ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ

๑. ปัตตวรรค
สิกขาบทที่ ๓
ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนจีวร
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๗๔๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาแลกเปลี่ยน จีวรกับภิกษุณีรูปหนึ่งใช้สอย ครั้งนั้น ภิกษุณีนั้นพับจีวรเก็บไว้ ภิกษุณีถุลลนันทา ได้กล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “จีวรที่เธอแลกเปลี่ยนกับดิฉันอยู่ที่ไหน” ภิกษุณีนั้น จึงนำจีวรนั้นออกมาให้ภิกษุณีถุลลนันทาดู ภิกษุณีถุลลนันทาจึงกล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า จีวรของเธอ จงนำจีวร ของดิฉันมา จีวรของเธอต้องเป็นของเธอ จีวรของดิฉันต้องเป็นของดิฉัน จงนำจีวร ของดิฉันมา จงรับเอาจีวรของเธอคืนไปเถิด” แล้วชิงเอาคืน ลำดับนั้น ภิกษุณีนั้น นำเรื่องไปบอกภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาแลกเปลี่ยนจีวรกับภิกษุณีแล้วจึงชิงเอาคืนเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณี เหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาแลกเปลี่ยน จีวรกับภิกษุณีแล้วชิงเอาคืนจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทา จึงแลกเปลี่ยนจีวรกับภิกษุณีแล้วชิงเอาคืนเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๘๖}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทวิภังค์

มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้ เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๔๔] ก็ภิกษุณีใดแลกเปลี่ยนจีวรกับภิกษุณี ภายหลังภิกษุณีนั้นกล่าว อย่างนี้ว่า “แม่เจ้า จีวรของเธอ จงนำจีวรของดิฉันมา จีวรของเธอต้องเป็น ของเธอ จีวรของดิฉันต้องเป็นของดิฉัน จงนำจีวรของดิฉันมา จงรับเอาจีวร ของเธอคืนไปเถิด” ชิงเอาคืนหรือใช้ให้ชิงเอาคืน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๔๕] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ คำว่า กับภิกษุณี คือ กับภิกษุณีรูปอื่น ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด๑- อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดพอที่จะทำ วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ คำว่า แลกเปลี่ยน คือ แลกเปลี่ยนจีวรเนื้อดีกับจีวรเนื้อไม่ดี หรือจีวรเนื้อ ดีกับจีวรเนื้อไม่ดี คำว่า ชิงเอาคืน คือ ชิงเอาคืนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ @เชิงอรรถ : @ จีวร ๖ ชนิด คือ โขมะ(จีวรผ้าเปลือกไม้) กัปปาสิกะ(จีวรผ้าฝ้าย) โกเสยยะ(จีวรผ้าไหม) กัมพละ(จีวร @ผ้าขนสัตว์) สาณะ(จีวรผ้าป่าน) ภังคะ(จีวรผ้าผสม) (วิ.อ. ๒/๔๖๒-๔๖๓/๑๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๘๗}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทวิภังค์

คำว่า ใช้ให้ชิงเอาคืน คือ ใช้ให้ผู้อื่นชิง ต้องอาบัติทุกกฏ ผู้รับคำสั่งครั้ง เดียวแต่ชิงเอาคืนหลายครั้ง จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า จีวรผืนนี้ ดิฉันแลกเปลี่ยนกับภิกษุณีแล้วชิงเอาคืน เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละจีวรผืนนี้แก่ สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนจีวรผืนนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย ฯลฯ ดิฉันขอสละจีวรผืนนี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ “ฯลฯ พึงคืนจีวรผืนนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ฯลฯ ดิฉันขอสละจีวรผืนนี้แก่แม่เจ้า” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ฯลฯ “ดิฉันคืนจีวรผืนนี้ให้แก่แม่เจ้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๘๘}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
[๗๔๖] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน แลกเปลี่ยนจีวรกันแล้ว ชิงเอาคืนหรือใช้ผู้อื่นให้ชิงเอาคืน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ แลกเปลี่ยนจีวรกันแล้วชิงเอาคืนหรือใช้ผู้อื่นให้ชิง เอาคืน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน แลกเปลี่ยนจีวรกันแล้วชิงเอาคืน หรือใช้ผู้อื่นให้ชิงเอาคืน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุณีเปลี่ยนบริขารอย่างอื่นแล้วชิงเอาคืนหรือใช้ผู้อื่นให้ชิงเอาคืน ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุณีเปลี่ยนจีวรหรือบริขารอย่างอื่นกับอนุปสัมบันแล้วชิงเอาคืนหรือใช้คน อื่นให้ชิงเอาคืน ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฎ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๗๔๗] ๑. ภิกษุณีผู้รับแลกเปลี่ยนคืนให้เอง หรือภิกษุณีผู้แลกเปลี่ยนถือ เอาคืนโดยวิสาสะจากภิกษุณีผู้รับแลกเปลี่ยนแล้ว ๒. ภิกษุณีวิกลจริต ๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๘๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๘๖-๘๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=18              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=1502&Z=1570                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=106              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=106&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11147              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=106&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11147                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.106 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-np3/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-np3/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :