ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส๑-
ว่าด้วยปัญหาของโมฆราชมาณพ
[๘๕] (ท่านโมฆราชทูลถาม ดังนี้) ข้าพระองค์ได้ทูลถามพระองค์ผู้สักกะ ๒ ครั้งแล้ว พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุ มิได้ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์รับทราบมาว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นเทพฤๅษี (ถ้าผู้ใดถามปัญหา) ถึง ๓ ครั้ง จะทรงพยากรณ์ (๑) คำว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามพระองค์ผู้สักกะ ๒ ครั้งแล้ว อธิบายว่า พราหมณ์นั้นได้ทูลถามปัญหากับพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ๒ ครั้งแล้ว พระผู้มี- พระภาคผู้อันพราหมณ์นั้นทูลถามปัญหาแล้ว ก็มิได้ทรงพยากรณ์ ด้วยพระดำริว่า “ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ของพราหมณ์นี้จักมีในลำดับแห่งจักษุ” คำว่า ผู้สักกะ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้สักกะเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล จึงชื่อว่าผู้สักกะ อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก ทรงมีทรัพย์ จึงชื่อว่า ผู้สักกะ พระองค์ทรงมีทรัพย์เหล่านี้ คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือ หิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา ทรัพย์คือ สติปัฏฐาน ทรัพย์คือสัมมัปปธาน ทรัพย์คืออิทธิบาท ทรัพย์คืออินทรีย์ ทรัพย์ คือพละ ทรัพย์คือโพชฌงค์ ทรัพย์คือมรรค ทรัพย์คือผล ทรัพย์คือนิพพาน พระผู้มี- พระภาคทรงมั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก ทรงมีทรัพย์ด้วยทรัพย์ที่เป็นรัตนะ หลายอย่าง เหล่านี้ จึงชื่อว่าผู้สักกะ @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๑๑๒๓-๑๑๒๖/๕๔๘-๕๔๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงสามารถ คือ ทรงองอาจ อาจหาญ มีความ สามารถ กล้า กล้าหาญ ก้าวหน้า ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี ทรงละ ภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้าแล้ว จึงชื่อว่าผู้สักกะ คำว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามพระองค์ผู้สักกะ ๒ ครั้งแล้ว อธิบายว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม คือ ได้ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศ ๒ ครั้งแล้ว รวมความว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามพระองค์ผู้สักกะ ๒ ครั้งแล้ว คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านโมฆราชทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก ฯลฯ คำว่า โมฆราช เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ๑- รวมความว่า ท่านโมฆราชทูลถาม ดังนี้ คำว่า มิได้ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคผู้มี พระจักษุ มิได้ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ อธิบายว่า มิได้ทรงพยากรณ์ คือ มิได้บอก มิได้แสดง มิได้บัญญัติ มิได้กำหนด มิได้เปิดเผย มิได้จำแนก มิได้ ทำให้ง่าย มิได้ทรงประกาศแก่ข้าพระองค์
ว่าด้วยพระจักษุ ๕ ชนิด
คำว่า ผู้มีพระจักษุ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค มีพระจักษุด้วยพระจักษุ ๕ ชนิด คือ ๑. มีพระจักษุด้วยมังสจักขุบ้าง ๒. มีพระจักษุด้วยทิพพจักขุบ้าง ๓. มีพระจักษุด้วยปัญญาจักขุบ้าง ๔. มีพระจักษุด้วยพุทธจักขุบ้าง ๕. มีพระจักษุด้วยสมันตจักขุบ้าง @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๔๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๒๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุด้วยมังสจักขุ เป็นอย่างไร คือ ในพระมังสจักขุของพระผู้มีพระภาคมีสีอยู่ ๕ สี คือ (๑) สีเขียว (๒) สีเหลือง (๓) สีแดง (๔) สีดำ (๕) สีขาว ณ ที่ที่มีขนพระเนตรขึ้น มีสีเขียว เขียวสนิท น่าชม น่าดู ดุจดอกผักตบ ต่อจากนั้น ก็เป็นสีเหลือง เหลืองสนิท สีเหมือนทองคำ น่าชม น่าดู ดุจดอกกรรณิการ์ เบ้าพระเนตรทั้งสองข้างของพระ ผู้มีพระภาคมีสีแดง แดงสนิท น่าชม น่าดู ดุจสีปีกแมลงทับ กลางดวงพระเนตร มีสีดำ ดำเข้ม ไม่เศร้าหมอง สนิท น่าชม น่าดู ดุจสีสมอดำ ต่อจากนั้น เป็นสีขาว ขาวสนิท เปล่งปลั่ง ขาวนวล น่าชม น่าดู ดุจสีดาวประกายพฤกษ์ พระผู้มีพระภาค มีพระมังสจักขุนั้นอยู่โดยปกติ เนื่องในพระอัตภาพ เกิดด้วยสุจริตกรรมที่ทรงสั่งสม มาในภพก่อน ทรงมองเห็นตลอด ๑ โยชน์โดยรอบ ทั้งกลางวันและกลางคืน แม้ใน เวลาที่มีความมืดประกอบด้วยองค์ ๔ คือ (๑) ดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว (๒) เป็นวัน อุโบสถข้างแรม (๓) ป่าชัฏรกทึบ (๔) มีเมฆก้อนใหญ่ผุดขึ้นมา ในความมืดที่ ประกอบด้วยองค์ ๔ อย่างนี้ พระองค์ก็ทรงมองเห็นได้ตลอด ๑ โยชน์โดยรอบ ไม่มีหลุม บานประตู กำแพง ภูเขา กอไม้ หรือเถาวัลย์มาปิดกั้นการเห็นรูป ทั้งหลายได้ หากบุคคลเอางาเมล็ดเดียวทำเครื่องหมายแล้วใส่ลงในเกวียนบรรทุกงา พระผู้มีพระภาคก็ทรงสามารถหยิบเอางาเมล็ดนั้นขึ้นมาได้ พระมังสจักขุตามปกติ ของพระผู้มีพระภาคบริสุทธิ์อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคชื่อว่ามีพระจักษุด้วยมังสจักขุ เป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุด้วยทิพพจักขุ เป็นอย่างไร คือ พระผู้มีพระภาคทรงเห็นหมู่สัตว์ ซึ่งกำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ไปดี ตกยาก ด้วยทิพพจักขุอันหมดจดล่วงจักษุมนุษย์ ทรงทราบหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม๑- ฯลฯ และพระผู้มีพระภาคเมื่อทรงประสงค์ พึงทรงเห็นได้ แม้ ๑ โลกธาตุ... แม้ ๒ โลกธาตุ ... แม้ ๓ โลกธาตุ ... แม้ ๔ โลกธาตุ ... แม้ ๕ โลกธาตุ ... แม้ ๑๐ โลกธาตุ ... แม้ ๒๐ โลกธาตุ ... แม้ ๓๐ @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มจาก ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๙๑/๕๔๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๐๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

โลกธาตุ ... แม้ ๔๐ โลกธาตุ ... แม้ ๕๐ โลกธาตุ ... แม้ ๑๐๐ โลกธาตุ ... แม้โลก ธาตุขนาดเล็กประกอบด้วย ๑,๐๐๐ จักรวาล... แม้โลกธาตุขนาดกลางประกอบด้วย ๒,๐๐๐ จักรวาล ... แม้โลกธาตุขนาดใหญ่ประกอบด้วย ๓,๐๐๐ จักรวาล ... แม้โลก ธาตุที่ประกอบด้วยหลายพันจักรวาล พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์เพียงใดก็พึงทรง เห็นได้เพียงนั้น ทิพพจักขุของพระผู้มีพระภาคบริสุทธิ์อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคชื่อว่า มีพระจักษุด้วยทิพพจักขุ เป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุด้วยปัญญาจักขุ เป็นอย่างไร คือ พระผู้มีพระภาคผู้มีพระปัญญามาก มีพระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญา ฉับไว มีพระปัญญาอาจหาญ มีพระปัญญาเฉียบคม มีพระปัญญาเพิกถอนกิเลสได้ ทรงฉลาดในประเภทแห่งปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรง บรรลุเวสารัชชญาณ ๔ ทรงเป็นผู้ทรงทสพลญาณ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็น บุรุษดุจราชสีห์ ทรงเป็นบุรุษดุจนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษผู้เอาธุระ มีพระญาณหาที่สุดมิได้ มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศหาที่สุดมิได้ ทรงมั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก ทรงมีปัญญาเป็นทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ เป็นผู้นำไปโดยวิเศษ เป็นผู้ ตามแนะนำ ทรงให้รู้จักประโยชน์ ให้พินิจพิจารณา ทรงเพ่งประโยชน์ ทรงทำให้ เลื่อมใสได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงทำ มรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่ยังมิได้ตรัสบอก ทรงรู้จักมรรค ทรงรู้แจ้งมรรค ทรงฉลาดในมรรค และสาวกของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ดำเนินไปตามมรรคอยู่ในบัดนี้ จะเพียบพร้อมด้วยศีลาทิคุณในภายหลัง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น มีพระจักษุ มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นดุจพระพรหม ตรัส บอก นำความหมาย ออกมา ประทานอมตธรรม เป็นพระธรรมสามี เป็นพระตถาคต ไม่มีสิ่งที่พระ ผู้มีพระภาคพระองค์นั้นยังไม่ทรงทราบ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงรู้แจ้ง ไม่ทรงทำให้แจ้ง มิได้ทรงถูกต้องด้วยปัญญา ธรรมทั้งปวง รวมทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบัน ย่อมมาสู่ คลองเฉพาะพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า โดยอาการทั้งปวง ธรรมดา ประโยชน์ที่ควรแนะนำอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นธรรมที่ควรรู้มีอยู่ คือ ประโยชน์ตน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

ประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพปัจจุบัน หรือประโยชน์ใน ภพหน้า ประโยชน์ตื้นหรือประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับหรือประโยชน์ปิดบัง ประโยชน์ที่ควรแนะนำหรือประโยชน์ที่แนะนำแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษหรือประโยชน์ ที่ไม่มีกิเลส ประโยชน์ที่ผ่องแผ้วหรือประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์ทั้งหมดนั้นย่อม เป็นไปภายในพระพุทธญาณ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทุกอย่าง ย่อมเป็นไปตามพระญาณของ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ไม่ติดขัดในอดีต อนาคต ปัจจุบัน บทธรรมที่ควรแนะนำมีอยู่เพียงใด พระญาณก็มีเพียงนั้น พระ ญาณมีอยู่เพียงใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็มีเพียงนั้น พระญาณย่อมมีบทธรรมที่ ควรแนะนำเป็นส่วนสุดรอบ บทธรรมที่ควรแนะนำก็ย่อมมีพระญาณเป็นส่วนสุดรอบ พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็มี อยู่ไม่เกินกว่าพระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน เหมือน ชั้นแห่งผอบ ๒ ชั้น ทับกันสนิทพอดี ชั้นผอบด้านล่างก็ไม่เกินด้านบน ชั้นผอบ ด้านบนก็ไม่เกินด้านล่าง ชั้นผอบทั้ง ๒ ย่อมวางประกบกันที่ส่วนสุดโดยรอบของ กันและกัน ฉันใด บทธรรมที่ควรแนะนำ และพระญาณของพระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าก็ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกันฉันนั้นเหมือนกัน บทธรรมที่ควร แนะนำมีอยู่เพียงใด พระญาณก็มีอยู่เพียงนั้น พระญาณมีอยู่เพียงใด บทธรรมที่ ควรแนะนำก็มีเพียงนั้น พระญาณย่อมมีบทธรรมที่ควรแนะนำเป็นส่วนสุดรอบ บทธรรมที่ควรแนะนำก็ย่อมมีพระญาณเป็นส่วนสุดรอบ พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกิน กว่าบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็มีอยู่ไม่เกินกว่าพระญาณ ธรรมเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ย่อมเป็นไปในธรรมทั้งปวง ธรรม ทั้งปวงนับเนื่องด้วยความนึก นับเนื่องด้วยความหวัง นับเนื่องด้วยมนสิการ นับเนื่องด้วยจิตตุปบาทของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า พระญาณของพระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าย่อมเป็นไปในสัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคทรงทราบอัธยาศัย อนุสัย จริต อธิมุตติของเหล่าสัตว์ทุกจำพวก ทรงรู้จักเหล่าสัตว์ ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญา- จักขุ มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักขุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๐๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

มีอาการทราม ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ง่าย ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ยาก เป็นภัพพสัตว์(ผู้สมควร บรรลุธรรม) และอภัพพสัตว์(ผู้ไม่สมควรบรรลุธรรม) โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปภายใน พระพุทธญาณ ปลาและเต่าชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งปลาติมิ ปลาติมิงคละและปลาติมิติ- มิงคละ๑- ย่อมเป็นไปภายในมหาสมุทร ฉันใด โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปภายในพระญาณ ของพระพุทธเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน นกชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งครุฑนามว่า เวนไตย ย่อมบินไปในห้วงแห่งอากาศ ฉันใด พระพุทธสาวกทั้งหลาย ผู้เสมอกับ พระสารีบุตรด้วยปัญญา ย่อมเป็นไปในส่วนแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธญาณย่อมแผ่ครอบคลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์อยู่ เหล่าบัณฑิตผู้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นคหบดี เป็นสมณะ ผู้มีปัญญา ละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูสามารถยิงเนื้อทรายได้ ดุจจะเที่ยว ทำลายทิฏฐิผู้อื่นด้วยปัญญาตน บัณฑิตเหล่านั้นพากันปรุงแต่งปัญหา ย่อมเข้าไป เฝ้าพระตถาคต ทูลถามปัญหาที่ลี้ลับและปิดบัง ปัญหาเหล่านั้น ที่พระผู้มีพระภาค ทรงซักไซ้และตรัสแก้แล้ว เป็นปัญหามีเหตุให้ทรงแสดง บัณฑิตเหล่านั้นถูกดึงดูด ด้วยการวิสัชนาปัญหา จึงเลื่อมใสพระผู้มีพระภาค โดยที่แท้พระผู้มีพระภาคย่อม ทรงรุ่งเรืองด้วยพระปัญญาในหมู่คนเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคชื่อว่ามีพระจักษุด้วย ปัญญาจักขุ เป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุด้วยพุทธจักขุ เป็นอย่างไร คือ พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักขุ ได้ทรงเห็นสัตว์ ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักขุ ผู้มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักขุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ง่าย @เชิงอรรถ : @ ปลาทั้ง ๓ ตัวนี้ เป็นปลาขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิงคละสามารถกลืนกินปลาติมิได้และปลาติมิติมิงคละ @มีขนาดลำตัวใหญ่ถึง ๕๐๐ โยชน์ และสมารถกลืนกินปลาติมิงคละได้ (ขุ.ม.อ. ๖๙/๒๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๐๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ก็มี เหมือนในกอ บัวเขียว ในกอบัวแดง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวเขียว ดอกบัวแดง หรือดอก บัวขาว บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ขึ้นตามน้ำ จมอยู่ในน้ำและน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเขียว ดอกบัวแดง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ตั้งอยู่ เสมอผิวน้ำ ดอกบัวเขียว ดอกบัวแดง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่ขึ้นพ้นระดับน้ำ น้ำไม่ติดเปื้อนอยู่เลย ฉันใด พระผู้มีพระภาค เมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักขุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อย ในปัญญาจักขุ ผู้มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักขุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ง่าย ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ยาก บางพวกเป็น ผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ก็มี ฉันนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “บุคคลนี้มีราคจริต บุคคลนี้มีโทสจริต บุคคลนี้มีโมหจริต บุคคลนี้มีวิตกจริต บุคคลนี้มีสัทธาจริต บุคคลนี้มีญาณจริต” พระผู้มีพระภาคย่อมตรัสอสุภกถาแก่ บุคคลราคจริต ตรัสการเจริญเมตตาแก่บุคคลโทสจริต ย่อมทรงแนะนำบุคคล โมหจริตให้ดำรงอยู่ในการเล่าเรียน การไต่ถาม การฟังธรรมตามกาล การสนทนา ธรรมตามกาล การอยู่ร่วมกับครู ย่อมตรัสอานาปานัสสติแก่บุคคลวิตกจริต ตรัสบอกนิมิตที่น่าเลื่อมใส ความตรัสรู้ชอบของพระพุทธเจ้า ความเป็นธรรมดี แห่งพระธรรม การปฏิบัติชอบของพระสงฆ์และศีลของตนที่น่าเลื่อมใสแก่บุคคลสัทธา- จริต ย่อมตรัสธรรมอันเป็นนิมิตแห่งวิปัสสนา มีอาการไม่เที่ยง มีอาการเป็นทุกข์ มีอาการเป็นอนัตตาแก่บุคคลญาณจริต (สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า) ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้มีปัญญาดี มีสมันตจักขุ บุรุษผู้ยืนอยู่บนยอดภูเขาศิลาล้วน พึงเห็นหมู่ชนโดยรอบ แม้ฉันใด พระองค์ผู้หมดความโศกแล้ว โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทคือธรรม จักได้เห็นหมู่ชนผู้ตกอยู่ในความเศร้าโศก และถูกชาติชราครอบงำได้ชัดเจน ฉันนั้น๑- พระผู้มีพระภาคชื่อว่ามีพระจักษุด้วยพุทธจักขุ เป็นอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ วิ.ม. ๔/๘/๙, ที.ม. ๑๐/๗๐/๓๔, ม.มู. ๑๒/๒๘๒/๒๔๓, ม.ม. ๑๓/๓๓๘/๓๒๐, สํ.ส. ๑๕/๑๗๒/๑๖๕, @ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๙๑/๕๔๕-๕๔๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๐๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุด้วยสมันตจักขุ เป็นอย่างไร คือ พระสัพพัญญุตญาณ ตรัสเรียกว่า สมันตจักขุ พระผู้มีพระภาคทรง ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมแล้วด้วยพระสัพพัญญุตญาณ (สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า) สิ่งไรๆ ในไตรโลกธาตุนี้ พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่เห็น ไม่มีเลย อนึ่ง ธรรมชาติอะไรๆ ที่ควรรู้ พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่ พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่าผู้มีสมันตจักขุ๑- พระผู้มีพระภาคชื่อว่ามีพระจักษุด้วยสมันตจักขุ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุ มิได้ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ คำว่า ข้าพระองค์รับทราบมาว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นเทพฤๅษี (ถ้าผู้ ใดถามปัญหา) ถึง ๓ ครั้ง จะทรงพยากรณ์ อธิบายว่า ข้าพระองค์เรียนรู้มา คือ ทรงจำมา กำหนดมา อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้า(ถ้า) ผู้ใดทูลถามปัญหาควรแก่เหตุ ถึง ๓ ครั้ง จะทรงพยากรณ์ จะไม่ทรงปฏิเสธ
ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคชื่อว่า เทพฤๅษี
คำว่า ผู้ทรงเป็นเทพฤๅษี อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นทั้งเทพ เป็นทั้งฤๅษี จึงชื่อว่าทรงเป็นเทพฤๅษี พระราชาผนวชก็เรียกกันว่า ราชฤๅษี พราหมณ์บวชก็เรียกกันว่า พราหมณ์ฤๅษี ฉันใด พระผู้มีพระภาคก็ฉันนั้น ทรงเป็น ทั้งเทพเป็นทั้งฤๅษี @เชิงอรรถ : @ ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๑๙๑/๕๔๖, ขุ.ป. ๓๑/๑๒๑/๑๓๖-๑๓๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๐๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ผนวชแล้วจึงชื่อว่าพระฤๅษี ทรงแสวงหา คือ ค้นหา เสาะหาสีลขันธ์ใหญ่ จึงชื่อว่าพระฤๅษี ทรงแสวงหา คือ ค้นหา เสาะหา สมาธิขันธ์ใหญ่ ฯลฯ ปัญญาขันธ์ใหญ่ ฯลฯ วิมุตติขันธ์ใหญ่ ฯลฯ วิมุตติญาณ- ทัสสนขันธ์ใหญ่ จึงชื่อว่าพระฤๅษี พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา คือ ค้นหา เสาะหาเครื่องทำลายกองความ มืดใหญ่ จึงชื่อว่าพระฤๅษี พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องทำลายความวิปลาสใหญ่ จึงชื่อว่าพระฤๅษี พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องถอนลูกศรคือตัณหาใหญ่ จึงชื่อว่าพระฤๅษี พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องปลดเปลื้องโครงทิฏฐิใหญ่ จึงชื่อว่าพระฤๅษี พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องกำจัดธงคือมานะใหญ่ จึงชื่อว่าพระฤๅษี พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องเข้าไปสงบอภิสังขารใหญ่ จึงชื่อว่าพระฤๅษี พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องปิดกั้นโอฆะใหญ่ จึงชื่อว่า พระฤๅษี พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องวางภาระใหญ่ จึงชื่อว่า พระฤๅษี พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องตัดสังสารวัฏใหญ่ จึงชื่อว่า พระฤๅษี พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องดับความเดือดร้อนใหญ่ จึงชื่อว่าพระฤๅษี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๐๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องระงับความเร่าร้อนใหญ่จึง ชื่อว่าพระฤๅษี พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องยกธงคือธรรมใหญ่ จึงชื่อ ว่าพระฤๅษี พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาสติปัฏฐานใหญ่... สัมมัปปธานใหญ่... อิทธิบาทใหญ่... อินทรีย์ใหญ่... พละใหญ่... โพชฌงค์ใหญ่... อริยมรรคมีองค์ ๘ ใหญ่... ปรมัตถอมตนิพพานใหญ่ จึงชื่อว่าพระฤๅษี อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ที่เหล่าสัตว์ผู้มเหศักดิ์แสวงหา ค้นหา เสาะหาว่า “พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ไหน พระผู้ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพประทับอยู่ ที่ไหน พระผู้ทรงองอาจกว่านรชนประทับอยู่ที่ไหน” จึงชื่อว่าพระฤๅษี รวมความว่า ข้าพระองค์รับทราบมาว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นเทพฤๅษี (ถ้าผู้ใดถามปัญหา) ถึง ๓ ครั้ง จะทรงพยากรณ์ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า (ท่านโมฆราชทูลถามดังนี้) ข้าพระองค์ได้ทูลถามพระองค์ผู้สักกะ ๒ ครั้งแล้ว พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุ มิได้ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์รับทราบมาว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นเทพฤๅษี (ถ้าผู้ใดถามปัญหา) ถึง ๓ ครั้งจะทรงพยากรณ์ [๘๖] (ท่านโมฆราชทูลถามว่า) โลกนี้ โลกอื่น พรหมโลกพร้อมทั้งเทวโลก ย่อมไม่ทราบชัดความเห็นของพระองค์ ผู้โคตมโคตร ผู้มีพระยศ (๒) คำว่า โลกนี้ ในคำว่า โลกนี้ โลกอื่น ได้แก่ มนุษยโลก คำว่า โลกอื่น ได้แก่ โลกอื่นทั้งหมด เว้นมนุษยโลก รวมความว่า โลกนี้ โลกอื่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๐๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า พรหมโลกพร้อมทั้งเทวโลก ได้แก่ พรหมโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ รวมความว่า พรหมโลกพร้อมทั้งเทวโลก คำว่า ย่อมไม่ทราบชัดความเห็นของพระองค์ อธิบายว่า ชาวโลกไม่ทราบ ไม่รู้ คือ ไม่เห็น ไม่แลเห็น ไม่ประสบ ไม่พบ ไม่ได้เฉพาะความเห็น คือ ความถูกใจ ความพอใจ ลัทธิ อัธยาศัย ความประสงค์ของพระองค์ว่า “พระผู้มีพระภาคนี้ ทรงมีความเห็นอย่างนี้ มีความถูกใจอย่างนี้ มีความพอใจอย่างนี้ มีลัทธิอย่างนี้ มีอัธยาศัยอย่างนี้ มีความประสงค์อย่างนี้” รวมความว่า ย่อมไม่ทราบชัดความ เห็นของพระองค์ คำว่า ผู้โคตมโคตร ผู้มีพระยศ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค ทรงเพียบ พร้อมด้วยพระยศ จึงชื่อว่าผู้มีพระยศ อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ที่ชาวโลกสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ทรงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงชื่อ ว่าผู้มีพระยศ รวมความว่า ผู้โคตมโคตร ผู้มีพระยศ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์จึง กราบทูลว่า โลกนี้ โลกอื่น พรหมโลกพร้อมทั้งเทวโลก ย่อมไม่ทราบชัดความเห็นของพระองค์ ผู้โคตมโคตร ผู้มีพระยศ [๘๗] (ท่านโมฆราชทูลถามว่า) ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถามจึงมาเฝ้าพระองค์ ผู้ทรงมีปกติเห็นธรรมอันงามอย่างนี้ บุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงไม่เห็น (๓) คำว่า ผู้ทรงมีปกติเห็นธรรมอันงามอย่างนี้ อธิบายว่า ผู้ทรงมีปกติเห็น ธรรมอันงาม คือ เห็นธรรมอันเลิศ เห็นธรรมอันประเสริฐ ธรรมอันวิเศษสุด เห็นธรรมชั้นแนวหน้า เห็นธรรมสูงสุด เห็นธรรมอันยอดเยี่ยมอย่างนี้ รวมความว่า ผู้ทรงมีปกติเห็นธรรมอันงามอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๐๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถามจึงมาเฝ้า อธิบายว่า ข้าพระองค์มี ความ ต้องการปัญหาจึงมาเฝ้า ฯลฯ ข้อนี้จึงเป็นภาระของพระองค์ รวมความว่า ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถามจึงมาเฝ้า อย่างนี้บ้าง คำว่า บุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างไร อธิบายว่า บุคคลผู้พิจารณาเห็น คือ ประจักษ์แจ้ง เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งอย่างไร รวม ความว่า บุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างไร คำว่า มัจจุราชจึงไม่เห็น อธิบายว่า มัจจุราชจึงไม่เห็น คือ ไม่แลเห็น ไม่ ประสบ ไม่พบ ไม่ได้เฉพาะ รวมความว่า มัจจุราชจึงไม่เห็น ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์ นั้นจึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถามจึงมาเฝ้าพระองค์ ผู้ทรงมีปกติเห็นธรรมอันงามอย่างนี้ บุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงไม่เห็น [๘๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) โมฆราช เธอจงพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า มีสติทุกเมื่อ พึงถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย เป็นผู้ข้ามมัจจุราชเสียได้ ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลพิจารณาเห็นโลกอยู่อย่างนี้ มัจจุราชจึงไม่เห็น (๔)
ว่าด้วยโลก
คำว่า โลก ในคำว่า เธอจงพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ได้แก่ โลกนรก โลกในกำเนิดเดรัจฉาน โลกในเปตวิสัย มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก โลกนี้ โลกหน้า พรหมโลก พร้อมทั้งเทวโลก ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ ตรัสว่า ‘โลก โลก’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงตรัสว่า โลก พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๐๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ที่เราเรียกว่า ‘โลก’ เพราะจะต้องแตกสลาย ก็อะไรเล่าจะต้องแตกสลาย คือ จักษุแลต้องแตกสลาย รูปต้องแตกสลาย จักขุ วิญญาณต้องแตกสลาย จักขุสัมผัสต้องแตกสลาย แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา(เป็นทุกข์ก็มิใช่เป็นสุขก็มิใช่) ที่เกิดขึ้นเพราะมีจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ต้องแตกสลาย โสตะต้องแตกสลาย เสียงต้องแตกสลาย ฆานะต้องแตกสลาย กลิ่นต้องแตกสลาย ชิวหาต้องแตกสลาย รสต้องแตกสลาย กายต้องแตกสลาย โผฏฐัพพะต้องแตกสลาย มโนต้องแตกสลาย ธรรมารมณ์ต้องแตกสลาย มโน- วิญญาณต้องแตกสลาย มโนสัมผัสต้องแตกสลาย แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ต้องแตกสลาย ภิกษุ ที่เราเรียกว่า ‘โลก’ เพราะจะต้องแตกสลาย เป็นอย่างนี้”๑- คำว่า เธอจงพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า อธิบายว่า บุคคลย่อม พิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่าด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ๑. ด้วยการกำหนดเห็นสังขารไม่เป็นไปตามอำนาจ ๒. ด้วยการพิจารณาเห็นสังขารเป็นของว่างเปล่า บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยการกำหนดเห็นสังขารไม่ เป็นไปตามอำนาจ เป็นอย่างไร คือ บุคคลย่อมไม่ได้อำนาจในรูป อำนาจในเวทนา อำนาจในสัญญา อำนาจในสังขาร อำนาจในวิญญาณ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ถ้ารูป นี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ รูปนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า “รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย” ภิกษุทั้งหลาย ก็ เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า “รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น” @เชิงอรรถ : @ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๘๒/๗๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๑๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

ภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป็นอนัตตา ถ้าเวทนานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนานี้ไม่ พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า “เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น” ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า “เวทนาของ เราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น” ภิกษุทั้งหลาย สัญญาเป็นอนัตตา ถ้าสัญญานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สัญญา นี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า “สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้ สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น” ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า “สัญญาของเราจง เป็นอย่างนี้ สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น” ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ถ้าสังขารนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สังขารนี้ ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารว่า “สังขารของเรา จงเป็นอย่างนี้ สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น” ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสังขาร เป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารว่า “สังขารของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น” ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นอนัตตา ถ้าวิญญาณนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ วิญญาณนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า “วิญญาณของ เราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น” ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ วิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ ในวิญญาณว่า “วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็น อย่างนั้น”๑- @เชิงอรรถ : @ วิ.ม. ๔/๒๑/๑๗-๑๘, สํ.ข. ๑๗/๕๙/๕๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๑๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กายนี้มิใช่ของพวกเธอ ทั้งมิใช่ของคนอื่น กายนี้กรรมเก่าควบคุมไว้ จิตประมวลไว้ พึงเห็นว่า เป็นที่ตั้งแห่ง เวทนา อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมมนสิการปฏิจจสมุปบาทอย่างดีโดยแยบคาย ในกายนั้นว่า “เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี ความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความ คับแค้นใจก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้ เพราะอวิชชาสำรอก๑- ดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ @เชิงอรรถ : @ สำรอก ในที่นี้หมายถึง วิราคะคือนิพพาน แปลว่า เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะก็ได้ @(วิ.ม.(แปล) ๔/๑-๓/๒-๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๑๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ ความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความ คับแค้นใจก็ดับไป ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้”๑- บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยการพิจารณาเห็นสังขาร เป็นของว่างเปล่า เป็นอย่างไร คือ บุคคลย่อมไม่ได้แก่นสารในรูป แก่นสารในเวทนา แก่นสารในสัญญา แก่นสารในสังขาร แก่นสารในวิญญาณ รูปไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่นสารที่ เป็นของเที่ยง โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดย ความเป็นของไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา เวทนาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฯลฯ สัญญาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ สํ.นิ. ๑๖/๓๗/๖๒-๖๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๑๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

สังขารไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฯลฯ วิญญาณไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฯลฯ โดยสาระแห่ง แก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่ เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดยความเป็นของไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา ไม้อ้อไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจากแก่น ไม้ละหุ่ง ไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจาก แก่น ไม้มะเดื่อ ไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจากแก่น ไม้ทองหลาง ไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจากแก่น ต้นหงอนไก่ (ปาลิภทฺทโก) ไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจากแก่น ฟองน้ำ ไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ต่อมน้ำ ไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร พยับแดด ไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจาก แก่นสาร ต้นกล้วย ไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร เงา ไม่มี แก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฉันใด รูปไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่นสารที่ เป็นของเที่ยง โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง โดยความ เป็นของไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา เวทนาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจาก แก่นสาร ฯลฯ สัญญาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่สาร ฯลฯ สังขาร ไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฯลฯ วิญญาณไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง โดยความเป็นของไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา ฉันนั้น บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยการพิจารณาเห็นสังขาร เป็นของว่างเปล่าอย่างนี้ บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยเหตุ ๒ อย่างเหล่านี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๑๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

อีกนัยหนึ่ง บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ พิจารณาเห็นรูป๑- ๑. โดยความที่ตนมิได้เป็นใหญ่ ๒. โดยความที่ตนจัดการตามชอบใจไม่ได้ ๓. โดยไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสบาย ๔. โดยไม่เป็นไปในอำนาจ ๕. โดยเป็นไปตามเหตุ ๖. โดยความว่างเปล่า พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณ ๑. โดยความที่ตนมิได้เป็นใหญ่ ๒. โดยความที่ตนจัดการตามชอบใจไม่ได้ ๓. โดยไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสบาย ๔. โดยไม่เป็นไปในอำนาจ ๕. โดยเป็นไปตามเหตุ ๖. โดยความว่างเปล่า บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยอาการ ๖ อย่าง เป็นอย่างนี้ อีกนัยหนึ่ง บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ พิจารณาเห็นรูป @เชิงอรรถ : @ ความตรงนี้ปรากฏในฉบับฉัฏฐสังคายนาของฉบับพม่า ดังนี้ จักขุว่างจากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา @เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง หรือไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา โสตะว่าง ... ฆานะว่าง ... ชิวหาว่าง ... กายว่าง ... ใจ @ว่างจากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง หรือไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา รูปว่าง ... เสียงว่าง @... กลิ่นว่าง ... รสว่าง ... โผฏฐัพพะว่าง ... ธรรมารมณ์ว่างจากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา เที่ยง ยั่งยืน @มั่นคง หรือไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา จักขุวิญญาณว่าง ... มโนวิญญาณว่าง ... จักขุสัมผัสว่าง ... เวทนาที่ @เกิดจากจักขุสัมผัสว่าง ... เวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัสว่าง ... รูปสัญญาว่าง ... ธัมมสัญญาว่าง ... @รูปสัญเจตนาว่าง ... ธัมมสัญเจตนาว่าง ... รูปตัณหาว่าง ... รูปวิตกว่าง ... รูปวิจารว่าง ... ธัมมวิจาร @ว่างจากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง หรือไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๑๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

๑. โดยความเป็นของว่าง ๒. โดยความเป็นของเปล่า ๓. โดยความเป็นของสูญ ๔. โดยความเป็นอนัตตา ๕. โดยความไม่มีแก่นสาร ๖. โดยความเป็นดุจเพชฌฆาต ๗. โดยความเป็นของปราศจากความเจริญ ๘. โดยความเป็นเหตุแห่งความลำบาก ๙. โดยความเป็นของมีอาสวะ ๑๐. โดยความเป็นของที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่ง พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จุติ (ความเคลื่อนจากภพ) ฯลฯ อุปบัติ (การถือกำเนิด) ฯลฯ ปฏิสนธิ ฯลฯ ภพ ฯลฯ สังสารวัฏ ๑. โดยความเป็นของว่าง ๒. โดยความเป็นของเปล่า ๓. โดยความเป็นของสูญ ๔. โดยความเป็นอนัตตา ๕. โดยความไม่มีแก่นสาร ๖. โดยความเป็นดุจเพชฌฆาต ๗. โดยความเป็นของปราศจากความเจริญ ๘. โดยความเป็นเหตุแห่งความลำบาก ๙. โดยความเป็นของมีอาสวะ ๑๐. โดยความเป็นของที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่ง บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง เป็นอย่างนี้ อีกนัยหนึ่ง บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยอาการ ๑๒ อย่าง คือ พิจารณาเห็นรูป ๑. มิใช่สัตว์ ๒. มิใช่ชีวะ ๓. มิใช่นระ ๔. มิใช่มาณพ ๕. มิใช่หญิง ๖. มิใช่ชาย ๗. มิใช่อัตตา ๘. มิใช่ของเนื่องด้วยอัตตา ๙. มิใช่เรา ๑๐. มิใช่ของเรา ๑๑. มิใช่ใครๆ ๑๒. มิใช่ของใครๆ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๑๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ๑. มิใช่สัตว์ ๒. มิใช่ชีวะ ๓. มิใช่นระ ๔. มิใช่มาณพ ๕. มิใช่หญิง ๖. มิใช่ชาย ๗. มิใช่อัตตา ๘. มิใช่ของเนื่องด้วยอัตตา ๙. มิใช่เรา ๑๐. มิใช่ของเรา ๑๑. มิใช่ใครๆ ๑๒. มิใช่ของใครๆ บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยอาการ ๑๒ อย่าง เป็นอย่างนี้ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดมิใช่ของเธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้น สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้นแล จักมีเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าที่มิใช่ของเธอทั้งหลาย รูปมิใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้นแล จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน เวทนามิใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละเวทนานั้น เวทนาที่เธอทั้งหลาย ละได้แล้วนั้น จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน สัญญามิใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสัญญานั้น สัญญาที่เธอทั้งหลาย ละได้แล้วนั้น จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน สังขารทั้งหลายมิใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสังขารเหล่านั้น สังขาร ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอด กาลนาน วิญญาณมิใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้น วิญญาณที่เธอ ทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๑๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

ภิกษุทั้งหลาย คนพึงเอาหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวันวิหารนี้ ไปเผา หรือจัดการไปตามรูปเรื่อง เธอทั้งหลายจะพึงมีความคิดอย่างนี้บ้างไหมว่า “คนย่อมเอาพวกเราไปเผา หรือจัดการไปตามรูปเรื่อง” ความดำริเช่นนั้น ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร เพราะนั่น มิใช่อัตตา หรือของเนื่องด้วยอัตตาของข้าพระองค์ทั้งหลาย พระเจ้าข้า อย่างเดียวกันนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดมิใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจง ละสิ่งนั้น สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ตลอดกาลนาน ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่ามิใช่ของเธอทั้งหลาย รูปมิใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ความสุขตลอดกาลนาน เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมิใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้น วิญญาณที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักมีเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน”๑- รวมความว่า บุคคลพิจารณาเห็น โลกโดยความว่างเปล่าเป็นอย่างนี้บ้าง
ว่าด้วยโลกว่าง
ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ พระองค์ตรัสว่า ‘โลกว่าง โลกว่าง’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงตรัสว่า ‘โลกว่าง’ @เชิงอรรถ : @ ม.มู. ๑๒/๒๔๗/๒๐๘-๒๐๙, สํ.ข. ๑๗/๓๓/๒๘, สํ.สฬา.(แปล) ๑๘/๑๐๑/๑๑๑-๑๑๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๑๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

อานนท์ เพราะโลกว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฉะนั้น เราจึง กล่าวว่า ‘โลกว่าง’ อานนท์ อะไรเล่าที่ว่างจากอัตตา หรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา อานนท์ จักขุแลว่างจากอัตตา หรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา รูปว่าง ฯลฯ จักขุวิญญาณ ว่าง ฯลฯ จักขุสัมผัสว่าง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขเวทนา เป็นทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา(เป็นทุกข์ก็มิใช่เป็นสุขก็มิใช่) ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส เป็นปัจจัย ก็ว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา โสตะว่าง ฯลฯ เสียงว่าง ฯลฯ ฆานะว่าง ฯลฯ กลิ่นว่าง ฯลฯ ชิวหาว่าง ฯลฯ รสว่าง ฯลฯ กายว่าง ฯลฯ โผฏฐัพพะว่าง ฯลฯ ใจว่าง ฯลฯ ธรรมารมณ์ว่าง ฯลฯ มโนวิญญาณว่าง ฯลฯ มโนสัมผัสก็ว่าง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขเวทนา เป็นทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ว่างจากอัตตา หรือสิ่งที่ เนื่องด้วยอัตตา อานนท์ เพราะโลกว่างจากอัตตา หรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า “โลกว่าง”๑- บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า เป็น อย่างนี้บ้าง คามณี๒- ภัยย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พิจารณาเห็น ความเกิดขึ้นแห่งธรรมล้วนๆ และความสืบเนื่องแห่งสังขารล้วนๆ ตามที่เป็นจริง เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นโลกว่า เสมอด้วยหญ้าและท่อนไม้ ด้วยปัญญา เมื่อนั้น เขาย่อมไม่ปรารถนาอะไรอื่น นอกจากความไม่ปฏิสนธิ บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า เป็นอย่างนี้บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นแล ภิกษุค้น หารูป ตลอดคติแห่งรูปที่มีอยู่ ค้นหาเวทนา ตลอดคติแห่งเวทนาที่มีอยู่ ค้นหา @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบกับ สํ.สฬา.(แปล) ๑๘/๘๕/๗๘, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๑๘๖/๕๒๘-๕๒๙ @ คามณี ในที่นี้เป็นชื่อของหัวหน้าโจร ซึ่งพระอธิมุตตเถระใช้เรียกชื่อในขณะแสดงธรรมโปรดหัวหน้าโจร @(ขุ.วิ.(แปล) ๒๖/๗๑๖-๗๑๗/๔๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

สัญญา ตลอดคติแห่งสัญญาที่มีอยู่ ค้นหาสังขาร ตลอดคติแห่งสังขารที่มีอยู่ ค้นหาวิญญาณ ตลอดคติแห่งวิญญาณที่มีอยู่ เมื่อภิกษุนั้นค้นหารูป ตลอดคติ แห่งรูปที่มีอยู่ ค้นหาเวทนา ตลอดคติแห่งเวทนาที่มีอยู่ ค้นหาสัญญา ตลอดคติ แห่งสัญญาที่มีอยู่ ค้นหาสังขาร ตลอดคติแห่งสังขารที่มีอยู่ ค้นหาวิญญาณ ตลอดคติแห่งวิญญาณที่มีอยู่ ความถือว่า “เรา” “ของเรา” หรือ “มีเรา” ของ ภิกษุนั้นไม่มี๑- บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า เป็นอย่างนี้บ้าง คำว่า เธอจงพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า อธิบายว่า เธอจงพิจารณา เห็น คือ ประจักษ์แจ้ง แลเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง โลกโดยความว่าง รวมความว่า เธอจงพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า คำว่า โมฆราช ในคำว่า โมฆราช ...มีสติทุกเมื่อ เป็นคำที่พระผู้มีพระ- ภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ คำว่า ทุกเมื่อ อธิบายว่า ตลอดกาลทั้งปวง ฯลฯ ปัจฉิมวัย๒- คำว่า มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ๓- รวมความว่า โมฆราช ... มีสติทุกเมื่อ คำว่า พึงถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย อธิบายว่า สักกายทิฏฐิ ๒๐ ตรัสเรียกว่า อัตตานุทิฏฐิ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ สัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมองเห็นรูป โดยความเป็น อัตตา เห็นอัตตาว่ามีรูป เห็นรูปในอัตตา หรือเห็นอัตตาในรูป @เชิงอรรถ : @ สํ.สฬา.(แปล) ๑๘/๒๔๖/๒๖๒ @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๐/๗๗ @ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๗๐-๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๒๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

ย่อมมองเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ โดยความ เป็นอัตตา เห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ เห็นวิญญาณในอัตตา หรือเห็นอัตตาในวิญญาณ ทิฏฐิ การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ความกันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนาม คือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องผูกพันคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความยึดมั่นถือมั่น ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือ ขัดแย้ง ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งไม่เป็นความ จริงว่าเป็นจริงเห็นปานนี้ จนถึงทิฏฐิ ๖๒ นี้ชื่อว่าอัตตานุทิฏฐิ คำว่า พึงถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย อธิบายว่า พึงถอน คือ พึงถอนขึ้น ฉุดขึ้น ชักขึ้น ลากขึ้น เพิกขึ้น ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงไม่มีอีก รวม ความว่า พึงถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย คำว่า เป็นผู้ข้ามมัจจุราชเสียได้ ด้วยอาการอย่างนี้ อธิบายว่า พึงข้าม มัจจุราช คือ พึงข้าม พึงข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยซึ่งชราบ้าง มรณะบ้าง ด้วยอาการอย่างนี้ รวมความว่า เป็นผู้ข้ามมัจจุราชเสียได้ ด้วยอาการอย่างนี้ คำว่า บุคคลพิจารณาเห็นโลกอยู่อย่างนี้ อธิบายว่า พิจารณาเห็น คือ ประจักษ์แจ้ง เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งโลกอย่างนี้ รวม ความว่า บุคคลพิจารณาเห็นโลกอยู่อย่างนี้ คำว่า มัจจุราชจึงไม่เห็น อธิบายว่า มัจจุชื่อว่าพญามัจจุราช มารชื่อว่า พญามัจจุราช ความตายชื่อว่าพญามัจจุราช คำว่า จึงไม่เห็น ได้แก่ ไม่เห็น ไม่แลเห็น ไม่ประสบ ไม่พบ ไม่ได้เฉพาะ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเนื้อป่า เมื่อเที่ยวไปตามป่าน้อยป่าใหญ่ ย่อมวางใจเดิน ยืน หมอบ นอน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะไม่ได้พบกับนายพรานเนื้อ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น สงัดจากกามและอกุศล- ธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เรา เรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะ ทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๖. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส

อีกนัยหนึ่ง เพราะวิตกและวิจารสงบไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่อง ใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขที่เกิด จากสมาธิอยู่ ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ภิกษุทั้งหลาย เรา เรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะ ทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย ภิกษุทั้งหลาย เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการ นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่ ด้วย มนสิการว่า “อากาศไม่มีที่สุด” เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้ ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย อีกนัยหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่ ด้วยมนสิการว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” ฯลฯ อีกนัยหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุ อากิญจัญญายตนฌานอยู่ ด้วยมนสิการว่า “อะไร น้อยหนึ่งย่อมไม่มี” ฯลฯ อีกนัยหนึ่ง เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ฯลฯ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลาย ของเธอย่อมสิ้นไป ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย เป็นผู้ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว ย่อมวางใจเดิน ยืน นั่ง นอน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะไม่ได้พบมารใจบาป๑- รวมความว่า มัจจุราชจึงไม่เห็น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า @เชิงอรรถ : @ ม.มู. ๑๒/๒๘๗/๒๕๐-๒๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๖. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส

โมฆราช เธอจงพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า มีสติทุกเมื่อ พึงถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย เป็นผู้ข้ามมัจจุราชเสียได้ ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลพิจารณาเห็นโลกอยู่อย่างนี้ มัจจุราชจึงไม่เห็น พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ โมฆราชมาณพ ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”๑-
โมฆราชมาณวปัญหานิทเทสที่ ๑๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๑/๘๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๒๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๒๙๘-๓๒๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=30&siri=34              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=30&A=4519&Z=4935                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=490              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=30&item=490&items=21              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=46&A=1754              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=30&item=490&items=21              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=46&A=1754                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://www.ancient-buddhist-texts.net/Texts-and-Translations/Parayanavagga/Parayanavaggo-15.htm



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :