บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒) ว่าด้วยความแน่นอนโดยส่วนเดียว [๘๔๗] สก. ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. บุคคลผู้ฆ่ามารดาเป็นผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว ผู้ฆ่าบิดา ฯลฯ ผู้ฆ่า พระอรหันต์ ฯลฯ ผู้ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ฯลฯ ผู้ทำลายสงฆ์ ให้แตกกัน เป็นผู้แน่นอนโดยส่วนเดียวใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๗/๓๐๗) @๒ เพราะมีความเห็นว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคล ไปเกิดในอบายแล้วไม่สามารถพ้นจากอบายได้ ซึ่งต่างกับ @ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า แม้เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคลก็มิได้หมายความว่าจะอยู่ในอบายภูมิตลอดไป @เพียงแต่ต้องอยู่ในอบายนานกว่าผลกรรมอื่นๆ จึงเรียกว่า นิยตบุคคล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๗/๓๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๘๒}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค]
๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
[๘๔๘] สก. ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิจิกิจฉาพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียวใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากวิจิกิจฉาพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว ท่านก็ไม่ควร ยอมรับว่า ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่ สก. วิจิกิจฉาไม่พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียวใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เขาละวิจิกิจฉาได้แล้วใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เขาละวิจิกิจฉาได้แล้วใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตมรรค ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ละได้ด้วยมรรคไหน ปร. ละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล สก. มรรคฝ่ายอกุศลเป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นไป ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ ของสังกิเลสใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๘๓}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค]
๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
สก. มรรคฝ่ายอกุศลไม่เป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ฯลฯ (แต่ยัง) เป็นอารมณ์ของสังกิเลสมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากมรรคฝ่ายอกุศลไม่เป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์ ฯลฯ (แต่ ยัง) เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วน เดียวละวิจิกิจฉาได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล [๘๔๙] สก. อุจเฉททิฏฐิ๑- พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิ๒- ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากอุจเฉททิฏฐิพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิ ท่านก็ไม่ ควรยอมรับว่า ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่ สก. อุจเฉททิฏฐิไม่พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เขาละอุจเฉททิฏฐิได้แล้วใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เขาละอุจเฉททิฏฐิได้แล้วใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตมรรค ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑ อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) คือเห็นว่าอัตตาและโลกจักพินาศขาดสูญหมดสิ้นไป @(ที.สี. (แปล) ๙/๑๖๘/๑๔๖) @๒ สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) คือเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป @(ที.สี. (แปล) ๙/๑๖๘/๑๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๘๔}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค]
๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
สก. ละได้ด้วยมรรคไหน ปร. ละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล สก. มรรคฝ่ายอกุศลเป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ฯลฯ๑- ท่าน ก็ไม่ควรยอมรับว่า บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิละอุจเฉททิฏฐิได้ด้วยมรรคฝ่าย อกุศล [๘๕๐] สก. สัสสตทิฏฐิพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากสัสสตทิฏฐิพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิ ท่านก็ไม่ ควรยอมรับว่า ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่ สก. สัสสตทิฏฐิไม่พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เขาละสัสสตทิฏฐิได้แล้วใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เขาละสัสสตทิฏฐิได้แล้วใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตมรรค ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ละได้ด้วยมรรคไหน ปร. ละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล @เชิงอรรถ : @๑ ดูข้อ ๘๔๘ หน้า ๘๘๓ ในเล่มนี้ ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๘๕}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค]
๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
สก. มรรคฝ่ายอกุศลเป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ฯลฯ๑- ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิละสัสสตทิฏฐิได้ด้วยมรรคฝ่าย อกุศล [๘๕๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่ ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน โลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลฝ่ายดำโดยส่วนเดียว เขาจมแล้ว ครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนจึงมีอยู่ [๘๕๒] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ประกอบด้วยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลฝ่ายดำ โดยส่วนเดียว เขาจมแล้วครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง๓- จึงยอมรับว่า ความแน่ นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน โลกนี้โผล่ขึ้นแล้วจมลง๔- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. เขาโผล่ขึ้นแล้วกลับจมลงทุกครั้งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑ ดูข้อ ๘๔๘ หน้า ๘๘๓ ในเล่มนี้ ประกอบ @๒-๔ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๕/๒๑-๒๒, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๓/๒๒๗-๒๒๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๘๖}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค]
๘. อินทริยกถา (๑๙๓)
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ประกอบด้วยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลฝ่ายดำโดยส่วนเดียว เขาจมแล้วครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง จึงยอมรับว่า ความแน่นอนโดยส่วนเดียว ของปุถุชนจึงมีอยู่ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน โลกนี้เป็นผู้โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่ โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู โผล่ขึ้นแล้วข้ามไป โผล่ขึ้น แล้วได้ที่พึ่ง๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. เขาโผล่ขึ้นแล้วก็ได้ที่พึ่งทุกครั้งใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯอัจจันตนิยามกถา จบ ๘. อินทริยกถา (๑๙๓) ว่าด้วยอินทรีย์ [๘๕๓] สก. สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๕/๒๑-๒๒, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๓/๒๒๗-๒๒๘ @๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาทและนิกายมหิสาสกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๕๓/๓๐๙) @๓ เพราะมีความเห็นว่า สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาที่เป็นโลกิยะไม่เรียกว่าอินทรีย์ ซึ่งต่างกับ @ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เรียกว่าอินทรีย์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๕๓/๓๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๘๗}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๘๘๒-๘๘๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=210 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=18973&Z=19079 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1792 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1792&items=9 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6921 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1792&items=9 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6921 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv19.7/en/aung-rhysdavids
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]