ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

๒. ปริหานิกถา
ว่าด้วยความเสื่อม
๑. วาทยุตติปริหานิ
ว่าด้วยหลักการโต้วาทะในเรื่องความเสื่อม
[๒๓๙] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในโอกาส๓- ทั้งปวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๔- สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในโอกาสทั้งปวงใช่ไหม ปร. ใช่๕- สก. สภาวธรรมเป็นเหตุเสื่อม๖- ของพระอรหันต์ในโอกาสทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสมิติยะ นิกายวัชชีปุตตกะ นิกายสัพพัตถิกวาท และนิกายมหาสังฆิกะ @บางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๙/๑๖๑) @ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์มีโอกาสเสื่อมจากอรหัตตผลได้ หมายถึงเสื่อมจากอรหัตตผลลงไปสู่ @อริยผลที่ต่ำลงไปตามลำดับ จนถึงโสดาปัตติผล และพระอรหันต์ที่จะเสื่อมได้นั้นจะต้องเป็นพระอรหันต์ใน @กามภพเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๙/๑๖๑) @ โอกาส ในที่นี้หมายถึงภพทุกภพและภูมิธรรมของพระอริยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๙/๑๖๑) @ ข้อความที่ ฯลฯ ไว้นี้ต้องเติมให้เต็มตามนัยแห่งนิคคหนัยในปุคคลกถา และในกถาอื่นๆ ในเล่มนี้ก็ควร @เติมให้เต็มเช่นนี้ @ เพราะมีความเห็นว่า โอกาสทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงภพทั้งปวง จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๙/๑๖๑) @ สภาวธรรมเป็นเหตุเสื่อม ในที่นี้หมายถึงกามราคะ และพยาบาทซึ่งมีอยู่ในกามภพเท่านั้น @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๙/๑๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๐๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในกาลทั้งปวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในกาลทั้งปวงใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมเป็นเหตุเสื่อมของพระอรหันต์ในโอกาสทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ทุกองค์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์ทุกองค์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมเป็นเหตุเสื่อมของพระอรหันต์ทุกองค์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ย่อมเสื่อมจากผลทั้ง ๔ ประการ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. เศรษฐีครองความเป็นเศรษฐีอยู่ได้ก็ด้วยทรัพย์ ๔๐๐,๐๐๐ เมื่อทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ หมดสิ้นไปก็เสื่อมจากความเป็นเศรษฐีใช่ไหม สก. ใช่ ปร. เขาเสื่อมจากสมบัติทั้งปวงใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๑๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. เศรษฐีครองความเป็นเศรษฐีอยู่ได้ก็ด้วยทรัพย์ ๔๐๐,๐๐๐ เมื่อทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ หมดสิ้นไปก็เสื่อมจากสมบัติทั้งปวงใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ย่อมเสื่อมจากผลทั้ง ๔ ประการ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
วาทยุตติปริหานิ จบ
๒. อริยปุคคลสังสันทนปริหานิ
ว่าด้วยการเทียบเคียงพระอริยบุคคลในเรื่องความเสื่อม
[๒๔๐] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๑๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระโสดาบันไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสกทาคามีไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอนาคามีไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๑๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระโสดาบันไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสกทาคามีไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระโสดาบันไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๔๑] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ตั้งอยู่ในธรรมอะไร ปร. ตั้งอยู่ในอนาคามิผล สก. พระอนาคามีเมื่อเสื่อมจากอนาคามิผล ตั้งอยู่ในธรรมอะไร ปร. ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล สก. พระสกทาคามีเมื่อเสื่อมจากสกทาคามิผล ตั้งอยู่ในธรรมอะไร ปร. ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สก. พระโสดาบันเมื่อเสื่อมจากโสดาปัตติผล ตั้งอยู่ในภูมิแห่งปุถุชนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๑๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้ หากพระอรหันต์ เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ตั้งอยู่ในอนาคามิผล พระอนาคามี เมื่อเสื่อมจากอนาคามิผล ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล พระสกทาคามี เมื่อเสื่อมจาก สกทาคามิผล ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ดังนั้น ท่านควรยอมรับว่า “พระโสดาบัน เมื่อเสื่อมจากโสดาปัตติผล ตั้งอยู่ในภูมิแห่งปุถุชน” สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ถัดจากโสดาปัตติผล ท่านก็ทำให้แจ้งอรหัตตผลได้เลยใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๔๒] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์หรือพระโสดาบัน ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน ปร. พระอรหันต์ สก. หากพระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้” สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์หรือพระสกทาคามี ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน ปร. พระอรหันต์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๑๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. หากพระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้” สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์หรือพระอนาคามี ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน ปร. พระอรหันต์ สก. หากพระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้” สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอนาคามีหรือพระโสดาบัน ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน ปร. พระอนาคามี สก. หากพระอนาคามีละกิเลสได้มากกว่า พระอนาคามียังเสื่อมจากอนาคามิ- ผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้” [๒๔๓] สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๑๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระอนาคามีหรือพระสกทาคามี ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน ปร. พระอนาคามี สก. หากพระอนาคามีละกิเลสได้มากกว่า พระอนาคามียังเสื่อมจาก อนาคามิผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีก็เสื่อมจาก สกทาคามิผลได้” สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสกทาคามีหรือพระโสดาบัน ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน ปร. พระสกทาคามี สก. หากพระสกทาคามีละกิเลสได้มากกว่า พระสกทาคามียังเสื่อมจาก สกทาคามิผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจาก โสดาปัตติผลได้” [๒๔๔] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์หรือพระโสดาบัน ใครเจริญมรรคได้ยิ่งกว่ากัน ปร. พระอรหันต์ สก. หากพระอรหันต์เจริญมรรคได้ยิ่งกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจากอรหัตต- ผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้” สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๑๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์หรือพระโสดาบัน ใครเจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญ สัมมัปปธาน ฯลฯ เจริญอิทธิบาท ฯลฯ เจริญอินทรีย์ ฯลฯ เจริญพละ ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่ากัน ปร. พระอรหันต์ สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจาก อรหัตตผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้” สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์หรือพระสกทาคามี ใครเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ ได้ยิ่งกว่ากัน ปร. พระอรหันต์ สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจาก อรหัตตผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผล ได้” สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๑๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระอรหันต์หรือพระอนาคามี ใครเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ได้ ยิ่งกว่ากัน ปร. พระอรหันต์ สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจาก อรหัตตผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้” [๒๔๕] สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอนาคามีหรือพระโสดาบัน ใครเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ได้ ยิ่งกว่ากัน ปร. พระอนาคามี สก. หากพระอนาคามีเจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระอนาคามียังเสื่อมจาก อนาคามิผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผล ได้” สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอนาคามีหรือพระสกทาคามี ใครเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ได้ ยิ่งกว่ากัน ปร. พระอนาคามี สก. หากพระอนาคามีเจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระอนาคามียังเสื่อม จากอนาคามิผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีเสื่อมจาก สกทาคามิผลได้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๑๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

[๒๔๖] สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสกทาคามีหรือพระโสดาบัน ใครเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ได้ ยิ่งกว่ากัน ปร. พระสกทาคามี สก. หากพระสกทาคามีเจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระสกทาคามียังเสื่อมจาก สกทาคามิผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผล ได้ ฯลฯ” [๒๔๗] สก. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์เห็นสมุทัยแล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันเห็นสมุทัยแล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์เห็นนิโรธแล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันเห็นนิโรธแล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๑๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระอรหันต์เห็นมรรคแล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันเห็นมรรคแล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์เห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ เห็น สัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๒๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระอรหันต์เห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ เห็น สัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๔๘] สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอนาคามีเห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ เห็น สัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอนาคามีเห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๒๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

[๒๔๙] สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสกทาคามีเห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๕๐] สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระโสดาบันเห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ เห็น สัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจาก สกทาคามิผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๒๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอนาคามิผล ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอนาคามิผล ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากสกทาคามิผล ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอนาคามิผล ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากสกทาคามิผล ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๒๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

[๒๕๑] สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ละราคะที่เป็น เหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ฯลฯ ละโทสะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ฯลฯ ละโมหะที่เป็น เหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว ยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์ละโทสะ ฯลฯ ละโมหะ ฯลฯ ละมานะ ฯลฯ ละทิฏฐิ ฯลฯ ละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละถีนะ ฯลฯ ละอุทธัจจะ ฯลฯ ละอหิริกะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์ละอโนตตัปปะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ละราคะที่เป็น เหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ฯลฯ ละโทสะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ฯลฯ ละโมหะที่เป็น เหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๒๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ละกามราคะ อย่างหยาบ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์ละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผล ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วยัง เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ละกามราคะ อย่างละเอียด ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๒๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระอรหันต์ละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผล ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้วยัง เสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๕๒] สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว ยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอนาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้วยังเสื่อม จากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้ แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๒๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ละกามราคะ อย่างหยาบ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอนาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้วยังเสื่อม จากอนาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วยัง เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๕๓] สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว ยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๒๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละกามราคะอย่างหยาบ ฯลฯ ละพยาบาท อย่างหยาบได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้ แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๕๔] สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ละราคะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๕๕] สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากสกทาคามิผล ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๒๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระอรหันต์ละราคะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วไม่เสื่อม จากสกทาคามิผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ละราคะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๕๖] สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ละราคะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอนาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้วไม่เสื่อม จากอนาคามิผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ละราคะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๕๗] สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๒๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว ไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว ไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๕๘] สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว ไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วไม่เสื่อม จากสกทาคามิผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว ไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๕๙] สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๓๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว ไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว ไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๖๐] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูก ตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร ยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โทสะพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ โมหะพระอรหันต์ละได้แล้ว ... มานะ พระอรหันต์ละได้แล้ว ... ทิฏฐิพระอรหันต์ละได้แล้ว ... วิจิกิจฉาพระอรหันต์ละ ได้แล้ว ... ถีนะพระอรหันต์ละได้แล้ว ... อุทธัจจะพระอรหันต์ละได้แล้ว ... อหิริกะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๓๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

พระอรหันต์ละได้แล้ว ... อโนตตัปปะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป ไม่ได้มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากอโนตตัปปะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร ยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์เจริญมรรคเพื่อละราคะมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระอรหันต์เจริญมรรคเพื่อละราคะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระ อรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญสัมมัปปธาน ... เจริญอิทธิบาท ... เจริญอินทรีย์ ... เจริญพละ ... เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๓๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระอรหันต์เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละ อโนตตัปปะมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ ว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” [๒๖๑] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแล้ว ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระเนียดได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระคือขันธ์ หมดเครื่องผูกพัน ชนะอย่าง วิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคแล้ว รู้ยิ่งธรรม ที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรม ที่ควรทำให้แจ้ง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” [๒๖๒] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุต๑- เสื่อมจากอรหัตตผลได้ ผู้เป็นอสมยวิมุต๒- ไม่เสื่อมจากอรหัตตผล สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @๑-๒ ดูเทียบ อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑-๒/๑๔๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๓๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วยังเสื่อม จากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วยังเสื่อม จากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเจริญมรรค เพื่อละราคะ ยังเสื่อมจากอรหัตตผล ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเจริญมรรค เพื่อละราคะ ยังเสื่อมจากอรหัตตผล ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๓๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญสัมมัปปธาน ... เจริญอิทธิบาท ... เจริญอินทรีย์ ... เจริญพละ ... เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ยังเสื่อม จากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อ ละราคะ ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละ อโนตตัปปะยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำกิจ ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเป็นเครื่อง ผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแล้ว ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระเนียด ได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระคือขันธ์ หมดเครื่อง ผูกพัน ชนะอย่างวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรค แล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรม ที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๓๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

[๒๖๓] สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตละราคะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตละราคะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อม จากอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละ ราคะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละ ราคะแล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละโทสะ ฯลฯ เจริญอโนตตัปปะแล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละ อโนตตัปปะแล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๓๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๖๔] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสารีบุตรเถระเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระมหาโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระมหากัสสปเถระ ฯลฯ พระมหา กัจจายนเถระ ฯลฯ พระมหาโกฏฐิกเถระ ฯลฯ พระมหาปันถกเถระ เสื่อมจาก อรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระสารีบุตรเถระไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากพระสารีบุตรเถระไม่เสื่อมจากอรหัตตผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” สก. พระมหาโมคคัลลานเถระ ... พระมหากัสสปเถระ ... พระมหา กัจจายนเถระ ... พระมหาโกฏฐิกเถระ ... พระมหาปันถกเถระ ไม่เสื่อมจาก อรหัตตผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากพระมหาโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระมหาปันถกเถระ ไม่เสื่อมจาก อรหัตตผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
อริยปุคคลสังสันทนปริหานิ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๓๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

๓. สุตตสาธนปริหานิ
ว่าด้วยการอ้างพระสูตรในเรื่องความเสื่อม
[๒๖๕] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ปฏิปทาที่พระสมณะประกาศแล้วมีทั้งสูงและต่ำ มุนีผู้ปฏิบัติจะไปถึงฝั่งถึง ๒ ครั้งหามิได้ ฝั่งนี้ผู้ปฏิบัติรู้ได้ครั้งเดียวก็หามิได้”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดได้แล้วยังมีบางอย่างที่ยังจะต้องตัดอีกใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. กิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดได้แล้วยังมีบางอย่างที่ยังจะต้องตัดอีกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๗๒๐/๖๗๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๓๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

“ท่านเป็นผู้ไม่มีตัณหา ไม่มีความถือมั่น ไม่มีกิจที่ต้องทำ กิเลสวัฏท่านตัดแล้ว ไม่มีที่จะต้องตัดอีก ห้วงน้ำและบ่วง๑- ท่านถอนได้แล้ว” มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดแล้ว ยังมี บางอย่างที่ยังจะต้องตัดอีก” [๒๖๖] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กิจ๒- ที่ทำแล้วต้องสั่งสมอีกใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. กิจที่ทำแล้วต้องสั่งสมอีกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุผู้มีจิตสงบระงับหลุดพ้นโดยชอบ ย่อมไม่มีการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ทั้งไม่มีกิจที่จะต้องทำอีก ภูเขาหินแท่งทึบย่อมไม่สะเทือนเพราะลม ฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งมวล ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ย่อมทำจิตของผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น @เชิงอรรถ : @ ห้วงน้ำและบ่วง คำว่า ห้วงน้ำ ในที่นี้หมายถึงห้วงน้ำคือกิเลส (กิเลโสโฆ) และคำว่า บ่วง หมายถึงบ่วงแห่งกิเลส @(กิเลสปาโส) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๕/๑๖๕) @ กิจ ในที่นี้หมายถึงภาวนา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๖/๑๖๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๓๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

จิตของผู้คงที่นั้น เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่เกาะเกี่ยวด้วยอารมณ์อะไร เพราะท่านผู้คงที่พิจารณาเห็นความเกิดดับของจิตนั้น”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กิจที่ทำแล้วต้องสั่งสมอีกมีอยู่” [๒๖๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นสมยวิมุต ธรรม ๕ ประการ คือ (๑) ความเป็นผู้ชอบการงาน (๒) ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย (๓) ความเป็นผู้ชอบ การนอนหลับ (๔) ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ (๕) ไม่พิจารณาจิตตาม ที่หลุดพ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม แก่ภิกษุผู้เป็นสมยวิมุต”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น “พระอรหันต์จึงเสื่อมจากอรหัตตผลได้” สก. ความเป็นผู้ชอบการงานของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. ความเป็นผู้ชอบการงานของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๒๔๕/๑๒-๑๓, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๕/๕๓๘-๕๓๙ @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๔๙/๒๔๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๔๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. ราคะ กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ ความเป็นผู้ ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ราคะ กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น [๒๖๘] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ถูกอะไรกลุ้มรุมจึงเสื่อม ปร. ถูกราคะกลุ้มรุมจึงเสื่อม สก. ความกลุ้มรุมเกิดขึ้นเพราะอาศัยอะไร ปร. เกิดขึ้นเพราะอาศัยอนุสัย สก. อนุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. อนุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๔๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย (และ) อวิชชานุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ถูกอะไรกลุ้มรุมจึงเสื่อม ปร. ถูกโทสะกลุ้มรุมจึงเสื่อม ฯลฯ ถูกโมหะกลุ้มรุมจึงเสื่อม สก. ความกลุ้มรุมเกิดขึ้นเพราะอาศัยอะไร ปร. เกิดขึ้นเพราะอาศัยอนุสัย สก. อนุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อนุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กามราคานุสัย ฯลฯ อวิชชานุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล อะไรก่อตัวขึ้น ปร. ราคะก่อตัวขึ้น สก. สักกายทิฏฐิก่อตัวขึ้น วิจิกิจฉาก่อตัวขึ้น สีลัพพตปรามาสก่อตัวขึ้น ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล อะไรก่อตัวขึ้น ปร. โทสะก่อตัวขึ้น ฯลฯ สก. เมื่อพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล อะไรก่อตัวขึ้น ปร. โมหะก่อตัวขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๔๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. สักกายทิฏฐิก่อตัวขึ้น วิจิกิจฉาก่อตัวขึ้น สีลัพพตปรามาสก่อตัวขึ้น ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ยังสะสม(จุติและปฏิสนธิ)อยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ไม่สะสมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ยังละอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ยังยึดมั่นอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ยังกำจัดอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ยังก่ออยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ยังทำลายอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ยังปรับปรุงอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๔๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระอรหันต์ยังสะสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สะสมอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ไม่สะสมแล้วจึง ดำรงอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระอรหันต์ยังสะสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สะสมอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ไม่สะสม แล้วจึงดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” สก. พระอรหันต์ยังละอยู่ก็มิใช่ ยึดมั่นอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ละได้แล้วจึงดำรงอยู่ มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระอรหันต์ยังละอยู่ก็มิใช่ ยึดมั่นอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ละได้แล้วจึง ดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” สก. พระอรหันต์ยังกำจัดอยู่ก็มิใช่ ก่ออยู่ก็มิใช่ เป็นผู้กำจัดแล้วจึงดำรงอยู่ มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระอรหันต์ยังกำจัดอยู่ก็มิใช่ ก่ออยู่ก็มิใช่ เป็นผู้กำจัดจึงดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” สก. พระอรหันต์ยังทำลายอยู่ก็มิใช่ ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ทำลายแล้วจึง ดำรงอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระอรหันต์ยังทำลายอยู่ก็มิใช่ ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ทำลายแล้ว จึงดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
ปริหานิกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๔๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๑๐๙-๑๔๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=21              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=2206&Z=3060                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=191              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=191&items=64              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3600              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=191&items=64              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3600                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.2/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :