บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๒. รูปังมัคโคติกถา (๙๖) ว่าด้วยรูปเป็นมรรค [๕๗๓] สก. รูปของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นมรรคใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ความผูกใจ ความ สนใจ ความใฝ่ใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะ นิกายสมิติยะ และนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๗๓/๒๔๙) @๒ เพราะมีความเห็นว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ทั้ง ๓ องค์นี้ เป็นรูป ไม่ใช่นาม และเนื่อง @จากมรรคทั้ง ๓ องค์นี้ นับเนื่องเข้าในมรรคมีองค์ ๘ จึงถือว่ารูปก็ชื่อว่ามรรคได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๗๓/๒๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๒๖}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค]
๒. รูปังมัคโคติกถา (๙๖)
สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี ความตั้งใจมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากรูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่ มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า รูปของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นมรรค สก. สัมมาวาจาเป็นมรรคใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัมมาวาจาเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มี ความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัมมาวาจาเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากสัมมาวาจาเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า สัมมาวาจาเป็นมรรค สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นมรรคใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัมมาอาชีวะเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มี ความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัมมาอาชีวะเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๒๗}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค]
๒. รูปังมัคโคติกถา (๙๖)
สก. หากสัมมาอาชีวะเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า สัมมาอาชีวะเป็นมรรค [๕๗๔] สก. สัมมาทิฏฐิเป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้ อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัมมาวาจาเป็นมรรค และสัมมาวาจานั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัมมาทิฏฐิเป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ ได้มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นมรรค และสัมมาอาชีวะนั้น เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัมมาวาจาเป็นมรรค และสัมมาวาจานั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัมมาสมาธิเป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๒๘}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค]
๒. รูปังมัคโคติกถา (๙๖)
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นมรรค และสัมมาอาชีวะนั้น เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัมมาวาจาเป็นมรรค และสัมมาวาจานั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัมมาทิฏฐิเป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัมมาวาจาเป็นมรรค และสัมมาวาจานั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นมรรค และสัมมาอาชีวะนั้นเป็น สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๒๙}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค]
๓. ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา (๙๗)
[๕๗๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า รูปของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นมรรค ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรคมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะเป็นมรรค ดังนั้น ท่าน จึงควรยอมรับว่า รูปของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมรรคเป็นมรรครูปังมัคโคติกถา จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๖๒๖-๖๓๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=117 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=13705&Z=13795 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1379 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1379&items=8 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5618 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1379&items=8 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5618 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv10.2/en/aung-rhysdavids
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]