บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์ คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในปาฏิเทสนียกัณฑ์ ๑. ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท [๑๔๖] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุผู้รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนจากมือ ของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติผู้เข้าไปในละแวกบ้านแล้วฉัน ณ ที่ไหน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๙๖}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]
๑. กัตถปัญญัตติวาร ๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งรับอามิสจากมือ ของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติผู้เข้าไป สู่ละแวกบ้าน ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ๒. ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท [๑๔๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุผู้ไม่ห้ามภิกษุณีมายืนบงการ (ทายก)ฉันอยู่ ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์ ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ห้ามภิกษุณีผู้มายืนบงการ ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่ เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ๓. ตติยปาฏิเทสนียสิกขาบท [๑๔๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุผู้รับของเคี้ยวหรือของฉันใน ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ด้วยมือตนเองแล้วฉัน ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๙๗}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]
๑. กัตถปัญญัตติวาร ๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในปาฏิเทสนียกัณฑ์
ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรับภัตตาหารโดยไม่รู้จักประมาณ ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๒ พระอนุบัญญัติ บรรดา สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทาง กาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ๔. จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท [๑๔๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุผู้รับของเคี้ยวหรือของฉันที่ ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อนด้วยมือตนเองในอารามในเสนาสนะป่าแล้วฉัน ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ แคว้นสักกะ ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปไม่บอกว่าโจรอาศัยอยู่ในอาราม ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทาง กายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท จบ รวมสิกขาบทที่มีในปาฏิเทสนียกัณฑ์ ๑. ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันจากมือ ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ๒. ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๙๘}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]
๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๑. ปริมันฑลวรรค
๓. ตติยปาฏิเทสนียสิกขาบท ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันในที่ที่ไม่ได้รับ นิมนต์ไว้ก่อน ๔. จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันจากทายก ที่ไม่ได้แจ้งไว้ก่อน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้วเนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๙๖-๙๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=8&siri=16 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=1723&Z=1772 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=162 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=162&items=5 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=162&items=5 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.1/en/brahmali#pli-tv-pvr1.1:232.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.1/en/horner-brahmali#Prv.1.1:Bu-Pd.1
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]