บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]
๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๕ นิทานวัตถุ
๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ เป็นปวัตตินีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ เรื่องภิกษุณีหลายรูป [๑๑๔๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายมีพรรษาครบ ๑๒ แล้วแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติบวชให้กุลธิดา พวกเธอเป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควร หรือไม่ควร แม้สัทธิวิหารินีก็เป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพวก ภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ แล้วแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติจึงบวชให้กุลธิดาเล่า ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ แล้วแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติบวชให้กุลธิดา จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ จึงบวชให้กุลธิดาเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้ เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วได้ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับ ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวุฏฐาปนสมมติ๑- แก่ภิกษุณีผู้มีพรรษา ครบ ๑๒ แล้ว ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้วุฏฐาปนสมมติอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @๑ วุฏฐาปนสมมติ แปลว่า สมมติให้เป็นผู้บวชให้กุลธิดา คือการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นอุปัชฌาย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๓๕}
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]
๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๕ นิทานวัตถุ
วิธีขอวุฏฐาปนสมมติและกรรมวาจาให้วุฏฐาปนสมมติ ภิกษุณีผู้มีพรรษาครบ ๑๒ นั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้าง หนึ่ง กราบเท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษาแล้วนั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า ดิฉันมีชื่อนี้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว ขอวุฏฐาปนสมมติต่อสงฆ์ พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุณีนั้นสงฆ์พึงกำหนดได้ว่า ภิกษุณีนี้เป็นคนฉลาด มีความละอาย ถ้า เธอเขลา ไม่มีความละอาย ก็ไม่ควรให้วุฏฐาปนสมมติ ถ้าเธอเขลาแต่มีความละอาย ก็ไม่ควรให้ ถ้าเป็นคนฉลาดแต่ไม่มีความละอายก็ไม่ควรให้ แต่ถ้าเป็นทั้งคนฉลาด และมีความละอายจึงควรให้ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้วุฏฐาปนสมมติอย่างนี้ ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า [๑๑๔๑] แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีนี้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว ขอวุฏฐาปนสมมติต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงให้วุฏฐาปนสมมติแก่ภิกษุณีชื่อนี้ผู้มี พรรษาครบ ๑๒ แล้ว นี่เป็นญัตติ แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีนี้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้วขอวุฏฐาปนสมมติ ต่อสงฆ์ สงฆ์ให้วุฏฐาปนสมมติแก่ภิกษุณีชื่อนี้ผู้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แม่เจ้ารูป ใดเห็นด้วยกับการให้วุฏฐาปนสมมติแก่ภิกษุณีชื่อนี้ผู้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แม่เจ้า รูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง วุฏฐาปนสมมติสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุณีชื่อนี้ผู้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว สงฆ์เห็น ด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิภิกษุณีเหล่านั้นโดยประการต่างๆ แล้วจึงรับสั่ง ให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๓๖}
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]
๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๕ บทภาชนีย์
พระบัญญัติ [๑๑๔๒] ก็ภิกษุณีใดมีพรรษาครบ ๑๒ แล้วแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ บวช ให้กุลธิดา ต้องอาบัติปาจิตตีย์เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ สิกขาบทวิภังค์ [๑๑๔๓] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว คือ มีพรรษาถึง ๑๒ ที่ชื่อว่า ยังไม่ได้สมมติ คือ สงฆ์ยังมิได้ให้วุฏฐาปนสมมติด้วยญัตติทุติย กรรมวาจา คำว่า บวชให้กุลธิดา คือ อุปสมบทให้กุลธิดา ภิกษุณีตั้งใจว่า จะบวชให้ แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏบทภาชนีย์ ติกปาจิตตีย์ [๑๑๔๔] กรรมที่ทำถูกต้อง๑- ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ @เชิงอรรถ : @๑ กรรมที่ทำถูกต้อง หมายถึงกรรมวาจาให้วุฏฐาปนสมมติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๓๗}
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]
๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๖ อนาปัตติวาร
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ติกทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้ ต้อง อาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง อาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๑๔๕] ๑. ภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว และสงฆ์สมมติแล้ว จึงบวชให้ กุลธิดา ๒. ภิกษุณีวิกลจริต ๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๕ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๓๘}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๓๓๕-๓๓๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=103 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=5691&Z=5759 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=416 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=416&items=4 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=416&items=4 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.416 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc75/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc75/en/horner
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]