ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑
๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
เรื่องภิกษุอริฏฐะ๑-
[๖๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่ภิกษุ ชื่ออริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”๒- ภิกษุหลายรูปได้ทราบข่าวว่า “ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่ภิกษุชื่ออริฏฐะผู้มี บรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถ ก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่” ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาภิกษุอริฏฐะผู้ มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพ- บุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งดังนี้ว่า “ท่านอริฏฐะ ได้ทราบว่า ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้น แก่ท่านว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่ @เชิงอรรถ : @ วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๑๗/๕๒๕, ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๓๔/๒๔๕-๒๔๗ @ ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๑๗/๕๒๕ (เชิงอรรถ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๓๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพ ได้จริงไม่’ จริงหรือ” ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งกล่าวว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตาม ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพ ได้จริงไม่” ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวว่า “ท่านอริฏฐะ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่ พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้ ตรัสอย่างนั้น ท่านอริฏฐะ พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่อ อันตรายไว้โดยประการต่างๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่อง เสพได้จริง พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มี ความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลาย เปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กาม ทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลาย เปรียบเหมือนความฝัน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของ ที่ยืมมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ พระผู้มี พระภาคตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัส ว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษ อย่างยิ่ง” ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งถูกภิกษุเหล่านั้นตักเตือนแต่ก็ยัง กล่าวด้วยความยึดมั่นถือมั่นทิฏฐิบาปนั้นอยู่อย่างนั้นว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้น ท่าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๓๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

ทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพ ได้จริงไม่” ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจจะปลดเปลื้องภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง จากทิฏฐิบาปนั้นได้ ครั้นแล้วภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นจึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งว่า “อริฏฐะ ทราบว่า ทิฏฐิบาป เช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่เธอว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่ง ว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตราย แก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ จริงหรือ” ภิกษุอริฏฐะทูลรับว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์รู้ทั่ว ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วได้อย่างไร โมฆบุรุษ เรากล่าวธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการต่างๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้จริง มิใช่หรือ เรากล่าวว่า กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้น มาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง เรากล่าวว่า กามทั้งหลาย เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลาย เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๓๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ยืมมา ฯลฯ เรากล่าวว่า กาม ทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือน เขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลาย เปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ เรา กล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกาม นี้มีโทษอย่างยิ่ง โมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ยึดถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลายตนเอง และชื่อว่าประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก โมฆบุรุษ ข้อนั้นจัก เป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เธอตลอดกาลนาน โมฆบุรุษ การ กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้ เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมมีกถาแล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงลงอุกเขปนียกรรมเพราะ ไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นนายพรานฆ่านกแร้ง ห้ามสมโภค กับสงฆ์”
วิธีลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงโจทภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง ครั้นแล้วให้ภิกษุอริฏฐะ ให้การแล้วจึงปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า [๖๖] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็น พรานฆ่านกแร้งมีทิฏฐิบาปเกิดขึ้นว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่อ อันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ ภิกษุอริฏฐะนั้นไม่ยอมสละทิฏฐินั้น ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ นี่ เป็นญัตติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๓๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านก แร้งมีทิฏฐิบาปเกิดขึ้นว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่ง ว่าธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ ภิกษุอริฏฐะนั้นไม่ยอมละทิฏฐินั้น สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เพราะ ไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้ มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ อริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งมีทิฏฐิบาปเกิดขึ้นว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระ ผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่อ อันตราย ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ ภิกษุอริฏฐะนั้นไม่ยอมละ ทิฏฐินั้น สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษ เป็นพรานฆ่านกแร้ง ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงอุกเขปนีย- กรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง ห้าม สมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป สงฆ์ลงแล้วแก่ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษ เป็นพรานฆ่านกแร้ง ห้ามสมโภคกับสฆ์ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุในอาวาสต่อๆ ไปว่า “ภิกษุอริฏฐะผู้มี บรรพ บุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ห้ามสมโภคกับสงฆ์” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๓๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาปที่ไม่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๖๗] ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ ๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่สอบถาม ๓. ไม่ลงตามปฏิญญา ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับ ไม่ดี
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ๓. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ฯลฯ
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๓. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๓๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ลงโดยไม่สอบถาม ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ไม่ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๓๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๓๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม ๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับ ไม่ดี
อธัมมกัมมทวาทสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๓๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

ธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาปที่ชอบธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๖๘] ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วย องค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยสอบถามก่อน ๓. ลงตามปฏิญญา ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ ๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๓. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ฯลฯ
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๓. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๔๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ลงโดยสอบถามก่อน ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๔๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๔๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ ๑. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม ๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
ธัมมกัมมทวาทสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๔๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๑๓๑-๑๔๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=6&siri=13              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=6&A=3053&Z=3321                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=276              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=276&items=27              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=276&items=27                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/brahmali#pli-tv-kd11:32.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/horner-brahmali#Kd.11.32.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :