บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส๑- ว่าด้วยการสดุดีธรรมเป็นเหตุให้ถึงฝั่ง [๙๓] (พระธรรมสังคาหกาจารย์เมื่อจะสรรเสริญพระธรรมเทศนานี้ จึงได้ กล่าวไว้ดังนี้ว่า) พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถานี้แล้ว เมื่อประทับอยู่ ณ ปาสาณกเจดีย์ แคว้นมคธ ได้ทรงรับอาราธนากราบทูลหลายครั้งจากพราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็น ศิษย์ใกล้ชิด ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว คำว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถานี้แล้ว ได้แก่ ได้ตรัสปารายนวรรคนี้แล้ว คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถา นี้แล้ว คำว่า เมื่อประทับอยู่ ... แคว้นมคธ ได้แก่ ในชนบทที่ชื่อว่ามคธ คำว่า เมื่อประทับอยู่ ได้แก่ เมื่อประทับอยู่ คือ ทรงเคลื่อนไหว ทรงเป็นไป ทรงเลี้ยงพระชนมชีพ ทรงดำเนินไป ทรงยังพระชนมชีพให้ดำเนินไป คำว่า ณ ปาสาณกเจดีย์ ได้แก่ พุทธอาสน์ตรัสเรียกว่า ปาสาณกเจดีย์ รวมความว่า เมื่อประทับอยู่ ณ ปาสาณกเจดีย์ แคว้นมคธ คำว่า จากพราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิด ได้แก่ ปิงคิยพราหมณ์ เป็นที่ปรารถนา ประพฤติถูกใจ เป็นคนรับใช้ของพราหมณ์พาวรี อธิบายว่า พราหมณ์ เหล่านั้นมี ๑๖ คน รวมทั้งปิงคิยมาณพ รวมความว่า จากพราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิด อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง พราหมณ์ ๑๖ คนเหล่านั้น พึงเป็นที่ปรารถนา ประพฤติถูกพระทัย เป็นปริจาริกาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าได้ รวมความว่า จากพราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิด อย่างนี้บ้าง @เชิงอรรถ : @๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๑๓๑-๑๑๓๗/๕๕๐-๕๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๓๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
คำว่า ได้ทรงรับอาราธนา ในคำว่า ได้ทรงรับอาราธนากราบทูลหลายครั้ง ...ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว ได้แก่ ได้ทรงรับอาราธนา คือ รับอัญเชิญแล้ว คำว่า กราบทูลหลายครั้ง ได้แก่ กราบทูลหลายครั้ง คือ ทูลถามแล้วถามอีก ทูลขอแล้วขออีก ทูลอัญเชิญแล้วอัญเชิญอีก ทูลให้ทรงประกาศแล้วประกาศอีก คำว่า ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว อธิบายว่า ได้ทรงพยากรณ์แล้ว คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศปัญหาแล้ว รวมความว่า ได้ทรงรับอาราธนากราบทูลหลายครั้ง...ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวไว้ดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถานี้แล้ว เมื่อประทับอยู่ ณ ปาสาณกเจดีย์ แคว้นมคธ ได้ทรงรับอาราธนากราบทูลหลาย ครั้งจากพราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิด ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว [๙๔] ถ้าแม้บุคคลรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแห่งปัญหาแต่ละปัญหาแล้ว ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม ก็จะพึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน เพราะธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น ธรรมบรรยายนี้ จึงชื่อว่าปารายนะ คำว่า ถ้าแม้ ... แห่งปัญหาแต่ละปัญหา อธิบายว่า ถ้าแม้... แห่งปัญหาของ ท่านอชิตะแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านปุณณกะแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านเมตตคูแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านโธตกะแต่ละ ปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านอุปสีวะแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหา ของท่านนันทกะแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านเหมกะแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านโตเทยยะแต่ละปัญหา ถ้าแม้ ... แห่งปัญหาของท่าน กัปปะแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านชตุกัณณิแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านภัทราวุธแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านอุทัยแต่ละ ปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านโปสาละแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของ ท่านโมฆราชแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านปิงคิยะแต่ละปัญหา รวม ความว่า ถ้าแม้ ... แห่งปัญหาแต่ละปัญหา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๓๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
คำว่า รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม อธิบายว่า ปัญหานั้นนั่นแหละ เป็นธรรม การวิสัชนา เป็นอรรถ บุคคลรู้ คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งอรรถแล้ว รวมความว่า รู้ทั่วถึงอรรถ คำว่า รู้ทั่วถึงธรรม ได้แก่ รู้ คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งธรรมแล้ว รวมความว่า รู้ทั่วถึงธรรม คำว่า ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม อธิบายว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ การ ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม รวมความว่า ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม คำว่า ก็จะพึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน อธิบายว่า อมตนิพพาน ตรัสเรียกว่า ฝั่งแห่งชราและมรณะ ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่ สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่ เย็นสนิท คำว่า ก็จะพึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน อธิบายว่า พึงถึงฝั่ง คือ บรรลุฝั่ง ถูกต้องฝั่ง ทำให้แจ้งฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน รวมความว่า ก็จะ พึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน คำว่า ธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง อธิบายว่า ธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง คือ ให้บรรลุฝั่ง ให้บรรลุถึงฝั่ง ให้ตามบรรลุถึงฝั่ง ย่อมเป็นไปเพื่อข้ามชราและมรณะ รวมความว่า ธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง คำว่า เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น ในคำว่า เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น ธรรมบรรยายนี้ อธิบายว่า เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น รวมความว่า เพราะเหตุดังกล่าว มานี้นั้น คำว่า ธรรมบรรยายนี้ ได้แก่ ปารายนวรรคนี้ รวมความว่า เพราะเหตุดัง กล่าวมานี้นั้น ธรรมบรรยายนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๓๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
คำว่า จึงชื่อว่า ปารายนะ อธิบายว่า อมตนิพพานเรียกว่า ฝั่งแห่งชรา และมรณะ ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่ สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท มรรคเรียกว่า อายนะ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า จึงชื่อว่า ได้แก่ เป็นชื่อ เป็นการนับ การขนานนาม บัญญัติ ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า จึงชื่อว่าปารายนะ เพราะเหตุนั้น พระธรรม- สังคาหกาจารย์จึงกล่าวไว้ดังนี้ว่า ถ้าแม้บุคคลรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแห่งปัญหาแต่ละปัญหาแล้ว ปฏิบัติ ธรรมถูกต้องตามหลักธรรม ก็จะพึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน เพราะ ธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น ธรรมบรรยายนี้ จึงชื่อว่า ปารายนะ [๙๕] (๑) อชิตะ (๒) ติสสเมตเตยยะ (๓) ปุณณกะ (๔) เมตตคู (๕) โธตกะ (๖) อุปสีวะ (๗) นันทะ (๘) เหมกะ (๑) [๙๖] (๙) โตเทยยะ (๑๐) กัปปะ (๑๑) ชตุกัณณิ ผู้เป็นบัณฑิต (๑๒) ภัทราวุธ (๑๓) อุทัย (๑๔) โปสาละ (๑๕) โมฆราช ผู้มีปัญญา (๑๖) ปิงคิยะ ผู้เป็นมหาฤๅษี (๒) [๙๗] พราหมณ์ ๑๖ คนนี้ พากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยจรณะ ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เมื่อจะทูลถามปัญหาที่ลุ่มลึก จึงเข้าไปใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ (๓) คำว่า นี้ ในคำว่า พราหมณ์ ๑๖ คนนี้ พากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้แก่ พราหมณ์ผู้ดำเนินไปสู่ฝั่งทั้ง ๑๖ คน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๓๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
ว่าด้วยความหมายแห่งพุทธะ คำว่า พระพุทธเจ้า ได้แก่ พระผู้มีพระภาค เป็นพระสยัมภู ไม่มีครูอาจารย์ ได้ตรัสรู้สัจจะในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน ด้วยพระองค์เอง ทรงบรรลุความเป็น พระสัพพัญญูในสัจจะนั้น และความเป็นผู้ทรงชำนาญในพละทั้งหลาย๑- คำว่า พระพุทธเจ้า อธิบายว่า ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้สัจจะทั้งหลายแล้ว ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงทำหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้ ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นพระสัพพัญญู ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้เห็นธรรมทั้งปวง ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้รู้ธรรมที่ควรรู้ ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้เบิกบาน ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นพระขีณาสพ ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ปราศจากอุปกิเลส ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ปราศจากโทสะโดยสิ้นเชิง ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ปราศจากโมหะโดยสิ้นเชิง ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะเสด็จถึงทางสายเอก ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณลำพังพระองค์เดียว ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ขจัดความไม่รู้ได้แล้ว เพราะทรงเป็นผู้ได้ เฉพาะความรู้ @เชิงอรรถ : @๑ พละทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงพละ ๑๐ หรือตถาคตพลญาณ ๑๐ คือพระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต @(ขุ.ม.อ. ๑๙๒/๔๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๓๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
พระนามว่า พระพุทธเจ้า นี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง มิใช่ พระภาดาทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรและอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติและ ผู้ร่วมสายโลหิตทรงตั้ง เหล่าสมณพราหมณ์มิได้ตั้ง เหล่าเทวดามิได้ตั้ง คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม เป็นสัจฉิกาบัญญัติ ของพระผู้มี- พระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย เกิดขึ้นพร้อมกับการทรงได้เฉพาะพระสัพพัญญุตญาณที่ โคนต้นโพธิ์ รวมความว่า พระพุทธเจ้า คำว่า พราหมณ์ ๑๖ คนนี้ พากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า อธิบายว่า พราหมณ์เหล่านี้ มาเข้าเฝ้า คือ เข้าไปเฝ้า เข้าไปนั่งใกล้ ทูลถามแล้ว ทูลสอบถาม พระพุทธเจ้าแล้ว คำว่า ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยจรณะ ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อธิบายว่า ความสำเร็จแห่งศีลและอาจาระ เรียกว่า จรณะ สีลสังวร อินทรีย์สังวร ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ความ เป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ สัทธรรม ๗ ๑- ฌาน ๔ ชื่อว่าจรณะ คำว่า ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยจรณะ ได้แก่ ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยจรณะ คือ มีจรณะประเสริฐสุด มีจรณะวิเศษสุด มีจรณะชั้นแนวหน้า มีจรณะสูงสุด มีจรณะ ยอดเยี่ยม รวมความว่า ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยจรณะ คำว่า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อธิบายว่า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระผู้มีพระภาค ทรงแสวงหา คือ ค้นหา เสาะหาสีลขันธ์ใหญ่ จึงชื่อว่าผู้ทรงแสวง หาคุณอันยิ่งใหญ่ ฯลฯ อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค อันเหล่าสัตว์ผู้มเหศักดิ์ แสวงหา ค้นหา เสาะหาว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ไหน พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ไหน พระ ผู้ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพประทับอยู่ที่ไหน พระผู้ทรงองอาจกว่านรชนประทับอยู่ ที่ไหน จึงชื่อว่าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ รวมความว่า ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วย จรณะ ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ @เชิงอรรถ : @๑ สัทธรรม ๗ ได้แก่ (๑) สัทธา (๒) หิริ (๓) โอตตัปปะ (๔) พหูสูต (๕) อารัทธวิริยะ (๖) สติ (๗) ปัญญา @(ม.อุ. ๑๔/๙๒/๗๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๓๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
คำว่า เมื่อจะทูลถาม ในคำว่า เมื่อจะทูลถามปัญหาที่ลุ่มลึก อธิบายว่า เมื่อทูลถาม คือ ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศ คำว่า ปัญหาที่ลุ่มลึก ได้แก่ ปัญหาอันลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก ละเอียด ประณีต เข้าถึงไม่ได้ด้วยตรรกะ(ตรึก) ลุ่มลึก บัณฑิตเท่านั้นที่พึงรู้ได้ รวมความว่า ปัญหาที่ลุ่มลึก คำว่า จึงเข้าไปใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ อธิบายว่า คำว่า พระพุทธเจ้า ได้แก่ พระผู้มีพระภาค ฯลฯ คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑- คำว่า ผู้ประเสริฐ ได้แก่ ผู้เลิศ ผู้ประเสริฐ คือ วิเศษสุด หัวหน้า สูงสุด ยอดเยี่ยม รวมความว่า พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ คำว่า จึงเข้าไปใกล้ ได้แก่ จึงมาเข้าเฝ้า คือ เข้าเฝ้า เข้าไปนั่งใกล้ ทูลถาม ทูลสอบถาม รวมความว่า จึงเข้าไปใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวไว้ดังนี้ว่า พราหมณ์ ๑๖ คนนี้ พากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยจรณะ ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เมื่อจะทูลถามปัญหาที่ลุ่มลึก จึงเข้าไปใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ [๙๘] (พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวว่า) พระพุทธเจ้า (อันพราหมณ์เหล่านั้น) ทูลสอบถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์แก่พราหมณ์เหล่านั้นตามความเป็นจริง พระพุทธมุนีทรงทำให้พราหมณ์ทั้งหลายพอใจ ด้วยการทรงพยากรณ์ปัญหาทั้งหลาย (๔) @เชิงอรรถ : @๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๓๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
คำว่า เหล่านั้น ในคำว่า พระพุทธเจ้า ... ทรงพยากรณ์แก่พราหมณ์ เหล่านั้น ได้แก่ พราหมณ์ผู้ดำเนินไปสู่ฝั่ง ๑๖ คน คำว่า พระพุทธเจ้า ได้แก่ พระผู้มีพระภาค ฯลฯ คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ คำว่า ทรงพยากรณ์แล้ว อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศแก่พราหมณ์เหล่านั้น รวมความว่า พระพุทธเจ้า ... ทรงพยากรณ์แก่พราหมณ์เหล่านั้น คำว่า ทูลสอบถามปัญหาแล้ว ในคำว่า ทูลสอบถามปัญหาแล้ว... ตามความ เป็นจริง อธิบายว่า ทูลสอบถาม คือ ทูลถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศ ปัญหาแล้ว คำว่า ตามความเป็นจริง อธิบายว่า ควรตรัสบอกอย่างไร ก็ตรัสบอก อย่างนั้น ควรแสดงอย่างไร ก็ทรงแสดงอย่างนั้น ควรบัญญัติอย่างไร ก็ทรง บัญญัติอย่างนั้น ควรกำหนดอย่างไร ก็ทรงกำหนดอย่างนั้น ควรเปิดเผยอย่างไร ก็ ทรงเปิดเผยอย่างนั้น ควรจำแนกอย่างไร ก็ทรงจำแนกอย่างนั้น ควรทำให้ง่าย อย่างไร ก็ทรงทำให้ง่ายอย่างนั้น ควรประกาศอย่างไร ก็ทรงประกาศอย่างนั้น รวมความว่า ทูลสอบถามปัญหาแล้ว ... ตามความเป็นจริง คำว่า ด้วยการทรงพยากรณ์ปัญหาทั้งหลาย อธิบายว่า ด้วยการทรง พยากรณ์ คือ ด้วยการบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศปัญหาทั้งหลาย รวมความว่า ด้วยการพยากรณ์ปัญหาทั้งหลาย คำว่า ทรงทำให้... พอใจ ในคำว่า พระพุทธมุนีทรงทำให้พราหมณ์พอใจ ได้แก่ ทรงทำให้พอใจ คือ ทำให้ดีใจ ให้เลื่อมใส ให้ยินดี ให้ปลื้มใจ คำว่า พราหมณ์ ได้แก่ เหล่าพราหมณ์ผู้ดำเนินไปสู่ฝั่ง ๑๖ คน คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยา ที่รู้ชัด ฯลฯ พระองค์ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี รวมความว่า พระพุทธมุนีทรงทำให้พราหมณ์ทั้งหลายพอใจ ด้วยเหตุนั้น พระธรรม สังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๔๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
พระพุทธเจ้า (อันพราหมณ์เหล่านั้น) ทูลสอบถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์แก่พราหมณ์เหล่านั้นตามความเป็นจริง พระพุทธมุนีทรงทำให้พราหมณ์ทั้งหลายพอใจ ด้วยการทรงพยากรณ์ปัญหาทั้งหลาย [๙๙] (พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวว่า) พราหมณ์เหล่านั้น อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ ทรงเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ทำให้พอใจแล้ว ได้ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาอันประเสริฐ (๕) คำว่า เหล่านั้น ในคำว่า พราหมณ์เหล่านั้น อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ ... ทำให้พอใจแล้ว ได้แก่ พราหมณ์ผู้ดำเนินไปสู่ฝั่ง ๑๖ คน คำว่า ทำให้พอใจแล้ว ได้แก่ ทำให้พอใจ คือ ให้ดีใจ ให้เลื่อมใส ให้ยินดี ให้ปลื้มใจแล้ว รวมความว่า พราหมณ์เหล่านั้นอันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ ... ทำให้ พอใจแล้วว่าด้วยพระจักษุ ๕ ชนิด คำว่า ผู้มีพระจักษุ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค ชื่อว่ามีพระจักษุด้วยจักษุ ๕ ชนิด คือ ๑. มีพระจักษุด้วยมังสจักขุบ้าง ๒. มีพระจักษุด้วยทิพพจักขุบ้าง ๓. มีพระจักษุด้วยปัญญาจักขุบ้าง ๔. มีพระจักษุด้วยพุทธจักขุบ้าง ๕. มีพระจักษุด้วยสมันตจักขุบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๔๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุด้วยมังสจักขุ เป็นอย่างไร คือ ฯลฯ พระผู้มีพระภาค ชื่อว่ามีพระจักษุด้วยสมันตจักขุ เป็นอย่างนี้๑- รวมความว่า พราหมณ์เหล่านั้น อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ ... ทำให้พอใจแล้ว คำว่า พระพุทธเจ้า ในคำว่า อันพระพุทธเจ้า ... ทรงเป็นเผ่าพันธุ์แห่ง พระอาทิตย์ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค ฯลฯ คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็น สัจฉิกาบัญญัติ คำว่า ทรงเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ อธิบายว่า พระสุริยะตรัสเรียกว่า พระ อาทิตย์ พระสุริยะ ชื่อว่าเป็นพระโคดมโดยพระโคตร แม้พระผู้มีพระภาค ก็ทรงเป็น พระโคดมโดยพระโคตร พระผู้มีพระภาคจึงปรากฏโดยโคตรพระอาทิตย์ คือทรงเป็น เผ่าพันธุ์โดยโคตรพระอาทิตย์ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าทรงเป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์ รวมความว่า อันพระพุทธเจ้า...ทรงเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ คำว่า ได้ประพฤติพรหมจรรย์ อธิบายว่า การงด งดเว้น เว้นขาด เจตนา งดเว้น การงดเว้น กิริยาที่ไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ละเมิด การไม่ก้าวล่วงแดนแห่ง การเข้าถึงอสัทธรรม การทำลายกิเลสด้วยอริยมรรค เรียกว่า พรหมจรรย์ อนึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมา- กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็เรียกว่า พรหมจรรย์ โดยสิ้นเชิง คำว่า ได้ประพฤติพรหมจรรย์ ได้แก่ ประพฤติ คือ ได้ประพฤติ สมาทาน ประพฤติพรหมจรรย์ รวมความว่า ได้ประพฤติพรหมจรรย์ คำว่า ในสำนักพระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาอันประเสริฐ ได้แก่ พระพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาอันประเสริฐ คือ มีพระปัญญาอันเลิศ มีปัญญาประเสริฐสุด มีพระปัญญาวิเศษสุด มีพระปัญญาชั้นแนวหน้า มีพระปัญญาสูงสุด มีพระปัญญา ยอดเยี่ยม คำว่า ในสำนัก ได้แก่ ในสำนัก คือ ในที่ใกล้ ใกล้เคียง ไม่ไกล ใกล้ชิด รวมความว่า ในสำนักพระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาอันประเสริฐ ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า @เชิงอรรถ : @๑ ดูรายละเอียดข้อ ๘๕/๒๙๙-๓๐๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๔๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
พราหมณ์เหล่านั้น อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ ทรงเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ทำให้พอใจแล้ว ได้ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาอันประเสริฐ [๑๐๐] (พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวว่า) การพยากรณ์ปัญหาแต่ละปัญหา ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการใด ผู้ใดปฏิบัติตามโดยประการนั้น ผู้นั้นพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ (๖) คำว่า ปัญหาแต่ละปัญหา อธิบายว่า ปัญหาของท่านอชิตะ แต่ละปัญหา ปัญหาของท่านติสสเมตเตยยะ แต่ละปัญหา ฯลฯ ปัญหาของท่านปิงคิยะ แต่ละ ปัญหา รวมความว่า ปัญหาแต่ละปัญหา คำว่า พระพุทธเจ้า ในคำว่า ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการใด ได้แก่ พระผู้มีพระภาค ฯลฯ คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑- คำว่า ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการใด อธิบายว่า ที่พระพุทธ- เจ้าทรงบอกแล้ว คือ ทรงแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว กำหนดแล้ว เปิดเผยแล้ว จำแนกแล้ว ทำให้ง่ายแล้ว ประกาศแล้วโดยประการใด รวมความว่า ที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้วโดยประการใด คำว่า ผู้ใดปฏิบัติตามโดยประการนั้น อธิบายว่า พึงปฏิบัติข้อปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ การ ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม รวมความว่า ผู้ใดปฏิบัติตามโดยประการนั้น คำว่า พึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ อธิบายว่า อมตนิพพาน คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท เรียกว่า ฝั่ง @เชิงอรรถ : @๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๔๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
กิเลส ขันธ์ และอภิสังขารเรียกว่า ที่มิใช่ฝั่ง คำว่า พึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ อธิบายว่า พึงถึงฝั่ง คือ บรรลุฝั่ง ถูก ต้องฝั่ง ทำให้แจ้งฝั่ง จากที่มิใช่ฝั่งได้ รวมความว่า พึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ ด้วย เหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า การพยากรณ์ปัญหาแต่ละปัญหา ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการใด ผู้ใดปฏิบัติตามโดยประการนั้น ผู้นั้นพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ [๑๐๑] (พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวว่า) บุคคลเมื่อเจริญมรรคอันสูงสุด จะพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ (เพราะ) มรรคนั้น (เป็นไป)เพื่อให้ถึงฝั่ง เพราะฉะนั้น มรรคนั้น จึงชื่อว่าปารายนะ (๗) คำว่า จะพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ อธิบายว่า กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร เรียกว่า ที่มิใช่ฝั่ง อมตนิพพาน คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท เรียกว่า ฝั่ง คำว่า จะพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ อธิบายว่า พึงถึงฝั่ง คือ บรรลุฝั่ง ถูกต้องฝั่ง ทำให้แจ้งฝั่ง จากที่มิใช่ฝั่งได้ รวมความว่า จะพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ คำว่า มรรค ในคำว่า เมื่อเจริญมรรคอันสูงสุด ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ๑- เรียกว่า มรรค คำว่า อันสูงสุด ได้แก่ เลิศ คือ ประเสริฐ วิเศษสุด ชั้นแนวหน้า สูงสุด ยอดเยี่ยม รวมความว่า มรรคอันสูงสุด @เชิงอรรถ : @๑ ดูรายละเอียดข้อ ๙๙/๓๔๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๔๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
คำว่า เมื่อเจริญ ได้แก่ เมื่อเจริญ คือ เมื่อเสพคุ้น ทำให้มาก รวมความว่า เมื่อเจริญมรรคอันสูงสุด คำว่า (เพราะ) มรรคนั้น(เป็นไป)เพื่อให้ถึงฝั่ง ได้แก่ มรรค ปันถะ ปถะ ปัชชะ อัญชสะ วฏุมายนะ นาวา อุตตรเสตุ กุลละ ภิสิ และสังกมะ คำว่า (เป็นไป)เพื่อให้ถึงฝั่ง ได้แก่ (เป็นไป) เพื่อให้ถึงฝั่ง คือ เพื่อบรรลุ ถึงฝั่ง เพื่อตามบรรลุให้ถึงฝั่ง เพื่อข้ามชราและมรณะ รวมความว่า (เพราะ)มรรคนั้น (เป็นไป)เพื่อให้ถึงฝั่ง คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น มรรคนั้นจึงชื่อว่าปารายนะ อธิบายว่า เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น ได้แก่ อมตนิพพาน อันเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็น ที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท เรียกว่า ฝั่ง มรรค เรียกว่า อายนะ คำว่า ว่า เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า ว่า นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลัง เข้าด้วยกัน รวมความว่า เพราะฉะนั้น มรรคนั้นจึงชื่อว่าปารายนะ ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า บุคคลเมื่อเจริญมรรคอันสูงสุด จะพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ (เพราะ)มรรคนั้น(เป็นไป)เพื่อให้ถึงฝั่ง เพราะฉะนั้น มรรคนั้น จึงชื่อว่าปารายนะปารายนัตถุติคาถานิทเทสที่ ๑๗ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๔๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส๑- ว่าด้วยเพลงขับตามธรรมเป็นเหตุให้ถึงฝั่ง [๑๐๒] (พระปิงคิยเถระกล่าวแก่พราหมณ์พาวรีท่ามกลางชุมชน ดังนี้) อาตมภาพจักกล่าวบทขับที่เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ปราศจากมลทิน มีพระปัญญาดุจภูริ ปราศจากกาม ทรงไร้กิเลสดังป่า ผู้เป็นนาคะ ทรงเห็นอย่างใด ก็ตรัสอย่างนั้น จะพึงกล่าวคำเท็จเพราะเหตุแห่งอะไรเล่า (๑) คำว่า อาตมภาพจักกล่าวบทขับที่เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง อธิบายว่า อาตมภาพ จักกล่าวบทขับ จักกล่าวบทขับที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้ว จักกล่าวบทขับที่พระพุทธ- เจ้าทรงบอกแล้ว จักกล่าวบทขับที่พระพุทธเจ้าทรงภาษิตไว้แล้ว รวมความว่า อาตมภาพจักกล่าวบทขับที่เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านปิงคิยะกล่าว... ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า ดังนี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง คำว่า ปิงคิยะ เป็นชื่อ เป็นการนับ การขนานนาม บัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน นาม การตั้งชื่อ ชื่อที่ตั้งให้ ภาษา พยัญชนะ ชื่อเรียกเฉพาะของพระเถระนั้น รวมความว่า ท่านปิงคิยะกล่าว... ดังนี้ คำว่า ทรงเห็นอย่างใด ก็ตรัสอย่างนั้น อธิบายว่า ทรงเห็นอย่างใด ก็ตรัส คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศอย่างนั้น @เชิงอรรถ : @๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๑๓๘-๑๑๕๖/๕๕๑-๕๕๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๔๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
ทรงเห็นอย่างใดว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ก็ตรัส คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศอย่างนั้น ทรงเห็นอย่างใดว่า สังขาร ทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิด ขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ก็ตรัส คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศอย่างนั้น รวมความว่า ทรงเห็นอย่างใด ก็ตรัสอย่างนั้น คำว่า ปราศจากมลทิน ในคำว่า ทรงปราศจากมลทิน มีพระปัญญาดุจภูริ อธิบายว่า ราคะ ชื่อว่ามลทิน โทสะ ชื่อว่ามลทิน โมหะ ชื่อว่ามลทิน โกธะ ชื่อว่า มลทิน อุปนาหะ ชื่อว่ามลทิน ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ชื่อว่ามลทิน มลทินเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดราก ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าไม่มีมลทิน ปราศจากมลทิน คือ ไร้มลทิน บำราศมลทิน ละมลทินได้แล้ว หลุดพ้นมลทิน ก้าวล่วงมลทินทั้งปวงแล้ว แผ่นดินตรัสเรียกว่า ภูริ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยปัญญา อันไพบูลย์ กว้างขวาง แผ่ไปเสมอด้วยแผ่นดินนี้ ปัญญาตรัสเรียกว่า เมธา(ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส) ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยา ที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยปัญญาชื่อว่าเมธานี้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่ามีพระปัญญาดุจภูริ รวมความว่า ทรงปราศจากมลทิน มีพระปัญญาดุจภูริ คำว่า ทรงปราศจากกาม ทรงไร้กิเลสดังป่า ผู้เป็นนาคะ อธิบายว่า คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้ เรียกว่า กิเลสกาม๑- @เชิงอรรถ : @๑ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๔๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงกำหนดรู้วัตถุกาม ทรงละกิเลสกามได้แล้ว เพราะ เป็นผู้กำหนดรู้วัตถุกาม เพราะทรงละกิเลสกามได้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงไม่ทรง ใคร่ในกาม คือ ไม่ทรงต้องการ ไม่ปรารถนา ไม่มุ่งหมาย ไม่มุ่งหวังในกาม ชนเหล่าใดใคร่กาม ต้องการ ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวังกาม ชนเหล่านั้น ชื่อว่ายังใคร่กาม กำหนัดในราคะ มีความสำคัญในสัญญา พระผู้มีพระภาคไม่ทรงใคร่ในกาม ไม่ทรงต้องการ ไม่ปรารถนา ไม่มุ่งหมาย ไม่มุ่งหวังในกาม ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าไม่มีกาม คือ ปราศจากกาม เป็นผู้สละกามแล้ว คายกามแล้ว ปล่อยกามแล้ว ละกามแล้ว สลัดทิ้งกามแล้ว คลายราคะแล้ว ปราศจากราคะแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะแล้ว เป็นผู้หมดความอยาก ดับแล้ว เย็นแล้ว มีตน อันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า ทรงปราศจากกาม คำว่า ทรงไร้กิเลสดังป่า อธิบายว่า ราคะ ชื่อว่ากิเลสดังป่า โทสะ ชื่อว่ากิเลส ดังป่า โมหะ ชื่อว่ากิเลสดังป่า โกธะ ชื่อว่ากิเลสดังป่า อุปนาหะ ชื่อว่ากิเลส ดังป่า ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ชื่อว่ากิเลสดังป่า กิเลสดังป่าเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป ไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มีกิเลสดังป่า ปราศจากกิเลสดังป่า ไร้กิเลส ดังป่า คือ บำราศกิเลสดังป่า ทรงละกิเลสดังป่าได้แล้ว หลุดพ้นกิเลสดังป่าได้แล้ว ก้าวล่วงกิเลสดังป่าทั้งปวงแล้ว รวมความว่า ทรงไร้กิเลสดังป่า คำว่า ผู้เป็นนาคะ อธิบายว่า ผู้เป็นนาคะ คือ พระผู้มีพระภาคชื่อว่านาคะ เพราะไม่ทรงทำความชั่ว พระผู้มีพระภาคชื่อว่านาคะ เพราะไม่ทรงถึง พระผู้มีพระ- ภาคชื่อว่านาคะ เพราะไม่ทรงกลับมาหา ฯลฯ พระผู้มีพระภาค จึงชื่อว่านาคะ๑- เพราะไม่ทรงกลับมาหา เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ทรงปราศจากกาม ทรงไร้กิเลส ดังป่า ผู้เป็นนาคะ @เชิงอรรถ : @๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๗/๑๔๕-๑๔๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๔๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า เพราะเหตุแห่งอะไรเล่า ในคำว่า จะพึงกล่าวคำเท็จเพราะเหตุแห่ง อะไรเล่า อธิบายว่า เพราะเหตุแห่งอะไร คือ เพราะเหตุอะไร เพราะการณ์อะไร เพราะต้นเหตุอะไร เพราะปัจจัยอะไร รวมความว่า เพราะเหตุแห่งอะไรเล่า คำว่า จะพึงกล่าวคำเท็จ ได้แก่ จะพึงกล่าว คือ พูด แสดง ชี้แจงคำเท็จว่าด้วยมุสาวาท คำว่า จะพึงกล่าวคำเท็จ อธิบายว่า บุคคลพูดคำเท็จ คือ พูดมุสาวาท พูดเรื่องไม่ดี คนบางคนในโลกนี้ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น บุคคลนั้นไม่รู้ก็พูดว่า รู้ รู้ก็พูดว่า ไม่รู้ ไม่เห็นก็ พูดว่า เห็น หรือเห็นก็พูดว่า ไม่เห็น พูดเท็จทั้งที่รู้ เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง หรือเพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วย ประการฉะนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ อีกนัยหนึ่ง มุสาวาท มีได้ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑. ก่อนพูดเธอก็รู้ว่า เราจักพูดเท็จ ๒. กำลังพูดก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ ๓. พูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ อีกนัยหนึ่ง มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ ๑. ก่อนพูดเธอก็รู้ว่า เราจักพูดเท็จ ฯลฯ อีกนัยหนึ่ง มุสาวาท มีได้ด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๖ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง ฯลฯ มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๘ อย่าง คือ ๑. ก่อนพูดเธอก็รู้ว่า เราจักพูดเท็จ ๒. กำลังพูดก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ ๓. พูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๔๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
๔. ปิดบังทิฏฐิ ๕. ปิดบังความพอใจ ๖. ปิดบังความชอบใจ ๗. ปิดบังความสำคัญ ๘. ปิดบังความจริง ฯลฯ มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๘ อย่างเหล่านี้๑- เพราะเหตุอะไร คนจึงกล่าวคำมุสา คือ พูด แสดง ชี้แจงคำมุสา รวมความว่า จะพึงกล่าวคำเท็จเพราะเหตุแห่งอะไรเล่า ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า (พระปิงคิยเถระกล่าวแก่พราหมณ์พาวรีท่ามกลางชุมชน ดังนี้) อาตมภาพจักกล่าวบทขับที่เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ปราศจากมลทิน มีพระปัญญาดุจภูริ ปราศจากกาม ทรงไร้กิเลสดังป่า ผู้เป็นนาคะ ทรงเห็นอย่างใด ก็ตรัสอย่างนั้น จะพึงกล่าวคำเท็จเพราะเหตุแห่งอะไรเล่า [๑๐๓] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า) อาตมภาพจักกล่าวถ้อยคำ ที่ประกอบด้วยการสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงละมลทินและโมหะได้แล้ว ผู้ทรงละความถือตัวและความลบหลู่ได้ ณ บัดนี้ (๒) คำว่า ผู้ทรงละมลทินและโมหะได้แล้ว อธิบายว่า คำว่า มลทิน อธิบายว่า ราคะ ชื่อว่ามลทิน โทสะ ชื่อว่ามลทิน โมหะ ชื่อว่ามลทิน มานะ ชื่อว่ามลทิน ทิฏฐิ ชื่อว่ามลทิน กิเลส ชื่อว่ามลทิน ทุจริต ทุกอย่างและกรรมที่นำไปสู่ภพทั้งปวง ชื่อว่ามลทิน @เชิงอรรถ : @๑ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕๔/๑๘๕-๑๘๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๕๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า โมหะ อธิบายว่า ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ อวิชชาเป็นดุจลิ่มสลัก อกุศลมูลคือโมหะ นี้ท่านเรียกว่า โมหะ มลทินและโมหะ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดราก ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าผู้ทรงละมลทินและโมหะได้แล้ว รวมความว่า ผู้ทรงละมลทินและโมหะได้แล้ว คำว่า ทรงละความถือตัวและความลบหลู่ได้ อธิบายว่าว่าด้วยความถือตัวมีนัยต่างๆ คำว่า ความถือตัว อธิบายว่า ความถือตัวนัยเดียว คือ ความที่จิตใฝ่สูง ความถือตัว ๒ นัย คือ ๑. การยกตน ๒. การข่มผู้อื่น ความถือตัว ๓ นัย คือ ๑. ความถือตัวว่า เราเลิศกว่าเขา ๒. ความถือตัวว่า เราเสมอเขา ๓. ความถือตัวว่า เราด้อยกว่าเขา ความถือตัว ๔ นัย คือ ๑. เกิดความถือตัวเพราะลาภ ๒. เกิดความถือตัวเพราะยศ ๓. เกิดความถือตัวเพราะความสรรเสริญ ๔. เกิดความถือตัวเพราะความสุข ความถือตัว ๕ นัย คือ ๑. เกิดความถือตัวว่าเราได้รูปที่ถูกใจ ๒. ความถือตัวว่าเราได้เสียงที่ถูกใจ ๓. ความถือตัวว่าเราได้กลิ่นที่ถูกใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๕๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
๔. ความถือตัวว่าเราได้รสที่ถูกใจ ๕. ความถือตัวว่าเราได้โผฏฐัพพะที่ถูกใจ ความถือตัว ๖ นัย คือ ๑. เกิดความถือตัวเพราะมีตาสมบูรณ์ ๒. เกิดความถือตัวเพราะมีหูสมบูรณ์ ๓. เกิดความถือตัวเพราะมีจมูกสมบูรณ์ ๔. เกิดความถือตัวเพราะมีลิ้นสมบูรณ์ ๕. เกิดความถือตัวเพราะมีกายสมบูรณ์ ๖. เกิดความถือตัวเพราะมีใจสมบูรณ์ ความถือตัว ๗ นัย คือ ๑. ความถือตัว ๒. ความดูหมิ่น ๓. ความดูหมิ่นด้วยอำนาจความถือตัว ๔. ความถือตัวว่าด้อยกว่าเขา ๕. ความถือตัวว่าต่ำกว่าเขา ๖. ความถือเราถือเขา ๗. ความถือตัวผิดๆ ความถือตัว ๘ นัย คือ ๑. เกิดความถือตัวเพราะได้ลาภ ๒. เกิดความถือตัวว่าตกต่ำเพราะเสื่อมลาภ ๓. เกิดความถือตัวเพราะมียศ ๔. เกิดความถือตัวว่าตกต่ำเพราะเสื่อมยศ ๕. เกิดความถือตัวเพราะความสรรเสริญ ๖. เกิดความถือตัวว่าตกต่ำเพราะถูกนินทา ๗. เกิดความถือตัวเพราะความสุข ๘. เกิดความถือตัวว่าตกต่ำเพราะความทุกข์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๕๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
ความถือตัว ๙ นัย คือ ๑. เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่า เลิศกว่าเขา ๒. เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่า เสมอเขา ๓. เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่า ด้อยกว่าเขา ๔. เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่า เลิศกว่าเขา ๕. เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่า เสมอเขา ๖. เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่า ด้อยกว่าเขา ๗. เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่า เลิศกว่าเขา ๘. เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่า เสมอเขา ๙. เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่า ด้อยกว่าเขา ความถือตัว ๑๐ นัย คือ คนบางคนในโลกนี้ ๑. เกิดความถือตัวเพราะชาติ ๒. เกิดความถือตัวเพราะโคตร ๓. เกิดความถือตัวเพราะเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ๔. เกิดความถือตัวเพราะเป็นผู้มีรูปงาม ๕. เกิดความถือตัวเพราะมีทรัพย์ ๖. เกิดความถือตัวเพราะการศึกษา ๗. เกิดความถือตัวเพราะหน้าที่การงาน ๘. เกิดความถือตัวเพราะมีหลักแห่งศิลปวิทยา ๙. เกิดความถือตัวเพราะวิทยฐานะ ๑๐. เกิดความถือตัวเพราะความคงแก่เรียน เกิดความถือตัวเพราะ ปฏิภาณ หรือเกิดความถือตัวเพราะสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเห็น ปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความถือตัว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๕๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า ความลบหลู่ ได้แก่ ความลบหลู่ กิริยาที่ลบหลู่ ภาวะที่ลบหลู่ ความแข็งกระด้าง กรรมคือความแข็งกระด้าง นี้เรียกว่า ความลบหลู่ ความถือตัวและความลบหลู่ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าทรงละความถือตัวและความ ลบหลู่ รวมความว่า ทรงละความถือตัวและความลบหลู่ได้ คำว่า ณ บัดนี้ ในคำว่า อาตมภาพจักกล่าวถ้อยคำ ที่ประกอบด้วยการ สรรเสริญ... ณ บัดนี้ เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ณ บัดนี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน คำว่า ข้าพระองค์จักกล่าวถ้อยคำที่ประกอบด้วยการสรรเสริญ อธิบายว่า อาตมภาพจักกล่าว คือ แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศถ้อยคำ คือ วาจา คำที่เป็นแนวทาง การเปล่งวาจาที่ประกอบ ประกอบ พร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยการ สรรเสริญ รวมความว่า ข้าพระองค์จักกล่าวถ้อยคำที่ประกอบด้วยการสรรเสริญ ณ บัดนี้ ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า อาตมภาพจักกล่าวถ้อยคำ ที่ประกอบด้วยการสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงละมลทินและโมหะได้แล้ว ผู้ทรงละความถือตัวและความลบหลู่ได้ ณ บัดนี้ [๑๐๔] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า) ท่านพราหมณาจารย์ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้กำจัดความมืด มีสมันตจักขุ ทรงถึงที่สุดโลก ทรงล่วงภพได้ทั้งหมด ไม่มีอาสวะ ทรงละทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ทรงมีชื่อตามความจริง อาตมภาพได้เข้าเฝ้ามาแล้ว (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๕๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า ทรงเป็นผู้กำจัดความมืด ในคำว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้กำจัด ความมืด มีสมันตจักขุ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงกำจัด คือ ทำให้ เบาบาง ลด บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความมืดเพราะราคะ ความมืดเพราะโทสะ ความมืดเพราะโมหะ ความมืดเพราะมานะ ความมืดเพราะ ทิฏฐิ ความมืดเพราะกิเลส ความมืดเพราะทุจริต ซึ่งทำให้เป็นคนตาบอด ทำให้ ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีญาณอันดับปัญญา เป็นไปในฝ่ายแห่งความลำบาก ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน รวมความว่า ทรงเป็นผู้กำจัดความมืด คำว่า พระพุทธเจ้า ได้แก่ พระผู้มีพระภาค ฯลฯ คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑- คำว่า มีสมันตจักขุ อธิบายว่า พระสัพพัญญุตญาณ ตรัสเรียกว่า สมันตจักขุ ฯลฯ พระตถาคต ชื่อว่ามีสมันตจักขุ ด้วยจักษุนั้น รวมความว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้กำจัดความมืด มีสมันตจักขุ คำว่า ทรงถึงที่สุดโลก ทรงล่วงภพได้ทั้งหมด อธิบายว่า คำว่า โลก อธิบายว่า โลก ๑ คือ ภวโลก๒- โลก ๒ คือ ภวโลกที่เป็นสมบัติและภวโลกที่เป็นวิบัติ โลก ๓ คือ เวทนา๓- ๓ โลก ๔ คือ อาหาร๔- ๔ @เชิงอรรถ : @๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘ @๒ ภวโลก ได้แก่โลกคือภพ วิบากอันเป็นไปในภูมิทั้ง ๓ (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๕) @๓ เวทนา ๓ ได้แก่สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๕) @๔ อาหาร ๔ ได้แก่ (๑) กพฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว (๒) ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ (๓) มโนสัญ- @เจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา (๔) วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ หมายถึงปฏิสนธิวิญญาณ ๑๙ @ประเภท (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๕) @ผัสสะ เรียกว่าอาหารเพราะนำมาซึ่งเวทนา (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๕) @มโนสัญเจตนา เรียกว่าอาหารเพราะนำมาซึ่งภพ ๓ (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๕) @วิญญาณ เรียกว่าอาหารเพราะนำมาซึ่งนามรูป ในขณะปฏิสนธิ (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๕๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
โลก ๕ คืออุปาทานขันธ์ ๕ โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖ โลก ๗ คือวิญญาณัฏฐิติ๑- ๗ โลก ๘ คือโลกธรรม๒- ๘ โลก ๙ คือสัตตาวาส๓- ๙ โลก ๑๐ คืออายตนะ๔- ๑๐ โลก ๑๑ คือกามภพ๕- ๑๑ โลก ๑๒ คืออายตนะ๖- ๑๒ โลก ๑๘ คือธาตุ๗- ๑๘ คำว่า ทรงถึงที่สุดโลก อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงถึงที่สุด ทรงบรรลุที่สุด ทรงถึงส่วนสุด ทรงบรรลุส่วนสุด ฯลฯ ทรงถึงที่ดับ ทรงบรรลุที่ดับแห่งโลก พระองค์ทรงอยู่ใน (อริยวาสธรรม) แล้ว ทรงประพฤติจรณธรรมแล้ว ฯลฯ พระองค์ ไม่มีการเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ทรงถึงที่สุดโลก คำว่า ทรงล่วงภพได้ทั้งหมด อธิบายว่า คำว่า ภพ ได้แก่ ภพ ๒ คือ (๑) กรรมภพ (๒) ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ @เชิงอรรถ : @๑ ดูรายละเอียดข้อ ๘๓/๒๘๙-๒๙๐ @๒ โลกธรรม ๘ ได้แก่ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๗) @๓ สัตตาวาส ๙ คือที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ได้แก่วิญญาณัฏฐิติ ๗ อสัญญสัตตภูมิ ๑ และเนวสัญญานา- @สัญญายตนภูมิ ๑ รวมเป็น ๙ (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๗) @๔ อายตนะ ๑๐ ได้แก่ตา รูป หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๗) @๕ กามภพ ๑๑ ได้แก่อบายภูมิ ๔ มนุษยโลก ๑ สวรรค์ ๖ ชั้น (ขุ.ม.อ. ๑/๑๖) @๖ อายตนะ ๑๒ ได้แก่อายตนะ ๑๐ รวมใจและธรรมารมณ์จึงเป็น ๑๒ (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๗) @๗ ธาตุ ๑๘ คือการกระจายธาตุแต่ละอย่างให้เป็น ๓ เช่น จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ จนถึงมโนธาตุ @ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๕๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิททเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
กรรมภพ เป็นอย่างไร คือ ปุญญาภิสังขาร๑- อปุญญาภิสังขาร๒- อาเนญชาภิสังขาร๓- นี้ชื่อว่ากรรมภพ ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ เป็นอย่างไร คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีในปฏิสนธิ นี้ชื่อว่าภพใหม่ อันมีในปฏิสนธิ พระผู้มีพระภาคทรงล่วง คือ ทรงก้าวล่วง ทรงล่วงเลยกรรมภพ และภพ ใหม่อันมีในปฏิสนธิแล้ว รวมความว่า ทรงถึงที่สุดโลก ทรงล่วงภพได้ทั้งหมด คำว่า ไม่มีอาสวะ ในคำว่า ไม่มีอาสวะ ทรงละทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ได้แก่ อาสวะ ๔ คือ ๑. กามาสวะ ๒. ภวาสวะ ๓. ทิฏฐาสวะ ๔. อวิชชาสวะ อาสวะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอน โคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น ต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าไม่มีอาสวะ คำว่า ทรงละทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว อธิบายว่า ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสทุกข์ ฯลฯ ทุกข์เพราะทิฏฐิวิบัติ อันมีในปฏิสนธิทั้งปวง พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าทรงละทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว รวมความว่า ไม่มีอาสวะ ทรง ละทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว @เชิงอรรถ : @๑ ปุญญาภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นบุญ สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนา (ขุ.ม.อ. ๒๕/๒๑๖) @๒ อปุญญาภิสังขาร คือสภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย (ขุ.ม.อ. ๒๕/๒๑๖) @๓ อาเนญชาภิสังขาร คือสภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว ได้แก่ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิ @แห่งจตุตถฌาน (ขุ.ม.อ. ๒๕/๒๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๕๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า ทรงมีชื่อตามความจริง ในคำว่า ท่านพราหมณาจารย์... ทรงมีชื่อ ตามความจริง อาตมภาพได้เข้าเฝ้ามาแล้ว อธิบายว่า ทรงมีชื่อตามความจริง คือ มีพระนามเช่นเดียวกัน ทรงมีชื่อที่มีความหมายอย่างเดียวกัน มีพระนามเช่นเดียว กับความจริง อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี พระผู้มีพระภาคพระ นามว่าสิขี พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเวสสภู พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ พระผู้มีพระภาคพระนามว่าโกนาคมนะ พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ พระผู้- มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น มีพระนามเช่นเดียวกัน คือ ทรงมีชื่อที่มีความหมาย อย่างเดียวกัน แม้พระผู้มีพระภาคศากยมุนี ก็มีพระนามเช่นเดียวกัน คือ ทรงมีชื่อ ที่มีความหมายอย่างเดียวกันกับพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น ฉะนั้น พระพุทธ- เจ้า จึงชื่อว่าทรงมีชื่อตามความจริง๑- คำว่า ท่านพราหมณาจารย์... อาตมภาพได้เข้าเฝ้ามาแล้ว อธิบายว่า พระผู้ มีพระภาคพระองค์นั้น อาตมภาพเข้าไปใกล้ ได้เข้าเฝ้ามาแล้ว คือ เข้าไปนั่งใกล้ ได้ทูลถาม ได้ทูลถามปัญหาแล้ว รวมความว่า ท่านพราหมณาจารย์...อาตมภาพ ได้เข้าเฝ้ามาแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยะเถระจึงกล่าวว่า ท่านพราหมณาจารย์ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้กำจัดความมืด มีสมันตจักขุ ทรงถึงที่สุดโลก ทรงล่วงภพได้ทั้งหมด ไม่มีอาสวะ ทรงละทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ทรงมีชื่อตามความจริง อาตมภาพได้เข้าเฝ้ามาแล้ว [๑๐๕] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า) ทิชะ(นก)พึงละป่าเล็กแล้วมาอาศัยป่าใหญ่ ที่มีผลไม้มากฉันใด อาตมภาพก็ฉันนั้น ละคณาจารย์ผู้มีทรรศนะแคบ ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เหมือนหงส์โผลงสู่สระใหญ่ (๔) @เชิงอรรถ : @๑ ทรงมีชื่อว่าตามความจริงในที่นี้หมายความว่าพระผู้มีพระภาคมีพระนามไม่วิปริตแสดงพระคุณเป็นเอก @แท้จริง (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๕๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า ทิชะ(นก)พึงละป่าเล็กแล้วมาอาศัยป่าใหญ่ ที่มีผลไม้มากฉันใด อธิบายว่า นกเรียกว่า ทิชะ เพราะเหตุไร นกจึงเรียกว่า ทิชะ ทิชะเกิด ๒ ครั้ง คือ จากท้องแม่ และจากฟองไข่ จึงชื่อว่าทิชะ เพราะเหตุนั้น นกจึงเรียกว่า ทิชะ ฉะนั้น จึงชื่อว่าทิชะ คำว่า ละป่าเล็กแล้ว ... ฉันใด อธิบายว่า นกละทิ้ง ล่วง ก้าวล่วง ล่วงเลย ป่าเล็ก คือ ป่าน้อย ที่มีผลไม้น้อย มีอาหารน้อย มีน้ำน้อย ไปถึง ประสบ ได้ป่า คือ ป่าทึบใหญ่อื่น ที่มีผลไม้มาก มีอาหารมาก มีน้ำมากอยู่ในป่าทึบนั้น ฉันใด รวม ความว่า ทิชะ(นก)พึงละป่าเล็กแล้วมาอาศัยป่าใหญ่ ที่มีผลไม้มาก ฉันใด คำว่า ฉันนั้น ในคำว่า อาตมภาพก็ฉันนั้น ละคณาจารย์ผู้มีทรรศนะแคบ ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เหมือนหงส์โผลงสู่สระใหญ่ เป็นคำที่ทำให้การเปรียบเทียบ สมบูรณ์ คำว่า ละคณาจารย์ผู้มีทรรศนะแคบ อธิบายว่า พราหมณ์พาวรี และ พราหมณ์เหล่าอื่น ที่เป็นอาจารย์ของพราหมณ์พาวรีนั้น เปรียบเทียบกับพระผู้มี- พระภาคพุทธเจ้า ชื่อว่ามีทรรศนะแคบ คือ มีทรรศนะต่ำต้อย มีทรรศนะนิดหน่อย มีทรรศนะต่ำทราม มีทรรศนะน่ารังเกียจ หรือมีทรรศนะหยาบ อาตมภาพ ละ ทิ้ง ล่วง ก้าวล่วง ล่วงเลยพราหมณ์เหล่านั้น ซึ่งมีทรรศนะแคบ คือ มีทรรศนะต่ำต้อย มีทรรศนะนิดหน่อย มีทรรศนะต่ำทราม มีทรรศนะน่ารังเกียจ มีทรรศนะหยาบ มาพบ คือ ประสบ ได้เฉพาะพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้มีทรรศนะหาประมาณมิได้ มีทรรศนะเลิศ ทรรศนะประเสริฐสุด ทรรศนะวิเศษสุด ทรรศนะชั้นแนวหน้า ทรรศนะสูงสุด ทรรศนะยอดเยี่ยม ไม่มีใครเสมอ ไม่มีใครเสมอเหมือน ไม่มีใคร เปรียบเทียบได้ ไม่มีใครเทียบเทียมได้ ไม่มีบุคคลผู้มีส่วนเปรียบเหมือน ทรงเป็น เทพยิ่งกว่าเทพ ทรงองอาจกว่านรชน ทรงเป็นบุรุษดุจราชสีห์ ทรงเป็นบุรุษดุจ พญาช้าง ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษแกล้วกล้า ทรงเป็นบุรุษรับภาระ มี พระทศพลญาณ ทรงมั่นคง พญาหงส์พึงไปถึง ประสบ ได้เฉพาะสระใหญ่ที่มนุษย์สร้างไว้ สระอโนดาต หรือมหาสมุทร มีน้ำที่ไม่กระเพื่อม มีน้ำนับประมาณมิได้ ฉันใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๕๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
อาตมภาพ คือปิงคิยพราหมณ์ ก็ฉันนั้น ได้พบพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้ไม่ หวั่นไหว มีพระเดชนับไม่ถ้วน มีพระญาณแตกฉาน มีพระจักษุแจ่มแจ้ง ทรงฉลาด ในประเภทปัญญา ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงถึงจตุเวสารัชชญาณ ทรงน้อมพระ ทัยไปด้วยศรัทธา๑- มีพระองค์ขาวผ่อง ตรัสพระวาจาไม่เป็นสอง ทรงมั่นคง ทรง มีปฏิญญาอย่างนั้น มิใช่คนเล็กๆ ทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ทรงลึกซึ้ง มีพระคุณอัน ประมาณมิได้ มีพระธรรมอันหยั่งถึงยาก ทรงมีรัตนะมากมาย มีพระคุณเสมอด้วย สาคร ทรงประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ มีพระคุณชั่งไม่ได้๒- ไพบูลย์ หาประมาณ มิได้ ตรัสถึงมรรคแก่ผู้ที่กล่าวถึงพระองค์เช่นนั้น เป็นพระชินเจ้ายอดเยี่ยม เหมือน เขาพระสุเมรุเลิศกว่าขุนเขา เหมือนครุฑเลิศกว่าพวกนก เหมือนราชสีห์เลิศกว่าหมู่ มฤค เหมือนทะเลเลิศกว่าห้วงน้ำทั้งหลาย คือ พระศาสดาพระองค์นั้น ผู้ทรงเป็น พระชินเจ้ายอดเยี่ยม ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ รวมความว่า อาตมภาพก็ฉันนั้น ละคณาจารย์ ผู้มีทรรศนะแคบ ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเหมือนหงส์โผลงสู่สระใหญ่ ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า ทิชะ(นก)พึงละป่าเล็กแล้วมาอาศัยป่าใหญ่ ที่มีผลไม้มากฉันใด อาตมภาพก็ฉันนั้น ละคณาจารย์ผู้มีทรรศนะแคบ ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เหมือนหงส์โผลงสู่สระใหญ่ [๑๐๖] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า) ก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม อาจารย์เจ้าลัทธิเหล่าใดเคยพยากรณ์แก่อาตมภาพว่า เหตุนี้ได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้ คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นมีแต่จะทำให้ตรึกไปต่างๆ (๕) @เชิงอรรถ : @๑ ทรงน้อมพระทัยไปด้วยศรัทธา ในที่นี้หมายถึงทรงน้อมพระทัยไปในผลสมาบัติบริสุทธิ์ (ขุ.จู.อ. ๑๐๕/๘๙) @๒ มีพระคุณชั่งไม่ได้ คือปราศจากการชั่ง ใครๆ ไม่สามารถชั่งได้ (ขุ.จู.อ. ๑๐๕/๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๖๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า เหล่าใด ในคำว่า ก่อน ... อาจารย์เจ้าลัทธิเหล่าใดเคยพยากรณ์แก่ อาตมภาพ อธิบายว่า พราหมณ์พาวรีใดและอาจารย์ของพราหมณ์พาวรีเหล่าอื่นใด อาจารย์เหล่านั้นเคยพยากรณ์ คือ เคยบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศหลักการของตน คือ ความถูกใจ ความพอใจ ลัทธิ อัธยาศัย ความประสงค์ของตน รวมความว่า ก่อน ... อาจารย์เจ้าลัทธิเหล่าใดเคยพยากรณ์ แก่อาตมภาพ คำว่า แต่ศาสนาของพระโคดม อธิบายว่า แต่ศาสนาของพระโคดม คือ อื่นจากศาสนาของพระโคดม ก่อนศาสนาของพระโคดม ก่อนกว่าศาสนาของพระ โคดม ได้แก่ ก่อนกว่าศาสนาของพระพุทธเจ้า ศาสนาของพระชินเจ้า ศาสนาของ พระตถาคต ศาสนาของพระอรหันต์ รวมความว่า แต่ศาสนาของพระโคดม คำว่า เหตุนี้ได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้ อธิบายว่า เล่ากันว่า เหตุนี้ได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้ รวมความว่า เหตุนี้ได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้ คำว่า คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา อธิบายว่า คำ พยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา คือ อาจารย์เหล่านั้นกล่าวธรรมที่ตน ไม่รู้ด้วยตนเอง ธรรมที่ไม่ได้ประจักษ์แก่ตนเอง โดยการเชื่อผู้อื่นว่า ธรรมนี้เป็น ดังนี้ๆ โดยการเล่าลือ โดยการถือสืบๆ กันมา โดยการอ้างตำรา โดยตรรก โดยการอนุมาน โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล โดยเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รวมความว่า คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา คำว่า คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นมีแต่จะทำให้ตรึกไปต่างๆ อธิบายว่า คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นมีแต่จะทำให้ตรึกไปต่างๆ คือ ทำให้ความวิตกเจริญ ทำให้ ความดำริเจริญ ทำให้กามวิตกเจริญ ทำให้พยาบาทวิตกเจริญ ทำให้วิหิงสาวิตก เจริญ ทำให้ความวิตกถึงญาติเจริญ ทำให้ความวิตกถึงชนบทเจริญ ทำให้ความวิตก ถึงความไม่ตายเจริญ ทำให้ความวิตกที่ประกอบด้วยความเอ็นดูเจริญ ทำให้ความ วิตกที่ประกอบด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญเจริญ ทำให้ความวิตกที่ประกอบ ด้วยความปรารถนามิให้ใครดูหมิ่นเจริญ รวมความว่า คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นมีแต่ จะทำให้ตรึกไปต่างๆ ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๖๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
ก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม อาจารย์เจ้าลัทธิเหล่าใดเคยพยากรณ์แก่อาตมภาพว่า เหตุนี้ได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้ คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นมีแต่จะทำให้ตรึกไปต่างๆ [๑๐๗] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า) พระโคดมทรงเป็นเอกบุรุษ ประทับนั่งทำลายความมืดอยู่ ทรงรุ่งเรือง ทรงแผ่รัศมี พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ (๖)ว่าด้วยพระพุทธเจ้าทรงเป็นเอกบุรุษ คำว่า ทรงเป็นเอกบุรุษ ในคำว่า ทรงเป็นเอกบุรุษประทับนั่งทำลายความ มืดอยู่ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะส่วนแห่งการบรรพชา ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะอธิบายว่า ไม่มีเพื่อน ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะอธิบายว่า ทรงละตัณหาได้ ทรงปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ ทรงปราศจากโทสะโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ ทรงปราศจากโมหะโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ ทรงปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เสด็จถึงทางสายเอกแล้ว จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ลำพังพระองค์เดียว จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๖๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะส่วนแห่งการบรรพชา เป็น อย่างไร คือ พระผู้มีพระภาคยังทรงหนุ่มแน่น มีพระเกสาดำสนิทดี เพียบพร้อมด้วย ความหนุ่มฉกรรจ์ในปฐมวัย เมื่อพระชนกและพระชนนี มีน้ำพระเนตรนอง พระพักตร์ ทรงกันแสงร่ำไห้ ไม่ปรารถนา (ให้ผนวช) ทรงละหมู่พระญาติ ทรงตัด ความกังวลในการครองเรือน ความกังวลด้วยพระโอรสและพระมเหสี ความกังวล ด้วยพระญาติ ความกังวลด้วยพระสหายและอำมาตย์ ความกังวลด้วยการสั่งสม ทุกอย่าง ทรงปลงพระเกสาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวะ เสด็จออกผนวชจาก พระราชวังเป็นบรรพชิต ทรงเข้าถึงความเป็นผู้ไม่มีความกังวล ทรงประพฤติอยู่ ประทับอยู่ ทรงเปลี่ยนอิริยาบถ ทรงเป็นไป ทรงรักษาพระชนมชีพ ทรงดำเนินไป ทรงยังชีวิตให้ดำเนินไปตามลำพังพระองค์เดียว พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะส่วนแห่งการบรรพชา เป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะอธิบายว่า ไม่มีเพื่อน เป็นอย่างไร คือ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผนวชแล้วอย่างนี้ ทรงใช้สอยเสนาสนะที่เป็น ป่าทึบและป่าละเมาะอันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไป มาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้นตามลำพัง พระองค์เดียว พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสด็จไปพระองค์เดียว ประทับยืน พระองค์เดียว ประทับนั่งพระองค์เดียว บรรทมพระองค์เดียว เสด็จเข้าสู่หมู่บ้านเพื่อ บิณฑบาตพระองค์เดียว เสด็จไปพระองค์เดียว เสด็จกลับพระองค์เดียว ประทับนั่ง ในที่ลับพระองค์เดียว ตั้งพระทัยจงกรมพระองค์เดียว ทรงประพฤติ ประทับอยู่ ทรง เปลี่ยนอิริยาบถ ทรงเป็นไป ทรงรักษาพระชนมชีพ ทรงดำเนินไป ทรงยังชีวิตให้ ดำเนินไปลำพังพระองค์เดียว พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะ อธิบายว่า ไม่มีเพื่อนเป็นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๖๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะอธิบายว่าทรงละตัณหาได้ เป็นอย่างไร คือ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงเป็นเอกบุรุษ ไม่ทรงมีเพื่อนสอง อย่างนี้ ไม่ทรงประมาท ทรงมีความเพียร ตั้งพระทัยเด็ดเดี่ยวอยู่ ทรงตั้งความเพียร ครั้งใหญ่ ณ โคนต้นโพธิ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงกำจัดมารพร้อมทั้งเสนาผู้ ชั่วร้าย ซึ่งกีดกันมหาชนไม่ให้หลุดพ้น เป็นเผ่าพันธุ์ของผู้ประมาท ทรงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งตัณหาที่เป็นดุจตาข่าย ซ่านไปเกาะเกี่ยวอารมณ์ (สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า) บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาวนาน ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏที่มีความเป็นอย่างนี้ และความเป็นอย่างอื่น ภิกษุรู้โทษนี้แล้ว รู้ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดแห่งทุกข์ พึงเป็นผู้ไม่มีตัณหา ไม่มีความถือมั่น มีสติสัมปชัญญะอยู่๑- พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะอธิบายว่า ทรงละตัณหาได้ เป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เป็นอย่างไร คือ พระผู้มีพระภาคทรงปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ละราคะได้แล้ว จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ ทรงปราศจากโทสะโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ละโทสะได้แล้ว จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ ทรงปราศจากโมหะโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ละโมหะได้แล้ว จึงชื่อว่าทรงเป็น เอกบุรุษ ทรงปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ละเหล่ากิเลสได้แล้ว จึงชื่อว่าทรง เป็นเอกบุรุษ เป็นอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @๑ องฺ.จตุกฺก.(แปล) ๒๑/๙/๑๕, ๒๕๗/๓๗๔, ขุ.อิติ. ๒๕/๑๐๕/๓๒๔, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๑๙๑/๕๔๗-๕๕๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๖๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงทางสายเอกแล้ว จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เป็น อย่างไร คือ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ ตรัสเรียกว่า ทางสายเอก (สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า) พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงเห็นธรรมอันเป็นส่วนที่สุดสิ้นแห่งชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล ทรงรู้จักมรรคอันเป็นทางสายเอก ซึ่งเหล่าบัณฑิตได้ข้ามมาก่อนแล้ว จักข้าม และกำลังข้ามโอฆะได้ด้วยมรรคนี้๑- พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงทางสายเอกแล้ว จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณลำพังพระองค์เดียว จึง ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เป็นอย่างไร คือ ญาณในมรรคทั้ง ๔ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ฯลฯ ธัมมวิจย- สัมโพชฌงค์ วิมังสา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ ตรัสเรียกว่า โพธิ ด้วยโพธิญาณนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ ตรัสรู้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา อีกนัยหนึ่ง ธรรมชาติอย่างใดก็ตามที่ควรตรัสรู้ ควรตรัสรู้ตามลำดับ ควรตรัสรู้ เฉพาะ ควรตรัสรู้ด้วยดี ควรบรรลุ ควรถูกต้อง ควรทำให้แจ้ง พระผู้มีพระภาคก็ ตรัสรู้ ตรัสรู้ตามลำดับ ตรัสรู้เฉพาะ ตรัสรู้ด้วยดี ตรัสรู้โดยชอบ ทรงบรรลุ ทรง ถูกต้อง ทรงกระทำให้แจ้งธรรมชาตินั้นทั้งหมด ด้วยโพธิญาณนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ลำพังพระองค์เดียว จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เป็น อย่างนี้ @เชิงอรรถ : @๑ สํ.ม. ๑๙/๓๘๔/๑๔๖, ๔๐๙/๑๖๒, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๙๑/๕๔๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๖๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า ทำลายความมืด อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงทำลาย คือ ลด ละ กำจัด ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งความมืดเพราะราคะ ความมืดเพราะ โทสะ ความมืดเพราะโมหะ ความมืดเพราะมานะ ความมืดเพราะทิฏฐิ ความมืด เพราะกิเลส ความมืดเพราะทุจริต ซึ่งทำให้เป็นคนตาบอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ ไม่มีญาณ อันดับปัญญา เป็นไปในฝ่ายแห่งความลำบาก ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน คำว่า ประทับนั่งอยู่ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ที่ปาสาณกเจดีย์ รวมความว่า ประทับนั่งอยู่ พระสาวกทั้งหลายผู้มีวิชชา ๓ ละมัจจุราชได้ นั่งห้อมล้อมพระมุนีผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ประทับนั่งอยู่ที่ข้างภูเขา พระผู้มีพระภาคชื่อว่าประทับนั่งอยู่ อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าประทับนั่งอยู่ เพราะทรงสงัดจากความ ขวนขวายทั้งปวงแล้ว พระองค์ทรงอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ทรงประพฤติจรณธรรม แล้ว ฯลฯ พระองค์ไม่มีการเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก๑- พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าประทับนั่งอยู่ อย่างนี้บ้าง รวมความว่า ทรงเป็นเอกบุรุษ ประทับนั่งทำลาย ความมืดอยู่ คำว่า ทรงรุ่งเรือง ในคำว่า พระโคดมนั้น ... ทรงรุ่งเรือง ทรงแผ่รัศมี อธิบายว่า รุ่งเรือง คือ ทรงมีความรู้ ทรงเป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส คำว่า ทรงแผ่รัศมี ได้แก่ ทรงแผ่รัศมี คือ ทรงแผ่แสงสว่าง แผ่โอภาส แผ่ แสงสว่างดุจประทีป แผ่แสงสว่างดุจโคมไฟ แผ่แสงสว่างรุ่งโรจน์ แผ่แสงโชติช่วง รวมความว่า พระโคดมนั้น ... ทรงรุ่งเรือง ทรงแผ่รัศมี คำว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ อธิบายว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ คือ มีพระญาณปรากฏ มีพระปัญญาเป็นธงชัย มีพระปัญญาเป็นยอดธง มีพระปัญญา @เชิงอรรถ : @๑ เทียบกับความในข้อ ๒๘/๑๔๙-๑๕๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๖๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
เป็นใหญ่ มากด้วยการเลือกเฟ้น มากด้วยความตรวจสอบ มากด้วยปัญญา เพ่งพินิจ มีธรรมเป็นเครื่องพิจารณา อยู่ด้วยธรรมแจ่มแจ้ง เที่ยวไปด้วย ปัญญานั้น มากด้วยปัญญานั้น หนักในปัญญานั้น เอนไปในปัญญานั้น โอนไปใน ปัญญานั้น โน้มไปในปัญญานั้น น้อมใจเชื่อปัญญานั้น มีปัญญานั้นเป็นใหญ่ ธงเป็นเครื่องปรากฏแห่งรถ ควันเป็นเครื่องปรากฏแห่งไฟ พระราชาเป็นเครื่องปรากฏแห่งรัฐ ภัสดาเป็นเครื่องปรากฏของหญิง๑- พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ คือ มีพระญาณปรากฏ มีพระปัญญาเป็นธงชัย มีพระปัญญาเป็นยอดธง มีพระปัญญาเป็นใหญ่ มากด้วยการเลือกเฟ้น มากด้วย ความตรวจสอบ มากด้วยปัญญาเพ่งพินิจ มีธรรมเป็นเครื่องพิจารณา อยู่ด้วย ธรรมแจ่มแจ้ง เที่ยวไปด้วยปัญญานั้น มากด้วยปัญญานั้น หนักในปัญญานั้น เอน ไปในปัญญานั้น โอนไปในปัญญานั้น โน้มไปในปัญญานั้น น้อมใจเชื่อไปในปัญญานั้น มีปัญญานั้นเป็นใหญ่ ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ คำว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ อธิบายว่า แผ่นดินท่านเรียกว่า ภูริ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยปัญญาอันกว้างขวางแผ่ไปเสมอด้วยแผ่นดินนั้น ปัญญาท่านเรียกว่า เมธา ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง งมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๒- พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสนั้น ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าผู้มีพระปัญญาดุจภูริ รวมความว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจ ภูริ ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า @เชิงอรรถ : @๑ สํ.ส. ๑๕/๗๒/๔๗, ขุ.ชา. ๒๘/๑๘๔๑/๓๒๖ @๒ ดูรายละเอียดข้อ ๕/๕๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๖๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
พระโคดมทรงเป็นเอกบุรุษ ประทับนั่งทำลายความมืดอยู่ ทรงรุ่งเรือง ทรงแผ่รัศมี พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ พระโคดมมีพระปัญญาดุจภูริ [๑๐๘] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า) ธรรมใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดทรงแสดงธรรม ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตรายแก่อาตมภาพ (๗) คำว่า พระองค์ใด ในคำว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดทรงแสดงธรรม ...แก่อาตมภาพ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสยัมภู ไม่มีครูอาจารย์ ได้ตรัสรู้สัจจะในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนด้วยพระองค์เอง ทรงบรรลุความเป็น พระสัพพัญญูในสัจจะนั้น และความเป็นผู้ชำนาญในพละทั้งหลาย คำว่า ธรรม ในคำว่า ทรงแสดงธรรม อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคตรัสบอก ทรงแสดง คือ บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศพรหมจรรย์ ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด พร้อมทั้ง อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรค มีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน รวมความว่า พระผู้มี- พระภาคพระองค์ใด ทรงแสดงธรรม ... แก่อาตมภาพ คำว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา อธิบายว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา เชิญมาดูได้ ควรน้อมเข้ามาในตน วิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตน รวมความว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ด้วยประการฉะนี้ อีกนัยหนึ่ง ผู้ใดเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้ ผู้นั้นย่อมบรรลุ ประสบ ได้รับผลแห่งมรรคนั้น ในกาลทุกครั้ง ไม่มีลำดับอื่นคั่น รวมความว่า ที่บุคคล เห็นได้เอง อย่างนี้บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๖๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า ไม่ขึ้นกับกาลเวลา อธิบายว่า มนุษย์ทั้งหลายลงทุนตามเวลา ยังไม่ได้ รับผลในกาลทุกครั้ง ยังต้องรอเวลาฉันใด ธรรมนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ ผู้ใดเจริญ อริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้ ผู้นั้นย่อมบรรลุ ประสบ ได้รับผลแห่งมรรคนั้นใน กาลทุกครั้ง ไม่มีลำดับอื่นคั่น มิใช่ในภพหน้า มิใช่ในปรโลก จึงชื่อว่าไม่ขึ้นกับ กาลเวลา อย่างนี้ รวมความว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา คำว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตราย อธิบายว่า คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ- ตัณหา ธัมมตัณหา คำว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ได้แก่ เป็นที่สิ้นตัณหา คือ เป็นที่สิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ สิ้นคติ สิ้นอุปบัติ สิ้นปฏิสนธิ สิ้นภพ สิ้นสงสาร สิ้นวัฏฏะ คำว่า ไม่มีอันตราย อธิบายว่า กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร ท่านเรียกว่า อันตราย อธิบายว่า (ธรรมเป็นเครื่อง) ละอันตราย เข้าไปสงบอันตราย สลัดทิ้ง อันตราย ระงับอันตราย คืออมตนิพพาน รวมความว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มี อันตราย คำว่า ใด ในคำว่า ธรรมใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ ได้แก่ นิพพาน คำว่า ไม่มีอะไรๆ... เปรียบได้ ได้แก่ ไม่มีสิ่งไรๆ เปรียบได้ คือ ไม่มีข้อ เปรียบเทียบ ไม่มีสิ่งเสมอเหมือน ไม่มีส่วนเปรียบเทียบ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ คำว่า ที่ไหน ได้แก่ ที่ไหน คือ ที่ไหนๆ ที่ไรๆ ภายใน ภายนอก หรือทั้ง ภายในและภายนอก รวมความว่า ธรรมใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า ธรรมใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดทรงแสดงธรรม ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตรายแก่อาตมภาพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๖๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
[๑๐๙] (พราหมณ์พาวรีกล่าวว่า) ท่านปิงคิยะ เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงอยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ สิ้นกาลชั่วครู่ (๘) คำว่า เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงอยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อธิบายว่า เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงอยู่ปราศจาก คือ ออกไป หลีกไป อยู่เว้น จากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น รวมความว่า เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงอยู่ปราศจาก พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น คำว่า ปิงคิยะ ... สิ้นกาลชั่วครู่ อธิบายว่า สิ้นกาลชั่วครู่ คือ ชั่วขณะหนึ่ง ชั่วระยะหนึ่ง ชั่ววัยหนึ่ง ชั่วช่วงหนึ่ง รวมความว่า สิ้นกาลชั่วครู่ คำว่า ปิงคิยะ เป็นคำที่พราหมณ์พาวรีเรียกพราหมณ์ผู้เป็นหลานโดยชื่อ คำว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ อธิบายว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจ ภูริ คือ มีพระญาณปรากฏ มีพระปัญญาเป็นธงชัย มีพระปัญญาเป็นยอดธง มี พระปัญญาเป็นใหญ่ มากด้วยการเลือกเฟ้น มากด้วยความตรวจสอบ มากด้วย ปัญญาเพ่งพินิจ มีธรรมเป็นเครื่องพิจารณา อยู่ด้วยธรรมแจ่มแจ้ง เที่ยวไปด้วย ปัญญานั้น มากด้วยปัญญานั้น หนักในปัญญานั้น เอนไปในปัญญานั้น โอนไปใน ปัญญานั้น โน้มไปในปัญญานั้น น้อมใจเชื่อในปัญญานั้น มีปัญญานั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ คำว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ อธิบายว่า แผ่นดินท่านเรียกว่า ภูริ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยปัญญากว้างขวาง แผ่ไปเสมอด้วยแผ่นดินนั้น ปัญญาท่านเรียกว่า เมธา ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง งมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสนั้น เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่ามีพระปัญญาดุจภูริ รวมความว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญา ดุจภูริ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์พาวรีนั้นจึงกล่าวว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๗๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
ท่านปิงคิยะ เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงอยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ สิ้นกาลชั่วครู่ [๑๑๐] (พราหมณ์พาวรีกล่าวว่า) ธรรมใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดทรงแสดงธรรม ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตรายแก่ท่าน (๙) คำว่า พระองค์ใด ในคำว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดทรงแสดงธรรม... แก่ท่าน อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค ฯลฯ ทรงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูใน สัจจะนั้น และความเป็นผู้ชำนาญในพละทั้งหลาย คำว่า ธรรม ในคำว่า ทรงแสดงธรรม อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคตรัสบอก คือ ทรงแสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศพรหมจรรย์ ที่มีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน รวมความว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ทรงแสดงธรรม ... แก่ท่าน คำว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา อธิบายว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา เชิญมาดูได้ ควรน้อมเข้ามาในตน วิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตน รวมความว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ด้วยประการฉะนี้ อีกนัยหนึ่ง ผู้ใดเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้ ผู้นั้นย่อมบรรลุ ประสบ ได้รับผลแห่งมรรคนั้น ในกาลทุกครั้ง ไม่มีลำดับอื่นคั่น รวมความว่า ที่บุคคล เห็นได้เอง อย่างนี้บ้าง คำว่า ไม่ขึ้นกับกาลเวลา อธิบายว่า มนุษย์ทั้งหลายลงทุนตามเวลา ยังไม่ ได้รับผลในกาลทุกครั้ง ยังต้องรอเวลาฉันใด ธรรมนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ ผู้ใดเจริญ อริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้ ผู้นั้น ย่อมบรรลุ ประสบ ได้รับผลแห่งมรรคนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๗๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
ในกาลทุกครั้ง ไม่มีลำดับอื่นคั่น มิใช่ในภพหน้า มิใช่ในปรโลก จึงชื่อว่า ไม่ขึ้น กับกาลเวลา อย่างนี้ รวมความว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา คำว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตราย อธิบายว่า คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ- ตัณหา ธัมมตัณหา คำว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ได้แก่ เป็นที่สิ้นตัณหา คือ เป็นที่สิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ สิ้นคติ สิ้นอุปบัติ สิ้นปฏิสนธิ สิ้นภพ สิ้นสงสาร สิ้นวัฏฏะ คำว่า ไม่มีอันตราย อธิบายว่า กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร เรียกว่า อันตราย อธิบายว่า (ธรรมที่เป็นเครื่อง) ละอันตราย เข้าไปสงบอันตราย สลัดทิ้งอันตราย ระงับอันตราย คืออมตนิพพาน รวมความว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตราย คำว่า ใด ในคำว่า ธรรมใด ไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ ได้แก่ นิพพาน คำว่า ไม่มีอะไรๆ ...เปรียบได้ ได้แก่ ไม่มีอะไรๆ เปรียบได้ คือ ไม่มีข้อ เปรียบเทียบ ไม่มีสิ่งเสมอเหมือน ไม่มีส่วนเปรียบเทียบ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หา ไม่ได้เลย คำว่า ที่ไหน ได้แก่ ที่ไหน คือ ที่ไหนๆ ที่ไรๆ ภายใน ภายนอก หรือทั้ง ภายในและภายนอก รวมความว่า ธรรมใด ไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์พาวรีนั้นจึงกล่าวว่า ธรรมใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดทรงแสดงธรรม ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตรายแก่ท่าน [๑๑๑] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า) ท่านพราหมณ์ อาตมภาพมิได้อยู่ปราศจาก พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ สิ้นกาลชั่วครู่ (๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๗๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า อาตมภาพมิได้อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อธิบายว่า อาตมภาพมิได้อยู่ปราศจาก คือ มิได้ออกไป มิได้หลีกไป มิได้อยู่เว้นจาก พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น รวมความว่า อาตมภาพมิได้อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้า พระองค์นั้น คำว่า ท่านพราหมณ์... สิ้นกาลชั่วครู่ อธิบายว่า สิ้นกาลชั่วครู่ คือ ชั่วขณะหนึ่ง ชั่วระยะหนึ่ง ชั่ววัยหนึ่ง ชั่วช่วงหนึ่ง รวมความว่า สิ้นกาลชั่วครู่ คำว่า ท่านพราหมณ์ เป็นคำที่พระปิงคิยเถระเรียกพราหมณ์พาวรีผู้เป็นลุง โดยเคารพ คำว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ อธิบายว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจ ภูริ คือ มีพระญาณปรากฏ มีพระปัญญาเป็นธงชัย มีพระปัญญาเป็นยอดธง มี พระปัญญาเป็นใหญ่ มากด้วยการเลือกเฟ้น มากด้วยความตรวจสอบ มากด้วย ปัญญาเพ่งพินิจ มีธรรมเป็นเครื่องพิจารณา อยู่ด้วยธรรมแจ่มแจ้ง เที่ยวไปด้วย ปัญญานั้น มากด้วยปัญญานั้น หนักในปัญญานั้น เอนไปในปัญญานั้น โอนไปใน ปัญญานั้น โน้มไปในปัญญานั้น น้อมใจเชื่อในปัญญานั้น มีปัญญานั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ คำว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ อธิบายว่า แผ่นดินท่านเรียกว่า ภูริ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยปัญญากว้างขวาง แผ่ไปเสมอด้วยแผ่นดินนั้น ปัญญาท่านเรียกว่า เมธา ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสนั้น เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่ามีพระปัญญาดุจภูริ รวมความว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญา ดุจภูริ ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า ท่านพราหมณ์ อาตมภาพมิได้อยู่ปราศจาก พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ สิ้นกาลชั่วครู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๗๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
[๑๑๒] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า) ธรรมใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดทรงแสดงธรรม ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตรายแก่อาตมภาพ (๑๑) คำว่า พระองค์ใด ในคำว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ทรงแสดง ธรรม...แก่อาตมภาพ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระสยัมภู ไม่มีครูอาจารย์ ได้ตรัสรู้สัจจะในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนด้วยพระองค์เอง ทรงบรรลุความเป็นพระ สัพพัญญูในสัจจะนั้น และความเป็นผู้ชำนาญในพละทั้งหลาย คำว่า ธรรม ในคำว่า ทรงแสดงธรรม อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคตรัสบอก คือ ทรงแสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศพรหมจรรย์ ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด พร้อมทั้ง อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน รวมความว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ทรงแสดงธรรม ... แก่อาตมภาพ คำว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา อธิบายว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา เชิญมาดูได้ ควรน้อมเข้ามาในตน วิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตน รวมความว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ด้วยประการฉะนี้ อีกนัยหนึ่ง ผู้ใดเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้ ผู้นั้นย่อมบรรลุ ประสบ ได้รับผลแห่งมรรคนั้น ในกาลทุกครั้ง ไม่มีลำดับอื่นคั่น รวมความว่า ที่บุคคล เห็นได้เอง อย่างนี้บ้าง คำว่า ไม่ขึ้นกับกาลเวลา อธิบายว่า มนุษย์ทั้งหลายลงทุนตามเวลา ยังไม่ ได้รับผลในกาลทุกครั้ง ยังต้องรอเวลาฉันใด ธรรมนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ ผู้ใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๗๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้ ผู้นั้น ย่อมบรรลุ ประสบ ได้รับผลแห่งมรรค นั้นในกาลทุกครั้ง ไม่มีลำดับอื่นคั่น มิใช่ในภพหน้า มิใช่ในปรโลก จึงชื่อว่าไม่ ขึ้นกับกาลเวลา อย่างนี้ รวมความว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา คำว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตราย อธิบายว่า คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ- ตัณหา ธัมมตัณหา คำว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ได้แก่ เป็นที่สิ้นตัณหา คือ สิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ สิ้นคติ สิ้นอุปบัติ สิ้นปฏิสนธิ สิ้นภพ สิ้นสงสาร สิ้นวัฏฏะ คำว่า ไม่มีอันตราย อธิบายว่า กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร เรียกว่า อันตราย อธิบายว่า (ธรรมที่เป็นเครื่อง) ละอันตราย เข้าไปสงบอันตราย สลัดทิ้งอันตราย ระงับอันตราย คืออมตนิพพาน รวมความว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตราย คำว่า ใด ในคำว่า ธรรมใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ ได้แก่ นิพพาน คำว่า ไม่มีอะไรๆ ... เปรียบได้ ได้แก่ ไม่มีสิ่งไรๆ เปรียบได้ คือ ไม่มีข้อ เปรียบเทียบ ไม่มีสิ่งเสมอเหมือน ไม่มีส่วนเปรียบเทียบ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ คำว่า ที่ไหน ได้แก่ ที่ไหน คือ ที่ไหนๆ ที่ไรๆ ภายใน ภายนอก หรือทั้ง ภายในและภายนอก รวมความว่า ธรรมใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า ธรรมใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดทรงแสดงธรรม ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตรายแก่อาตมภาพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๗๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
[๑๑๓] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า) ท่านพราหมณ์ อาตมภาพไม่ประมาท ทั้งกลางคืนและกลางวัน ย่อมเห็นพระโคดมพุทธเจ้า พระองค์นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วยตา อาตมภาพนอบน้อมพระองค์อยู่ตลอดราตรี อาตมภาพเข้าใจความไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้า พระองค์นั้น (๑๒) คำว่า อาตมภาพ...ย่อมเห็นพระโคดมพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยใจ เหมือน เห็นด้วยตา อธิบายว่า อาตมภาพย่อมเห็น คือ แลเห็น มองดู เพ่งพินิจ พิจารณา เห็นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เหมือนคนตาดี พึงมองเห็น คือ แลเห็น มองดู พิจารณาเห็นรูปทั้งหลายในที่แจ้ง ฉะนั้น รวมความว่า อาตมภาพ...ย่อมเห็น พระโคดมพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วยตา คำว่า ท่านพราหมณ์ ...ไม่ประมาททั้งกลางคืนและกลางวัน อธิบายว่า อาตมภาพเจริญพุทธานุสสติด้วยใจทั้งกลางคืนและกลางวัน ชื่อว่าไม่ประมาท รวม ความว่า ท่านพราหมณ์ ...ไม่ประมาททั้งกลางคืนและกลางวัน คำว่า นอบน้อมอยู่ ในคำว่า นอบน้อมอยู่ตลอดราตรี อธิบายว่า อาตมภาพ นอบน้อมอยู่ คือ สักการะ เคารพ นับถือ บูชาอยู่ ด้วยกาย วาจา ใจ ปฏิบัติเอื้อ ประโยชน์ ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม ได้แก่ ให้คืนและวันผ่านไป ให้ล่วง ไป(ด้วยการปฏิบัติ) รวมความว่า นอบน้อมอยู่ตลอดราตรี คำว่า อาตมภาพเข้าใจความไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อธิบายว่า อาตมภาพเมื่อเจริญด้วยพุทธานุสสตินั้น ย่อมเข้าใจพระพุทธเจ้าพระองค์ นั้นว่า มิได้อยู่ปราศจาก ย่อมเข้าใจ คือ รู้ ทราบ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทง ตลอดอย่างนี้ว่า มิได้อยู่ปราศจากแล้ว รวมความว่า อาตมภาพเข้าใจความไม่อยู่ ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๗๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
ท่านพราหมณ์ อาตมภาพไม่ประมาท ทั้งกลางคืนและกลางวัน ย่อมเห็นพระโคดมพุทธเจ้า พระองค์นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วยตา อาตมภาพนอบน้อมพระองค์อยู่ตลอดราตรี อาตมภาพเข้าใจความไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น [๑๑๔] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า) ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธา ปีติ มนะ และสติ ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ เสด็จไปสู่ทิศใดๆ อาตมภาพเป็นผู้น้อมไปทางทิศนั้นๆ นั่นแล (๑๓) คำว่า สัทธา ในคำว่า สัทธา ปีติ มนะ และสติ อธิบายว่า สัทธา ความเชื่อ ความกำหนด ความเลื่อมใส สัทธา คือ สัทธินทรีย์ สัทธาพละ ปรารภ พระผู้มีพระภาค คำว่า ปีติ ได้แก่ ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความชื่นใจ ความบันเทิง ความเบิกบาน ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความยินดี ความมีใจสูง ความมีใจแช่มชื่น ความที่ใจเลื่อมใสยิ่ง คำว่า มนะ ได้แก่ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ๑- อันเกิดจากวิญญาณขันธ์นั้นปรารภ พระผู้มีพระภาค คำว่า สติ ได้แก่ สติ ความระลึกถึง สัมมาสติปรารภพระผู้มีพระภาค รวม ความว่า สัทธา ปีติ มนะ และสติ คำว่า ธรรมเหล่านี้ ... ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดม อธิบายว่า ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ย่อมไม่หายไป คือ ไม่ไป ไม่ละไป ไม่สูญหายไป จากศาสนา @เชิงอรรถ : @๑ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๗๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
ของพระโคดม คือ จากศาสนาของพระพุทธเจ้า จากศาสนาของพระชินเจ้า จาก ศาสนาของพระตถาคต จากศาสนาของพระอรหันต์ รวมความว่า ธรรมเหล่านี้ ... ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดม คำว่า สู่ทิศใดๆ ในคำว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ เสด็จไปสู่ทิศใดๆ อธิบายว่า เสด็จไป ดำเนินไป มุ่งไป มุ่งหน้าสู่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือทิศเหนือก็ตาม คำว่า ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ อธิบายว่า ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ คือ มีพระ ปัญญามาก มีพระปัญญาเฉียบคม มีพระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญาอาจหาญ มีพระปัญญาฉับไว มีพระปัญญาเพิกถอนกิเลส แผ่นดิน เรียกว่า ภูริ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยปัญญานั้นกว้างขวาง แผ่ไปเสมอด้วย แผ่นดินนั้น รวมความว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ เสด็จไปสู่ทิศใดๆ คำว่า อาตมภาพเป็นผู้น้อมไปทางทิศนั้นๆ นั่นแล อธิบายว่า พระพุทธ- เจ้าประทับอยู่ ณ ทิศใด อาตมภาพก็น้อมไปทางทิศนั้น เอนไป โอนไป โน้มไป น้อมใจไปในทิศนั้น มีทิศนั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า อาตมภาพเป็นผู้น้อมไปทาง ทิศนั้นๆ นั่นแล ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธา ปีติ มนะ และสติ ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ เสด็จไปสู่ทิศใดๆ อาตมภาพเป็นผู้น้อมไปทางทิศนั้นๆ นั่นแล [๑๑๕] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า) อาตมภาพชราแล้ว มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย เพราะเหตุนั้นแล ร่างกายจึงไปในสถานที่ ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๗๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
แต่อาตมภาพไปเฝ้าพระองค์เป็นนิจ โดยการไปด้วยความดำริ ท่านพราหมณ์ เพราะว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่กับสถานที่ ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น (๑๔) คำว่า ชราแล้ว ในคำว่า อาตมภาพชราแล้ว มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย ได้แก่ ชราแล้ว คือ เป็นผู้เฒ่า สูงอายุ ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามาก รวมความว่า ชราแล้ว คำว่า มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย ได้แก่ เป็นผู้เฒ่า คือ มีเรี่ยวแรงน้อยลง มีเรี่ยวแรงนิดเดียว รวมความว่า อาตมภาพชราแล้ว มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย คำว่า ร่างกายจึงไปในสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ไม่ได้ อธิบายว่า ร่างกายไปไม่ได้ คือ มิได้ถึง มิได้เดินทางไป มิได้ก้าวไปทางที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ รวมความว่า ร่างกายจึงไปในสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ไม่ได้ คำว่า แต่อาตมภาพไปเฝ้าพระองค์เป็นนิจ โดยการไปด้วยความดำริ อธิบายว่า อาตมภาพไปเฝ้า คือ ถึง เดินทางไป ก้าวไปโดยการไปด้วยความดำริ คือ โดยการไปด้วยความตรึก ด้วยญาณ ด้วยปัญญา ด้วยความรู้ รวมความว่า แต่อาตมภาพไปเฝ้าพระองค์เป็นนิจ โดยการไปด้วยความดำริ คำว่า ใจ ในคำว่า ท่านพราหมณ์ เพราะว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่ กับสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น ได้แก่ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดจาก วิญญาณขันธ์นั้น คำว่า ท่านพราหมณ์ เพราะว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่กับสถานที่ที่ พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น อธิบายว่า ใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยว คือ เกี่ยวเนื่อง ผูกพันกับสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่แล้ว รวมความว่า ท่านพราหมณ์ เพราะ ว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่กับสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๗๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
อาตมภาพชราแล้ว มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย เพราะเหตุนั้นแล ร่างกายจึงไปในสถานที่ ที่พุทธเจ้าประทับอยู่ไม่ได้ แต่อาตมภาพไปเฝ้าพระองค์เป็นนิจ โดยการไปด้วยความดำริ ท่านพราหมณ์ เพราะว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่กับสถานที่ ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น [๑๑๖] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า) อาตมภาพนอนดิ้นรนอยู่ในเปือกตม ลอยจากเกาะหนึ่งไปสู่เกาะหนึ่ง ครั้นต่อมา อาตมภาพได้เฝ้าพระสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ (๑๕) คำว่า นอน ... ในเปือกตม ในคำว่า นอนดิ้นรนอยู่ในเปือกตม อธิบายว่า นอน คือ นอนลง อยู่ อยู่อาศัย อยู่ประจำในเปือกตมคือกาม คือ โคลนตมคือกาม กิเลสคือกาม เบ็ดคือกาม ความเร่าร้อนคือกาม ความกังวลคือกาม รวมความว่า นอน ... ในเปือกตม คำว่า ดิ้นรนอยู่ อธิบายว่า ดิ้นรน ดิ้นรนอยู่ สั่นเทา กระสับกระส่าย ด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา เพราะทิฏฐิ เพราะกิเลส เพราะการประกอบ เพราะ วิบาก เพราะมโนทุจริต คือ ผู้กำหนัดก็ดิ้นรนตามอำนาจราคะ ผู้ขัดเคืองก็ดิ้นรนตามอำนาจโทสะ ผู้หลงก็ดิ้นรนตามอำนาจโมหะ ผู้ยึดติดก็ดิ้นรนตามอำนาจมานะ ผู้ยึดถือก็ดิ้นรนตามอำนาจทิฏฐิ ผู้ฟุ้งซ่านก็ดิ้นรนตามอำนาจอุทธัจจะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๘๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
ผู้ลังเลก็ดิ้นรนตามอำนาจวิจิกิจฉา ผู้ตกอยู่ในพลังกิเลสก็ดิ้นรนตามอำนาจอนุสัย ดิ้นรนเพราะลาภ เพราะเสื่อมลาภ เพราะยศ เพราะเสื่อมยศ เพราะนินทา เพราะสรรเสริญ เพราะสุข เพราะทุกข์ ดิ้นรนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะพยาธิ เพราะมรณะ เพราะโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส ดิ้นรนเพราะทุกข์เนื่องจากการเกิดในนรก เพราะทุกข์เนื่องจากการเกิดในกำเนิด เดรัจฉาน เพราะทุกข์เนื่องจากการเกิดในเปตวิสัย เพราะทุกข์เนื่องจากการเกิดใน โลกมนุษย์ เพราะทุกข์เนื่องจากการถือกำเนิดในครรภ์ เพราะทุกข์เนื่องจากการอยู่ ในครรภ์ เพราะทุกข์เนื่องจากการคลอดจากครรภ์ เพราะทุกข์สืบเนื่องมาจากผู้เกิด เพราะทุกข์ของผู้เกิดที่เนื่องมาจากผู้อื่น เพราะทุกข์ที่เกิดจากความพยายามของ ตนเอง เพราะทุกข์ที่เกิดจากความพยายามของผู้อื่น เพราะทุกข์กายทุกข์ใจ เพราะ ทุกข์ที่เกิดจากสังขาร เพราะทุกข์ที่เกิดจากความแปรผัน ดิ้นรนเพราะทุกข์ที่เกิดจากโรคทางตา เพราะทุกข์ที่เกิดจากโรคทางหู เพราะ ทุกข์ที่เกิดจากโรคทางจมูก เพราะทุกข์ที่เกิดจากโรคทางลิ้น เพราะทุกข์ที่เกิดจาก โรคทางกาย เพราะทุกข์ที่เกิดจากโรคศีรษะ ... โรคหู ... โรคปาก ... โรคฟัน ... โรคไอ ... โรคหืด ... ไข้หวัด ... ไข้พิษ ... ไข้เชื่อมซึม ... โรคท้อง ... เป็นลมสลบ ... ลงแดง ... จุกเสียด ... อหิวาตกโรค ... โรคเรื้อน ... ฝี ... กลาก ... มองคร่อ ... ลมบ้าหมู ... หิดเปื่อย ... หิดด้าน ... หิด ... หูด ... โรคละลอก ... โรคดีซ่าน... โรคดีกำเริบ ... โรคเบาหวาน ... โรคเริม ... โรคพุพอง ... โรคริดสีดวงทวาร ... ความเจ็บป่วยที่เกิด จากดี ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากลม ... ไข้สันนิบาต ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดู .... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการผลัดเปลี่ยน อิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความพากเพียรเกินกำลัง.... ความ เจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม... ความหนาว ... ความร้อน ... ความหิว ... ความกระหาย ... ปวดอุจจาระ ... ปวดปัสสาวะ ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๘๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
ดิ้นรนเพราะทุกข์ที่เกิดจากสัมผัสเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน ทุกข์เพราะมารดาตาย ...ทุกข์เพราะบิดาตาย ... ทุกข์เพราะพี่ชายน้องชายตาย ... ทุกข์เพราะพี่สาวน้องสาวตาย ... ทุกข์เพราะบุตรตาย ... ทุกข์เพราะธิดาตาย ... ทุกข์เพราะความพินาศของญาติ ... ทุกข์เพราะโภคทรัพย์พินาศ... ทุกข์เพราะความ เสียหายที่เกิดจากโรค ... ทุกข์เพราะสีลวิบัติ... ทุกข์เพราะทิฏฐิวิบัติ... รวมความว่า นอนดิ้นรนอยู่ในเปือกตม คำว่า ลอยจากเกาะหนึ่งไปสู่เกาะหนึ่ง อธิบายว่า ลอย ลอยไป คือ ล่องลอย ไปจากศาสดา(แรก)ไปหาอีกศาสดา(ต่อมา) จากธรรมที่ศาสดา(แรก)บอก สู่ธรรมที่ ศาสดา(ต่อมา)บอก จากหมู่คณะ(แรก) สู่คณะ(ต่อมา) จากทิฏฐิ(แรก)สู่ทิฏฐิ(ต่อมา) จากปฏิปทา(แรก)สู่ปฏิปทา(ต่อมา) จากมรรค(แรก) สู่มรรค(ต่อมา) รวมความว่า ลอยจากเกาะหนึ่งไปสู่เกาะหนึ่ง คำว่า ครั้นต่อมา ในคำว่า ครั้นต่อมา อาตมภาพได้เฝ้าพระสัมพุทธเจ้า เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า ครั้นต่อมา นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน๑- คำว่า ได้เฝ้า ได้แก่ ได้เฝ้า คือ ได้แลเห็น ได้เห็น ได้แทงตลอด คำว่า พระสัมพุทธเจ้า ได้แก่ พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระสยัมภู ไม่มี ครูอาจารย์ ฯลฯ คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๒- รวมความว่า ครั้นต่อมา อาตมภาพ ได้เฝ้าพระสัมพุทธเจ้า คำว่า ผู้ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ในคำว่า ผู้ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ ข้ามทางแห่งสงสารทั้งปวงได้แล้ว พระองค์ทรงอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ทรงประพฤติจรณธรรมแล้ว ฯลฯ พระองค์ ไม่มีการเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ผู้ทรงข้ามโอฆะ ได้แล้ว @เชิงอรรถ : @๑ เทียบกับความในข้อ ๑/๔๔ @๒ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๘๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า ไม่มีอาสวะ อธิบายว่า อาสวะ ๔ อย่าง คือ ๑. กามาสวะ ๒. ภวาสวะ ๓. ทิฏฐาสวะ ๔. อวิชชาสวะ อาสวะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดราก ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มีอาสวะ รวมความว่า ผู้ทรงข้าม โอฆะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า อาตมภาพนอนดิ้นรนอยู่ในเปือกตม ลอยจากเกาะหนึ่งไปสู่เกาะหนึ่ง ครั้นต่อมา อาตมภาพได้เฝ้าพระสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ [๑๑๗] (พระผู้มีพระภาคเสด็จมาตรัสว่า) วักกลิ ภัทราวุธ และอาฬวิโคดม เป็นผู้มีศรัทธาอันน้อมไปแล้ว ฉันใด แม้เธอก็จงเปิดเผยศรัทธา ฉันนั้นเหมือนกัน ปิงคิยะ เธอจักถึงฝั่งโน้น(ฝั่งตรงข้าม)แห่งบ่วงมัจจุราช (๑๖) คำว่า วักกลิ ภัทราวุธ และอาฬวิโคดม เป็นผู้มีศรัทธาอันน้อมไปแล้ว ฉันใด อธิบายว่า พระวักกลิเถระ ได้มีศรัทธาน้อมไปแล้ว คือ หนักในศรัทธา มีศรัทธานำหน้า น้อมใจไปตามศรัทธา มีศรัทธาเป็นใหญ่ยิ่ง บรรลุอรหัตตผลแล้ว ฉันใด พระภัทราวุธเถระ มีศรัทธาอันน้อมไปแล้ว... พระอาฬวิโคดม มีศรัทธา อันน้อมไปแล้ว หนักในศรัทธา มีศรัทธานำหน้า น้อมใจไปตามศรัทธา มีศรัทธา เป็นใหญ่ บรรลุอรหัตตผล ฉันใด รวมความว่า วักกลิ ภัทราวุธ และอาฬวิโคดม เป็นผู้มีศรัทธาอันน้อมไปแล้ว ฉันใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๘๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า แม้เธอก็จงเปิดเผยศรัทธา ฉันนั้นเหมือนกัน อธิบายว่า เธอก็จงเผย เปิดเผย คือ แสดงออก น้อมใจ กำหนดศรัทธา เผย เปิดเผย แสดงออก น้อมใจ กำหนดศรัทธาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า แม้เธอก็ จงเปิดเผยศรัทธา ฉันนั้นเหมือนกัน คำว่า ปิงคิยะ เธอจักถึงฝั่งโน้น(ฝั่งตรงข้าม)แห่งบ่วงมัจจุราช อธิบายว่า กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร เรียกว่า บ่วงมัจจุราช อมตนิพพาน ธรรมเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท เรียกว่า ฝั่งโน้น(ฝั่งตรงข้าม)แห่งบ่วงมัจจุราช คำว่า ปิงคิยะ เธอจักถึงฝั่งโน้น (ฝั่งตรงข้าม) แห่งบ่วงมัจจุราช อธิบายว่า เธอจักถึงฝั่ง คือ จักบรรลุฝั่ง ถูกต้องฝั่ง ทำให้แจ้งฝั่ง รวมความว่า ปิงคิยะ เธอจัก ถึงฝั่งโน้น(ฝั่งตรงข้าม)แห่งบ่วงมัจจุราช ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า วักกลิ ภัทราวุธ และอาฬวิโคดม เป็นผู้มีศรัทธาน้อมไปแล้ว ฉันใด แม้เธอก็จงเปิดเผยศรัทธา ฉันนั้นเหมือนกัน ปิงคิยะ เธอจักถึงฝั่งโน้น(ฝั่งตรงข้าม)แห่งบ่วงมัจจุราช [๑๑๘] (พระปิงคิยเถระกราบทูลว่า) ข้าพระองค์นี้ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้ว เลื่อมใสอย่างยิ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีเครื่องปิดบังอันเปิดแล้ว ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต ทรงมีปฏิภาณ (๑๗) คำว่า ข้าพระองค์นี้ ... เลื่อมใสอย่างยิ่ง อธิบายว่า ข้าพระองค์นี้เลื่อมใส อย่างยิ่ง คือ เชื่อถือยิ่งๆ ขึ้นไป กำหนดได้โดยยิ่งขึ้นไป น้อมใจเชื่อโดยยิ่งๆ ขึ้นไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๘๔}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
เลื่อมใสอย่างยิ่ง เชื่อถืออย่างยิ่งๆ ขึ้นไป กำหนดได้โดยยิ่งขึ้นไป น้อมใจเชื่อโดยยิ่งๆ ขึ้นไปว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมี ความดับไปเป็นธรรมดา รวมความว่า ข้าพระองค์นี้ ... เลื่อมใสอย่างยิ่ง คำว่า ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้ว อธิบายว่า คำว่า พระมุนี ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ พระองค์ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่าพระมุนี คำว่า ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้ว อธิบายว่า ได้ฟัง คือ ได้สดับ ได้เรียน ได้ทรงจำ ได้เข้าไปกำหนดพระดำรัส คือ คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน คำพร่ำสอนของพระองค์ รวมความว่า ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้ว คำว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีเครื่องปิดบังอันเปิดแล้ว อธิบายว่า คำว่า เครื่องปิดบัง ได้แก่ เครื่องปิดบัง ๕ อย่าง คือ ๑. เครื่องปิดบังคือตัณหา ๒. เครื่องปิดบังคือทิฏฐิ ๓. เครื่องปิดบังคือกิเลส ๔. เครื่องปิดบังคือทุจริต ๕. เครื่องปิดบังคืออวิชชา เครื่องปิดบังเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงเปิดแล้ว คือ ทรงรื้อออก เพิกถอน ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้น ไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าทรงมีเครื่องปิดบัง อันเปิดแล้ว คำว่า พระพุทธเจ้า อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ฯลฯ คำว่า พระพุทธเจ้านี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง ทรงมีเครื่อง ปิดบังอันเปิดแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๘๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต ในคำว่า ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต ทรงมี ปฏิภาณ อธิบายว่า ราคะ ชื่อว่ากิเลสดุจตะปูตรึงจิต โทสะ ชื่อว่ากิเลสดุจตะปู ตรึงจิต โมหะ ชื่อว่ากิเลสดุจตะปูตรึงจิต โกธะ ชื่อว่ากิเลสดุจตะปูตรึงจิต อุปนาหะ ชื่อว่ากิเลสดุจตะปูตรึงจิต ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ชื่อว่ากิเลสดุจตะปู ตรึงจิต กิเลสดุจตะปูตรึงจิตเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิตว่าด้วยบุคคลผู้มีปฏิภาณ ๓ จำพวก คำว่า ทรงมีปฏิภาณ อธิบายว่า บุคคลผู้มีปฏิภาณมี ๓ จำพวก คือ ๑. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ ๒. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา ๓. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอธิคม บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ ได้เล่าเรียนพระพุทธพจน์ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ญาณ(ความรู้)ของบุคคลนั้นย่อมแจ่มแจ้ง เพราะอาศัยการเล่าเรียน บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ เป็นผู้ไต่สวนในเรื่องความหมาย ในเรื่องที่ควรรู้ ในลักษณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ(ความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้) ญาณของ เขาย่อมแจ่มแจ้ง เพราะอาศัยการไต่สวน บุคคลนี้ชื่อว่าผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอธิคม เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ ได้บรรลุสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ อริยมรรค ๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๘๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ บุคคลนั้นรู้เหตุ รู้ผล รู้นิรุตติ (ภาษา) เมื่อรู้เหตุ เหตุย่อมแจ่มแจ้ง เมื่อรู้ผล ผลย่อมแจ่มแจ้ง เมื่อรู้นิรุตติ นิรุตติย่อม แจ่มแจ้ง ญาณในเหตุ ผล และนิรุตติทั้ง ๓ เหล่านี้ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทานี้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า ชื่อว่าทรงมีปฏิภาณ ผู้ใดไม่มีปริยัติ ไม่มีปริปุจฉา ไม่มีอธิคม ญาณอะไรเล่าจัก แจ่มแจ้งแก่เขาได้ รวมความว่า ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต ทรงมีปฏิภาณ ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์นี้ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้ว เลื่อมใสอย่างยิ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีเครื่องปิดบังอันเปิดแล้ว ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต ทรงมีปฏิภาณ [๑๑๙] (พระปิงคิยเถระกราบทูลว่า) พระผู้มีพระภาคทรงรู้ชัดอธิเทพ ทรงรู้ธรรมของพระองค์และของคนอื่นทั้งปวง เป็นพระศาสดาผู้กระทำส่วนสุดแห่งปัญหาทั้งหลาย เพื่อเหล่าชนผู้มีความสงสัย ให้กลับรู้ได้ (๑๘)ว่าด้วยเทพ ๓ คำว่า ทรงรู้ชัดอธิเทพ อธิบายว่า คำว่า เทพ ได้แก่ เทพ ๓ จำพวก คือ ๑. สมมติเทพ ๒. อุบัติเทพ ๓. วิสุทธิเทพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๘๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
สมมติเทพ เป็นอย่างไร คือ พระราชา พระราชกุมาร และพระราชเทวี เหล่านี้เรียกว่า สมมติเทพ อุบัติเทพ เป็นอย่างไร คือ เทวดาชั้นจาตุมหาราช เทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่ พรหม และเทวดาชั้นสูงกว่านั้น เหล่านี้เรียกว่า อุบัติเทพ วิสุทธิเทพ เป็นอย่างไร คือ พระตถาคต สาวกของพระตถาคต พระอรหันตขีณาสพ และพระปัจเจก- สัมพุทธเจ้า เหล่านี้เรียกว่า วิสุทธิเทพ พระผู้มีพระภาคทรงรู้ชัดเหล่าสมมติเทพว่า เป็นอธิเทพ ทรงรู้จักเหล่าอุบัติเทพ ว่าเป็นอธิเทพ ทรงรู้ชัด คือ ทรงทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งซึ่งเหล่าวิสุทธิเทพว่า เป็นอธิเทพ รวมความว่า ทรงรู้ชัดอธิเทพ คำว่า ทรงรู้ชัดธรรมของพระองค์และของคนอื่นทั้งปวง อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค ทรงรู้ คือ ทรงทราบ ทรงถูกต้อง แทงตลอดธรรมที่ทำพระองค์ และชนเหล่าอื่นให้เป็นอธิเทพ ธรรมที่ทำพระองค์ให้เป็นอธิเทพ เป็นอย่างไร คือ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การ ปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้ บริบูรณ์ ความเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ เหล่านี้ เรียกว่า ธรรมที่ทำพระองค์ให้เป็นอธิเทพ ธรรมที่ทำชนเหล่าอื่นให้เป็นอธิเทพ เป็นอย่างไร คือ การปฏิบัติชอบ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ เหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ทำชน เหล่าอื่นให้เป็นอธิเทพ พระผู้มีพระภาค ทรงรู้ คือ ทรงทราบ ทรงถูกต้อง แทงตลอด ธรรมที่ทำพระองค์และชนเหล่าอื่นให้เป็นอธิเทพ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ทรงรู้ชัด ธรรมของพระองค์และของคนอื่นทั้งปวง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๘๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า เป็นพระศาสดาผู้กระทำส่วนสุดแห่งปัญหาทั้งหลาย อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงกระทำส่วนสุด คือ ทรงกระทำที่สุดรอบ ทรงกระทำที่กำหนด ทรงกระทำความจบแห่งปัญหาของพราหมณ์ ผู้แสวงหาฝั่ง... ได้แก่ ทรงกระทำ ส่วนสุด กระทำที่สุดรอบ กระทำที่กำหนด กระทำความจบแห่งปัญหาของสภิย- พราหมณ์... แห่งปัญหาของพระปิงคิยเถระ... แห่งปัญหาของท้าวสักกะ... แห่งปัญหา ของท้าวสุยาม... แห่งปัญหาของภิกษุ... แห่งปัญหาของภิกษุณี ... แห่งปัญหาของ อุบาสก ... แห่งปัญหาของอุบาสิกา ... แห่งปัญหาของพระราชา ... แห่งปัญหา ของกษัตริย์ ... แห่งปัญหาของพราหมณ์ ... แห่งปัญหาของแพศย์ ... แห่งปัญหา ของศูทร ... แห่งปัญหาของเทวดา ... แห่งปัญหาของพระพรหม คำว่า เป็นพระศาสดา อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงนำหมู่ ชื่อว่า พระศาสดา เหมือนบุคคลผู้นำหมู่เกวียน ย่อมนำหมู่เกวียนข้ามที่กันดาร ข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามออก ข้ามพ้นที่กันดารเพราะโจร ที่กันดารเพราะสัตว์ร้าย ที่กันดาร เพราะอดอยาก ที่กันดารเพราะขาดน้ำ ได้แก่ ให้ถึงถิ่นที่ปลอดภัย ฉันใด พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงนำหมู่ ย่อมทรงนำหมู่ข้ามที่กันดาร ข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามออก ข้ามพ้นที่กันดารเพราะความเกิด ความแก่ ความเจ็บป่วย ความตาย ความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ที่กันดารเพราะความกำหนัด ที่กันดารเพราะความขัดเคือง ความลุ่มหลง ความ ถือตัว ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต คือ ความรกชัฏเพราะความกำหนัด ความรกชัฏเพราะ ความขัดเคือง ความรกชัฏเพราะความลุ่มหลง ความรกชัฏเพราะทิฏฐิ ความรกชัฏ เพราะกิเลส ความรกชัฏเพราะทุจริต ได้แก่ ให้ถึงอมตนิพพานอันเป็นแดนเกษม ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงชื่อว่าผู้ทรงนำหมู่ อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้นำ เป็นผู้นำไปโดยวิเศษ เป็นผู้ตาม แนะนำ ทรงให้รู้จักประโยชน์ ให้พินิจพิจารณา ให้เพ่งประโยชน์ ทรงทำให้ เลื่อมใสได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค พระศาสดาจึงชื่อว่าผู้ทรงนำหมู่ อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงทำมรรค ที่ยังไม่เกิดให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่ยังมิได้ตรัสบอก ทรงรู้จักมรรค ทรงรู้แจ้ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๘๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
มรรค ทรงฉลาดในมรรค และสาวกของพระองค์ผู้ดำเนินไปตามมรรคอยู่ในบัดนี้ จะเพียบพร้อมด้วยศีลาทิคุณในภายหลัง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงชื่อว่า ผู้ทรงนำหมู่ อย่างนี้บ้าง รวมความว่า เป็นพระศาสดาผู้กระทำส่วนสุดแห่งปัญหา ทั้งหลาย คำว่า เพื่อเหล่าชนผู้มีความสงสัย ให้กลับรู้ได้ อธิบายว่า เหล่าชนผู้มี ความสงสัยมาแล้ว ก็หายสงสัยกลับไป ผู้มีความยุ่งยากมาแล้ว ก็หายยุ่งยากกลับไป ผู้มีความคิดสองจิตสองใจมาแล้ว ก็หายความคิดสองจิตสองใจกลับไป ผู้มีความลังเล มาแล้ว ก็หายความลังเลกลับไป ผู้มีราคะมาแล้ว ก็หมดราคะกลับไป ผู้มีโทสะ มาแล้ว ก็หมดโทสะกลับไป ผู้มีโมหะมาแล้ว ก็หมดโมหะกลับไป ผู้มีกิเลสมาแล้ว ก็หมดกิเลสกลับไป รวมความว่า เพื่อเหล่าชนผู้มีความสงสัย ให้กลับรู้ได้ ด้วย เหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกราบทูลว่า พระผู้มีพระภาค ทรงรู้ชัดอธิเทพ ทรงรู้ธรรมของพระองค์และของคนอื่นทั้งปวง เป็นพระศาสดาผู้กระทำส่วนสุดแห่งปัญหาทั้งหลาย เพื่อเหล่าชนผู้มีความสงสัย ให้กลับรู้ได้ [๑๒๐] (พระปิงคิยเถระกราบทูลว่า) สภาวะใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ สภาวะนั้นอันอะไรนำไปมิได้ ไม่กำเริบ ข้าพระองค์จักถึงสภาวะนั้นแน่แท้ ความสงสัยในสภาวะนั้นไม่มีแก่ข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นผู้มีจิตน้อมไปในสภาวะนั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล (๑๙) คำว่า สภาวะนั้นอันอะไรนำไปมิได้ ไม่กำเริบ อธิบายว่า อมตนิพพาน เรียกว่า ธรรมเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้น ตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท สภาวะนั้นอันอะไรนำ ไปมิได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๐}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า สภาวะนั้นอันอะไรนำไปมิได้ อธิบายว่า นิพพาน อันราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทุกชนิด ทุจริตทุกทาง ความ เร่าร้อนทุกอย่าง อาสวะทุกชนิด ความกระวนกระวายทุกอย่าง ความเดือดร้อน ทุกประการ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท นำไปไม่ได้ คือ เป็นของเที่ยง มั่นคง แน่แท้ มีการไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา รวมความว่า สภาวะนั้นอันอะไร นำไปมิได้ คำว่า ไม่กำเริบ อธิบายว่า อมตนิพพาน ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท เรียกว่า (สภาวะ) ไม่กำเริบ ความเกิดขึ้นแห่งนิพพาน ไม่ปรากฏ ความเสื่อมไม่มี ความเป็นอย่างอื่นของ นิพพานนั้น ก็ไม่ปรากฏ นิพพานจึงเป็นสภาวะเที่ยง มั่นคง แน่แท้ มีความไม่แปรผัน ไปเป็นธรรมดา รวมความว่า สภาวะนั้นอันอะไรนำไปมิได้ ไม่กำเริบ คำว่า ใด ในคำว่า สภาวะใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ ได้แก่ นิพพาน คำว่า ไม่มีอะไรๆ... เปรียบได้ ได้แก่ ไม่มีอะไรเปรียบได้ คือ ไม่มีข้อ เปรียบเทียบ ไม่มีสิ่งเสมอเหมือน ไม่มีส่วนเปรียบเทียบ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ คำว่า ที่ไหน ได้แก่ ที่ไหน คือ ในที่ไหน ที่ไรๆ ภายใน ภายนอก หรือ ทั้งภายในและภายนอก รวมความว่า สภาวะใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ คำว่า แน่แท้ ในคำว่า ข้าพระองค์จักถึงสภาวะนั้นแน่แท้ ความสงสัยใน สภาวะนั้นไม่มีแก่ข้าพระองค์ อธิบายว่า เป็นคำกล่าวนัยเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่ สงสัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เคลือบแคลง เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น ๒ นัย เป็นคำกล่าว โดยไม่เป็น ๒ อย่าง เป็นคำกล่าวโดยรัดกุม เป็นคำกล่าวโดยไม่ผิด โดยไม่พลาด คำว่า แน่แท้ นี้ เป็นคำกล่าวที่กำหนดไว้แน่แล้ว คำว่า ข้าพระองค์จักถึง ได้แก่ จักถึง คือ จักบรรลุ จักถูกต้อง จักทำให้แจ้ง รวมความว่า ข้าพระองค์จักถึงสภาวะนั้นแน่แท้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]
๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า ในสภาวะนั้น ในคำว่า ความสงสัย ในสภาวะนั้นไม่มีแก่ข้าพระองค์ อธิบายว่า ความสงสัย คือ ความลังเล ความสองจิตสองใจ ความแคลงใจใน นิพพานไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ได้แก่ ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ข้าพระองค์จักถึงสภาวะนั้นแน่แท้ ความสงสัยในสภาวะนั้นไม่มีแก่ข้า พระองค์ คำว่า ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ไว้ ... ด้วยประการฉะนี้แล ในคำว่า ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นผู้มีจิตน้อมไปในสภาวะนั้น แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล ได้แก่ ขอพระองค์โปรดเข้าไปกำหนดข้าพระองค์ ด้วยประการฉะนี้ คำว่า เป็นผู้มีจิตน้อมไปในสภาวะนั้นแล้ว อธิบายว่า เป็นผู้มีจิตเอนไปใน นิพพานแล้ว โอนไปในนิพพานแล้ว โน้มไปในนิพพานแล้ว น้อมใจไปในนิพพานแล้ว รวมความว่า ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นผู้มีจิตน้อมไปในสภาวะ นั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกราบทูลว่า สภาวะใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ สภาวะนั้นอันอะไรนำไปมิได้ ไม่กำเริบ ข้าพระองค์จักถึงสภาวะนั้นแน่แท้ ความสงสัยในสภาวะนั้นไม่มีแก่ข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นผู้มีจิตน้อมไปในสภาวะนั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้แลปารายนานุคีติคาถานิทเทสที่ ๑๘ จบ ปารายนวรรค จบบริบูรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๒}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๓๓๓-๓๙๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=30&siri=36 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17], [18], [19]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=30&A=5120&Z=6138 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=532 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=30&item=532&items=131 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=46&A=2090 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=30&item=532&items=131 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=46&A=2090 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://www.ancient-buddhist-texts.net/Texts-and-Translations/Parayanavagga/Parayanavaggo-Epilogue-1.htm https://www.ancient-buddhist-texts.net/Texts-and-Translations/Parayanavagga/Parayanavaggo-Epilogue-2.htm
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]