ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔. เหตุสเหตุกทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

๔. เหตุสเหตุกทุกะ ๑. ปฏิจจวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑๒๗] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มี เหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ อโทสะ อโมหะอาศัยอโลภะเกิดขึ้น (พึงผูก เป็นจักกนัย) โมหะอาศัยโลภะเกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) ในปฏิสนธิขณะ อโทสะ อโมหะอาศัยอโลภะเกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตขันธ์อาศัยเหตุเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๒) สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็น เหตุและที่มีเหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ อโทสะ อโมหะ และสัมปยุตตขันธ์ อาศัยอโลภะเกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) โมหะและสัมปยุตตขันธ์อาศัยโลภะเกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓) [๑๒๘] สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุอาศัยสภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุอาศัยขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๒) สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่มีเหตุ แต่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และเหตุอาศัยขันธ์ ๑ ที่มี เหตุแต่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓) [๑๒๙] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและ ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ อโทสะ อโมหะอาศัยอโลภะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๗๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔. เหตุสเหตุกทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

และสัมปยุตตขันธ์เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) โมหะอาศัยโลภะและสัมปยุตตขันธ์ เกิดขึ้น (พึงผูกเป็นจักกนัย) ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีเหตุแต่ไม่เป็น เหตุและอาศัยเหตุเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๒) สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็ นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็น เหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อโทสะ และอโมหะอาศัยขันธ์ ๑ ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ และอาศัยอโลภะเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓) (ย่อ พึงขยายให้พิสดารอย่างนี้)
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๑๓๐] เหตุปัจจัย มี ๙ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๙ วาระ) อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลม จบ
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๑. วิภังควาร
นอธิปติปัจจัยเป็นต้น
[๑๓๑] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุ เกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ อโทสะ อโมหะอาศัยอโลภะเกิดขึ้น (พึงผูก เป็นจักกนัย) ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (บริบูรณ์แล้ว มี ๙ วาระ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๗๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔. เหตุสเหตุกทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

นปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ นอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ
นกัมมปัจจัยเป็นต้น
[๑๓๒] สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุ เกิดขึ้นเพราะนกัมมปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตเจตนาอาศัยเหตุเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้น เพราะนกัมมปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตเจตนาอาศัยขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุ แต่ไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะนกัมมปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตเจตนาอาศัยเหตุและ สัมปยุตตขันธ์เกิดขึ้นเพราะนวิปากปัจจัย เพราะนวิปปยุตตปัจจัย
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๑๓๓] นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ นปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ นอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ นวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๗๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔. เหตุสเหตุกทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย
[๑๓๔] นอธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ นปุเรชาตปัจจัย ” มี ๙ วาระ นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๙ วาระ นอาเสวนปัจจัย ” มี ๙ วาระ นกัมมปัจจัย ” มี ๓ วาระ นวิปากปัจจัย ” มี ๙ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๙ วาระ
(พึงนับอย่างนี้)
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นอธิปติทุกนัย
[๑๓๕] เหตุปัจจัย กับนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ อารัมมณปัจจัย ” มี ๙ วาระ อนันตรปัจจัย ” มี ๙ วาระ ฯลฯ อวิคตปัจจัย ” มี ๙ วาระ
(พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียานุโลม จบ
(สหชาตวาร ปัจจยวาร นิสสยวาร สังสัฏฐวาร และสัมปยุตตวาร เหมือน กับปฏิจจวาร) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๗๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๒ หน้าที่ ๗๑-๗๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=42&siri=8              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=42&A=1994&Z=2112                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=42&i=104              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=42&item=104&items=7              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=42&item=104&items=7                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu42



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :