ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๓. วิปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์

๓. วิปัตติวาร
วาระว่าด้วยเป็นวิบัติ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบวิบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๘๒] ถาม : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัด เป็นวิบัติเท่าไร ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง๑- จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
ฯลฯ
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบวิบัติในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย ลงในน้ำ บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร @เชิงอรรถ : @ วิบัติ ในที่นี้หมายเอาวิบัติ ๔ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ (๓) ทิฏฐิวิบัติ (๔) อาชีววิบัติ @(ดูข้อ ๓๒๔ หน้า ๔๕๕ ในเล่มนี้) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๖๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๔. สังคหิตวาร ๗. เสขิยกัณฑ์

ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย ลงในน้ำ บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ อาจารวิบัติ
วิปัตติวารที่ ๓ จบ
๔. สังคหิตวาร
วาระว่าด้วยจัดเข้ากองอาบัติ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจัดกองอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๘๓] ถาม : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากอง อาบัติ ๓ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กอง อาบัติทุกกฏ
ฯลฯ
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจัดกองอาบัติเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย ลงในน้ำ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๖๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๕. สมุฏฐานวาร ๗. เสขิยกัณฑ์

ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย ลงในน้ำ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๑ กอง คือ กองอาบัติทุกกฏ
สังคหิตวารที่ ๔ จบ
๕. สมุฏฐานวาร
วาระว่าด้วยสมุฏฐาน
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมุฏฐานอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๘๔] ถาม : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมุฏฐานอาบัติในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย ลงในน้ำ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๖๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๖. อธิกรณวาร ๗. เสขิยกัณฑ์

ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย ลงในน้ำ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
สมุฏฐานวารที่ ๕ จบ
๖. อธิกรณวาร
วาระว่าด้วยจัดเป็นอธิกรณ์
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบอธิกรณ์ในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๘๕] ถาม : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็น อาปัตตาธิกรณ์
ฯลฯ
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบอธิกรณ์ในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย ลงในน้ำ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๗๐}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๗. สมถวาร ๗. เสขิยกัณฑ์

ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลง ในน้ำ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
อธิกรณวารที่ ๖ จบ
๗. สมถวาร
วาระว่าด้วยการระงับด้วยสมถะ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมถะในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๘๖] ถาม : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วย สมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับ ติณวัตถารกะ
ฯลฯ
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมถะในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย ลงในน้ำ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๗๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๘. สมุจจยวาร ๗. เสขิยกัณฑ์

ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย ลงในน้ำ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
สมถวารที่ ๗ จบ
๘. สมุจจยวาร
วาระว่าด้วยการสรุปรวม
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสรุปรวมอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๘๗] ถาม : ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติเท่าไร ตอบ : ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. เสพเมถุนธรรมในซากศพที่ยังไม่ถูกสัตว์กัดกิน ต้องอาบัติปาราชิก ๒. เสพเมถุนธรรมในซากศพที่ถูกสัตว์กัดกินโดยมาก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. สอดองคชาตเข้าไปในปากที่อ้า แต่มิได้ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติ ๓ อย่างนี้ ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากอง อาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๗๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๘. สมุจจยวาร ๗. เสขิยกัณฑ์

บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๓ กอง คือ (๑) กองอาบัติ ปาราชิก (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายและทางจิต มิใช่เกิดทางวาจา บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
ฯลฯ
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสรุปรวมอาบัติในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ต้อง อาบัติเท่าไร ตอบ : ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ต้อง อาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ต้องอาบัติ ๑ อย่างนี้ ถาม : อาบัตินั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๗๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๘. สมุจจยวาร รวมวาระแรกที่มีในภิกขุวิภังค์ ๘ วาระคือ

ด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : อาบัตินั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ อาจารวิบัติ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๑ กอง คือ กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
สมุจจยวารที่ ๘ จบ
๘ วาระนี้พระธรรมสังคีติกาจารย์เขียนไว้สำหรับสวดเท่านั้น
รวมวาระแรกที่มีในภิกขุวิภังค์ ๘ วาระ คือ
๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. กตาปัญญัตติวาร ๓. วิปัตติวาร ๔. สังคหิตวาร ๕. สมุฏฐานวาร ๖. อธิกรณวาร ๗. สมถวาร ๘. สมุจจยวาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๑๗๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๑๖๗-๑๗๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=8&siri=30              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=3085&Z=3179                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=462              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=462&items=7              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=462&items=7                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.3/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.4/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.5/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.6/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.7/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.8/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.3/en/horner-brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.4/en/horner-brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.5/en/horner-brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.6/en/horner-brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.7/en/horner-brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.8/en/horner-brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :