ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑. กุสลติกะ ๗. ปัญหาวาร

อัตถิปัจจัย
[๔๓๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๑ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยอัตถิปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิ- ปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต โดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐาน- รูปโดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๑ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยอัตถิปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิ- ปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต โดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐาน- รูปโดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๒๘๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑. กุสลติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยอัตถิ- ปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปโดย อัตถิปัจจัย ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยอัตถิปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ ขันธ์โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็น ปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปโดยอัตถิปัจจัย ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็น สมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูต- รูป ๑ โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปโดยอัตถิปัจจัย (๑) ปุเรชาตะ ได้แก่ พระอรหันต์เห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นแจ้งโสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ รูป ฯลฯ เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย สัททายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย จักขายตนะเป็น ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย โสตายตนะเป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานายตนะเป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ ฯลฯ ชิวหายตนะเป็นปัจจัยแก่ชิวหา- วิญญาณ ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาโดยอัตถิปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๒๘๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑. กุสลติกะ ๗. ปัญหาวาร

ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้ โดยอัตถิปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ พระเสขะหรือปุถุชนเห็นแจ้งจักษุโดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นแจ้งโสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ รูป ฯลฯ เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นกุศลโดยอัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ เพราะปรารภ ความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึงเกิดขึ้น ยินดีเพลิดเพลินโสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ รูป ฯลฯ เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ หทัยวัตถุ เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินโสตะเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอกุศลโดยอัตถิปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศล โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดย อัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยอัตถิปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น อัพยากฤตโดยอัตถิปัจจัย มี ๔ อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า : ๒๙๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑. กุสลติกะ ๗. ปัญหาวาร

ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลและกวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้ โดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกุศลและรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป โดยอัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น อกุศลโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๓ และหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยอัตถิปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น อัพยากฤตโดยอัตถิปัจจัย มี ๔ อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน- รูปโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลและกวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้ โดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอกุศลและรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป โดยอัตถิปัจจัย (๒)


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๐ หน้าที่ ๒๘๘-๒๙๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=40&siri=62              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=40&A=6664&Z=6761                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=40&i=609              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=40&item=609&items=13              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=40&item=609&items=13                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu40



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :