ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑
รวมสาระสำคัญที่มีในกัมมขันธกะ
เรื่องภิกษุชื่อปัณฑุกะและชื่อโลหิตกะก่อความบาดหมางเอง ได้เข้าไปหาภิกษุผู้ประพฤติเหมือนกัน แล้วก่อความบาดหมาง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๕๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

รวมเรื่องที่มีในกัมมขันธกะ

ยิ่งขึ้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิด ที่เกิดแล้วก็ขยายตัวออกไป ภิกษุผู้มักน้อยมีศีลเป็นที่รักพากันตำหนิท่ามกลางบริษัท พระพุทธชินเจ้าผู้ทรงเป็นพระสยัมภูอัครบุคคล ทรงพระสัทธรรม รับสั่งให้ลงตัชชนียกรรมที่กรุงสาวัตถี ตัชชนียกรรมที่เป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ ชอบด้วยวินัย คือ
หมวดที่ ๑
ลงลับหลัง ลงโดยไม่สอบถาม ไม่ลงตามปฏิญญา
หมวดที่ ๒
ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
หมวดที่ ๓
ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง
หมวดที่ ๔
ลงลับหลัง ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง
หมวดที่ ๕
ลงโดยไม่สอบถาม ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง
หมวดที่ ๖
ไม่ลงตามปฏิญญา ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง
หมวดที่ ๗
ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง
หมวดที่ ๘
ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๕๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

รวมเรื่องที่มีในกัมมขันธกะ

หมวดที่ ๙
ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง
หมวดที่ ๑๐
ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง
หมวดที่ ๑๑
ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง
หมวดที่ ๑๒
ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง นักวินัยพึงทราบฝ่ายถูกตามนัยตรงข้ามกับฝ่ายที่ผิด สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ จำพวก คือ ๑. ผู้ก่อความบาดหมาง เป็นพาล และคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ๒. ผู้วิบัติในอธิสีล ในอัชฌาจาร และในอติทิฏฐิ ๓. ผู้กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สงฆ์พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ ๑. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง เป็นพาล และคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ๒. รูปหนึ่งวิบัติในศีล ในอัชฌาจาร และในอติทิฏฐิ ๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วต้องประพฤติโดยชอบอย่างนี้ คือ ไม่ให้อุปสมบท ไม่ให้นิสัย ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ไม่สั่งสอนภิกษุณี ถึงได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอน ไม่ต้องอาบัติ นั้นอีก ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกันนั้นและที่เลวทรามกว่านั้น ไม่ตำหนิกรรม ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ไม่งดอุโบสถและปวารณา แก่ปกตัตตภิกษุ ไม่ทำการสอบถาม ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๕๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

รวมเรื่องที่มีในกัมมขันธกะ

ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ไม่โจทภิกษุอื่น ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ และไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ให้อุปสมบท ให้นิสัย ใช้สามเณรอุปัฏฐาก สั่งสอนภิกษุณี แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอน และองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ ต้องอาบัตินั้น ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกันนั้น ต้องอาบัติ ที่เลวทรามกว่านั้น ตำหนิกรรม ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ งดอุโบสถ ปวารณา ทำการไต่สวน เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ให้ทำโอกาส โจทภิกษุอื่น ให้ภิกษุอื่นให้การและให้ต่อสู้อธิกรณ์กัน ย่อมไม่พ้นความผิด จากตัชชนียกรรม นักวินัยพึงทราบฝ่ายถูกตามนัยตรงข้ามกับฝ่ายที่ผิดนั้น ภิกษุเสยยสกะโง่เขลา มีอาบัติมากและคลุกคลีกับ คฤหัสถ์ พระสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระมหามุนี รับสั่งให้ลง นิยสกรรม ภิกษุชื่ออัสสชิและชื่อปุนัพพสุกะอยู่ในกีฏาคีรีชนบท ไม่สำรวม ประพฤติไม่สมควรต่างๆ พระสัมพุทธชินเจ้า รับสั่งให้ลงปัพพาชนียกรรมในกรุงสาวัตถี ภิกษุสุธรรมอยู่ประจำในอาวาสของจิตตคหบดี ในเมือง มัจฉิกาสณฑ์ ด่าจิตตอุบาสกด้วยคำหยาบ กระทบชาติกำเนิด พระตถาคตรับสั่งให้ลงปฏิสารณียกรรม ภิกษุฉันนะไม่ปรารถนาจะรู้เห็นอาบัติ พระชินเจ้าผู้อุดม รับสั่งให้ลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติในกรุงโกสัมพี ภิกษุฉันนะไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัตินั้น พระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นนายกพิเศษรับสั่งให้ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๕๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ]

รวมเรื่องที่มีในกัมมขันธกะ

ภิกษุอริฏฐะเกิดทิฏฐิบาปไปเพราะความเขลา พระชินเจ้า รับสั่งให้ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิ นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรมและปฏิสารนียกรรมก็เหมือนกัน บทเหล่านี้มีเกินในปัพพาชนียกรรม คือ เล่นคะนอง ประพฤติไม่สมควร(อนาจาร) ลบล้างพระบัญญัติและมิจฉาชีพ เพราะไม่เห็นไม่ทำคืนอาบัติ และไม่สละทิฏฐิบาป บทเหล่านี้มีเกินในปฏิสารณียกรรม คือ มุ่งความไม่มีลาภ กล่าวตำหนิ มีชื่อว่าปัญจกะ ๒ หมวดๆ ละ ๕ แม้ตัชชนียกรรมและนิยสกรรมก็เหมือนกัน ปัพพาชนียกรรม และปฏิสารณียกรรม หย่อนและยิ่งกว่ากัน ๘ ข้อ ๒ หมวด การจำแนกอุกเขปนียกรรม ๓ อย่างก็เช่นเดียวกัน นักวินัยพึงทราบกรรมที่เหลือตามนัยแห่งตัชชนียกรรม
กัมมขันธกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๕๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๑๕๒-๑๕๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=6&siri=15              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=6&A=3531&Z=3596                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=319              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=319&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=319&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/horner-brahmali#BD.5.40 https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :