใครมีนัยน์ตาทั้ง ๒ ข้างกว้างและใหญ่ มีเนตรกว้างงดงาม มีพักตร์ผ่องใสดุจคันฉ่องทอง [๙๗๖] ใครมีฟันเหล่านี้เกิดที่ปาก งามหมดจดดุจสังข์อันขาวผ่อง เมื่อพูด ย่อมงามดังดอกมณฑาลกตูม [๙๗๗] ใครมีมือและเท้าทั้ง ๒ ข้าง มีสีเหมือนน้ำครั่ง รักษาได้ง่าย มีริมฝีปากแดงดังผลตำลึงสุก เปล่งปลั่งดังดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน [๙๗๘] เขาเป็นใครห่มผ้าปาวารขนสัตว์ขาวสะอาด ดังต้นสาละใหญ่มีดอกบานสะพรั่งข้างหิมวันตบรรพต ในฤดูหิมะตก งามดังดวงจันทร์ได้ชัยชนะ [๙๗๙] เขาเป็นใครนั่งอยู่ในท่ามกลางบริษัท สะพายดาบอันวิจิตรด้วยด้ามแก้วมณี ล้อมสะพรั่งไปด้วยลายทอง [๙๘๐] เขาเป็นใครสวมรองเท้าที่ขลิบด้วยทองงดงาม เย็บวิจิตรสำเร็จเรียบร้อยดี ข้าพเจ้านมัสการแด่พระมเหสี (พระดาบสกล่าวว่า) [๙๘๑] นาคที่มาเหล่านั้นเป็นนาคที่มีฤทธิ์ มียศ เป็นลูกของท้าวธตรัฏฐะ เกิดจากนางสมุททชา นาคเหล่านี้ต่างก็มีฤทธิ์มากภูริทัตตชาดกที่ ๖ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๘ หน้า : ๓๓๔}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๘ หน้าที่ ๓๐๕-๓๓๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=28&siri=18 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=28&A=4328&Z=4760 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=687 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=28&item=687&items=88 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=44&A=1 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=28&item=687&items=88 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=44&A=1 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu28 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja543/en/cowell-rouse
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]