ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์
๗. สัตตกนิทเทส
[๙๔๙] บรรดาสัตตกมาติกาเหล่านั้น อนุสัย ๗ เป็นไฉน อนุสัย ๗ คือ ๑. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือกามราคะ) ๒. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือปฏิฆะ) ๓. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือมานะ) @เชิงอรรถ : @ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ในที่นี้หมายถึงสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ (อภิ.วิ.อ. ๙๔๘/๕๕๑-๕๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๐๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๗. สัตตกนิทเทส

๔. ทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือทิฏฐิ) ๕. วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือวิจิกิจฉา) ๖. ภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือภวราคะ) ๗. อวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคืออวิชชา) เหล่านี้ชื่อว่าอนุสัย ๗ (๑) สังโยชน์ ๗ เป็นไฉน สังโยชน์ ๗ คือ ๑. กามราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือกามราคะ) ๒. ปฏิฆสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือปฏิฆะ) ๓. มานสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือมานะ) ๔. ทิฏฐิสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือทิฏฐิ) ๕. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือวิจิกิจฉา) ๖. ภวราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือภวราคะ) ๗. อวิชชาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออวิชชา) เหล่านี้ชื่อว่าสังโยชน์ ๗ (๒) ปริยุฏฐานะ ๗ เป็นไฉน ปริยุฏฐานะ ๗ คือ ๑. กามปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือกาม) ๒. ปฏิฆปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือปฏิฆะ) ๓. มานปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือมานะ) ๔. ทิฏฐิปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือทิฏฐิ) ๕. วิจิกิจฉาปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือวิจิกิจฉา) ๖. ภวราคปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือภวราคะ) ๗. อวิชชาปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคืออวิชชา) เหล่านี้ชื่อว่าปริยุฏฐานะ ๗ (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๐๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๗. สัตตกนิทเทส

[๙๕๐] อสัทธรรม ๗ เป็นไฉน อสัทธรรม ๗ คือ ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ ๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. มีสุตะน้อย ๕. เกียจคร้าน ๖. หลงลืมสติ ๗. มีปัญญาทราม เหล่านี้ชื่อว่าอสัทธรรม ๗ (๔) ทุจริต ๗ เป็นไฉน ทุจริต ๗ คือ ๑. ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ๓. กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม) ๔. มุสาวาท (พูดเท็จ) ๕. ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด) ๖. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) ๗. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) เหล่านี้ชื่อว่าทุจริต ๗ (๕) มานะ ๗ เป็นไฉน มานะ ๗ คือ ๑. มานะ (ความถือตัว) ๒. อติมานะ (ความถือตัวจัด) ๓. มานาติมานะ (ความเย่อหยิ่ง) ๔. โอมานะ (ความดูหมิ่นตนเอง) ๕. อธิมานะ (ความสำคัญว่าได้บรรลุ) ๖. อัสมิมานะ (ความสำคัญว่ามีตัวตน) ๗. มิจฉามานะ (ความถือตัวผิด) เหล่านี้ชื่อว่ามานะ ๗ (๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๐๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๗. สัตตกนิทเทส

[๙๕๑] ทิฏฐิ ๗ เป็นไฉน ทิฏฐิ ๗ คือ ๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่าน ผู้เจริญ เพราะอัตตานี้มีรูปสำเร็จมาจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากบิดามารดา หลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้ อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความ ขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิดขึ้นอีกของสัตว์อย่างนี้ ๒. สมณะหรือพราหมณ์อื่น กล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ จะไม่ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เป็นทิพย์๑- มีรูปเป็นกามาวจร๒- บริโภคข้าวเป็นอาหาร ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรา รู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิด อีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือ พราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิด อีกของสัตว์ อย่างนี้ ๓. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ไม่ ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เป็นทิพย์มีรูป สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่องมีอยู่จริง ท่านยังไม่รู้ ไม่เห็น แต่เรารู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศไป ไม่เกิดอีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และ ความไม่เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ อัตตาที่เป็นทิพย์ หมายถึงอัตตาที่เกิดในเทวโลก (อภิ.วิ.อ. ๙๕๑/๕๕๓) @ เทวดาชั้นกามาวจร ๖ ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัสดี @(ที.สี.อ. ๘๖/๑๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๐๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๗. สัตตกนิทเทส

๔. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ ไม่ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึง อากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วง รูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรารู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลังจากตายแล้ว ย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึง ขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความ พินาศ และความไม่เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้ ๕. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้ เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ ไม่ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึง วิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วง อากาสานัญจายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรา รู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิด อีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือ พราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิด อีกของสัตว์อย่างนี้ ๖. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ ไม่ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึง อากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า อะไรๆ ก็ไม่มี เพราะล่วง วิญญาณัญจายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรา รู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิด อีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือ พราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิด อีกของสัตว์อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๐๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๘. อัฏฐกนิทเทส

๗. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตา นี้ไม่ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะเสียได้โดย ประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรารู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลัง จากตายแล้ว ย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความ ขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้ เหล่านี้ชื่อว่าทิฏฐิ ๗
สัตตกนิทเทส จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๖๐๕-๖๑๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=72              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=13190&Z=13280                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=1005              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=1005&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=12980              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=1005&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=12980                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb17/en/thittila#pts-p-pi383



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :