บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ ๑- [๒๗๒] ในหัวข้อเหล่านั้น มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ ประการ คือ @เชิงอรรถ : @๑ วิ.จู. (แปล) ๖/๒๑๖/๓๓๒-๓๓๔, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๓๖/๔๘๔-๔๘๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๖๔}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]
กติปุจฉาวาร
ภิกษุในธรรมวินัย ๑. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุนั้น ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อวิวาทให้เกิดขึ้นใน สงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณา เห็นมูล เหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงพยายาม เพื่อละมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ที่เป็นบาปภายในหรือภายนอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือ ภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น แลยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และ มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป ๒. เป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ ๓. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่ ฯลฯ ๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมายา ฯลฯ ๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่วเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๖. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนถือมั่นได้ยาก ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใด เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มี ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๖๕}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]
กติปุจฉาวาร
ฯลฯ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อวิวาท ให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็น มูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ทั้งภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึง พยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ที่เป็นบาปภายในหรือภายนอก นั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายใน หรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งวิวาทที่ เป็นบาปนั้นแลยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไปมูลเหตุแห่งการโจท ๖ [๒๗๓] ในหัวข้อเหล่านั้น มูลเหตุแห่งการโจท ๖ ประการ คือ ภิกษุในธรรมวินัย ๑. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุนั้น ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มี ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อการโจทให้เกิดขึ้น ในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่ มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณา เห็นมูลเหตุแห่งการโจทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึง พยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งการโจทเช่นนี้ที่เป็นบาปภายในหรือภาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๖๖}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]
กติปุจฉาวาร
นอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการโจท เช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุ แห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแลยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งการโจท ที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งการโจท ที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป ๒. เป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ ๓. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่ ฯลฯ ๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมายา ฯลฯ ๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่วเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๖. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนถือมั่นได้ยาก ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใด เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละ สิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้ บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในพระศาสดา ฯลฯ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อการโจท ให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุข แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อ ทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลาย พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการโจทเช่นนี้ ทั้งภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลาย พึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแล ทั้งภายในหรือภายนอกนั้น ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุ แห่งการโจทเช่นนี้ ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติ เพื่อ ให้มูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป การละ มูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งการโจท ที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป ภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุแห่งการโจท ๖ ประการนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๖๗}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]
กติปุจฉาวาร
สาราณียธรรม ๖ ประการ๑- [๒๗๔] ในหัวข้อเหล่านั้น สาราณียธรรม ๖ ประการ คือ ภิกษุในธรรมวินัย ๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ฯลฯ ๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยกลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดย ธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับพรหมจารีทั้ง หลาย ผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้ เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๕. มีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิเสมอกันกับเพื่อน พรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๖. มีอริยทิฏฐิ อันเป็นธรรมเครื่องนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ @เชิงอรรถ : @๑ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๒๔/๓๒๑-๓๒๒, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๑๒/๔๒๗-๔๒๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๖๘}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]
กติปุจฉาวาร
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน สาราณียธรรม ๖ ประการนี้แลสังฆเภท ๑๘ ประการ๑- [๒๗๕] ในหัวข้อเหล่านั้น เรื่องทำความแตกร้าวกัน ๑๘ ประการ เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. แสดงอธรรมว่า เป็นธรรม ๒. แสดงธรรมว่า เป็นอธรรม ๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า เป็นวินัย ๔. แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย ๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ ๖. แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ๗. แสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคต ได้ทรงประพฤติมา ๘. แสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตไม่ได้ ทรงประพฤติมา ๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตได้ทรงบัญญัติไว้ ๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ @เชิงอรรถ : @๑ วิ.ม. (แปล) ๕/๔๖๘/๓๖๒-๓๖๓, วิ.จู. (แปล) ๗/๓๕๒/๒๑๔-๒๑๕, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๓๘/๘๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๖๙}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]
กติปุจฉาวาร
๑๑. แสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ ๑๒. แสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ ๑๓. แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก ๑๔. แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา ๑๕. แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ๑๖. แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ ๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้คือ เรื่องทำความแตกร้าวกัน ๑๘ ประการอธิกรณ์ ๔ ในหัวข้อเหล่านั้น อธิกรณ์ ๔ เป็นไฉน คือ ๑. วิวาทาธิกรณ์ ๒. อนุวาทาธิกรณ์ ๓. อาปัตตาธิกรณ์ ๔. กิจจาธิกรณ์ นี้คืออธิกรณ์ ๔ อย่างสมถะ ๗ ในหัวข้อเหล่านั้น สมถะ ๗ เป็นไฉน คือ ๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย ๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ ๕. เยภุยยสิกา ๖. ตัสสปาปิยสิกา ๗. ติณวัตถารกะ นี้คือสมถะ ๗ อย่างกติปุจฉาวาร จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๗๐}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล]
๑. ฉอาปัตติสมุฏฐานวาร
หัวข้อประจำวาร อาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ และอาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ อีกอย่างละ ๗ ความไม่เคารพ ความเคารพ วินีตวัตถุอีก ๗ วิบัติ สมุฏฐานแห่งอาบัติ มูลแห่งการวิวาทและการโจท สาราณียธรรม สังฆเภท อธิกรณ์ และสมถะ ๗ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว รวมเป็น ๑๗ บทเนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๓๖๔-๓๗๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=8&siri=62 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=6182&Z=6373 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=854 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=854&items=7 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=854&items=7 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr4/en/brahmali#pli-tv-pvr4:14.1 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr4/en/horner-brahmali#Prv.4.1.13
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]