ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
รวมเรื่องที่มีในเสนาสนขันธกะ
เรื่องที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ได้ทรงบัญญัติเสนาสนะ พระสาวกของพระองค์อยู่ตามป่าและโคนไม้เป็นต้นนั้นๆ ตอนเช้าตรู่ออกมาจากที่อยู่ เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์เห็นแล้ว ได้กล่าวแก่ภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า ข้าพเจ้าจะให้สร้างวิหาร พระคุณเจ้าทั้งหลายจะอยู่หรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด คือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว ปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์สร้างวิหารถวาย ๖๐ หลัง เรื่องประชาชนสร้างวิหาร เรื่องวิหารไม่มีบานประตู ภิกษุไม่ระวัง งู แมงป่อง ตะขาบจึงเข้าไป เรื่องพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า รูครกที่รับเดือยประตู ห่วงข้างบน ช่องสำหรับชัก เชือกสำหรับชัก สายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม กลอน ลูกดาลโลหะ ลูกดาลไม้ ลูกดาลเขาสัตว์ ลิ่มยนต์ ทรงอนุญาตหลังคาโบกฉาบดินทั้งภายในภายนอก หน้าต่างมีลวดลายทำเป็นกะบัง(ชุกชี) หน้าต่างมีตาข่าย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๕๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ

หน้าต่างมีลูกกรง ผ้าผืนเล็กสำหรับกั้นหน้าต่าง ม่านหน้าต่าง ทรงอนุญาตหญ้ารองนั่ง ตั่งไม้ เตียงสาน เตียงชนิดมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้าที่ทิ้งไว้ในป่าช้า ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้า เตียงมีแม่แคร่ติดกับเท้า ตั่งมีแม่แคร่ติดกับเท้า เตียงมีเท้าดังก้ามปู ตั่งมีเท้าดังก้ามปู เตียงมีเท้าจดแม่แคร่ ตั่งมีเท้าจดแม่แคร่ ม้านั่งสี่เหลี่ยม ม้าสี่เหลี่ยมสูง ม้านั่งสี่เหลี่ยมสูงมีพนัก ๓ ด้าน ม้านั่งสี่เหลี่ยมมีพนัก ๓ ด้านชนิดสูง ทรงอนุญาตตั่งหวาย ตั่งหุ้มด้วยผ้า ตั่งขาทราย ตั่งก้านมะขามป้อม แผ่นกระดาน เก้าอี้ ตั่งฟาง เรื่องทรงห้ามนอนบนเตียงสูง เรื่องภิกษุนอนเตียงต่ำ ถูกงูกัดจึงทรงอนุญาตไม้หนุนเท้าเตียง พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไม้หนุนเท้าเตียงสูง ๘ นิ้ว เป็นอย่างมาก ทรงอนุญาตด้ายถักเตียง ทรงอนุญาตให้เจาะตัวแม่แคร่แล้ว ถักเป็นตาหมากรุก ทรงอนุญาตให้ทำท่อนผ้าผืนเล็กๆ เป็นผ้าปูพื้น ทรงอนุญาตให้สางนุ่นแล้วทำเป็นหมอน ทรงห้ามใช้หมอนยาวขนาดกึ่งกาย(หมอนข้าง) เรื่องมหรสพบนยอดเขา ทรงอนุญาตฟูก ๕ ชนิด ทรงอนุญาตผ้าสำหรับใช้สอยประจำเสนาสนะหุ้มฟูก ทรงอนุญาตเตียงหุ้มฟูกและตั่งหุ้มฟูก ฟูกย้อยลงข้างล่าง โจรลักเอาผ้าหุ้มฟูกไป ทรงอนุญาตให้เขียนแต้มไว้ ให้ทำตำหนิด้วยรอยนิ้วมือไว้ เรื่องที่อยู่พวกเดียรถีย์มีสีขาวแต่พื้นสีดำ พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตสีขาว สีดำ สีเหลืองในวิหาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๖๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ

ทรงอนุญาตดินปนแกลบ ดินละเอียด ยางไม้ แป้งเปียก ดินปนแกลบ แป้งเมล็ดพันธุ์ผักกาด ขี้ผึ้งเหลว แป้งหนาเกินไป ทรงอนุญาตให้ใช้ผ้าเช็ดออก พื้นหยาบ สีดำไม่เกาะติด ทรงอนุญาตให้ใส่ดินปนแกลบ ทำให้สีดำเกาะติด ทรงอนุญาตยางไม้ น้ำฝาด เรื่องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรม เรื่องวิหารมีพื้นที่ต่ำ เรื่องดินที่ถมพังทะลาย เรื่องภิกษุขึ้นลงลำบาก เรื่องภิกษุขึ้นลงพลัดตกลงมา เรื่องวิหารมีพื้นเป็นลานโล่ง ทรงอนุญาตกั้นฝาครึ่งหนึ่ง ทรงอนุญาตห้องภายใน ๓ ชนิด ทรงอนุญาตให้กั้นห้องไว้ด้านหนึ่งในวิหารเล็ก เรื่องเชิงฝาวิหารชำรุด ฝาผนังวิหารถูกฝนสาด เรื่องงูตกจากหลังคามุ่งหญ้าลงมาที่คอของภิกษุ ท่านตกใจร้องเสียงลั่น ทรงอนุญาตไม้เดือยติดฝา ราวจีวร ระเบียงกับแผงเลื่อนฝาค้ำ เรื่องทรงอนุญาตราวสำหรับยึดขึ้นหอฉัน ผงหญ้าที่มุงหอฉันดังกล่าวในหนหลังตกเกลื่อน ภิกษุปูจีวรบนพื้นดินกลางแจ้ง น้ำดื่มถูกแดดจึงร้อน ทรงอนุญาตศาลาน้ำดื่ม ไม่มีภาชนะสำหรับตักน้ำ เรื่องวิหารไม่มีรั้วล้อม ซุ้มประตูไม่มี บริเวณเป็นโคลนตม ทรงอนุญาตศาลาไฟ เรื่องอารามไม่มีรั้วล้อม ซุ้มประตูดังกล่าวในหนหลังไม่มี ทรงอนุญาตปูนขาว เรื่องอนาถบิณฑิกคหบดีมีศรัทธาไปป่าสีตวัน เห็นธรรมแล้ว กราบทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ไปจำพรรษา ณ กรุงสาวัตถี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๖๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ

ระหว่างทางท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้ชักชวนประชาชนสร้างอาราม พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตนวกรรมในกรุงเวสาลี เรื่องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ล่วงหน้ารีบไปจองเสนาสนะ เรื่องใครควรได้ภัตอันเลิศ ทรงแสดงติตติริยพรหมจรรย์ ทรงแสดงบุคคลที่ไม่ควรไหว้ ๑๐ จำพวก เรื่องพวกอันเตวาสิกของพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จับจองเสนาสนะ เรื่องประชาชนตกแต่งที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ในละแวกบ้าน ตกแต่งเตียงตั่งยัดนุ่น พระผู้มีพระภาคเสด็จกรุงสาวัตถี อนาถบิณฑิกคหบดีถวายอาราม เกิดเหตุการณ์วุ่นวายในโรงอาหาร พวกภิกษุฉัพพัคคีย์บังคับภิกษุเป็นไข้ให้ย้ายที่ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยึดเอาที่นอนดีๆ กีดกันอาสนะไว้โดยอ้างเลิศ พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ซ่อมแซมวิหารอยู่จำพรรษาในที่นั้น ภิกษุปรึกษากันว่าใครจะพึงจัดแจงให้ภิกษุถือเสนาสนะ ภิกษุเจ้าหน้าที่จัดแจงให้ถือเสนาสนะปรึกษากันว่า ควรให้ถือเสนาสนะอย่างไร พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้แจกตามจำนวนที่นอน ตามจำนวนวิหาร ตามจำนวนบริเวณ ทรงอนุญาตให้แจกส่วนเพิ่มอีก เมื่อไม่ปรารถนาก็อย่าให้ พวกภิกษุให้ภิกษุอยู่นอกสีมาถือเสนาสนะ พวกภิกษุหวงเสนาสนะไว้ตลอดเวลา ทรงแสดงการให้ถือเสนาสนะ ๓ อย่าง ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจองเสนาสนะ พระผู้มีพระภาคทรงพรรณนาคุณแห่งพระวินัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๖๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ

พวกภิกษุยืนเรียนพระวินัย ทรงอนุญาตให้นั่งบนอาสนะ เสมอกันเรียนพระวินัย ภิกษุหลายรูปนั่งบนอาสนะระดับเดียวกัน ทำให้เตียงหัก ทรงอนุญาตให้นั่งได้เตียงละ ๓ รูป ๒ รูป ทรงอนุญาตให้นั่งบนอาสนะยาวร่วมกับผู้มีอาสนะต่างระดับ ทรงอนุญาตให้ใช้สอยปราสาทมีระเบียง สมเด็จพระอัยยิกาของพระเจ้าปเสนทิโกศลทิวงคต เครื่องกัปปิยภัณฑ์เป็นจำนวนมากเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุจัดแจงเสนาสนะสงฆ์อยู่ไม่ไกลกรุงราชคฤห์ พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะอยู่ที่กีฏาคิรีชนบท แบ่งเสนาสนะสงฆ์ ภิกษุชาวเมืองอาฬวี ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงวางก้อนดิน ฉาบทาฝา ติดตั้งบานประตู ติดสายยู ติดตั้งกรอบเช็ดหน้า ทาสีขาว ทาสีดำ ทาสีเหลือง มุงหลังคา ผูกมัดหลังคา ติดไม้หลบหลังคา ปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดทรุดโทรม ขัดถู ให้นวกรรม ๒๐-๓๐ ปี ให้ในวิหารที่สร้างเสร็จแล้ว ชั่วเวลาควันไฟ พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุให้นวกรรมวิหารที่ยังไม่ได้สร้าง ที่สร้างค้างไว้ ให้ตรวจดูงานในวิหารเล็กแล้วให้นวกรรม ๕-๖ ปี ให้ตรวจดูงานในเรือนที่มุงแถบเดียว แล้วให้นวกรรม ๗-๘ ปี ให้ตรวจดูงาน ในวิหารหรือปราสาทใหญ่ แล้วให้นวกรรม ๑๐ ปี ๑๒ ปี ภิกษุให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง ภิกษุให้นวกรรม ๒ แห่ง แก่ภิกษุรูปเดียว ภิกษุรับนวกรรมแล้วมอบให้ภิกษุอื่น ภิกษุรับนวกรรมแล้วกีดกันเสนาสนะสงฆ์ไว้ ภิกษุให้นวกรรมแก่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๖๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ

ภิกษุรับเอานวกรรมแล้วหวงไว้ตลอดเวลา ภิกษุรับเอานวกรรมแล้วหลีกไป สึก มรณภาพ ปฏิญญาเป็นสามเณร ปฏิญญาเป็นผู้บอกคืนสิกขา ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ ปฏิญญาเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญญาเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญญาเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญญาเป็นคนลักเพศ ปฏิญญาเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญญาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญญาเป็นคนฆ่าบิดา ปฏิญญาเป็นคนฆ่ามารดา ปฏิญญาเป็นคนฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญญาเป็นผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิต ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก พึงมอบนวกรรมแก่ภิกษุอื่นด้วยสั่งว่า ท่านอย่าให้ของสงฆ์เสียหาย เมื่อยังไม่เสร็จควรมอบให้ภิกษุอื่น เมื่อทำเสร็จแล้วหลีกไป นวกรรมเป็นของภิกษุนั้นเอง ภิกษุสึก มรณภาพ ปฏิญญาเป็นสามเณร ลาสิกขา เป็นปาราชิก สงฆ์เป็นเจ้าของ ภิกษุวิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ถูกสงฆ์อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ เพราะไม่สละทิฏฐิบาป นวกรรมนั้นเป็นของภิกษุนั้นเอง ภิกษุปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์ เป็นคนลักเพศ เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญญาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญญาเป็นคนฆ่าบิดามารดา ปฏิญญาเป็นคนฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญญาเป็นคนประทุษร้ายภิกษุณี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๖๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ

ปฏิญญาเป็นคนทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิต เป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็นเจ้าของ เรื่องภิกษุนำเสนาสนะเครื่องใช้สอยประจำวิหารไปใช้ที่อื่น พวกภิกษุยำเกรงที่จะนำเสนาสนะไปใช้ในโรงอุโบสถ มหาวิหารของสงฆ์ชำรุด ทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยนผ้ากัมพล เพื่อประโยชน์แก่ผาติกรรม ทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยนผ้าราคาแพง เพื่อประโยชน์แก่ผาติกรรม ทรงอนุญาตให้ทำหนังหมี เป็นเครื่องเช็ดเท้า ทรงอนุญาตเครื่องเช็ดเท้าทรงกลม ทรงอนุญาตให้ทำผ้าท่อนน้อยเป็นผ้าเช็ดเท้า ภิกษุไม่ล้างเท้าเหยียบเสนาสนะ ภิกษุเท้าเปียก เหยียบเสนาสนะ ภิกษุสวมรองเท้าเหยียบเสนาสนะ ภิกษุถ่มน้ำลายบนพื้นที่ทำบริกรรม เท้าเตียงและเท้าตั่งครูดพื้น ภิกษุพิงฝาที่ทำบริกรรม พนักพิงครูดพื้น ภิกษุล้างเท้าแล้วยำเกรงที่จะนอน เรื่องประชาชนไม่สามารถจะจัดสังฆภัต พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ภัตตาหารเลวแก่ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้แต่งตั้งพระภัตตุทเทสก์ ภิกษุภัตตุทเทสก์ปรึกษากันว่า จะแจกภัตตาหารอย่างไร ทรงอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุเป็นเสนาสนปัญญาปกะ ภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง ภิกษุผู้รับจีวร ภิกษุผู้แจกจีวร ภิกษุผู้แจกข้าวต้ม ภิกษุผู้แจกผลไม้ ภิกษุผู้แจกของเคี้ยว ภิกษุผู้แจกของเล็กๆ น้อยๆ ภิกษุผู้แจกผ้า ภิกษุผู้แจกบาตร ภิกษุผู้ใช้คนวัด ภิกษุผู้ใช้สามเณร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๖๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ

พระผู้มีพระภาคผู้ทรงครอบงำสรรพธรรม ทรงรู้แจ้งโลก มีพระหทัยเกื้อกูล เป็นผู้นำยอดเยี่ยม ทรงอนุญาตเสนาสนะไว้เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพินิจ และเพื่อเห็นแจ้ง ดังนี้แล
เสนาสนขันธกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๖๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๕๙-๑๖๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=7&siri=46              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=2958&Z=3069                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=336              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=336&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=336&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/horner-brahmali#BD.5.249



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :