ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์
สัพพสังคาหิกวาร
[๒๑๓] สัจจะ ๔ คือ ๑. ทุกข์ (ทุกข์) ๒. ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) บรรดาสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย ทุกข์ เป็นไฉน กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของ อาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาวธรรม ที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๘๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ สัพพสังคาหิกวาร

ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การละตัณหาเสียได้ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา [๒๑๔] ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหา กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ ของอาสวะ และสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย ทุกข์ เป็นไฉน วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาว- ธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์ ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การละตัณหา ละกิเลสที่เหลือ ละสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ ละกุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และละสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๘๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๑๘๐-๑๘๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=17              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=3044&Z=3081                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=214              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=214&items=9              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=214&items=9                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb4/en/thittila#pts-s213



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :