ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔. เหตุสเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

๔. เหตุสเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑๓๖] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุ และที่มีเหตุโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ อโลภะเป็นปัจจัยแก่อโทสะ อโมหะโดยเหตุปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร) (๑) สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๒) สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและ ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ อโลภะเป็นปัจจัยแก่อโทสะ อโมหะ และสัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (พึงขยายให้พิสดาร) (๓)
อารัมมณปัจจัย
[๑๓๗] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและ ที่มีเหตุโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภเหตุ เหตุจึงเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภเหตุ ขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่ มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภเหตุ เหตุและสัมปยุตต- ขันธ์จึงเกิดขึ้น (๓) สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณา กุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๗๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔. เหตุสเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็น เหตุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความ พรั่งพร้อมด้วยจิตที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็น ปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานา- สัญญายตนะโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ และอนาคตังสญาณ โดยอารัมมณปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มี เหตุโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ (บทนี้เหมือนข้อความข้างต้น ไม่มีข้อแตกต่างกัน) (๒) สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและ ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ (บทนี้ เหมือนข้อความข้างต้น ไม่มีข้อแตกต่างกัน) (๓) [๑๓๘] สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภเหตุและ สัมปยุตตขันธ์ เหตุจึงเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภเหตุและสัมปยุตตขันธ์ ขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภ เหตุและสัมปยุตตขันธ์ เหตุและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (๓)
อธิปติปัจจัย
[๑๓๙] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและ ที่มีเหตุโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๗๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔. เหตุสเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำเหตุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เหตุจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- เหตุโดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำเหตุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่มี เหตุแต่ไม่เป็นเหตุจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- ขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและ ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและ สหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำเหตุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เหตุและ สัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- ขันธ์และเหตุโดยอธิปติปัจจัย (๓) [๑๔๐] สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่ เป็นเหตุโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พระอริยะออกจาก มรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น บุคคลยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๗๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔. เหตุสเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- ขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุ โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ (บทนี้เหมือนข้อความข้างต้นนั่นเอง) สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- เหตุโดยอธิปติปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและ ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและ สหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ (บทนี้เหมือนข้อความข้างต้นนั่นเอง) สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- ขันธ์และเหตุโดยอธิปติปัจจัย (๓) [๑๔๑] สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาว- ธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำเหตุและสัมปยุตตขันธ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เหตุจึงเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำเหตุและสัมปยุตตขันธ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็น เหตุจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณา- ธิปติ ได้แก่ เพราะทำเหตุและสัมปยุตตขันธ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เหตุและ สัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๗๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔. เหตุสเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อนันตรปัจจัย
[๑๔๒] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและ ที่มีเหตุโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่เหตุที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุซึ่ง เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและ ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่เหตุ และสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓) [๑๔๓] สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่ เป็นเหตุโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ โคตรภู ฯลฯ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนะของ ท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุ โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่เหตุ ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ (ย่อ) (๒) สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและ ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่เหตุและสัมปยุตตขันธ์ซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็น ปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ (๓) (บทที่มีสภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นมูล มี ๓ วาระ เหมือนกัน) [๑๔๔] สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ เหตุและสัมปยุตตขันธ์ที่ เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่เหตุที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๗๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔. เหตุสเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ เหตุและสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ เหตุและ สัมปยุตตขันธ์ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่เหตุและสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดหลังๆ โดย อนันตรปัจจัย (๓)
สหชาตปัจจัยเป็นต้น
[๑๔๕] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุ และที่มีเหตุโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย เป็นปัจจัยโดย นิสสยปัจจัย (ปัจจัยทั้ง ๓ เหมือนกับเหตุปัจจัยในปฏิจจวาร)
อุปนิสสยปัจจัย
[๑๔๖] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุ และที่มีเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ เหตุเป็นปัจจัยแก่เหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่ เป็นมูล) เหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่ม บทที่เป็นมูล) เหตุเป็นปัจจัยแก่เหตุและสัมปยุตตขันธ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงอ้าง ถึงบทที่เป็นมูลแห่งวาระทั้ง ๒ อย่างนี้) สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็น เหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้ เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ ความปรารถนาแล้วจึงให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ความ ปรารถนา มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๘๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔. เหตุสเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

(บทที่มีสภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นมูล พึงขยายให้พิสดารด้วยเหตุนี้ ที่เหลือจากนั้น มี ๒ วาระ) สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่เป็นเหตุและที่มีเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ เหตุและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่เหตุโดยอุปนิสสย- ปัจจัย (พึงอ้างถึงมูล ๒) เหตุและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีเหตุแต่ไม่ เป็นเหตุโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เหตุและสัมปยุตตขันธ์เป็น ปัจจัยแก่เหตุและสัมปยุตตขันธ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (๑)
อาเสวนปัจจัย
[๑๔๗] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุ และที่มีเหตุโดยอาเสวนปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย)
กัมมปัจจัย
[๑๔๘] สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ ไม่เป็นเหตุโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย กัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก ซึ่งมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มี เหตุโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตเหตุโดย กัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่เหตุที่เป็นวิบาก โดยกัมมปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๘๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔. เหตุสเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและ ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ เหตุโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์และเหตุที่ เป็นวิบากโดยกัมมปัจจัย (๓)
วิปากปัจจัย
[๑๔๙] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุ และที่มีเหตุโดยวิปากปัจจัย ได้แก่ อโลภะที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่อโทสะและ อโมหะโดยวิปากปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) ในปฏิสนธิขณะ อโลภะ ... (พึง ขยายให้พิสดารเหมือนเหตุปัจจัย พึงกำหนดว่า เป็นวิบากแม้ทั้ง ๙ วาระ)
อาหารปัจจัยเป็นต้น
[๑๕๐] สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่ เป็นเหตุโดยอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุ โดยอินทรียปัจจัย (พึงกำหนดว่า เป็นอินทรีย์ทั้ง ๙ วาระ บริบูรณ์แล้ว) สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ โดยฌานปัจจัย มี ๓ วาระ สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุ โดยมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอัตถิปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๑๕๑] เหตุปัจจัย มี ๓ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๘๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔. เหตุสเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ กัมมปัจจัย มี ๓ วาระ วิปากปัจจัย มี ๙ วาระ อาหารปัจจัย มี ๓ วาระ อินทรียปัจจัย มี ๙ วาระ ฌานปัจจัย มี ๓ วาระ มัคคปัจจัย มี ๙ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ นัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ วิคตปัจจัย มี ๙ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลม จบ
๒. ปัจจนียุทธาร
[๑๕๒] สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุ และที่มีเหตุโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและ ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๘๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔. เหตุสเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

[๑๕๓] สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่ เป็นเหตุโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุ โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและ ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมม- ปัจจัย (๓) [๑๕๔] สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เป็นเหตุและที่มีเหตุโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสย- ปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่เป็นเหตุมีเหตุและที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และ อุปนิสสยปัจจัย (๓)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
[๑๕๕] นเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ (ย่อ ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๙ วาระ พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียะ จบ
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย
[๑๕๖] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ นอธิปติปัจจัย ” มี ๓ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๘๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๔. เหตุสเหตุกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

นอนันตรปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ นสมนันตรปัจจัย ” มี ๓ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๓ วาระ (ย่อ ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๓ วาระ) นมัคคปัจจัย ” มี ๓ วาระ โนนัตถิปัจจัย ” มี ๓ วาระ โนวิคตปัจจัย ” มี ๓ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย
[๑๕๗] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ อธิปติปัจจัย ” มี ๙ วาระ อนันตรปัจจัย ” มี ๙ วาระ สมนันตรปัจจัย ” มี ๙ วาระ สหชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ อัญญมัญญปัจจัย ” มี ๓ วาระ นิสสยปัจจัย ” มี ๓ วาระ อุปนิสสยปัจจัย ” มี ๙ วาระ อาเสวนปัจจัย ” มี ๙ วาระ กัมมปัจจัย ” มี ๓ วาระ วิปากปัจจัย ” มี ๓ วาระ อาหารปัจจัย ” มี ๓ วาระ อินทรียปัจจัย ” มี ๓ วาระ ฌานปัจจัย ” มี ๓ วาระ มัคคปัจจัย ” มี ๓ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๘๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๖. นเหตุสเหตุกทุกะ ๑. ปฏิจจวาร

สัมปยุตตปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ อัตถิปัจจัย ” มี ๓ วาระ นัตถิปัจจัย ” มี ๙ วาระ วิคตปัจจัย ” มี ๙ วาระ อวิคตปัจจัย ” มี ๓ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียานุโลม จบ
เหตุสเหตุกทุกะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๒ หน้าที่ ๗๕-๘๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=42&siri=9              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=42&A=2113&Z=2484                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=42&i=111              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=42&item=111&items=18              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=42&item=111&items=18                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu42



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :