บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
เป็นข้อความที่ย่อไว้๑- @เชิงอรรถ : @๑ เสขิยสิกขาบทที่เหลือเป็นสาธารณบัญญัติ คือสิกขาบทที่ทรงบัญญัติทั่วไปทั้งแก่ภิกษุและภิกษุณี พึงทราบ @โดยนัยที่แสดงไว้ในภิกขุวิภังค์ พระไตรปิฎกเล่ม ๒ ท่านละข้อความวรรคเหล่านี้ คือ (๒) อุชชัคฆิกวรรค @(๓) ขัมภกตวรรค (๔) สักกัจจวรรค (๕) กพฬวรรค (๖) สุรุสุรุวรรค พึงทราบว่า ในเสขิยกัณฑ์ทั้งของ @ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ มีจำนวนวรรคและสิกขาบทเท่ากัน (ดู วินัยปิฎกแปล ๒/๕๗๖-๖๕๔/๖๔๙-๗๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๙๖}
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๖. เสขิยกัณฑ์]
๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ
๗. ปาทุกาวรรค หมวดว่าด้วยรองเท้า สิกขาบทที่ ๑ เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ [๑๒๔๑] สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ถ่ายอุจจาระ บ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงในน้ำ พวกชาวบ้านจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงในน้ำเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จึงถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงในน้ำเล่า ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกให้ภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงน้ำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ถ่าย อุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้างลงในน้ำ จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงใน น้ำเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือ ทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลาย ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๙๗}
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๖. เสขิยกัณฑ์]
๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย ลงในน้ำ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ เรื่องภิกษุณีเป็นไข้ สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นไข้ ยำเกรงอยู่ที่จะถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะ บ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงในน้ำ พวกภิกษุได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาค ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณี ผู้เป็นไข้ถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงในน้ำได้ แล้วรับสั่ง ให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระอนุบัญญัติ พึงทำความสำเหนียกว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำเรื่องภิกษุณีเป็นไข้ จบ สิกขาบทวิภังค์ ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ภิกษุณีใดไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย ลงในน้ำ ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๙๘}
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๖. เสขิยกัณฑ์]
บทสรุป
๑. ภิกษุณีไม่จงใจ ๒. ภิกษุณีไม่มีสติ ๓. ภิกษุณีผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุณีผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุณีถ่ายบนบกแล้วไหลลงน้ำ ๖. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุณีวิกลจริต ๘. ภิกษุณีมีจิตฟุ้งซ่าน ๙. ภิกษุณีกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑๐. ภิกษุณีต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๑๕ จบ ปาทุกาวรรคที่ ๗ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๓๙๖-๓๙๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=128 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=7116&Z=7163 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=498 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=498&items=4 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=498&items=4 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.498 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-sk75/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-sk75/en/horner
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]