ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๕. สาโภคาติกถา (๙๙)
ว่าด้วยวิญญาณ ๕ มีความผูกใจ
[๕๘๔] สก. วิญญาณ ๕ มีความผูกใจใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์ มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากวิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วิญญาณ ๕ มีความผูกใจ” สก. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นก่อนเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นก่อนเป็น อารมณ์ มีธรรมภายในตนเป็นวัตถุ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ มีธรรมไม่ แตกดับเป็นวัตถุ มีธรรมไม่แตกดับเป็นอารมณ์ มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์ของกันและกัน ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่ใส่ใจ ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่มนสิการ เกิดขึ้นโดยไม่สับลำดับกัน ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่เกิดขึ้นในลำดับของกันและกัน มิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑, ๒ ข้อ ๕๗๙ หน้า ๖๓๓ ในเล่มนี้ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๘๔/๒๕๒) @ เพราะมีความเห็นว่า วิญญาณ ๕ มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น สามารถพิจารณาแยกแยะสิ่งดี สิ่งไม่ดีได้ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๘๔/๒๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๓๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค]

๕. สาโภคาติกถา (๙๙)

สก. หากวิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นในลำดับของกันและกัน ท่านก็ไม่ควร ยอมรับว่า “วิญญาณ ๕ มีความผูกใจ” [๕๘๕] สก. จักขุวิญญาณมีความผูกใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น” มีอยู่จริงหรือ ปร. ไม่มี ฯลฯ สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น” มีอยู่จริง ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากพระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น” มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณ จึงเกิดขึ้น” สก. จักขุวิญญาณมีความผูกใจใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๓๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค]

๕. สาโภคาติกถา (๙๙)

สก. จักขุวิญญาณปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จักขุวิญญาณมีความผูกใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มโนวิญญาณมีความผูกใจ มโนวิญญาณปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ จักขุวิญญาณปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มโนวิญญาณมีความผูกใจ มโนวิญญาณปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้น ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ จักขุวิญญาณปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้น ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มโนวิญญาณมีความผูกใจ มโนวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภ โผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภ โผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๓๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค]

๖. ทวีหิสีเลหิกถา (๑๐๐)

[๕๘๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณ ๕ มีความผูกใจ” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย นี้เห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ไม่เป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ ทางกายแล้วเป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ไม่เป็นผู้รวบถือ” มีอยู่จริง มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น วิญญาณ ๕ จึงมีความผูกใจ ฯลฯ
สาโภคาติกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๖๓๗-๖๔๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=120              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=13952&Z=14024                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1396              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1396&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5683              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1396&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5683                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv10.5/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :