ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร
๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
หมวดว่าด้วยการระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์
[๔๕๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่ ควรระงับอธิกรณ์ พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๔๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่รู้อาบัติ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ ๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ ๑. รู้อาบัติ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๓. รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. รู้ความระงับอาบัติ ๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์ ๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์ ๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ ๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๔๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค

๓. รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. รู้ความระงับอธิกรณ์ ๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ ๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง ๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว ๕. เป็นอลัชชี อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. เป็นลัชชี อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ ๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง ๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว ๕. ได้ยินได้ฟังน้อย อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๔๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. เป็นพหูสูต อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน ๓. ไม่รู้พระบัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง ๕. ไม่รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ ๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน ๓. รู้พระบัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง ๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ ๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๔๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค

๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว ๕. ไม่ฉลาดในพระวินัย อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. ฉลาดในพระวินัย อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ ๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง ๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว ๕. หนักในบุคคล ไม่หนักในสงฆ์ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. หนักในสงฆ์ ไม่หนักในบุคคล อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๕๐}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ ๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง ๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว ๕. หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๕. หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์”
สงฆ์แตกกัน
[๔๕๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “สงฆ์แตกกันด้วยอาการเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๕ อย่าง อาการ ๕ อย่าง คือ ๑. กรรม ๒. อุทเทส ๓. ชี้แจง ๔. สวดประกาศ ๕. ให้จับสลาก อุบาลี สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๕ นี้แล” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๕๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค

สังฆราชี และสังฆเภท
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ที่เรียกว่า ‘สังฆราชี สังฆราชี’ ด้วยอาการเพียง ไรจึงเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท และก็ด้วยอาการเพียงไร เป็นทั้งสังฆราชี และสังฆเภท พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี อาคันตุกวัตรนั้นเราบัญญัติไว้แล้วสำหรับภิกษุ อาคันตุกะทั้งหลาย เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุอาคันตุกะ ทั้งหลายก็ยังไม่ประพฤติในอาคันตุกวัตร อุบาลี แม้อย่างนี้แลเป็นสังฆราชี แต่ไม่ เป็นสังฆเภท อุบาลี อาวาสิกวัตรนั้นเราบัญญัติไว้แล้วสำหรับภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาส ทั้งหลาย เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้อยู่ประจำใน อาวาสทั้งหลาย ก็ยังไม่ประพฤติในอาวาสิกวัตร อุบาลี แม้อย่างนี้แลเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท อุบาลี ภัตตัคควัตรนั้นเราบัญญัติไว้แล้วสำหรับภิกษุทั้งหลายตามลำดับผู้แก่กว่า ตามลำดับราตรี ตามสมควร คือ อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุนวกะทั้งหลายก็ยังพากัน กีดกันอาสนะในโรงภัตรสำหรับพระเถระเสีย อุบาลี แม้อย่างนี้แลเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท อุบาลี เสนาสนวัตรในเสนาสนะนั้นเราบัญญัติไว้แล้วสำหรับภิกษุทั้งหลายตาม ลำดับผู้แก่กว่า ตามลำดับราตรี ตามสมควร เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อย อย่างนี้แล้ว ภิกษุนวกะทั้งหลายก็ยังพากันกีดกันเสนาสนะสำหรับพระเถระเสีย อุบาลี แม้อย่างนี้แลเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท อุบาลี อุโบสถอย่างเดียวกัน ปวารณาอย่างเดียวกัน สังฆกรรมอย่างเดียวกัน กรรมน้อยใหญ่อย่างเดียวกัน ภายในสีมานั้น เราบัญญัติไว้แล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายทำความแตกแยก กันแล้ว แบ่งเป็นกลุ่มแยกกันทำอุโบสถ แยกกันทำปวารณา แยกกันทำสังฆกรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๕๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๑๑. สังฆเภทกวรรค

แยกกันทำกรรมใหญ่น้อย ภายในสีมานั้นเอง อุบาลี แม้อย่างนี้แลเป็นทั้งสังฆราชี และสังฆเภท”
อธิกรณวูปสมวรรคที่ ๑๐ จบ
หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุรู้อาบัติ อธิกรณ์ ภิกษุลำเอียงเพราะชอบ ภิกษุได้ยินได้ฟังน้อย ภิกษุไม่รู้วัตถุ ไม่ฉลาด ภิกษุไม่หนักในบุคคล ภิกษุไม่หนักในอามิส สงฆ์แตกกัน สังฆราชี และสังฆเภท


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๖๔๖-๖๕๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=8&siri=115              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=11943&Z=12113                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1211              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1211&items=4              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1211&items=4                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/brahmali#pli-tv-pvr17:186.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/horner-brahmali#Prv.17.10



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :