ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑
๑๑๓. อันตรายอนาปัตติวัสสเฉทวาร
ว่าด้วยการขาดพรรษาโดยไม่ต้องอาบัติในเมื่อมีอันตราย
เรื่องสัตว์ร้ายเบียดเบียน
[๒๐๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ณ อาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียน มันจับเอาไว้บ้าง วิ่งไล่ไปรอบๆ บ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำ พรรษาถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียน มันจับเอาไว้บ้าง วิ่งไล่ไปรอบๆ บ้าง ภิกษุเหล่านั้น พึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๑๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๑๓. อันตรายอนาปัตติวัสสเฉทวาร

เรื่องงูเบียดเบียน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ถูกงูเบียดเบียน มันขบกัดเอาบ้าง เลื้อยไล่ไปรอบๆ บ้าง ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องพวกโจรเบียดเบียน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ถูกพวกโจร เบียดเบียน มันปล้นบ้าง รุมตีบ้าง ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องปีศาจรบกวน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ถูกพวกปีศาจ รบกวน มันเข้าสิงบ้าง ฆ่าเอาบ้าง ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแล อันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องหมู่บ้านถูกไฟไหม้
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา หมู่บ้าน ถูกไฟไหม้ ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยบิณฑบาต ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องเสนาสนะถูกไฟไหม้
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา เสนาสนะถูก ไฟไหม้ ภิกษุทั้งหลายเดือดร้อนด้วยเสนาสนะ ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญ ว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๑๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๑๓. อันตรายอนาปัตติวัสสเฉทวาร

เรื่องหมู่บ้านถูกน้ำท่วม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา หมู่บ้าน ถูกน้ำท่วม ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยบิณฑบาต ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วย สำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องเสนาสนะถูกน้ำท่วม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา เสนาสนะ ถูกน้ำท่วม ภิกษุทั้งหลายเดือดร้อนด้วยเสนาสนะ ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วย สำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องชาวบ้านอพยพไปเพราะโจรภัย
[๒๐๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่ง ชาวบ้าน อพยพไปเพราะโจรภัย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตามชาวบ้านไป”
เรื่องทรงอนุญาตให้ตามทายกมีจำนวนมากกว่า
ชาวบ้านแตกแยกเป็นสองพวก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตามชาวบ้านที่มาก กว่าไป” ชาวบ้านที่มากกว่าไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตามชาวบ้านที่มี ศรัทธาเลื่อมใสไป” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๑๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๑๓. อันตรายอนาปัตติวัสสเฉทวาร

เรื่องไม่ได้โภชนะธรรมดาหรือประณีตเป็นต้น
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ณ อาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ไม่ได้ โภชนาหารธรรมดาหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้า จำพรรษา ไม่ได้โภชนาหารธรรมดาหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ ภิกษุเหล่านั้น พึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ได้โภชนาหาร ธรรมดาหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ แต่ไม่ได้โภชนาหารที่สบาย ภิกษุเหล่านั้น พึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ได้โภชนาหาร ธรรมดาหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการและได้โภชนาหารที่สบาย แต่ไม่ได้เภสัช ที่สบาย ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติ เนื่องจากขาดพรรษา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ได้โภชนาหาร ธรรมดาหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ ได้โภชนาหารที่สบาย ได้เภสัชที่สบาย แต่ไม่ได้อุปัฏฐากผู้สมควร ภิกษุเหล่านั้นพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า “นั่นแลอันตราย” ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องสตรีนิมนต์
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สตรีนิมนต์ภิกษุผู้เข้าจำพรรษาว่า “ท่านจง มาเถิดเจ้าข้า ดิฉันจะถวายเงิน ทอง นา สวน พ่อโค แม่โค ทาส ทาสีแก่ท่าน หรือจะยกลูกสาวให้เป็นภรรยาของท่าน ดิฉันจะเป็นภรรยาของท่าน หรือจะนำสตรี อื่นมาให้เป็นภรรยาของท่าน” ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า จิตกลับกลอกเร็วนัก สักหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๑๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๑๔. สังฆเภทอนาปัตติวัสสเฉทวาร

เรื่องหญิงแพศยานิมนต์
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ หญิงแพศยานิมนต์ภิกษุผู้เข้าจำพรรษา ... หญิงสาวเทื้อนิมนต์ ... ... บัณเฑาะก์นิมนต์ ... ... พวกญาตินิมนต์ ... ... พระราชาทั้งหลายนิมนต์ ... ... พวกโจรนิมนต์ ... ... พวกนักเลงนิมนต์ภิกษุผู้เข้าจำพรรษาว่า “ท่านจงมาเถิดขอรับ พวกผม จะถวายเงิน ทอง นา สวน พ่อโค แม่โค ทาส ทาสีแก่ท่าน หรือจะยกลูกสาว ให้เป็นภรรยาของท่าน หรือจะนำสตรีอื่นมาให้เป็นภรรยาของท่าน” ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จิตกลับกลอกเร็วนัก สักหน่อยจะ เป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
เรื่องพบขุมทรัพย์
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษา พบขุมทรัพย์ไม่มีเจ้าของ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จิตกลับกลอกเร็วนัก อีกหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ เนื่องจากขาดพรรษา
๑๑๔. สังฆเภทอนาปัตติวัสสเฉทวาร
ว่าด้วยการขาดพรรษาโดยไม่ต้องอาบัติในเมื่อมีผู้พยายามทำลายสงฆ์
เรื่องทำลายสงฆ์ ๘ กรณี
[๒๐๒] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษา เห็นภิกษุมากรูป กำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก เมื่อเรายังอยู่พร้อมหน้า สงฆ์อย่าแตก กันเลย” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๑๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๑๔. สังฆเภทอนาปัตติวัสสเฉทวาร

ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุมากรูปในอาวาสโน้นกำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิด อย่างนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก เมื่อเรายังอยู่ พร้อมหน้า สงฆ์อย่าแตกกันเลย” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุมากรูป ในอาวาสโน้นกำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าชอบใจ การทำลายสงฆ์เลย ภิกษุเหล่านั้นจักทำตามคำของเรา จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุมากรูป ในอาวาสโน้นกำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุเหล่านั้นไม่ใช่มิตรของเรา แต่ภิกษุทั้งหลายที่เป็นมิตรกับภิกษุเหล่านั้นเป็น มิตรของเรา เราจักบอกภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นที่เราบอก ก็จักว่ากล่าวภิกษุ เหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย ภิกษุเหล่านั้นจักทำตามคำของภิกษุเหล่านั้น จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุมากรูป ในอาวาสโน้นจะทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุเหล่านั้นล้วน เป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัส ว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย ภิกษุเหล่านั้นจักทำตามคำของเรา จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้อง อาบัติเนื่องจากขาดพรรษา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุมากรูป ในอาวาสโน้นได้ทำลายสงฆ์แล้ว ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุเหล่านั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๑๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๑๔. สังฆเภทอนาปัตติวัสสเฉทวาร

ไม่ใช่มิตรของเราเลย แต่ภิกษุทั้งหลายที่เป็นมิตรกับภิกษุเหล่านั้นเป็นมิตรของเรา เราจักบอกภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นที่เราบอก ก็จักว่ากล่าวภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่าน อย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย ภิกษุเหล่านั้นจักทำตามคำของภิกษุเหล่านั้น จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุณีมากรูป ในอาวาสโน้นกำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุณีเหล่านั้นล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวภิกษุณีเหล่านั้นว่า น้องหญิง ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิง อย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย ภิกษุณีเหล่านั้นจักทำตามคำของเรา จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุณีมาก รูปในอาวาสโน้นกำลังเพียรพยายามทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุณีเหล่านั้นไม่ใช่มิตรของเรา แต่ภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นมิตรกับภิกษุณีเหล่านั้น เป็นมิตรของเรา เราจักบอกภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีเหล่านั้นที่เราบอก ก็จักว่ากล่าว ภิกษุณีที่เพียรพยายามทำลายสงฆ์เหล่านั้นว่า น้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย ภิกษุณีเหล่านั้นจักทำตามคำของภิกษุณีเหล่านั้น จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีก ไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุณีมากรูป ในอาวาสโน้นจะทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุณีเหล่านั้น ล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวภิกษุณีเหล่านั้นว่า น้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มี พระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าชอบใจการทำลาย สงฆ์เลย ภิกษุณีเหล่านั้นจักทำตามคำของเรา จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๑๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๑๕. วชาทิวัสสูปคมนะ

ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเข้าจำพรรษาได้ยินข่าวว่า ภิกษุณี มากรูป ในอาวาสโน้นได้ทำลายสงฆ์แล้ว ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุคิดอย่างนี้ว่า “ภิกษุณีเหล่านั้น ไม่ใช่มิตรของเรา แต่ภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นมิตรกับภิกษุณีเหล่า นั้นเป็นมิตรของเรา เราจักบอกภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีเหล่านั้นที่เราบอก ก็จักว่า กล่าวภิกษุณีที่ทำลายสงฆ์เหล่านั้นว่า น้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย ภิกษุณีเหล่านั้น จักทำตามคำของภิกษุณีเหล่านั้น จักเชื่อฟัง จักเงี่ยโสต” พึงหลีก ไปเสีย ไม่ต้องอาบัติเนื่องจากขาดพรรษา
๑๑๕. วชาทิวัสสูปคมนะ
ว่าด้วยการเข้าจำพรรษาในคอกโคเป็นต้น
เรื่องเข้าจำพรรษาในคอกโค
[๒๐๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งต้องการจะเข้าจำพรรษาในคอกโค๑- ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าจำพรรษาใน คอกโคได้” คอกโคย้ายไป ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เดินทางไปกับคอกโคได้”
เรื่องเข้าจำพรรษาในหมู่เกวียน
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเมื่อใกล้วันเข้าพรรษาต้องการจะไปกับหมู่เกวียน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ @เชิงอรรถ : @ คอกโค ในที่นี้หมายถึงสถานที่ซึ่งคนเลี้ยงโคพักอาศัย ในขณะที่ต้อนโคไปเลี้ยง ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง @ไม่ได้หมายถึงคอกโคที่ประจำอยู่ตามหมู่บ้าน (วิ.อ. ๓/๒๐๓/๑๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๑๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๑๖. วัสสานุปคันตัพพัฏฐาน

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าจำพรรษาในหมู่ เกวียนได้”
เรื่องเข้าจำพรรษาในเรือ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเมื่อใกล้วันเข้าพรรษาต้องการจะเดินทางไปกับเรือ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าจำพรรษาในเรือได้”
๑๑๖. วัสสานุปคันตัพพัฏฐาน
ว่าด้วยสถานที่ไม่ควรเข้าจำพรรษา
เรื่องเข้าจำพรรษาในโพรงไม้
[๒๐๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาในโพรงไม้ มนุษย์ทั้งหลายพากัน ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนพวกปีศาจ” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเข้าจำพรรษาในโพรงไม้ รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องเข้าจำพรรษาบนค่าคบไม้
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาบนค่าคบไม้ มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนพวกพรานเนื้อ” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเข้าจำพรรษาบนค่าคบไม้ รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๒๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๑๖. วัสสานุปคันตัพพัฏฐาน

เรื่องเข้าจำพรรษาในที่แจ้ง
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาในที่แจ้ง เมื่อฝนตก พากันวิ่งเข้า โคนไม้บ้าง ชายคาบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเข้าจำพรรษาในที่แจ้ง รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องภิกษุไม่มีเสนาสนะจำพรรษา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่มีเสนาสนะเป็นที่เข้าจำพรรษา เดือดร้อนเพราะ ความหนาวบ้าง ความร้อนบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีเสนาสนะ ไม่พึงเข้าจำ พรรษา รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องเข้าจำพรรษาในกระท่อมผี
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาในกระท่อมผี๑- มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนพวกสัปเหร่อ” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเข้าจำพรรษาในกระท่อมผี รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ” @เชิงอรรถ : @ กระท่อมผี หมายถึงกระท่อมที่เขาสร้างไว้ในป่าช้าเป็นที่เก็บศพ (ปาจิตฺยาทิโยชนา ๓๒๑ ม.) หรือเตียง @ตั่งที่เขาตั้งไว้ในป่าช้าและเทวสถาน และเรือนที่สร้างก่อแผ่นศิลา ๔ ด้าน และวางแผ่นศิลาทับไว้ข้างบน @(โกดังเก็บศพ) ทรงห้ามเข้าจำพรรษาในสถานที่ดังกล่าวนี้ แต่จะสร้างกุฎีหรือกระท่อมอื่นในป่าช้าแล้ว @เข้าจำพรรษาได้ ไม่ทรงห้าม (วิ.อ. ๓/๒๐๔/๑๕๑-๑๕๒, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๐๔/๓๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๒๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๑๗. อธัมมิกกติกา

เรื่องเข้าจำพรรษาในร่ม
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาในร่ม มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนพวกคนเลี้ยงโค” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเข้าจำพรรษาในร่ม รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องเข้าจำพรรษาในตุ่ม
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษาในตุ่ม มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนพวกเดียรถีย์” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเข้าจำพรรษาในตุ่ม รูปใดเข้าจำ ต้องอาบัติทุกกฏ”
๑๑๗. อธัมมิกกติกา
ว่าด้วยการตั้งกติกาไม่ชอบธรรม
เรื่องตั้งกติกาไม่ชอบธรรม
[๒๐๕] สมัยนั้น พระสงฆ์ในกรุงสาวัตถีได้ตั้งกติกาเช่นนี้ว่า ในระหว่างพรรษา ไม่พึงให้บรรพชา หลานชายของนางวิสาขามิคารมาตาเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “คุณ พระสงฆ์ได้ตั้งกติกาเช่นนี้ว่า ในระหว่าง พรรษา ไม่พึงให้บรรพชา คุณจงรอจนกว่าภิกษุทั้งหลายเข้าจำพรรษา ออกพรรษา แล้วจึงบวชได้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๒๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ

ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นออกพรรษาแล้ว ได้กล่าวกับหลานชายของนางวิสาขา มิคารมาตาดังนี้ว่า “บัดนี้ คุณจงมาบวชเถิด” หลานชายของนางวิสาขามิคารมาตานั้น กล่าวอย่างนี้ว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย ถ้ากระผมพึงบรรพชาแล้วไซร้ ก็พึงยินดียิ่ง บัดนี้กระผมจักไม่บรรพชาละ ขอรับ” นางวิสาขามิคารมาตาจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พระคุณเจ้า ทั้งหลายจึงได้ตั้งกติกาเช่นนี้ว่า ในระหว่างพรรษา ไม่พึงให้บรรพชา กาลเช่นไรเล่า ไม่พึงประพฤติธรรม” ภิกษุทั้งหลายได้ยินนางวิสาขามิคารมาตาตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงตั้งกติกาเช่นนี้ว่า ในระหว่าง พรรษา ไม่พึงให้บรรพชา สงฆ์หมู่ใดตั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ”
๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ
ว่าด้วยการต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ
เรื่องพระอุปนันทะเข้าจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่ง
[๒๐๖] สมัยนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้รับคำกับพระเจ้าปเสนทิโกศล ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น ท่านกำลังไปอาวาสนั้น ระหว่างทางได้เห็น อาวาส ๒ แห่ง มีจีวรมาก แล้วได้มีความคิดดังนี้ว่า “ถ้ากระไร เราพึงเข้า จำพรรษาในอาวาส ๒ แห่งนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จีวรเป็นอันมากจักเกิดขึ้นแก่เรา” จึงเข้าจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พระคุณเจ้า อุปนันทศากยบุตรได้รับคำต่อเราว่าจะเข้าจำพรรษาแล้ว จึงได้ทำให้คลาดจากคำ พูดเสียเล่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิการกล่าวเท็จ ทรงสรรเสริญการงดเว้นจาก การกล่าวเท็จ โดยประการต่างๆ มิใช่หรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๒๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ

ภิกษุทั้งหลายได้ยินพระเจ้าปเสนทิโกศลตำหนิ ประณาม โพนทะนาอยู่ บรรดาภิกษุผู้มักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ท่านพระอุปนันท ศากยบุตรได้รับคำกับพระเจ้าปเสนทิโกศลว่าจะเข้าจำพรรษา แล้วจึงได้ทำให้คลาด จากคำพูดเสียเล่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิการกล่าวเท็จ ทรงสรรเสริญการงดเว้น จากการกล่าวเท็จ โดยประการต่างๆ มิใช่หรือ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่าเธอได้ถวายปฏิญญา ต่อพระเจ้าปเสนทิโกศลว่าจะเข้าจำพรรษา แล้วทำให้คลาดจากคำพูดเสีย จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ไฉนเธอได้ถวายปฏิญญา ต่อพระเจ้าปเสนทิโกศลว่าจะเข้าจำพรรษา แล้วทำให้คลาดจากคำพูดเสียเล่า เราตำหนิการกล่าวเท็จ สรรเสริญการงดเว้นจากการกล่าวเท็จ โดยประการต่างๆ มิใช่หรือ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรง ตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า [๒๐๗] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า พรรษาต้น ภิกษุนั้นกำลังไปอาวาสนั้น ระหว่างทางได้เห็นอาวาส ๒ แห่ง มีจีวรมาก แล้วได้มีความคิดดังนี้ว่า “ถ้ากระไร เราพึงเข้าจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่งนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จีวรเป็นอันมากจักเกิดขึ้นแก่เรา” แล้วเข้าจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่ง ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ๑- ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ @เชิงอรรถ : @ อาบัติทุกกฏที่ต้องเพราะรับคำ เรียกว่า ปฏิสสวทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๒๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ

จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไม่มีกิจจำต้องทำหลีกไป ในวันนั้นทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ มีกิจจำต้องทำหลีกไปใน วันนั้นทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ พักอยู่ ๒-๓ วัน ไม่มีกิจจำ ต้องทำหลีกไป ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ พักอยู่ ๒-๓ วัน มีกิจจำต้อง ทำหลีกไป ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วย สัตตาหกรณียะ อยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของ ภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๒๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ

จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วย สัตตาหกรณียะ กลับมาภายใน ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุ นั้นปรากฏและภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติเพราะรับคำ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้า วิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ อีก ๗ วัน จะถึงวันปวารณา มีกิจจำต้องทำหลีกไป ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น จะกลับอาวาสนั้น หรือไม่กลับมา ก็ตาม ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไม่มีกิจจำต้องทำหลีกไป ในวันนั้นทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏและภิกษุ นั้นต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นแล้วทำอุโบสถ ถึงวันแรม ๑ ค่ำจึงเข้าวิหาร จัดอาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ มีกิจจำต้องทำหลีกไป ... ... พักอยู่ ๒-๓ วัน ไม่มีกิจจำต้องทำ หลีกไป... ... พักอยู่ ๒-๓ วัน มีกิจจำต้องทำหลีกไป ... ... พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ อยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้องอาบัติ ทุกกฏเพราะรับคำ ... พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ กลับมาใน ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๒๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ

ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า พรรษาต้น ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรม ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ อีก ๗ วัน จะเป็นวันปวารณา มีกิจจำต้อง ทำหลีกไป ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะกลับมาอาวาสนั้นหรือไม่กลับมาก็ตาม วันเข้า พรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติเพราะรับคำ
เรื่องรับคำที่จะเข้าจำพรรษาหลัง
[๒๐๘] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า พรรษาหลัง ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไม่มีกิจจำต้องทำหลีกไปในวัน นั้นทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า พรรษาหลัง ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้า วิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ มีกิจจำต้องทำหลีกไปในวันนั้น ทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้อง อาบัติทุกกฏเพราะรับคำ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า พรรษาหลัง ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึง เข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ พักอยู่ ๒-๓ วัน ไม่มีกิจ จำต้องทำหลีกไป ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และ ภิกษุนั้นต้องอาบัติเพราะรับคำ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า พรรษาหลัง ... พักอยู่ ๒-๓ วัน มีกิจจำต้องทำหลีกไป ... วันเข้าพรรษาหลัง ของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏเพราะรับคำ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า พรรษาหลัง ... พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ อยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๒๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๑๘. ปฏิสสวทุกกฏาปัตติ

ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้องอาบัติ ทุกกฏเพราะรับคำ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า พรรษาหลัง ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรมภายนอก ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึง เข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วย สัตตาหกรณียะ กลับมาภายใน ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของ ภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติเพราะรับคำ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้าพรรษา หลัง ... อีก ๗ วัน จะครบ ๔ เดือน อันเป็นวันที่ดอกโกมุทบานมีกิจจำต้องทำ หลีกไป ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะกลับมาอาวาสนั้นหรือไม่กลับมาก็ตาม ภิกษุ ทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติเพราะ รับคำ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า พรรษาหลัง ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรม ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไม่มีกิจจำต้องทำหลีกไปในวันนั้นทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้องอาบัติ ทุกกฏเพราะรับคำ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้าพรรษา หลัง ... มีกิจจำต้องทำหลีกไป ... ... พักอยู่ ๒-๓ วัน ไม่มีกิจจำต้องทำหลีกไป ... ... พักอยู่ ๒-๓ วัน มีกิจจำต้องทำหลีกไป ... ... พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ อยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และภิกษุนั้นต้องอาบัติ เพราะรับคำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๒๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๑๙. รวมเรื่องที่มีในวัสสูปนายิกขันธกะ

... พักอยู่ ๒-๓ วัน หลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ กลับมาภายใน ๗ วัน ภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติเพราะ รับคำ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับคำไว้ว่าจะเข้าจำพรรษาในวันเข้า พรรษาหลัง ภิกษุนั้นไปอาวาสนั้นทำอุโบสถกรรม ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ อีก ๗ วัน จะครบ ๔ เดือน อันเป็นวัน ที่ดอกโกมุทบาน มีกิจจำต้องทำหลีกไป ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะกลับมาอาวาสนั้น หรือไม่กลับมาก็ตาม วันเข้าพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ และภิกษุนั้นไม่ต้อง อาบัติเพราะรับคำ
วัสสูปนายิกขันธกะที่ ๓ จบ
๑๑๙. รวมเรื่องที่มีในวัสสูปนายิกขันธกะ
วัสสูปนายิกขันธกะ มี ๕๒ เรื่อง คือ
เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุเข้าจำพรรษา เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุเข้าพรรษาในฤดูฝน เรื่องประเภทแห่งวันเข้าพรรษา เรื่องพระฉัพพัคคีย์เที่ยวจาริกในระหว่างพรรษา เรื่องปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เข้าพรรษา เรื่องจงใจเดินผ่านอาวาส เรื่องการเลื่อนกาลฝน เรื่องอุบาสกสร้างวิหารเป็นต้นถวาย เรื่องภิกษุเป็นไข้เป็นต้น เรื่องมารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่สาวน้องสาว ญาติ และบุรุษผู้อาศัยอยู่กับภิกษุเป็นไข้ เรื่องวิหารทรุดโทรม เรื่องสัตว์ร้ายเบียดเบียน เรื่องงูเบียดเบียน เรื่องพวกโจรเบียดเบียน เรื่องปีศาจรบกวน เรื่องหมู่บ้านถูกไฟไหม้ เรื่องเสนาสนะถูกไฟไหม้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๒๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๓. วัสสูปนายิกขันธกะ]

๑๑๙. รวมเรื่องที่มีในวัสสูปนายิกขันธกะ

เรื่องหมู่บ้านถูกน้ำท่วม เรื่องเสนาสนะถูกน้ำท่วม เรื่องชาวบ้านพากันอพยพไปเพราะโจรภัย เรื่องทรงอนุญาตให้ตามทายกมีจำนวนมากกว่า เรื่องไม่ได้โภชนาหารธรรมดาหรือประณีตเป็นต้น เรื่องสตรีนิมนต์ เรื่องหญิงแพศยานิมนต์ เรื่องสาวเทื้อนิมนต์ เรื่องบัณเฑาะก์นิมนต์ เรื่องพวกญาตินิมนต์ เรื่องพระราชานิมนต์ เรื่องพวกโจรนิมนต์ เรื่องพวกนักเลงนิมนต์ เรื่องพบขุมทรัพย์ เรื่องทำลายสงฆ์ ๘ วิธี เรื่องเข้าจำพรรษาในคอกโค เรื่องเข้าจำพรรษาในหมู่เกวียน เรื่องเข้าจำพรรษาในเรือ เรื่องเข้าจำพรรษาในโพรงไม้ เรื่องเข้าจำพรรษาบนค่าคบไม้ เรื่องเข้าจำพรรษาในที่แจ้ง เรื่องภิกษุไม่มีเสนาสนะจำพรรษา เรื่องเข้าจำพรรษาในกระท่อมผี เรื่องเข้าจำพรรษาในร่ม เรื่องเข้าจำพรรษาในตุ่มน้ำ เรื่องตั้งกติกาไม่เป็นธรรม เรื่องรับคำจะจำพรรษา เรื่องทำอุโบสถนอกวิหาร เรื่องรับคำที่จะเข้าจำพรรษาต้น เรื่องรับคำที่จะเข้าจำพรรษาหลัง เรื่องไม่มีกิจจำต้องทำหลีกไป เรื่องมีกิจจำต้องทำหลีกไป เรื่องพักอยู่ ๒ - ๓ วันแล้วหลีกไปด้วยสัตตาหะกรณียะ เรื่องอีก ๗ วันจะครบ ๔ เดือน เรื่องภิกษุกลับมาไม่กลับมา พึงพิจารณาตามแนวทางตามลำดับหัวข้อเรื่อง
วัสสูปนายิกขันธกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๓๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๓๑๒-๓๓๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=4&siri=69              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=5971&Z=6281                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=214              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=214&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=3348              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=214&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=3348                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i205-e.php#topic9 https://suttacentral.net/pli-tv-kd3/en/brahmali#pli-tv-kd3:9.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd3/en/horner-brahmali#Kd.3.8.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :