![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman |
![]() |
![]() |
๒. จูฬันตรทุกะ ๑. สัปปัจจยทุกะ [๑๔๕๓] สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นไฉน กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ามีปัจจัยปรุงแต่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๕๗}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]
ทุกอัตถุทธาระ จูฬันตรทุกะ
[๑๔๕๔] สภาวธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นไฉน นิพพาน สภาวธรรมนี้ชื่อว่าไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง๒. สังขตทุกะ [๑๔๕๕] สภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นไฉน กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมนี้ชื่อว่าถูกปัจจัยปรุงแต่ง [๑๔๕๖] สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นไฉน นิพพาน สภาวธรรมนี้ชื่อว่าไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง๓. สนิทัสสนทุกะ [๑๔๕๗] สภาวธรรมที่เห็นได้ เป็นไฉน รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเห็นได้ [๑๔๕๘] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ เป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ และ นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้๔. สัปปฏิฆทุกะ [๑๔๕๙] สภาวธรรมที่กระทบได้ เป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากระทบได้ [๑๔๖๐] สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้ เป็นไฉน กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะและนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากระทบ ไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๕๘}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๔. อัฏฐกถากัณฑ์]
ทุกอัตถุทธาระ อาสวโคจฉะ
๕. รูปีทุกะ [๑๔๖๑] สภาวธรรมที่เป็นรูป เป็นไฉน มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นรูป [๑๔๖๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป เป็นไฉน กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นรูป๖. โลกิยทุกะ [๑๔๖๓] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะ เป็นไฉน กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ อัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นโลกิยะ [๑๔๖๔] สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ เป็นไฉน มรรค ๔ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นโลกุตตระ๗. เกนจิวิญเญยยทุกะ สภาวธรรมทั้งหมดชื่อว่าจิตบางดวงรู้ได้ จิตบางดวงรู้ไม่ได้จูฬันตรทุกะ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๓๕๗-๓๕๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=34&siri=68 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=7898&Z=7933 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=906 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=906&items=7 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=906&items=7 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]