ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๑. โกสัมพิกวิวาทกถา

๑๐. โกสัมพิกขันธกะ
๒๗๑. โกสัมพิกวิวาทกถา
ว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวกรุงโกสัมพีทะเลาะวิวาทกัน
[๔๕๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้นมีภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติ ภิกษุรูปนั้นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ แต่ภิกษุพวกอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ ต่อมา ภิกษุรูปนั้นกลับมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ แต่ภิกษุพวก อื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกับภิกษุรูปนั้นดังนี้ว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านจงเห็นอาบัตินั้น” ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะพึงเห็น” ภายหลัง ภิกษุเหล่านั้นได้ความพร้อมเพรียงแล้วจึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ รูปนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ๑- @เชิงอรรถ : @ พวกภิกษุที่ลงอุกเขปนียกรรม เป็นอุปัชฌาย์ของพวกภิกษุวินัยธรผู้เชี่ยวชาญในพระวินัย ส่วนภิกษุที่ถูกลง @อุกเขปนียกรรมเป็นอุปัชฌาย์ของพวกภิกษุสุตตันติกะผู้เชี่ยวชาญในพระสูตร เรื่องมีอยู่ว่า @ณ อาวาสแห่งหนึ่ง ในกรุงโกสัมพี มีภิกษุอยู่ ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มสุตตันติกะเชี่ยวชาญพระสูตร และ @กลุ่มวินัยธร เชี่ยวชาญพระวินัย วันหนึ่ง อุปัชฌาย์ของพวกสุตตันติกะ เข้าห้องสุขา(วัจกุฎี)เหลือน้ำชำระ @ไว้ในภาชนะแล้วออกมา อุปัชฌาย์ของพวกวินัยธรเข้าไปทีหลัง เห็นน้ำนั้นจึงออกมาถามภิกษุสุตตันติกะว่า @“ท่านเหลือน้ำไว้หรือ” ภิกษุสุตตันติกะตอบว่า “ผมเหลือน้ำไว้” “ในกรณีนี้ ท่านไม่รู้ว่าเป็นอาบัติหรือ” @“ผมไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ” “ท่าน ในกรณีนี้ มีอาบัติอยู่” “ถ้ามีอาบัติ ผมจะแสดงอาบัติ” “ท่าน ถ้าไม่จงใจ @ไม่มีสติ ก็ไม่มีอาบัติ” เมื่อภิกษุวินัยธรกล่าวอย่างนี้ ภิกษุสุตตันติกะจึงมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ @ฝ่ายภิกษุวินัยธรบอกพวกนิสิตของตนว่า “ภิกษุสุตตันติกะนี้ แม้ต้องอาบัติก็ไม่รู้” พวกนิสิตของภิกษุวินัยธร @จึงไปกล่าวกะพวกภิกษุสุตตันติกะว่า “อุปัชฌาย์ของท่าน แม้ต้องอาบัติแล้วก็ยังไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ” พวก @ภิกษุสุตตันติกะ จึงไปบอกแก่อุปัชฌาย์ของตน พระอุปัชฌาย์ของพวกภิกษุสุตตันติกะกล่าวว่า “ในตอนต้น @ภิกษุวินัยธรนี้ กล่าวว่า “ไม่มีอาบัติ แต่ตอนนี้ กลับกล่าวว่า มีอาบัติ ภิกษุวินัยธรนี้พูดเท็จ” เมื่อ @อุปัชฌาย์กล่าวอย่างนี้ พวกนิสิตจึงไปกล่าวกะพวกภิกษุวินัยธรว่า “อุปัชฌาย์ของพวกท่านพูดเท็จ” @แล้วก่อความทะเลาะขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ลำดับนั้น ภิกษุวินัยธรได้โอกาส จึงลงอุกเขปนียกรรม @เพราะไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุสุตตันติกะนั้น (วิ.อ. ๓/๔๕๑/๒๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๓๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๑. โกสัมพิกวิวาทกถา

ก็ภิกษุรูปนั้นเป็นพหูสูต ชำนาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา ต่อมา ภิกษุรูปนั้นเข้าไปหาพวกภิกษุที่เป็นเพื่อนเห็นเพื่อนคบกันมาแล้วได้กล่าวอย่างนี้ ว่า “ท่านทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นหาเป็นอาบัติไม่ ผมไม่ต้องอาบัติ ผมต้อง อาบัติหามิได้ ผมไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ผมถูกลงอุกเขปนียกรรมหามิได้ แต่ถูก ลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม เป็นความเสียหาย ไม่ควรแก่ฐานะ ท่าน ทั้งหลายจงเป็นฝ่ายผมโดยธรรมโดยวินัยเถิด” ภิกษุรูปนั้นได้พวกภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมาเป็นพรรคพวกแล้ว ภิกษุรูปนั้นได้ส่งทูตไปในสำนักของพวกภิกษุชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเห็นเพื่อน คบกันมาว่า “ท่านทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้อง อาบัติ ผมต้องอาบัติหามิได้ ผมไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ผมถูกลงอุกเขปนียกรรม หามิได้ แต่ถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม เป็นความเสียหาย ไม่ ควรแก่ฐานะ ท่านทั้งหลายจงเป็นฝ่ายผมโดยธรรมโดยวินัยเถิด” ภิกษุรูปนั้นได้พวกภิกษุชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมาเป็นพรรคพวก ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นผู้ประพฤติตามภิกษุที่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ได้เข้าไป หาพวกภิกษุที่ลงอุกเขปนียกรรมถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย นั่นไม่ เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นไม่ต้องอาบัติ ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติ หามิได้ ภิกษุรูปนั้นไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุรูปนั้นถูกลงอุกเขปนียกรรมหามิได้ แต่ถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม เป็นความเสียหาย ไม่ควรแก่ฐานะ” เมื่อพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมจึงกล่าวดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่น ไม่เป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติแล้ว ภิกษุรูปนั้นไม่ต้องอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นถูกลงอุกเขปนียกรรมแล้ว ภิกษุรูปนั้นไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรมหามิได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๓๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๑. โกสัมพิกวิวาทกถา

เธอถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ชอบธรรม ไม่เป็นความเสียหาย ควรแก่ฐานะ ท่าน ทั้งหลายอย่าประพฤติตาม อย่าห้อมล้อมภิกษุรูปนั้นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมนั้น” พวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุถูกลงอุกเขปนียกรรมเหล่านั้น แม้ถูกพวกภิกษุ ผู้ลงอุกเขปนียกรรมว่ากล่าวอย่างนี้ ก็ยังประพฤติตาม ยังห้อมล้อมภิกษุผู้ถูกลง อุกเขปนียกรรมนั้นเหมือนเดิม [๔๕๒] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร ภิกษุรูปนั้นผู้นั่งแล้ว ณ ที่ สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติแล้ว มีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ พวกภิกษุอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ ต่อมาภิกษุรูปนั้นกลับมีความ เห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ พวกภิกษุอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ พระพุทธเจ้าข้า ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกับภิกษุรูปนั้นดังนี้ว่า ‘ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านจงเห็นอาบัตินั้น’ ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่ผมจะพึงเห็น’ พระพุทธเจ้าข้า ภายหลัง ภิกษุเหล่านั้นได้ความพร้อมเพรียงแล้วจึงลง อุกเขปนียกรรมภิกษุรูปนั้นเพราะไม่เห็นอาบัติ พระพุทธเจ้าข้า ก็ ภิกษุรูปนั้นเป็นพหูสูต ชำนาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา ต่อมา ภิกษุรูปนั้นได้เข้าไปหาพวกภิกษุที่เป็นเพื่อนเห็นเพื่อนคบกัน มาแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผม ไม่ต้องอาบัติ ผมต้องอาบัติหามิได้ ผมไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ผมถูกลงอุกเขปนีย กรรมหามิได้ แต่ถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม ไม่ควรแก่ฐานะ ท่านทั้งหลายจงเป็นฝ่ายผมโดยธรรมโดยวินัยเถิด’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๓๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๑. โกสัมพิกวิวาทกถา

พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุรูปนั้นได้พวกภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมาเป็น พรรคพวกแล้ว ภิกษุรูปนั้นได้ส่งทูตไปในสำนักของพวกภิกษุชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบ กันมาว่า “ท่านทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องอาบัติ ผมต้องอาบัติหามิได้ ผมไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ผมถูกลงอุกเขปนียกรรมหามิได้ แต่ถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม ไม่ควรแก่ฐานะ ท่านทั้งหลายจง เป็นฝ่ายผมโดยธรรมโดยวินัยเถิด” ภิกษุรูปนั้นได้พวกภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมาเป็นพรรคพวกแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นผู้ประพฤติตามภิกษุที่ถูกลงอุกเขปนีย กรรม ได้เข้าไปหาพวกภิกษุที่ลงอุกเขปนียกรรมถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวดังนี้ว่า ‘ท่าน ทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นหาเป็นอาบัติไม่ ภิกษุรูปนั้นไม่ต้องอาบัติ ภิกษุรูป นั้นต้องอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุรูปนั้นถูกลงอุกเขปนีย กรรมหามิได้ แต่ถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม ไม่ควรแก่ฐานะ’ พระพุทธเจ้าข้า เมื่อพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม กล่าวอย่างนี้แล้ว พวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมจึงกล่าวดังนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย นั่น เป็นอาบัติ นั่นไม่เป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติแล้ว ภิกษุรูปนั้นไม่ต้อง อาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นถูกลงอุกเขปนียกรรมแล้ว ภิกษุรูปนั้นไม่ถูกลงอุกเขปนีย กรรมหามิได้ เธอถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ชอบธรรม ควรแก่ฐานะ ท่าน ทั้งหลายอย่าประพฤติตาม อย่าห้อมล้อมภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมนั้น’ พระพุทธเจ้าข้า พวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุถูกลงอุกเขปนียกรรมเหล่านั้น แม้อันพวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมว่ากล่าวอย่างนี้ ก็ยังประพฤติตาม ยังห้อมล้อม ภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมนั้นเหมือนเดิม” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๓๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๑. โกสัมพิกวิวาทกถา

[๔๕๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “ภิกษุสงฆ์จะแตกกัน ภิกษุสงฆ์จะแตกกัน”๑- เสด็จลุกจากอาสนะ เข้าไปหาพวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรม ประทับนั่งบนพระพุทธอาสน์ที่จัดไว้ แล้วได้ตรัสกับภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรม เหล่านั้นดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าคิดอย่างนี้ว่า ‘เรื่องนี้แจ่มแจ้งแก่ พวกเรา เรื่องนี้แจ่มแจ้งแก่พวกเรา’ แล้วจ้องแต่จะลงอุกเขปนียกรรมภิกษุในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว มีความเห็นในอาบัตินั้นว่า ไม่เป็นอาบัติ พวกภิกษุอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นรู้จักภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านรูปนี้แลเป็นพหูสูต ฯลฯ ใฝ่การ ศึกษา ถ้าพวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปนี้เพราะไม่เห็นอาบัติ พวกเราก็จะ ทำอุโบสถร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ ต้องทำอุโบสถแยกจากภิกษุรูปนี้ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความขัดแย้ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่ง สงฆ์ ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้เป็นต่างๆ กันซึ่งมีเรื่องนั้นเป็นเหตุ จะมีแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุผู้หนักในความแตกกัน ไม่พึงลงอุกเขปนีย กรรมภิกษุรูปนั้นเพราะไม่เห็นอาบัติ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว มีความเห็นในอาบัติ นั้นว่าไม่เป็นอาบัติ พวกภิกษุอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ถ้าภิกษุ เหล่านั้นรู้จักภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านรูปนี้เป็นพหูสูต ฯลฯ ใฝ่การศึกษา ถ้า พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปนี้เพราะไม่เห็นอาบัติ พวกเราก็จะปวารณา ร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ ต้องปวารณาแยกจากภิกษุรูปนี้ จะทำสังฆกรรมร่วมกับภิกษุรูปนี้ ไม่ได้ ต้องทำสังฆกรรมแยกจากภิกษุรูปนี้ จะนั่งร่วมบนอาสนะเดียวกับภิกษุรูปนี้ @เชิงอรรถ : @ ภิกษุสงฆ์ยังไม่แตกกัน แต่มีเหตุคือความทะเลาะวิวาทที่บ่งบอกว่า จะแตกกันแน่นอนในโอกาสต่อไป เหมือน @เมื่อฝนตกลงมา ชาวนาทั้งหลายก็มักจะกล่าวว่า “ข้าวกล้าสำเร็จแล้ว” เพราะฝนเป็นเครื่องบ่งบอกถึง @ความสำเร็จแห่งข้าวกล้าในโอกาสต่อไปแน่นอน (วิ.อ. ๓/๔๕๓/๒๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๓๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๑. โกสัมพิกวิวาทกถา

ไม่ได้ ต้องนั่งบนอาสนะแยกจากภิกษุรูปนี้ จะนั่งในที่ดื่มข้าวต้มร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ ต้องนั่งแยกจากภิกษุรูปนี้ จะนั่งในโรงอาหารร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ ต้องนั่งแยก จากภิกษุรูปนี้ จะอยู่ในที่มุงบังเดียวกันร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ ต้องอยู่แยกจาก ภิกษุรูปนี้ จะกราบไหว้ ต้อนรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรมตามลำดับพรรษาร่วม กับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ ต้องทำแยกจากภิกษุรูปนี้ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความขัดแย้ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแบ่ง แยกแห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้เป็นต่างๆ กันซึ่งมีเรื่องนั้นเป็นเหตุจะมีแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุผู้หนักในความแตกกัน จึงไม่พึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ รูปนั้นเพราะไม่เห็นอาบัติ”
เรื่องพระผู้มีพระภาคทรงแนะนำให้ภิกษุแสดงอาบัติ
[๔๕๔] ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนั้นแก่พวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ เสด็จเข้าไปหาพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนีย กรรมประทับบนพุทธอาสน์ที่ปูไว้แล้ว ได้ตรัสกับพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูก ลงอุกเขปนียกรรมดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติแล้วอย่าคิดว่า ‘พวกเราหาได้ต้องอาบัติไม่ พวกเราหาได้ต้องอาบัติไม่’ สำคัญว่าอาบัติไม่ต้องทำคืน ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีที่ภิกษุต้องอาบัติแล้ว มีความเห็นในอาบัตินั้นว่าไม่ เป็นอาบัติ พวกภิกษุอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ถ้าภิกษุรูปนั้นรู้จัก ภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านเหล่านี้แลเป็นพหูสูต ฯลฯ ใฝ่การศึกษา คงจะไม่ ลำเอียงเพราะความรัก เพราะความชัง เพราะความหลง เพราะความกลัว เพราะ เราเป็นเหตุ หรือเพราะภิกษุอื่นเป็นเหตุ ถ้าภิกษุเหล่านี้จะลงอุกเขปนียกรรมเรา เพราะไม่เห็นอาบัติ ภิกษุเหล่านั้นจะทำอุโบสถร่วมกับเราไม่ได้ ต้องทำอุโบสถแยก จากเรา ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความขัดแย้ง ความวิวาท ความแตก แห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้เป็นต่างๆ กันซึ่งมีเรื่องนั้นเป็นเหตุจะมีแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุผู้ตระหนักในความแตกกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๓๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๑. โกสัมพิกวิวาทกถา

จึงไม่พึงลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้นเพราะไม่เห็นอาบัติ” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ผู้หนักในความแตกกันจึงพึงแสดงอาบัตินั้นแม้เพราะเชื่อผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว มีความเห็นในอาบัตินั้น ว่าไม่เป็นอาบัติ พวกภิกษุอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ถ้าภิกษุรูปนั้นรู้ จักภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านเหล่านี้แลเป็นพหูสูต ฯลฯ ใฝ่การศึกษา คงจะ ไม่ลำเอียงเพราะความชอบ เพราะความชัง เพราะความหลง เพราะความกลัว เพราะเราเป็นเหตุ หรือเพราะภิกษุอื่นเป็นเหตุ ถ้าภิกษุเหล่านี้จะลงอุกเขปนีย กรรมเราเพราะไม่เห็นอาบัติ ภิกษุเหล่านั้นจะปวารณาร่วมกับเราไม่ได้ ต้อง ปวารณาแยกจากเรา จะทำสังฆกรรมร่วมกับเราไม่ได้ ต้องทำสังฆกรรมแยกจากเรา จะนั่งร่วมบนอาสนะเดียวกับเราไม่ได้ ต้องนั่งบนอาสนะแยกจากเรา จะนั่งในที่ดื่ม ข้าวต้มร่วมกับเราไม่ได้ ต้องนั่งแยกจากเรา จะนั่งในโรงอาหารร่วมกับเราไม่ได้ ต้องนั่งแยกจากเรา จะอยู่ในที่มุงบังเดียวร่วมกับเราไม่ได้ ต้องอยู่แยกจากเรา จะ กราบไหว้ ต้อนรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรมตามลำดับพรรษาร่วมกับเราไม่ได้ ต้องทำแยกจากเรา ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความขัดแย้ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้ เป็นต่างๆ กัน ซึ่งมีเรื่องนั้นเป็นเหตุจะมีแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หนักใน ความแตกกัน จึงพึงแสดงอาบัตินั้นแม้เพราะเชื่อผู้อื่น” ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนั้น แก่พวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลง อุกเขปนียกรรมแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะแล้วเสด็จหลีกไป


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๓๓๓-๓๓๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=5&siri=58              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=5937&Z=6051                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=238              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=238&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=5476              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=238&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=5476                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd10/en/brahmali# https://suttacentral.net/pli-tv-kd10/en/horner-brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :