ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส
แสดงญาณ ๓ อย่าง
[๗๘] ปัญญาในวิหารธรรมต่างๆ ชื่อว่าวิหารัฏฐญาณ (ญาณในสภาวะ แห่งวิหารธรรม) ปัญญาในสมาบัติต่างๆ ชื่อว่าสมาปัตตัฏฐญาณ (ญาณใน สภาวะแห่งสมาบัติ) ปัญญาในวิหารสมาบัติต่างๆ ชื่อว่าวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ (ญาณในสภาวะแห่งวิหารสมาบัติ) เป็นอย่างไร คือ พระโยคาวจรเมื่อพิจารณานิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้วๆ (ซึ่งสัง ขารนิมิตด้วยญาณ) ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส

เมื่อพิจารณาปณิธิ๑- (ความตั้งมั่น) โดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้วๆ (ซึ่งปณิธิ ด้วยญาณ) ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ๒- นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร เมื่อพิจารณาอภินิเวส๓- (ความยึดมั่น) โดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้วๆ (ซึ่ง อภินิเวสด้วยญาณ) ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็น สุญญตะ๔- นี้ชื่อว่าสุญญตวิหาร พระโยคาวจรเมื่อพิจารณานิมิตโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน นิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตสมาบัติ เมื่อพิจารณาปณิธิโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน อันเป็นความดับ ไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่ มีปณิหิตะ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตสมาบัติ เมื่อพิจารณาอภินิเวสโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง นิพพานอันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน นิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตสมาบัติ พระโยคาวจรเมื่อพิจารณานิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็น ความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง นิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร- สมาบัติ @เชิงอรรถ : @ ปณิธิ หมายถึงตัณหา (ขุ.ป.อ. ๑/๗๘/๓๒๓) @ นิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ หมายถึงนิพพานที่เป็นปฏิปักข์ต่อตัณหา (ขุ.ป.อ. ๑/๗๘/๓๒๓) @ อภินิเวส หมายถึงความยึดมั่นว่าอัตตา (ขุ.ป.อ. ๑/๗๘/๓๒๓) @ นิพพานที่เป็นสุญญตะ หมายถึงนิพพานที่ปราศจากอัตตา (ขุ.ป.อ. ๑/๗๘/๓๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส

เมื่อพิจารณาปณิธิโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน อันเป็นความดับไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหารสมาบัติ เมื่อพิจารณาอภินิเวสโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน อันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าสุญญตวิหารสมาบัติ [๗๙] พระโยคาวจรเมื่อพิจารณารูปนิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร เมื่อพิจารณารูปปณิธิ (ตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูป) โดยความเป็นภัย ถูกต้อง แล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร เมื่อพิจารณารูปาภินิเวส (ความยึดมั่นว่ารูป) โดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตวิหาร พระโยคาวจรเมื่อพิจารณารูปนิมิตโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน นิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตสมาบัติ เมื่อพิจารณารูปปณิธิโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน อันเป็นความดับไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มี ปณิหิตะ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตสมาบัติ เมื่อพิจารณารูปาภินิเวสโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง นิพพานอันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน นิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตสมาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส

พระโยคาวจรเมื่อพิจารณารูปนิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็น ความเสื่อม เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหารสมาบัติ เมื่อพิจารณารูปปณิธิโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน อันเป็นความดับไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหารสมาบัติ เมื่อพิจารณารูปาภินิเวสโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน อันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าสุญญตวิหารสมาบัติ พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเวทนานิมิต ฯลฯ สัญญานิมิต ฯลฯ สังขารนิมิต ฯลฯ วิญญาณนิมิต ฯลฯ จักขุ ฯลฯ เมื่อพิจารณาชรามรณนิมิตโดยความ เป็นภัย ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร เมื่อพิจารณาชรามรณปณิธิ (ตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมรณะ) โดยความ เป็นภัย ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มี ปณิหิตะ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหาร เมื่อพิจารณาชรามรณาภินิเวส (ความยึดมั่นว่าชราและมรณะ) โดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่า สุญญตวิหาร พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาชรามรณนิมิตโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็น ไปแล้ว นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิต น้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหารสมาบัติ เมื่อพิจารณาชรามรณปณิธิโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง นิพพานอันเป็นความดับไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน นิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหารสมาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส

เมื่อพิจารณาชรามรณาภินิเวสโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน นิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตสมาบัติ พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาชรามรณนิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร- สมาบัติ เมื่อพิจารณาชรามรณปณิธิโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความ เสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง นิพพานอันเป็นความดับ ไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหาร- สมาบัติ เมื่อพิจารณาชรามรณาภินิเวสโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็น ความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าสุญญต- วิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง สุญญตวิหารเป็น อย่างหนึ่ง อนิมิตตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง สุญญต- สมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อนิมิตตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ เป็นอย่างหนึ่ง สุญญตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในวิหารธรรมต่างๆ ชื่อว่าวิหารัฏฐญาณ ปัญญาในสมาบัติต่างๆ ชื่อว่าสมาปัตตัฏฐญาณ ปัญญาในวิหารสมาบัติต่างๆ ชื่อว่าวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ
ญาณัตตยนิทเทสที่ ๒๙-๓๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๓๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๓๑-๑๓๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=31&siri=35              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=2234&Z=2327                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=202              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=202&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=7211              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=202&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=7211                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :