ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

เรื่องทรงอนุญาตไม้แขวน
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายแขวนถุงไว้ที่เท้าเตียงบ้าง ที่เท้าตั่งบ้าง หนูบ้าง ปลวก บ้างกัดกิน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้เดือยติดฝา ไม้รูปงาช้าง”
เรื่องทรงอนุญาตราวจีวร
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บจีวรไว้บนเตียงบ้าง บนตั่งบ้าง จีวรเสียหาย ภิกษุ ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียงใน วิหาร” สมัยนั้น วิหารยังไม่มีระเบียง พักอาศัยไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตระเบียง เฉลียง ลับแล หน้ามุขมีหลังคา” ระเบียงโล่ง ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะนอน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแผงเลื่อนฝาค้ำ”
อุปัฏฐานสาลาอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตหอฉัน
เรื่องภิกษุฉันร่วมกันในกลางแจ้ง
[๓๐๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายฉันอาหารร่วมกันในกลางแจ้ง ต้องลำบากเพราะ ความหนาวบ้างเพราะความร้อนบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๐๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหอฉัน” หอฉันมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วมถึง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง” ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ก่อคันกั้นดิน ที่ถม ๓ ชนิด คือคันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้” ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้” เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด” ผงหญ้าตกเกลื่อนที่หอฉัน ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้ รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ ให้มี สียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียนลวด ลายดอกจอก ราวจีวร สายระเดียง” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายปูจีวรลงบนพื้นดินกลางแจ้ง จีวรเปื้อนฝุ่น ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียงไว้ กลางแจ้ง ฯลฯ น้ำดื่มถูกแดดจึงร้อน ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ศาลาน้ำดื่ม ปะรำน้ำดื่ม” ศาลาน้ำดื่มมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วมถึง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง” ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๐๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้” เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด” ผงหญ้าตกเกลื่อนที่ศาลาน้ำดื่ม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ ให้มีสียางไม้เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียนลวด ลายดอกจอก ราวจีวร สายระเดียง” ไม่มีภาชนะสำหรับตักน้ำ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตสังข์ตักน้ำ ขันน้ำ”
ปาการาทิอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตรั้วล้อมเป็นต้น
เรื่องวิหารไม่มีรั้วล้อม
[๓๐๒] สมัยนั้น วิหารยังไม่มีรั้วล้อม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมรั้ว ๓ ชนิด คือ รั้วอิฐ รั้วศิลา รั้วไม้”
เรื่องทรงอนุญาตซุ้มประตู
ซุ้มประตูไม่มี ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้ม ประตู” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๐๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

ซุ้มประตูมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วมถึง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง” ซุ้มประตูไม่มีบานประตู ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า รูครกที่รับเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม กลอน ช่องดาล ช่องสำหรับชัก เชือกสำหรับชัก” ผงหญ้าตกเกลื่อนที่ซุ้มประตู ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ ให้มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียน ลวดลายดอกจอก”
เรื่องทรงอนุญาตท่อระบายน้ำ
สมัยนั้น บริเวณเป็นโคลนตม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โรยกรวดแร่” กรวดแร่ไม่เต็ม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ ปูศิลาเรียบ” น้ำขัง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ”
เรื่องทรงอนุญาตศาลาไฟ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทำที่ตั้งเตาในที่ต่างๆ ทั่วบริเวณจึงสกปรก ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำศาลาไฟไว้ในที่สมควร ด้านหนึ่ง” โรงไฟมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วมถึง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้ถมพื้นให้สูง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๐๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้” ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้” เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด” โรงไฟไม่มีบานประตู ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต บานประตู กรอบเช็ดหน้า รูครกที่รับเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม กลอน ช่องดาล ช่องสำหรับชัก เชือกสำหรับชัก” ผงหญ้าตกเกลื่อนที่ศาลาไฟ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ ให้มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียน ลวดลายดอกจอก ราวจีวร สายระเดียง”
อารามปริกเขปอนุชานนะ
เรื่องทรงอนุญาตรั้วล้อมอาราม
[๓๐๓] สมัยนั้น อารามไม่มีรั้วล้อม แพะบ้าง ปศุสัตว์บ้างทำสิ่งที่ปลูกไว้เสียหาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรั้ว ๓ ชนิด คือ รั้วไม้ไผ่ รั้วหนาม คู” ซุ้มประตูไม่มี แพะและปศุสัตว์ก็ยังทำสิ่งที่ปลูกไว้เสียหายเหมือนเดิม ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๐๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตซุ้มประตู ไม้คร่าว บาน ประตูคู่ เสาระเนียด กลอนเหล็ก” ผงหญ้าตกเกลื่อนที่ซุ้มประตู ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ ให้มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียน ลวดลายดอกจอก” พื้นอารามลื่น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ โรยกรวดแร่” กรวดแร่ไม่เต็ม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ ปูศิลาเรียบ” น้ำขัง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ” สมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ มีพระราชประสงค์จะทรงสร้างปราสาท ฉาบปูนขาวถวายสงฆ์ เวลานั้นภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาค ทรงอนุญาตเครื่องมุงหรือไม่ได้ทรงอนุญาตไว้” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องมุง ๕ ชนิด คือ กระเบื้อง ศิลา ปูนขาว หญ้า ใบไม้”
ปฐมภาณวาร จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๑๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๐๕-๑๑๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=7&siri=31              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=1870&Z=1949                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=232              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=232&items=9              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=232&items=9                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/brahmali#pli-tv-kd16:3.5.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/horner-brahmali#Kd.16.3.5



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :