ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
๗. สัตตกปุคคลบัญญัติ
[๒๐๓] บุคคลผู้จมแล้วครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ประกอบด้วยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลฝ่ายดำโดย ส่วนเดียว๑- บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าจมแล้วครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วจมลงอีก เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้น ได้แก่ เขามีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ศรัทธา ของเขานั้น ย่อมไม่คงอยู่กับที่ ไม่เจริญ มีแต่เสื่อมอย่างเดียว หิริของเขานั้น ... โอตตัปปะของเขานั้น ... วิริยะของเขานั้น ... ปัญญาของเขานั้นย่อมไม่คงอยู่กับที่ ไม่เจริญ มีแต่เสื่อมอย่างเดียว บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าโผล่ขึ้นแล้วจมลงอีก บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้น ได้แก่ เขามีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และศรัทธา ของเขานั้นไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงอยู่กับที่ หิริของเขานั้น ... โอตตัปปะของเขานั้น ... วิริยะของเขานั้น ... ปัญญาของเขานั้นไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงอยู่กับที่ บุคคลเช่นนี้ชื่อว่า โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่ บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้น ได้แก่ เขามีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มี หิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลนั้น เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าโผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู @เชิงอรรถ : @ อกุศลธรรมฝ่ายดำโดยส่วนเดียว ในที่นี้หมายถึงนิยตมิจฉาทิฏฐิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๐๓/๑๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๒๗}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๗. สัตตกนิทเทส

บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามไป เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้น ได้แก่ เขามีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลนั้น เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบาง เป็น สกทาคามี กลับมาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคล เช่นนี้ชื่อว่าโผล่ขึ้นแล้วข้ามไป บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วได้ที่พึ่ง เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้น ได้แก่ เขามีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และเพราะ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในเทวโลกนั้น ไม่กลับมาจากภพนั้นเป็นธรรมดา บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าโผล่ขึ้นแล้วได้ที่พึ่ง บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามไปถึงฝั่งเป็นผู้ลอยบาปอยู่บนบก เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้น ได้แก่ เขามีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และเขา ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วย ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าโผล่ขึ้นแล้วข้ามไปถึงฝั่งเป็น ผู้ลอยบาปได้อยู่บนบก [๒๐๔] บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ และอาสวะของเขาย่อม สิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ [๒๐๕] บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นกายสักขี ฯลฯ บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๒๘}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๙. นวกปุคคลบัญญัติ

บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นไฉน ฯลฯ [๒๐๖] บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี เป็นไฉน บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล มีสัทธินทรีย์อันมีประมาณยิ่ง เจริญ อริยมรรคอันมีศรัทธาเป็นตัวนำ มีศรัทธาเป็นประธาน บุคคลนี้เรียกว่า สัทธานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลชื่อว่าสัทธานุสารี บุคคลผู้ดำรงอยู่ในผล ชื่อว่าสัทธาวิมุตตะ
สัตตกนิทเทส จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๖ หน้าที่ ๒๒๗-๒๒๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=36&siri=33              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=36&A=4796&Z=4859                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36&i=663              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=36&item=663&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=2618              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=36&item=663&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=2618                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu36              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pp2.7/en/law



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :