บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘. สัมมัปปธานวิภังค์]
๓. ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๓. ปัญหาปุจฉกะ [๔๒๗] สัมมัปปธาน ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งยังไม่เกิดมิให้เกิด ๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งเกิดแล้ว ๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยังไม่เกิดให้เกิด ๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดแล้วติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา [๔๒๘] บรรดาสัมมัปปธาน ๔ สัมมัปปธานเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ ร้องไห้๑. ติกมาติกาวิสัชนา ๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา [๔๒๙] สัมมัปปธาน ๔ เป็นกุศลอย่างเดียว สัมมัปปธาน ๔ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี สัมมัปปธาน ๔ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก สัมมัปปธาน ๔ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น อารมณ์ของอุปาทาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๓๘}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘. สัมมัปปธานวิภังค์]
๓. ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา
สัมมัปปธาน ๔ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส สัมมัปปธาน ๔ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มี ทั้งวิตกและวิจารก็มี สัมมัปปธาน ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วย อุเบกขาก็มี สัมมัปปธาน ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ สัมมัปปธาน ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ สัมมัปปธาน ๔ เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน สัมมัปปธาน ๔ เป็นของเสขบุคคล สัมมัปปธาน ๔ เป็นอัปปมาณะ สัมมัปปธาน ๔ มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ สัมมัปปธาน ๔ เป็นชั้นประณีต สัมมัปปธาน ๔ มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน สัมมัปปธาน ๔ ไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์ สัมมัปปธาน ๔ มีมรรคเป็นเหตุ สัมมัปปธาน ๔ ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี สัมมัปปธาน ๔ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้น แน่นอน สัมมัปปธาน ๔ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี ที่กล่าว ไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรม เป็นอารมณ์ก็มี สัมมัปปธาน ๔ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตน และภายนอกตนก็มี สัมมัปปธาน ๔ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ สัมมัปปธาน ๔ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๓๙}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘. สัมมัปปธานวิภังค์]
๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา ๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา [๔๓๐] สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นเหตุ แต่มีเหตุ สัมมัปปธาน ๔ สัมปยุตด้วยเหตุ แต่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือ มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ สัมมัปปธาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วย เหตุแต่ไม่เป็นเหตุ สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา สัมมัปปธาน ๔ มีปัจจัยปรุงแต่ง สัมมัปปธาน ๔ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สัมมัปปธาน ๔ เห็นไม่ได้ สัมมัปปธาน ๔ กระทบไม่ได้ สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นรูป สัมมัปปธาน ๔ เป็นโลกุตตระ สัมมัปปธาน ๔ จิตบางดวงรู้ได้ สัมมัปปธาน ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นอาสวะ สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัมมัปปธาน ๔ วิปปยุตจากอาสวะ สัมมัปปธาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น อาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ สัมมัปปธาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือ สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ สัมมัปปธาน ๔ วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ๔-๑๐. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ รับรู้อารมณ์ได้ สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นจิต สัมมัปปธาน ๔ เป็นเจตสิก สัมมัปปธาน ๔ สัมปยุตด้วยจิต สัมมัปปธาน ๔ ระคนกับจิต สัมมัปปธาน ๔ มีจิตเป็นสมุฏฐาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๔๐}
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘. สัมมัปปธานวิภังค์]
๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
สัมมัปปธาน ๔ เกิดพร้อมกับจิต สัมมัปปธาน ๔ เป็นไปตามจิต สัมมัปปธาน ๔ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน สัมมัปปธาน ๔ ระคน กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต สัมมัปปธาน ๔ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต สัมมัปปธาน ๔ เป็นภายนอก สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นอุปาทายรูป สัมมัปปธาน ๔ กรรมอันประกอบด้วย ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ๑๑-๑๓. อุปาทานาโคจฉกาทิวิสัชนา สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ สัมมัปปธาน ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ สัมมัปปธาน ๔ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี สัมมัปปธาน ๔ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี สัมมัปปธาน ๔ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี สัมมัปปธาน ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี สัมมัปปธาน ๔ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี สัมมัปปธาน ๔ ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นกามาวจร สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นรูปาวจร สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นอรูปาวจร สัมมัปปธาน ๔ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สัมมัปปธาน ๔ เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ สัมมัปปธาน ๔ ให้ผลแน่นอน สัมมัปปธาน ๔ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ปัญหาปุจฉกะ จบ สัมมัปปธานวิภังค์ จบบริบูรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๔๑}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๓๓๘-๓๔๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=33 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=6735&Z=6809 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=502 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=502&items=3 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=7700 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=502&items=3 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=7700 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb8/en/thittila#pts-s427
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]