ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙ นิทานวัตถุ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙
ว่าด้วยภิกษุณีมีความประพฤติเลวทราม
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณีถุลลนันทา
[๗๒๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณี ถุลลนันทาอยู่คลุกคลีกัน๑- มีความประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี๒- มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกัน บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุณีจึงอยู่คลุกคลีกัน มีความประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกันเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบพวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีอยู่คลุกคลีกัน มี ความประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียน ภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกัน จริงหรือ” พวกภิกษุทูลรับว่า “จริง พระ พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก ภิกษุณีจึงอยู่คลุกคลีกัน มีความประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มี ชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกันเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ @เชิงอรรถ : @ “อยู่คลุกคลีกัน” ในที่นี้หมายถึงอยู่คลุกคลีกันกับพวกคฤหัสถ์ทั้งทางกาย เช่น การตำข้าว หุงข้าว บดของ @หอม ร้อยดอกไม้ เป็นต้น และทางวาจา เช่น การช่วยส่งข่าวสาร การชักสื่อ เป็นต้น (วิ.อ. ๒/๗๒๓/๔๘๐) @ “มีชื่อเสียงไม่ดี” คือมีความเป็นอยู่ที่เสื่อมเสีย มีอาชีพไม่เหมาะสม (วิ.อ. ๒/๗๒๓/๔๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๖๓}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙ สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
[๗๒๒] ก็ภิกษุณีทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีความประพฤติเลวทราม มี กิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิด โทษของกันและกัน ภิกษุณีเหล่านั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือน อย่างนี้ว่า “น้องหญิงทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีความประพฤติเลวทราม มี กิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิด โทษของกันและกัน น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อม สรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น” ภิกษุณีเหล่านั้นอัน ภิกษุณีทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่อย่างนี้ ก็ยังยืนยันอยู่อย่างนั้น ภิกษุณี เหล่านั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์จนครบ ๓ ครั้งเพื่อให้สละเรื่องนั้น ถ้าพวกเธอกำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ ครั้งสละเรื่องนั้นได้ นั่นเป็น การดี ถ้าไม่สละ แม้ภิกษุณีเหล่านี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสสที่ชื่อว่ายาวตติยกะ นิสสารณียะ
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๒๓] คำว่า ก็ ภิกษุณีทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงมาตุคามที่ อุปสมบทแล้ว คำว่า อยู่คลุกคลีกัน คือ ที่ชื่อว่า คลุกคลีกัน ได้แก่ อยู่คลุกคลีกันทาง กายและทางวาจาที่ไม่เหมาะสม คำว่า มีความประพฤติเลวทราม คือ ประกอบด้วยความประพฤติเลวทราม คำว่า มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย คือ มีกิตติศัพท์เสื่อมเสียขจรไป คำว่า มีชื่อเสียงไม่ดี คือ เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาอาชีวะเลวทราม คำว่า มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ คือ เมื่อถูกสงฆ์ทำกรรมแก่พวกเดียวกัน ก็คัดค้าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๖๔}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙ สิกขาบทวิภังค์

คำว่า ปกปิดโทษของกันและกัน คือ ปกปิดความผิดของกันและกันไว้ คำว่า ภิกษุณีเหล่านั้น ได้แก่ ภิกษุณีที่อยู่คลุกคลีกัน คำว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุณีเหล่าอื่น ภิกษุณีทั้งหลายที่ได้เห็นได้ทราบพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า “น้องหญิงทั้งหลายอยู่ คลุกคลีกัน มีความประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกัน น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่าน จงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น” พึงว่ากล่าวตักเตือนพวกเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนพวกเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าพวกเธอสละได้นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีทั้งหลายได้ยิน แล้วไม่ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีเหล่านั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึง นำมาท่ามกลางสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนว่า “น้องหญิงทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีความ ประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียน ภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกัน น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงแยกกันอยู่ เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น” พึงว่ากล่าว ตักเตือนพวกเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนพวกเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าพวกเธอ สละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีเหล่านั้นอันสงฆ์พึงสวด สมนุภาสน์
วิธีสวดสมนุภาสน์และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
ภิกษุทั้งหลาย ก็สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีเหล่านั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุณี ผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า [๗๒๔] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีชื่อนี้และชื่อนี้อยู่คลุกคลีกัน มี ความประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียน ภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกัน พวกเธอไม่สละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๖๕}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙ บทภาชนีย์

แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีชี่อนี้และชื่อนี้อยู่คลุกคลีกัน มีความ ประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียน ภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกัน พวกเธอยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวด สมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการสวด สมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใด ไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง ข้าพเจ้ากล่าวข้อความนี้แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ ข้าพเจ้ากล่าวข้อความนี้แม้ครั้ง ที่ ๓ ฯลฯ ภิกษุณีชื่อนี้และชื่อนี้สงฆ์สวดสมนุภาสน์เพื่อให้สละเรื่องนั้น สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อเธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง)เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง)เพราะกรรมวาจา ๒ ครั้ง ย่อมระงับไป สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณี ๒-๓ รูปคราวเดียวกัน ไม่พึงสวดสมนุภาสน์ ภิกษุณีมากกว่านั้นคราวเดียวกัน คำว่า แม้ภิกษุณีเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อนๆ คำว่า ยาวตติยกะ คือ ต้องอาบัติเพราะสวดสมนุภาสน์จบ ๓ ครั้ง ไม่ใช่ ต้องอาบัติพร้อมกับการล่วงละเมิดวัตถุ คำว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ทำให้ถูกขับออกจากหมู่ คำว่า สังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สังฆาทิเสส
บทภาชนีย์
[๗๒๕] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๖๖}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙ อนาปัตติวาร

กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส
ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๗๒๖] ๑. ภิกษุณียังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์ ๒. ภิกษุณีผู้สละ ๓. ภิกษุณีวิกลจริต ๔. ภิกษุณีมีจิตฟุ้งซ่าน ๕. ภิกษุณีกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๖๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๖๓-๖๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=13              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=1097&Z=1192                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=77              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=77&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11097              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=77&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11097                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.077 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss12/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss12/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :