ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
พระสัมภูตสาณวาสีถามวัตถุ ๑๐ ประการ
ภิกษุผู้เถระทั้งสองสนทนาค้างอยู่เพียงเท่านี้ ลำดับนั้น พระสัมภูตสาณวาสี มาถึง จึงเข้าไปหาท่านพระสัพพกามีถึงที่พัก ครั้นแล้วอภิวาท นั่ง ณ ที่สมควรได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๔๑๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติกขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

กล่าวกับท่านพระสัพพกามีดังนี้ว่า “พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีแสดงวัตถุ ๑๐ ประการในกรุงเวสาลี คือ ๑. สิงคิโลณกัปปะ (เก็บเกลือไว้ในเขนง๑- แล้วฉันกับอาหารรสไม่เค็มได้) ๒. ทวังคุลกัปปะ (ฉันอาหารเมื่อเงาเลยเวลาเที่ยงไป ๒ องคุลีได้) ๓. คามันตรกัปปะ (เข้าบ้านฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนได้) ๔. อาวาสกัปปะ (ทำอุโบสถแยกกันในอาวาสที่มีสีมาเดียวกันได้) ๕. อนุมติกัปปะ (ทำสังฆกรรม ในเมื่อภิกษุทั้งหลายยังมาไม่พร้อม แล้วขออนุมัติภายหลังได้) ๖. อาจิณณกัปปะ (ประพฤติตามแบบที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์เคย ประพฤติมาได้) ๗. อมถิตกัปปะ (ฉันนมสดที่แปรไปแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมเปรี้ยวได้) ๘. ชโลคิ (ดื่มสุราอ่อนๆ ได้) ๙. อทสกนิสีทนะ (ใช้ผ้ารองนั่งไม่มีชายได้) ๑๐. ชาตรูปรชตะ (รับทองรับเงินได้) ท่านพระสัพพกามีถามว่า “ท่านผู้เจริญ พระเถระศึกษาพระธรรมและวินัยไว้ เป็นอันมากจากพระอุปัชฌาย์ ท่านผู้เจริญ เมื่อพระเถระพิจารณาพระธรรมและวินัย อยู่ เห็นอย่างไรว่า ‘ภิกษุพวกไหนเป็นฝ่ายธรรมวาที คือ ภิกษุชาวปราจีนหรือชาว เมืองปาเฐยยะ” ท่านพระสัมภูตสาณวาสีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เมื่อผมพิจารณาพระธรรมและ วินัยอยู่ ก็เห็นอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายอธรรมวาที ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ เป็นฝ่ายธรรมวาที’ แต่ยังชี้ขาดไม่ได้ สงฆ์น่าจะแต่งตั้งผมเข้าวินิจฉัยอธิกรณ์นี้บ้าง” ท่านพระสัพพกามีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ เมื่อผมพิจารณาพระธรรมและวินัย อยู่ก็เห็นอย่างนั้นว่า ‘ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายอธรรมวาที ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ เป็นฝ่ายธรรมวาที’ แต่ยังชี้ขาดไม่ได้ สงฆ์น่าจะแต่งตั้งผมเข้าวินิจฉัยอธิกรณ์นี้บ้าง” @เชิงอรรถ : @ เขนง คือ เขาสัตว์, กลักหรือกระบอกเขาควายที่นิยมใช้บรรจุดินปืน หรือสิ่งของอื่น บางทีใช้เป่าบอก @อาณัติสัญญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๔๑๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๔๑๐-๔๑๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=7&siri=120              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=8045&Z=8073                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=648              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=648&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=648&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd22/en/brahmali#pli-tv-kd22:2.6.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd22/en/horner-brahmali#Kd.22.2.6



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :