ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์

๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
จำนวนอาบัติในสังฆาทิเสสกัณฑ์
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑
[๒๒๙] ภิกษุณีผู้ก่อคดีพิพาท ก่อคดีขึ้น ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. บอกเรื่องของคนหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. บอกเรื่องของคนที่สอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. เมื่อศาลตัดสินแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒
ภิกษุณีบวชให้สตรีผู้เป็นโจร ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓
ภิกษุณีผู้เข้าไปสู่ละแวกหมู่บ้านรูปเดียว ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. กำลังเดินไป ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. ย่างเท้าก้าวที่ ๑ เข้าสู่บริเวณรั้ว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. ย่างเท้าก้าวที่ ๒ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔
ภิกษุณีเรียกภิกษุณีที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรมโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ให้กลับเข้าหมู่ โดยไม่บอกการกสงฆ์๑- ไม่รู้ฉันทะของคณะ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ @เชิงอรรถ : @ การกสงฆ์ หมายถึงสงฆ์หมู่หนึ่งผู้ดำเนินการในกิจสำคัญ เช่น การสังคายนาหรือสังฆกรรมต่างๆ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๒๘๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์

๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕
ภิกษุณีกำหนัด รับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือชายผู้กำหนัดด้วยมือของตนแล้ว ฉัน ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. รับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยวจะฉัน” ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒. ฉัน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำกลืน ๓. รับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖
ภิกษุณีส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “แม่เจ้า ชายผู้นี้จะกำหนัดหรือไม่กำหนัดก็ตาม ก็ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่กำหนัด นิมนต์เถิดแม่เจ้า ชายผู้นี้จะถวายสิ่งใดจะ เป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตามแก่ท่าน ท่านจงรับประเคนของนั้นด้วยมือของตนแล้ว เคี้ยวหรือฉันเถิด” ดังนี้ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. รับประเคนตามคำของภิกษุณีนั้นด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยวจะฉัน” ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒. ฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทุกๆ คำกลืน ๓. ฉันเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗
ภิกษุณีผู้โกรธ ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๒๘๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์]

๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์

๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘
ภิกษุณีผู้ถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์เรื่องหนึ่ง โกรธ ไม่ยอมสละกรรม จน กระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙
ภิกษุณีผู้อยู่คลุกคลีกัน ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุณีผู้ส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “น้องหญิงทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่เลย” ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ ๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สังฆาทิเสส ๑๐ สิกขาบท จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๒๘๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๒๘๓-๒๘๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=8&siri=50              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=5100&Z=5136                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=653              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=653&items=10              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=653&items=10                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr2.2/en/brahmali#pli-tv-pvr2.2:6.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr2.2/en/horner-brahmali#Prv.2.2:Bi-Ss.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :