บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๖. กุสลกถา (๑๙๑) ว่าด้วยกุศล [๘๔๔] สก. นิพพานธาตุเป็นกุศลใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. นิพพานธาตุรับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๔/๓๐๗) @๒ เพราะมีความเห็นว่า นิพพานไม่มีโทษจึงจัดเป็นกุศล ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า นิพพาน @เป็นอัพยากฤต ถึงแม้จะไม่มีโทษ แต่ก็ไม่มีการเผล็ดผล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๔/๓๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๘๐}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค]
๖. กุสลกถา (๑๙๑)
สก. นิพพานธาตุรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากนิพพานธาตุรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ ตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า นิพพานธาตุเป็นกุศล [๘๔๕] สก. อโลภะเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความ ตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. นิพพานธาตุเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อโทสะเป็นกุศล ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. นิพพานธาตุเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. นิพพานธาตุเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อโลภะเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี ความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. นิพพานธาตุเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี ความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๘๑}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค]
๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
สก. อโทสะเป็นกุศล ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี ความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๔๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า นิพพานธาตุเป็นกุศล ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. นิพพานธาตุไม่มีโทษมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากนิพพานธาตุไม่มีโทษ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า นิพพานธาตุ เป็นกุศลกุสลกถา จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๘๘๐-๘๘๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=209 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=18928&Z=18972 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1788 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1788&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6910 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1788&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6910 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv19.6/en/aung-rhysdavids
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]