ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
เทวทัตตวัตถุ
ว่าด้วยเรื่องของพระเทวทัต
[๓๓๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อนุปิยนิคมตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางกรุงโกสัมพี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงโกสัมพี ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ในกรุงโกสัมพีนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๗๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

ครั้งนั้น พระเทวทัตหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นในใจว่า “เรา จะพึงยังใครหนอให้เลื่อมใส ซึ่งเมื่อเขาเลื่อมใสเราแล้ว ลาภสักการะเป็นอันมาก พึงเกิดขึ้น” ลำดับนั้น พระเทวทัตได้มีความคิดดังนี้ว่า “อชาตสัตตุกุมารนี้ยังเป็น หนุ่มจะมีความเจริญรุ่งเรืองต่อไป ถ้ากระไร เราพึงยังอชาตศัตรูกุมารนี้ให้เลื่อมใส เมื่อเขาเลื่อมใสแล้ว ลาภสักการะเป็นอันมากจะเกิดขึ้น” ลำดับนั้น พระเทวทัตเก็บเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรจาริกไปทางกรุงราชคฤห์ จนถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ครั้งนั้น พระเทวทัตได้แปลงเพศเนรมิตตนเป็นกุมาร น้อยเอางูพันเอวปรากฏบนพระเพลา(ตัก)ของอชาตศัตรูกุมาร ครั้งนั้น อชาตศัตรูกุมารทรงกลัว หวาดหวั่น สะดุ้ง ตกพระทัย พระเทวทัต จึงได้ถามดังนี้ว่า “กุมาร ท่านกลัวฉันหรือ” พระกุมารตรัสว่า “ใช่ เรากลัว ท่านเป็นใคร” พระเทวทัตตอบว่า “ฉันคือพระเทวทัต” พระกุมารตรัสว่า “ถ้าท่านเป็นพระคุณเจ้าเทวทัตก็กลับเป็นตามเพศเดิมเถิด” ครั้งนั้น พระเทวทัตเปลี่ยนเพศกุมารน้อย(กลับเป็นภิกษุ) ทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร ยืนอยู่ข้างหน้าพระกุมาร ลำดับนั้น พระกุมารเลื่อมใสยิ่งนักเพราะอิทธิ ปาฏิหาริย์นี้ ได้เสด็จไปที่อุปัฏฐากทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้า พร้อมด้วยรถ ๕๐๐ คัน ได้นำภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปด้วย ต่อมา พระเทวทัตถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ เกิดความต้อง การดังนี้ว่า “เราจะปกครองภิกษุสงฆ์” พระเทวทัตจึงเสื่อมจากฤทธิ์พร้อมกับเกิด ความคิดเช่นนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๗๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

เรื่องกกุธโกฬิยบุตร๑-
สมัยนั้น บุตรเจ้าโกฬิยะนามว่ากกุธะเป็นอุปัฏฐากของท่านพระมหาโมคคัลลานะ สิ้นชีพิตักษัยได้ไม่นาน เข้าถึงชั้นกายมโนมัย๒- ชั้นใดชั้นหนึ่ง เป็นผู้ได้อัตภาพใหญ่ เหมือนคามเขตในแคว้นมคธ ๒-๓ หมู่ แต่เขาก็ไม่ทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนเพราะ การได้อัตภาพนั้น ครั้งนั้น กกุธเทพบุตรได้เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ครั้นถึง แล้วไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้วยืน ณ ที่สมควร กกุธเทพบุตรผู้ยืนอยู่ ณ ที่ สมควรได้กล่าวกับท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ พระเทวทัตถูก ลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เราจะ ปกครองภิกษุสงฆ์’ ท่านผู้เจริญ พร้อมกับจิตตุปบาท พระเทวทัตจึงเสื่อมจากฤทธิ์” กกุธเทพบุตรครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ได้ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กระทำประทักษิณ แล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง ลำดับนั้น พระมหาโมคคัลลานะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น ถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า บุตรของเจ้า โกฬิยะนามว่ากกุธะเป็นอุปัฏฐากของข้าพระองค์ สิ้นชีพิตักษัยได้ไม่นาน เข้าถึงชั้น กายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เป็นผู้ได้อัตภาพใหญ่เหมือนคามเขตของแคว้นมคธ ๒-๓ หมู่ แต่เขาไม่ทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนเพราะการได้อัตภาพนั้น ต่อมา กกุธเทพบุตร เข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ไหว้แล้วยืน ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับข้าพระองค์ดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ พระเทวทัตถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ เกิดความ ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เราจะปกครองภิกษุสงฆ์’ พร้อมกับจิตตุปบาท พระเทวทัตจึง เสื่อมจากฤทธิ์’ พระพุทธเจ้าข้า กกุธเทพบุตรครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ไหว้ข้าพระองค์ กระทำประทักษิณ แล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง” @เชิงอรรถ : @ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๐๐/๑๗๐-๑๗๑ @ กายมโนมัย คือ กายแห่งพรหมที่บังเกิดด้วยฌาน (สารตฺถ. ฏีกา ๓/๓๓๓/๔๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๗๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “โมคคัลลานะ เธอกำหนดรู้จิตของกกุธเทพบุตร แล้วหรือว่า กกุธเทพบุตรกล่าวเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เรื่องนั้นทั้งหมดย่อมเป็นจริงตามนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น” ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า “ข้าพระองค์กำหนดรู้จิตของกกุธเทพบุตร ด้วยจิตแล้วเชื่อว่า กกุธเทพบุตรกล่าวเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เรื่องนั้นทั้งหมดย่อมเป็นจริง ตามนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมคคัลลานะ เธอจงรักษาวาจานั้น โมคคัลลานะ เธอจงรักษาวาจานั้น บัดนี้โมฆบุรุษนั้นจะเปิดเผยตนด้วยตนเองออกมา”
ปัญจสัตถุกถา
ว่าด้วยพระศาสดา ๕ จำพวก
[๓๓๔] โมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ ๑. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีศีลไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มี ศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวก รู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญา ว่าเราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้น ยกย่องพวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช บริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วยกรรมนั้น” โมคคัลลานะ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้โดยศีล และศาสดาเช่นนี้ก็หวัง การรักษาโดยศีลจากพวกสาวก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๗๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

๒. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เราเป็น ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ แต่ ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่ พอใจของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้นยกย่องพวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน ปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วย กรรมนั้น” โมคคัลลานะ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยอาชีพ ศาสดาเช่นนี้ก็ หวังการรักษาโดยอาชีพจากพวกสาวก ๓. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มี ธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าธรรมเทศนาของตนบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของตนบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวก เราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเรา จะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้นยกย่อง พวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วยกรรมนั้น” โมคคัลลานะ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยธรรมเทศนา ศาสดา เช่นนี้ก็หวังการรักษาโดยธรรมเทศนาจากพวกสาวก ๔. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีเวยยากรณะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เรา เป็นผู้มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้ มีเวยยากรณะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๗๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

เราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเรา จะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้นยกย่อง พวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมา ด้วยกรรมนั้น” โมคคัลลานะ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยเวยยากรณะ ศาสดา เช่นนี้ก็หวังการรักษาโดยเวยยากรณะจากพวกสาวก ๕. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เรา เป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” สาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มีญาณ- ทัสสนะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวก เราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเราจะ กล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้นยกย่อง พวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมา ด้วยกรรมนั้น” โมคคัลลานะ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยญาณทัสสนะ และศาสดา เช่นนี้ ก็หวังการรักษาโดยญาณทัสสนะจากพวกสาวก โมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก โมคคัลลานะ เรามีศีลบริสุทธิ์ จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของ เราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดยศีล และเราก็ ไม่หวังการรักษาโดยศีลจากพวกสาวก โมคคัลลานะ เรามีอาชีพบริสุทธิ์ ฯลฯ เรามีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ฯลฯ เรา มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ ฯลฯ เรามีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มี ญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวก สาวกไม่รักษาเราไว้โดยญาณทัสสนะ และเราก็ไม่หวังการรักษาโดยญาณทัสสนะ จาก พวกสาวก” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๗๘}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๑. ปฐมภาณวาร

เรื่องลาภสักการะย่อมฆ่าคนชั่ว
[๓๓๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงโกสัมพีตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จ จาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงราชคฤห์ ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระ เวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต ในกรุงราชคฤห์นั้น ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ภิกษุเหล่านั้นผู้นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อชาตศัตรูกุมารเสด็จ โดยราชรถ ๕๐๐ คัน ไปบำรุงพระเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า และรับสั่งให้นำ ภัตตาหารที่สมควรไปพระราชทาน ๕๐๐ สำรับ” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ายินดีลาภสักการะ และความสรรเสริญของเทวทัตเลย แม้อชาตศัตรูกุมารจักเสด็จโดยราชรถ ๕๐๐ คัน ไปบำรุงเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า และจักรับสั่งให้นำภัตตาหารที่สมควรไปพระ ราชทาน ๕๐๐ สำรับเพียงใด เทวทัตก็พึงหวังความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย เพียงนั้น หวังความเจริญไม่ได้๑- ภิกษุทั้งหลาย อชาตศัตรูกุมารจะไปบำรุงพระเทวทัตในเวลาเย็นเวลาเช้า พร้อม ด้วยราชรถ ๕๐๐ คัน จะนำภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปได้สักกี่วัน ภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมจากกุศลธรรมเป็นอันเทวทัตหวังได้ ความเจริญอย่าได้หวัง ลาภสักการะ และสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตก็เพื่อฆ่าตนเอง ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิด ขึ้นแก่เทวทัต เพื่อความเสื่อม เหมือนคนเอาดีหมีทาที่จมูกลูกสุนัขดุ ลูกสุนัขก็จะเพิ่ม ความดุยิ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความเสื่อม เหมือนต้นกล้วย ออกปลีเพื่อฆ่าตนเอง ออกปลีเพื่อความเสื่อม๒- @เชิงอรรถ : @ สํ.นิ. ๑๖/๑๘๕/๒๓๐-๒๓๑ @ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖๘/๑๑๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๗๙}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภทขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความเสื่อม เหมือนต้นไผ่ตกขุย เพื่อฆ่าตนเอง ตกขุยเพื่อความเสื่อม ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความเสื่อม เหมือนไม้อ้อตกขุย เพื่อฆ่าตนเอง ตกขุยเพื่อความเสื่อม ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความเสื่อม เหมือนแม่ม้า อัสดรตั้งครรภ์เพื่อฆ่าตนเอง ตั้งครรภ์เพื่อความเสื่อม พระผู้มีพระภาคครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถาประพันธ์ว่า “ผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ดอกอ้อฆ่าต้นอ้อ ลูกม้าอัสดรฆ่าแม่ม้า ฉันใด สักการะย่อมฆ่าคนชั่ว ฉันนั้น”๑-
ปฐมภาณวารที่ ๑ จบ
๒. ทุติยภาณวาร
ปกาสนียกัมมะ
ว่าด้วยสงฆ์ทำปกาสนียกรรมแก่พระเทวทัต
[๓๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคแวดล้อมด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับนั่งแสดง ธรรมแก่บริษัทซึ่งมีพระราชาประทับอยู่ด้วย ครั้งนั้น พระเทวทัตลุกจากอาสนะ ห่ม อุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วได้กราบทูลพระ @เชิงอรรถ : @ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๘๓/๒๕๔, สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๘๔/๒๘๕ และดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖๘/๑๑๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๘๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๗๓-๑๘๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=7&siri=48              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=3218&Z=3382                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=349              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=349&items=12              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=349&items=12                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd17/en/brahmali#pli-tv-kd17:2.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd17/en/horner-brahmali#Kd.17.2



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :