ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ ปิฏฐิทุกะ

๑๓. ปิฏฐิทุกะ
๑. ทัสสเนนปหาตัพพทุกะ
[๑๒๖๑] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน สังโยชน์ ๓ คือ ๑. สักกายทิฏฐิ ๒. วิจิกิจฉา ๓. สีลัพพตปรามาส [๑๒๖๒] บรรดาสังโยชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการฝึกฝนในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ สัตบุรุษ ไม่ได้รับการฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตนหรือเห็นตน มีรูป เห็นรูปในตนหรือเห็นตนในรูป เห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ [๑๒๖๓] วิจิกิจฉา เป็นไฉน ปุถุชนย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าวิจิกิจฉา [๑๒๖๔] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดย วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าสีลัพพตปรามาส สังโยชน์ ๓ ดังกล่าวมานี้และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ นั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ ๓ นั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีสังโยชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๒๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ ปิฏฐิทุกะ

[๑๒๖๕] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน เว้นสภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ อัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏ- ทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
๒. ภาวนายปหาตัพพทุกะ
[๑๒๖๖] สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน โลภะ โทสะ โมหะ ที่เหลือและกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะ นั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ [๑๒๖๗] สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน เว้นสภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรม ที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่เหลือซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และ โลกุตตระ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
๓. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ
[๑๒๖๘] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน สังโยชน์ ๓ คือ ๑. สักกายทิฏฐิ ๒. วิจิกิจฉา ๓. สีลัพพตปรามาส [๑๒๖๙] บรรดาสังโยชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการฝึกฝนในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ สัตบุรุษ ไม่ได้รับการฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๒๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ ปิฏฐิทุกะ

เห็นรูปในตนหรือเห็นตนในรูป เห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เป็นตนหรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตนหรือเห็นตนในวิญญาณ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าสักกายทิฏฐิ [๑๒๗๐] วิจิกิจฉา เป็นไฉน ปุถุชนย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ ความกระด้างแห่งจิต ความ ลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าวิจิกิจฉา [๑๒๗๑] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดย วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าสีลัพพตปรามาส สังโยชน์ ๓ เหล่านี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ นั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ ๓ นั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีสังโยชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุ ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค สังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต- ปรามาส สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค โลภะ โทสะ โมหะ ที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้อง ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ส่วนกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะ นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค [๑๒๗๒] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นไฉน เว้นสภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคเหล่านั้นแล้ว สภาว- ธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีเหตุต้องประหาณด้วย โสดาปัตติมรรค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๒๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ ปิฏฐิทุกะ

๔. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ
[๑๒๗๓] สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน โลภะ โทสะ และโมหะที่เหลือ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณ ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ส่วนกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะนั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่ามีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ [๑๒๗๔] สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เป็นไฉน เว้นสภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูป ทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีเหตุต้องประหาณ ด้วยมรรคเบื้องบน ๓
๕. สวิตักกทุกะ
[๑๒๗๕] สภาวธรรมที่มีวิตก เป็นไฉน เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยวิตกในภูมิแห่งจิตที่มีวิตก ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เว้นวิตกแล้ว สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่ามีวิตก [๑๒๗๖] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตก เป็นไฉน เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตที่ไม่มีวิตก ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ วิตก รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัย ไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีวิตก
๖. สวิจารทุกะ
[๑๒๗๗] สภาวธรรมที่มีวิจาร เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๒๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ ปิฏฐิทุกะ

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยวิจารนั้นในภูมิแห่งจิตอันมีวิจาร ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เว้นวิจารแล้ว สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่ามีวิจาร [๑๒๗๘] สภาวธรรมที่ไม่มีวิจาร เป็นไฉน เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตที่ไม่มีวิจาร ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ วิจาร รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัย ไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีวิจาร
๗. สัปปีติกทุกะ
[๑๒๗๙] สภาวธรรมที่มีปีติ เป็นไฉน เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยปีตินั้น ในภูมิแห่งจิตที่มีปีติ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เว้นปีติแล้ว สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่ามีปีติ [๑๒๘๐] สภาวธรรมที่ไม่มีปีติ เป็นไฉน เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตที่ไม่มีปีติ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ปีติ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีปีติ
๘. ปีติสหคตทุกะ
[๑๒๘๑] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยปีตินั้น ในภูมิแห่งจิตที่สหรคต ด้วยปีติ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เว้นปีติแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยปีติ [๑๒๘๒] สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตที่ไม่สหรคตด้วยปีติ ซึ่งเป็น กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เว้นปีติแล้ว รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่สหรคตด้วยปีติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๒๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ ปิฏฐิทุกะ

๙. สุขสหคตทุกะ
[๑๒๘๓] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข เป็นไฉน สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยสุขนั้น ในภูมิแห่ง จิตที่สหรคตด้วยสุข ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เว้น สุขแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยสุข [๑๒๘๔] สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยสุข เป็นไฉน เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตที่ไม่สหรคตด้วยสุข ซึ่งเป็น กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สุข รูปทั้งหมด และ ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่สหรคตด้วยสุข
๑๐. อุเปกขาสหคตทุกะ
[๑๒๘๕] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นไฉน สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยอุเบกขานั้น ในภูมิแห่ง จิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่อง ในวัฏฏทุกข์ เว้นอุเบกขาแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสหรคตด้วยอุเบกขา [๑๒๘๖] สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นไฉน เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ซึ่งเป็น กามาวจร รูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ อุเบกขา รูปทั้งหมด และธาตุที่ ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่สหรคตด้วยอุเบกขา
๑๑. กามาวจรทุกะ
[๑๒๘๗] สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร เป็นไฉน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งท่องเที่ยวอยู่ นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างนี้ คือ เบื้องต่ำ กำหนดเอาอเวจีมหานรกเป็นที่สุด เบื้องสูง กำหนดเอาเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีเป็นที่สุด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกามาวจร [๑๒๘๘] สภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจร เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นกามาวจร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๒๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ ปิฏฐิทุกะ

๑๒. รูปาวจรทุกะ
[๑๒๘๙] สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกของผู้เข้าสมาบัติ๑- ของผู้ที่กำลังอุบัติ๒- หรือของ ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน๓- ที่ท่องเที่ยวอยู่นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างนี้ คือ เบื้องต่ำ กำหนดพรหมโลกเป็นที่สุด เบื้องสูง กำหนดเทพชั้นอกนิฏฐภพเป็นที่สุด สภาว- ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นรูปาวจร [๑๒๙๐] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาว- ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปาวจร
๑๓. อรูปาวจรทุกะ
[๑๒๙๑] สภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกของผู้เข้าสมาบัติ๔- ของผู้ที่กำลังอุบัติ๕- หรือ ของผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน๖- ที่ท่องเที่ยวอยู่นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างนี้ คือ เบื้องต่ำ กำหนดเทพผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพเป็นที่สุด เบื้องสูง กำหนดเทพผู้เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นที่สุด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอรูปาวจร [๑๒๙๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน กามาวจร รูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ เป็นอรูปาวจร
๑๔. ปริยาปันนทุกะ
[๑๒๙๓] สภาวธรรมที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่านับเนื่องในวัฏฏทุกข์ @เชิงอรรถ : @ ผู้กำลังเข้ากุศลฌานที่เป็นรูปาวจร @ ผู้กำลังอุบัติด้วยวิปากฌานที่เป็นรูปาวจร @ ผู้กำลังเข้ากิริยาฌานที่เป็นรูปาวจร @ ผู้กำลังเข้ากุศลฌานที่เป็นอรูปาวจร @ ผู้กำลังอุบัติด้วยวิปากฌานที่เป็นอรูปาวจร @ ผู้กำลังเข้ากิริยาฌานที่เป็นอรูปาวจร (อภิ.สงฺ.อ. ๔๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๒๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ ปิฏฐิทุกะ

[๑๒๙๔] สภาวธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
๑๕. นิยยานิกทุกะ
[๑๒๙๕] สภาวธรรมที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุนำออก จากวัฏฏทุกข์ [๑๒๙๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน เว้นสภาวธรรมที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็น กุศล อกุศล และอัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุ ที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
๑๖. นิยตทุกะ
[๑๒๙๗] สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอน เป็นไฉน อนันตริยกรรม ๕ มิจฉาทิฏฐิที่ให้ผลแน่นอน และมรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องใน วัฏฏทุกข์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าให้ผลแน่นอน [๑๒๙๘] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น เป็นไฉน เว้นสภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอนเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ อัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏ- ทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น
๑๗. สอุตตรทุกะ
[๑๒๙๙] สภาวธรรมที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่ามีธรรมอื่นยิ่งกว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๒๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

สุตตันติกทุกนิกเขปะ

[๑๓๐๐] สภาวธรรมที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นไฉน มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
๑๘. สรณทุกะ
[๑๓๐๑] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เป็นไฉน อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับ อกุศลมูลนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ [๑๓๐๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
อภิธรรมทุกนิกเขปะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๓๒๐-๓๒๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=34&siri=64              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=7109&Z=7289                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=810              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=810&items=26              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=11062              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=810&items=26              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=11062                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.3.2/en/caf_rhysdavids#pts-vp-en331



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :