ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕ พระบัญญัติ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕
ว่าด้วยการรับโภชนะจากมือชายผู้กำหนัด
เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา
[๖๙๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุณีสุนทรีนันทามีรูปงาม น่าดู น่าชม คนทั้งหลายเห็นเธอที่โรงฉัน ต่างก็กำหนัด จึงถวายอาหารที่ดีๆ แก่นางผู้ กำหนัด ภิกษุณีสุนทรีนันทาจึงได้ฉันตามความต้องการ ส่วนภิกษุณีอื่นๆ ไม่ได้ ฉันตามที่คิดไว้ บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณี สุนทรีนันทากำหนัด จึงรับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือชายผู้กำหนัดด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวฉันเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีสุนทรีนันทากำหนัด รับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือชายผู้กำหนัดด้วยมือของตนแล้วเคี้ยวฉัน จริงหรือ” พวกภิกษุทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีสุนทรีนันทากำหนัดจึงรับของเคี้ยวหรือของฉันจาก มือชายผู้กำหนัดด้วยมือของตนแล้วเคี้ยวฉันเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๐๐] ก็ภิกษุณีใดกำหนัด รับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือชายผู้กำหนัด ด้วยมือของตนแล้วเคี้ยวหรือฉัน แม้ภิกษุณีนี้ต้องธรรมคือสังฆาทิเสสที่ชื่อ ปฐมาปัตติกะ นิสสารณียะ
เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๔๕}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕ สิกขาบทวิภังค์

สิกขาบทวิภังค์
[๗๐๑] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า กำหนัด ได้แก่ ภิกษุณีมีความยินดี เพ่งเล็ง มีจิตรักใคร่ ที่ชื่อว่า ผู้กำหนัด ได้แก่ ชายมีความยินดี เพ่งเล็ง มีจิตรักใคร่ ที่ชื่อว่า ชาย ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ ไม่ใช่เปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉาน ตัวผู้ แต่เป็นชายที่รู้เดียงสา สามารถที่จะกำหนัดได้ ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ น้ำและไม้ชำระฟัน นอกนั้นชื่อว่า ของเคี้ยว ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ข้าวตู ปลา เนื้อ ภิกษุณีรับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฉัน ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำกลืน คำว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อนๆ คำว่า ปฐมาปัตติกะ คือ ต้องอาบัติพร้อมกับการล่วงละเมิดวัตถุโดยไม่ต้อง สวดสมนุภาสน์ คำว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ทำให้ถูกขับออกจากหมู่ คำว่า สังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สังฆาทิเสส ภิกษุณีรับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อฝ่ายหนึ่งกำหนัด รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๔๖}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕ อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
[๗๐๒] ฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทุกๆ คำกลืน ภิกษุณีรับประเคนน้ำและ ไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างกำหนัด รับประเคนจากมือยักษ์ เปรต บัณเฑาะก์หรือ สัตว์ดิรัจฉานมีกายเป็นมนุษย์ ด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัยทุกๆ คำกลืน รับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อกำหนัดฝ่ายเดียว รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติ ทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน รับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้อง อาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๗๐๓] ๑. ภิกษุณีไม่กำหนัดรับของจากชายผู้ไม่กำหนัด ๒. ภิกษุณีรู้อยู่ว่า “เขาไม่กำหนัด” จึงรับประเคน ๓. ภิกษุณีวิกลจริต ๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๔๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๔๕-๔๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=9              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=765&Z=819                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=52              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=52&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11067              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=52&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11067                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.052 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss5/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss5/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :