บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
สติวินัย อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ อย่าง [๒๓๖] อนุวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะเท่าไร อนุวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะ ๔ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) สติวินัย (๓) อมูฬหวินัย (๔) ตัสสปาปิยสิกา บางทีอนุวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) อมูฬหวินัย (๒) ตัสส- ปาปิยสิกา แต่ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) สติวินัย บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุ ทั้งหลายใส่ความภิกษุด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล สงฆ์พึงให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้น ผู้ถึงความ ไพบูลย์แห่งสติอยู่แล้ววิธีให้สติวินัย และกรรมวาจา ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สติวินัยอย่างนี้ คือ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่ม- อุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ฯลฯ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายใส่ ความข้าพเจ้าด้วยสีลวิบัติ ที่ไม่มีมูล ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้านั้นถึงความไพบูลย์แห่งสติ แล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์ พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๕๖}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายใส่ความภิกษุชื่อนี้ ด้วย สีลวิบัติที่ไม่มีมูล เธอถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์ พร้อมกันแล้วพึงให้สติวินัยแก่ภิกษุชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายใส่ความภิกษุชื่อนี้ ด้วย สีลวิบัติที่ไม่มีมูล เธอถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์ สงฆ์ให้ สติวินัยแก่ภิกษุชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ สติวินัยแก่ภิกษุชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่ เห็นด้วย ท่าน รูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ สติวินัยอันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว อธิกรณ์ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัยกับสติวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความ พร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ อนึ่ง ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร โจทก์และจำเลยทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าบุคคลใน สัมมุขาวินัยนั้น ในสติวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่ คัดค้านกรรม คือสติวินัยอันใด นี้มีในสติวินัยนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๕๗}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียนอมูฬหวินัย [๒๓๗] บางทีอนุวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สติวินัย (๒) ตัสสปาปิยสิกา แต่พึงระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) อมูฬหวินัย บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรม วินัยนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณ มากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทด้วย อาบัติที่ผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มี จิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าว ด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายแม้ภิกษุนั้นกล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทภิกษุนั้นอยู่ตามเดิมว่า ท่าน ต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้คำขออมูฬหวินัย และกรรมวาจา ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น ผู้หายหลงแล้ว ก็แล สงฆ์ พึงให้อมูฬวินัยอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ฯลฯ แล้วกล่าวคำขอว่า ท่านผู้เจริญ กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควร แก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุ ทั้งหลายโจทกระผม ด้วยอาบัติที่กระผมผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิด แล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ กระผมผู้กล่าวกับภิกษุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๕๘}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติ ละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายาม ทำด้วยกาย กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย แม้กระผมกล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยังโจทกระผมอยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จง ระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกับสงฆ์ พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติที่เธอผู้วิกลจริต มี จิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็น ปานนี้ ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นกล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทภิกษุนั้นอยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ภิกษุนั้นหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัย กับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้นผู้หายหลงแล้ว นี่ เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายาม ทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติที่ภิกษุนั้นผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าว อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๕๙}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้น กล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติ เห็นปานนี้ เธอหายหลงแล้วขออมูฬหวินัยกับสงฆ์ สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุ ชื่อนี้ ผู้หายหลงแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุชื่อนี้ ผู้หาย หลงแล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ อมูฬหวินัยสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อนี้ผู้หายหลงแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย กับอมูฬหวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ ในอมูฬหวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความ ไม่คัดค้านกรรม คือ อมูฬหวินัยอันใด นี้มีในอมูฬหวินัยนั้น ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียนตัสสปาปิยสิกาวินัย [๒๓๘] บางที อนุวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สติวินัย (๒) อมูฬหวินัย แต่พึงระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ตัสสปาปิยสิกา บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๖๐}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยครุกาบัติ(อาบัติหนัก)ใน ท่ามกลางสงฆ์ว่า ท่านต้องครุกาบัติ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิกแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ผมระลึกไม่ได้เลยว่า ต้องครุกาบัติเห็น ปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก ภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้น ย่อมคาดคั้นภิกษุจำเลยนั้นผู้เปลื้องตนอยู่ว่า เอาเถิด ท่าน จงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่าต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรือ อาบัติที่ใกล้ปาราชิกไซร้ ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ผมระลึกไม่ได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก แต่ระลึกได้ว่า ต้องอาบัติแม้เล็กน้อย เห็นปานนี้ ภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้น ย่อมคาดคั้นภิกษุจำเลยนั้นผู้เปลื้องตนอยู่ว่า เอาเถิด ท่านจงรู้ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรือ อาบัติที่ใกล้ปาราชิก ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ผมต้องอาบัติเล็กน้อยชื่อนี้ ผมไม่ถูก ถามก็ปฏิญญา ผมต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิกหรืออาบัติที่ใกล้ ปาราชิก ผมถูกถามแล้วจักไม่ปฏิญญาหรือ ภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน อนึ่ง ท่านต้องอาบัติแม้เล็กน้อยข้อนี้ ท่านไม่ถูกถามแล้วจักไม่ปฏิญญา ท่านต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก ท่านไม่ถูกถามแล้วจักปฏิญญาหรือ เอาเถิด ท่านจงรู้ ด้วยดี ถ้าท่านระลึกได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติ ที่ใกล้ปาราชิก ภิกษุจำเลยนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ผมระลึกได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ปาราชิก คำนั้นผมพูดเล่น คำนั้นผมพูดพล่อยไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๖๑}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ผมระลึกไม่ได้ว่า ต้องครุกาบัติเห็นปานนี้ คือ อาบัติปาราชิก หรืออาบัติที่ใกล้ ปาราชิก ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมนั่นแก่ภิกษุนั้นแลวิธีลงตัสสปาปิยสิกากรรมและกรรมวาจา ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง สงฆ์พึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ถูกซักถามถึงครุกาบัติใน ท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีก เรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ถูกซักถามถึงครุกาบัติใน ท่ามกลางสงฆ์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อน อีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ สงฆ์ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว ท่าน รูปใดเห็นด้วยกับการลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ ตัสสปาปิยสิกากรรม สงฆ์ลงแล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัยกับตัสสปาปิยสิกา ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๖๒}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ในตัสสปาปิยสิกานั้นมีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่ คัดค้านกรรมคือตัสสปาปิยสิกาอันใด นี้มีในตัสสปาปิยสิกานั้น ภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียนปฏิญญาตกรณะ อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง [๒๓๙] อาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ บางทีอาปัตตาธิกรณ์ ไม่อาศัยสมถะอย่างหนึ่ง คือ ติณวัตถารกะ พึงระงับ ด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ บางทีพึงตกลง กันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องลหุกาบัติแล้ว เธอพึงเข้าไปหาภิกษุ รูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ผมต้องอาบัติชื่อนี้ ผม แสดงคืนอาบัตินั้น ภิกษุผู้รับนั้นพึงกล่าวว่า ท่านเห็นหรือ ภิกษุผู้แสดงนั้นพึงกล่าวว่า ขอรับ ผมเห็น ภิกษุผู้รับนั้นพึงกล่าวว่า ท่านพึงสำรวมต่อไป ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัยกับปฏิญญาตกรณะ ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๖๓}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
อนึ่ง ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร คือ ผู้แสดงกับผู้รับ แสดงทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้น ในปฏิญญาตกรณะนั้น มีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความ ไม่คัดค้านกรรมคือปฏิญาตกรณะอันใด นี้มีในปฏิญญาตกรณะนั้น ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่รื้อฟื้น ถ้าได้การแสดงนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นความดี หากไม่ได้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหา ภิกษุมากรูปด้วยกัน ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา ทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าต้อง อาบัติชื่อนี้ ข้าพเจ้าแสดงคืนอาบัตินั้น ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ภิกษุพวกนั้นทราบด้วยญัตติว่า ขอท่าน ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ระลึก เปิดเผย ทำให้ตื้น แสดงอาบัติ ถ้า ท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าขอรับอาบัติของภิกษุชื่อนี้แล้ว พึงกล่าวว่า ท่าน เห็นหรือ ภิกษุผู้แสดงพึงกล่าวว่า ขอรับ ผมเห็น ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า ท่านพึงสำรวมต่อไป ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย กับปฏิญญาตกรณะ ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าธรรม ความ พร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ อนึ่ง ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร คือ ผู้แสดงกับผู้รับ แสดง ทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนั้น ในปฏิญญาตกรณะนั้น มีอะไรบ้าง มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความ เข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรมคือปฏิญญาตกรณะอันใด นี้มีใน ปฏิญญาตกรณะนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๖๔}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่รื้อฟื้น หากได้การแสดงนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นความดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหา สงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ผมต้องอาบัติชื่อนี้ ผมแสดงคืนอาบัตินั้น ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ระลึก เปิดเผย ทำให้ตื้น แสดงอาบัติ ถ้าสงฆ์ พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงรับอาบัติของภิกษุชื่อนี้ แล้วพึงกล่าวว่า ท่านเห็นหรือ ภิกษุผู้แสดงพึงกล่าวว่า ขอรับ ผมเห็น ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า ท่านพึงสำรวมต่อไป ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ด้วยสัมมุขาวินัย กับปฏิญญาตกรณะ ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความ พร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียนติณวัตถารกะ [๒๔๐] บางทีอาปัตตาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะอย่างหนึ่ง คือ ปฏิญญาตกรณะ พึงระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ติณวัตถารกะ บางที พึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ พวกภิกษุบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่ควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ พยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกภิกษุในหมู่นั้นปรึกษากันอย่างนี้ว่า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะ เป็นอาจิณมากมาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๖๕}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับ อาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน ก็ได้ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปาน นี้ด้วยติณวัตถารกะวิธีระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะและกรรมวาจา ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์อย่างนี้ คือ ภิกษุทุกๆ รูปพึงประชุมในที่ แห่งเดียวกัน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรม วาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ พยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์นั้น จะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าสงฆ์ พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นี้ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ฝ่าย ของตนทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ประพฤติ ละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายาม ทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับกันด้วยอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงลุกลาม ไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าท่านทั้งหลาย พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านทั้งหลายและอาบัติของตนในท่าม กลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๖๖}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
[๒๔๑] ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกันอีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ พึงประกาศให้ฝ่ายของตนทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่ควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ พยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์นั้น จะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าท่าน ทั้งหลายพร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของตน ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติที่เนื่องด้วย คฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และเพื่อประโยชน์แก่ตน [๒๔๒] ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน อีกพวกหนึ่ง ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์ นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้า สงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้ และอาบัติของตนใน ท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายและเพื่อประโยชน์แก่ตน นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ พยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์นั้น จะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ข้าพเจ้า แสดงอาบัติของท่านเหล่านี้และอาบัติของตนในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๖๗}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
และเพื่อประโยชน์แก่ตน ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแสดงอาบัติเหล่านี้ของพวกเราใน ท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง อาบัติเหล่านี้ของพวกเรา เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ ข้าพเจ้าแสดงแล้วในท่ามกลางสงฆ์ด้วยติณวัตถารกะ สงฆ์เห็นด้วยเพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน อีกพวกหนึ่ง ฯลฯ ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้น เป็นมติอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ระงับด้วยสัมมุขา- วินัยกับติณวัตถารกะ ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล อนึ่ง ความพร้อมหน้าสงฆ์ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน นำฉันทะของผู้ควร ฉันทะมา ผู้อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าสงฆ์ ในสัมมุขา- วินัยนั้น อนึ่ง ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร อธิกรณ์นั้นระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ใด นี้ชื่อว่าความพร้อม หน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัยในสัมมุขาวินัยนั้น อนึ่ง ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร ผู้แสดงและผู้รับแสดงทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่าความพร้อมหน้าบุคคล ในสัมมุขาวินัยนี้ ในติณวัตถารกะนั้น มีอะไรบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๖๘}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๙. อธิกรณวูปสมนสมถะ
มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความ ไม่คัดค้านกรรมคือติณวัตถารกะอันใด นี้มีในติณวัตถารกะนั้น ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ติเตียน กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะอย่างเดียว คือ สัมมุขาวินัยอธิกรณวูปสมนสมถะ จบ สมถขันธกะที่ ๔ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๖๙}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ วินัยปิฎกที่ ๖ จุลวรรค ภาค ๑ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๓๕๖-๓๖๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=6&siri=57 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=6&A=9330&Z=9794 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=682 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=682&items=13 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=682&items=13 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/brahmali#pli-tv-kd14:14.27.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/horner-brahmali#Kd.14.14.27
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]