บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman |
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร ๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร เหตุปัจจัย [๒๙] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ และกระทบไม่ได้โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ กฏัตตารูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยเหตุปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้และ กระทบได้โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่จิตต- สมุฏฐานรูปที่เห็นได้และกระทบได้โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๒) (เฉพาะบทที่มีสภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นมูล พึงจำแนกเป็น ๗ วาระ ด้วยเหตุนี้) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๔๖}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
อารัมมณปัจจัย [๓๐] สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และ กระทบไม่ได้โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งรูปโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็น ทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินรูปนั้น ราคะ จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่เห็นได้และกระทบได้เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบ ไม่ได้โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ กาย ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลฟังเสียง ด้วยทิพพโสตธาตุ สัททายตนะเป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑) [๓๑] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ และกระทบไม่ได้โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษา อุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย พระ อริยะพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ บุคคลเห็นแจ้งหทัยวัตถุ ... อิตถินทรีย์ ... ปุริสินทรีย์ ... ชีวิตินทรีย์ ... อาโปธาตุ ... กวฬิงการาหาร ... ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เห็นไม่ได้และ กระทบไม่ได้ด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจา- ยตนะโดยอารัมมณปัจจัย อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดย อารัมมณปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๔๗}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
อธิปติปัจจัย [๓๒] สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และ กระทบไม่ได้โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดี เพลิดเพลินรูปให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินรูปนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบ ไม่ได้ โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดี เพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ กาย ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๑) [๓๓] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็น ไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและ สหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระ อริยะออกจากมรรค ฯลฯ ออกจากผล ฯลฯ พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ฯลฯ พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ... นิพพานเป็น ปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลิน หทัยวัตถุ ... อิตถินทรีย์ ... ปุริสินทรีย์ ... ชีวิตินทรีย์ ... อาโปธาตุ ... กวฬิงการาหาร ... ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินหทัยวัตถุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้และ กระทบได้โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๔๘}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้โดย อธิปติปัจจัย (๒) (บทที่มีสภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นมูล พึงจำแนกเป็น ๗ วาระ พึงจำแนกอธิบดีธรรมโดยสงเคราะห์เข้าในรูป ๓ อย่าง)อนันตรปัจจัย [๓๔] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ และกระทบไม่ได้โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่งเกิด ก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล ผลเป็นปัจจัยแก่ผล อนุโลมเป็น ปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัย แก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (๑)สมนันตรปัจจัย [๓๕] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็น ไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยสมนันตรปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย)สหชาตปัจจัยเป็นต้น [๓๖] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้โดยสหชาตปัจจัย (พึงทำให้เหมือนกับปฏิจจวาร ในอัญญมัญญปัจจัย เหมือนกับอัญญมัญญปัจจัย ในปฏิจจวาร ในนิสสยปัจจัย เหมือนกับปฏิจจวาร)อุปนิสสยปัจจัย [๓๗] สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และ กระทบไม่ได้โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูป- นิสสยะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๔๙}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเมื่อปรารถนาวรรณสมบัติ จึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ วรรณสมบัติเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ ... ความปรารถนา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... มรรคและผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และ กระทบไม่ได้โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูป- นิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเมื่อปรารถนาจักขุสมบัติ ฯลฯ เมื่อปรารถนา กายสมบัติ ... สัททสมบัติ ... โผฏฐัพพสมบัติ จึงให้ทาน สมาทานศีล รักษา อุโบสถ ... บุคคลอาศัยอุตุ ... เสนาสนะแล้วให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ... ทำฌาน ... วิปัสสนา ... มรรค ... อภิญญา ... สมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ จักขุสมบัติ ฯลฯ โผฏฐัพพสมบัติ ... อุตุ ... เสนาสนะเป็นปัจจัย แก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... มรรคและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) [๓๘] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ และกระทบไม่ได้โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน สมาทานศีล รักษา อุโบสถ ... ทำฌาน ... สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกายและโภชนะแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ... สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และโภชนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ... มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑)ปุเรชาตปัจจัย [๓๙] สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ และกระทบไม่ได้โดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๕๐}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
บุคคลเห็นแจ้งรูปโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินรูปนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ รูปายตนะเป็น ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบ ไม่ได้โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ กาย ... เสียง ฯลฯ โผฏฐัพพะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลฟังเสียงด้วย ทิพพโสตธาตุ สัททายตนะเป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น ปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และ กระทบไม่ได้โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งหทัยวัตถุ ... อิตถินทรีย์ ... ปุริสินทรีย์ ... ชีวิตินทรีย์ ... อาโปธาตุ ... กวฬิงการาหารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ โดยปุเรชาตปัจจัย (๑) [๔๐] สภาวธรรมที่เห็นได้กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้เป็นปัจจัย แก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยปุเรชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณ- ปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะและหทัยวัตถุ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ และหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยปุเรชาตปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๕๑}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เห็นได้กระทบได้และที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ และวัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะและจักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดย ปุเรชาตปัจจัย (๑)ปัจฉาชาตปัจจัย [๔๑] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ และกระทบไม่ได้โดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่ง เกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งเห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยปัจฉาชาต- ปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้และ กระทบได้โดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่งเกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งเห็นได้และกระทบได้โดยปัจฉาชาตปัจจัย (๒) (พึงจำแนกเป็น ๗ วาระอย่างนี้ สงเคราะห์รูป ๓ อย่าง) (๗)อาเสวนปัจจัย [๔๒] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็น ไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่ง เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่งเกิดหลังๆ โดยอาเสวน- ปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภูเป็นปัจจัย แก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอาเสวนปัจจัย (๑)กัมมปัจจัย [๔๓] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ ได้และกระทบไม่ได้โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๕๒}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น วิบากและกฏัตตารูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้และ กระทบได้โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่จิตต- สมุฏฐานรูปที่เห็นได้และกระทบได้โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ที่เห็นได้และกระทบได้โดยกัมมปัจจัย (๒) (พึงจำแนกสหชาตะ และนานาขณิกะ เป็น ๗ วาระ อย่างนี้ ด้วยเหตุนี้ สงเคราะห์รูป ๓ อย่าง) (๗)วิปากปัจจัย [๔๔] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็น ไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากซึ่งเห็นไม่ได้และ กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ โดยวิปากปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เห็นไม่ได้และ กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดย วิปากปัจจัย ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยวิปากปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้และ กระทบได้โดยวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งเห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็น ปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปที่เห็นได้และกระทบได้โดยวิปากปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เห็นได้และกระทบได้โดย วิปากปัจจัย (๒) (พึงขยายให้พิสดารเป็น ๗ วาระอย่างนี้ พึงขยายปวัตติกาลและปฏิสนธิกาล) (๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๕๓}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
อาหารปัจจัย [๔๕] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ และกระทบไม่ได้โดยอาหารปัจจัย ได้แก่ อาหารที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อาหารที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ กฏัตตารูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอาหารปัจจัย กวฬิงการาหารเป็นปัจจัย แก่กายนี้ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอาหารปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้และ กระทบได้โดยอาหารปัจจัย ได้แก่ อาหารที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ จิตตสมุฏฐานรูปที่เห็นได้และกระทบได้โดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อาหารที่ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เห็นได้และกระทบได้โดยอาหารปัจจัย กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เห็นได้และกระทบได้โดยอาหารปัจจัย (๒) (พึงจำแนกปวัตติกาล และปฏิสนธิกาลเป็น ๗ วาระอย่างนี้ แม้วาระทั้ง ๗ พึงเพิ่มกวฬิงการาหารด้วย) (๗)อินทรียปัจจัย [๔๖] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ และกระทบไม่ได้โดยอินทรียปัจจัย ได้แก่ จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอินทรียปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และ กระทบไม่ได้โดยอินทรียปัจจัย ได้แก่ อินทรีย์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอินทรียปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ กฏัตตารูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอินทรียปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่ กฏัตตารูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอินทรียปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๕๔}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้และ กระทบได้โดยอินทรียปัจจัย ได้แก่ อินทรีย์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ จิตตสมุฏฐานรูปที่เห็นได้และกระทบได้โดยอินทรียปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ที่ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เห็นได้และกระทบได้โดยอินทรียปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เห็นได้และกระทบได้โดยอินทรียปัจจัย (๒) (พึงจำแนกปวัตติกาลและปฏิสนธิกาลเป็น ๗ วาระ อย่างนี้ ส่วนรูปชีวิตินทรีย์ พึงเพิ่มในตอนท้ายๆ) (๗) [๔๗] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้เป็นปัจจัย แก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอินทรียปัจจัย ได้แก่ จักขุนทรีย์และ จักขุวิญญาณเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณโดยอินทรียปัจจัย ฯลฯ กายินทรีย์และกายวิญญาณเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณโดยอินทรีย- ปัจจัย (๑)ฌานปัจจัยเป็นต้น [๔๘] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ และกระทบไม่ได้โดยฌานปัจจัย เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตต- ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดย สัมปยุตตปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯวิปปยุตตปัจจัย [๔๙] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ และกระทบไม่ได้โดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยวิปปยุตต- ปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบ ไม่ได้ โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๕๕}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และ กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยวิปปยุตตปัจจัย ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดย วิปปยุตตปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดย วิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด ก่อนซึ่งเห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยวิปปยุตตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้และ กระทบได้โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน- รูปที่เห็นได้และกระทบได้โดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และ กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เห็นได้และกระทบได้โดยวิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด ก่อนซึ่งเห็นได้และกระทบได้โดยวิปปยุตตปัจจัย (๒) (พึงขยายวาระทั้ง ๕ ที่เหลือให้พิสดารอย่างนี้ พึงขยายสหชาตะ และ ปัจฉาชาตะให้พิสดาร)อัตถิปัจจัย [๕๐] สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และ กระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ฯลฯ บุคคลเห็นแจ้ง รูปโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย (๑) [๕๑] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้โดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ มหาภูตรูป ๑ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๕๖}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
แก่มหาภูตรูป ๒ โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ โดย อัตถิปัจจัย มหาภูตรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปและ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปซึ่งเห็นไม่ได้แต่กระทบได้โดยอัตถิปัจจัย โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะโดยอัตถิปัจจัย ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัย แก่มหาภูตรูป ๒ โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ โดย อัตถิปัจจัย มหาภูตรูปที่มีอุตุเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูปที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้โดยอัตถิปัจจัย สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๑ ที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๒ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบ ได้โดยอัตถิปัจจัย (๒) (ปัจจัยนี้เหมือนกับนิสสยปัจจัยในปฏิจจวาร) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และ กระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ มหาภูตรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่จิตต- สมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปซึ่งเห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย (พึงขยายให้พิสดารจนถึงอสัญญสัตตพรหม) ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ กาย ... เสียง ฯลฯ โผฏฐัพพะ โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย (๓) (พึงขยาย ๔ วาระที่เหลือให้พิสดารเหมือนกับสหชาตปัจจัยในปฏิจจวาร ไม่มีแตกต่างกัน) (๗) [๕๒] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ และกระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ ใน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๕๗}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ อาโปธาตุเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็น อุปาทายรูปซึ่งเห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ฯลฯ อาโปธาตุเป็นปัจจัยแก่อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหารโดยอัตถิปัจจัย ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม อาโปธาตุเป็นปัจจัย แก่กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปซึ่งเห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งหทัยวัตถุ ... อิตถินทรีย์ ... ปุริสินทรีย์ ... ชีวิตินทรีย์ ... อาโปธาตุ ... กวฬิงการาหารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส จึงเกิดขึ้น หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด ก่อนซึ่งเห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย (พึงจำแนก ๖ วาระที่เหลืออย่างนี้ พึง เพิ่มสหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ) (๗) [๕๓] สภาวธรรมที่เห็นได้กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดย อัตถิปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้โดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ ได้และมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปที่เห็นได้และกระทบได้โดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ (ย่อ สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหมพึงจัดไว้ด้วย) (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้โดยอัตถิปัจจัย (ย่อ) (๒) [๕๔] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้เป็นปัจจัย แก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปุเรชาตะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๕๘}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้และมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตต- สมุฏฐานรูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ฯลฯ (พึงเพิ่มจนถึงอสัญญสัตตพรหม) ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะและหทัยวัตถุ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะและหทัย- วัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย (๓) (พึงจำแนก ๔ วาระที่เหลือ) (๗) [๕๕] สภาวธรรมที่เห็นได้กระทบได้และที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะและจักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เห็นได้กระทบได้ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบ ไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะจักขายตนะและจักขุวิญญาณเป็นปัจจัย แก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย (๑) (นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัยเหมือนกับอนันตรปัจจัย อวิคตปัจจัยเหมือนกับ อัตถิปัจจัย)๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร สุทธนัย [๕๖] เหตุปัจจัย มี ๗ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ สมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๒๑ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๖ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๒๑ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๕๙}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
ปุเรชาตปัจจัย มี ๖ วาระ ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ กัมมปัจจัย มี ๗ วาระ วิปากปัจจัย มี ๗ วาระ อาหารปัจจัย มี ๗ วาระ อินทรียปัจจัย มี ๙ วาระ ฌานปัจจัย มี ๗ วาระ มัคคปัจจัย มี ๗ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ วิปปยุตตปัจจัย มี ๘ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๒๕ วาระ นัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๒๕ วาระเหตุสภาคนัย [๕๗] อธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ วิปากปัจจัย มี ๗ วาระ อินทรียปัจจัย มี ๗ วาระ มัคคปัจจัย มี ๗ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ วิปปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๖๐}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
เหตุสามัญญฆฏนา (๙) [๕๘] ปัจจัย ๕ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ และอวิคตะ มี ๗ วาระ ปัจจัย ๖ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ อัตถิ และอวิคตะ มี ๑ วาระ ปัจจัย ๗ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ สัมปยุตตะ อัตถิ และอวิคตะ มี ๑ วาระ ปัจจัย ๖ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ วิปปยุตตะ อัตถิ และอวิคตะ มี ๗ วาระ (อวิปาก ๔) ปัจจัย ๖ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ อัตถิ และอวิคตะ มี ๗ วาระ ปัจจัย ๗ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ วิปากะ อัตถิ และอวิคตะ มี ๑ วาระ ปัจจัย ๘ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ วิปากะ สัมปยุตตะ อัตถิ และอวิคตะ มี ๑ วาระ ปัจจัย ๗ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ และอวิคตะ มี ๗ วาระ ปัจจัย ๘ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ และอวิคตะ มี ๑ วาระ (สวิปากะ ๕)(พึงนับวาระที่จะต้องนับทั้งหมดอย่างนี้) อนุโลม จบ ๒. ปัจจนียุทธาร [๕๙] สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ และกระทบไม่ได้โดยอารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้โดยสหชาตปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๖๑}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ โดยสหชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบ ไม่ได้ โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้กระทบได้และ ที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้โดยสหชาตปัจจัย (๔) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบ ได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้โดยสหชาตปัจจัย (๕) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้กระทบได้และ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้โดยสหชาตปัจจัย (๖) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้กระทบได้ที่ เห็นไม่ได้แต่กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้โดยสหชาตปัจจัย (๗) [๖๐] สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็น ไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาต- ปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้และ กระทบได้โดยสหชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และ อินทรียปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้โดยสหชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และ อินทรียปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้กระทบ ได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้โดยสหชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๔) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้โดยสหชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๖๒}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้กระทบได้ และที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้โดยสหชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๖) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นได้กระทบได้ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้โดยสหชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๗) [๖๑] สภาวธรรมที่เห็นได้กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้โดยสหชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้โดยสหชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปุเรชาตะ (๓) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เห็นได้กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้โดยสหชาตปัจจัย (๔) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้โดยสหชาตปัจจัย (๕) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เห็นได้กระทบได้และที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้โดยสหชาตปัจจัย (๖) สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาว- ธรรมที่เห็นได้กระทบได้ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้และที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้โดย สหชาตปัจจัย (๗) [๖๒] สภาวธรรมที่เห็นได้กระทบได้และที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้เป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ (๑) สภาวธรรมที่เห็นได้กระทบได้ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ และที่เห็นไม่ได้กระทบ ไม่ได้เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้โดยสหชาตปัจจัยและปุเรชาต- ปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๖๓}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร สุทธนัย [๖๓] นเหตุปัจจัย มี ๒๕ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๒๒ วาระ นอธิปติปัจจัย มี ๒๕ วาระ นอนันตรปัจจัย มี ๒๕ วาระ นสมนันตรปัจจัย มี ๒๕ วาระ นสหชาตปัจจัย มี ๑๒ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย มี ๒๔ วาระ นนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย มี ๒๕ วาระ นปุเรชาตปัจจัย มี ๒๒ วาระ นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒๕ วาระ นอาเสวนปัจจัย มี ๒๕ วาระ นกัมมปัจจัย มี ๒๕ วาระ นวิปากปัจจัย มี ๒๔ วาระ นอาหารปัจจัย มี ๒๕ วาระ นอินทรียปัจจัย มี ๒๓ วาระ นฌานปัจจัย มี ๒๕ วาระ นมัคคปัจจัย มี ๒๕ วาระ นสัมปยุตตปัจจัย มี ๒๔ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย มี ๒๒ วาระ โนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ โนนัตถิปัจจัย มี ๒๕ วาระ โนวิคตปัจจัย มี ๒๕ วาระ โนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๖๔}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
นเหตุทุกนัย นอารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๒๒ วาระ (เหมือนกับข้อความตอนต้น) โนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระนเหตุติกนัย นอธิปติปัจจัย กับนเหตุปัจจัยและนอารัมมณปัจจัย มี ๒๒ วาระ นอนันตรปัจจัย มี ๒๒ วาระ นสมนันตรปัจจัย มี ๒๒ วาระ นสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย มี ๒๒ วาระ นนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย มี ๒๑ วาระ นปุเรชาตปัจจัย มี ๒๒ วาระ นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒๒ วาระ ฯลฯ นสัมปยุตตปัจจัย มี ๒๒ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย มี ๒๒ วาระ โนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ โนนัตถิปัจจัย มี ๒๒ วาระ โนวิคตปัจจัย มี ๒๒ วาระ โนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ(พึงนับอย่างนี้) ปัจจนียะ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๖๕}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ เหตุทุกนัย [๖๔] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ นอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ นอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ นสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ นสัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ โนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ โนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระเหตุสามัญญฆฏนา [๖๕] นอารัมมณปัจจัย กับปัจจัย ๕ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ และอวิคตะ มี ๗ วาระ ฯลฯ นอนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๗ วาระ นสมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๗ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๗ วาระ (แม้ในข้อความนี้ก็ย่อไว้) นสัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๗ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑ วาระ โนนัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๗ วาระ โนวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๗ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๖๖}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
นอารัมมณปัจจัย กับปัจจัย ๖ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ อัตถิและอวิคตะ มี ๑ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๑ วาระ) โนวิคตปัจจัยกับ ฯลฯ มี ๑ วาระ (พึงนับอย่างนี้)อนุโลมปัจจนียะ จบ ๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม นเหตุทุกนัย [๖๖] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ สมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๒๑ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๖ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๒๑ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ปุเรชาตปัจจัย มี ๖ วาระ ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ กัมมปัจจัย มี ๗ วาระ วิปากปัจจัย มี ๗ วาระ อาหารปัจจัย มี ๗ วาระ อินทรียปัจจัย มี ๙ วาระ ฌานปัจจัย มี ๗ วาระ มัคคปัจจัย มี ๗ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๖๗}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]
๒๒. สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ ๗. ปัญหาวาร
วิปปยุตตปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๘ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๒๕ วาระ นัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๒๕ วาระ(พึงนับอย่างนี้) ปัจจนียานุโลม จบ ปัญหาวาร จบ สนิทัสสนสัปปฏิฆติกะ จบ ธัมมานุโลมติกปัฏฐานสุดท้าย จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๖๖๘}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ อภิธรรมปิฎกที่ ๘ ปัฏฐาน ภาค ๒ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๑ หน้าที่ ๖๔๖-๖๖๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=41&siri=49 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=41&A=15320&Z=19140 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=41&i=2203 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=41&item=2203&items=66 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=41&item=2203&items=66 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu41
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]