บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท]
๖. อธิกรณปริยายวาร
สมถเภท ว่าด้วยประเภทแห่งสมถะ ๖. อธิกรณปริยายวาร วาระว่าด้วยการอธิบายอธิกรณ์ [๒๙๒] วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า มีฐานเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร มีเหตุเท่าไร มีมูลเท่าไร ภิกษุวิวาทกันด้วยอาการเท่าไร วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วย สมถะเท่าไร อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า มีฐานเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร มีเหตุ เท่าไร มีมูลเท่าไร ภิกษุโจทด้วยอาการเท่าไร อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า มีฐานเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร มีเหตุ เท่าไร มีมูลเท่าไร ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการเท่าไร อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ เท่าไร กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า มีฐานเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร มีเหตุ เท่าไร มีมูลเท่าไร กิจเกิดด้วยอาการเท่าไร กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร [๒๙๓] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า ตอบ : มีความโลภเป็นหัวหน้า มีความโกรธเป็นหัวหน้า มีความหลงเป็นหัวหน้า มีความไม่โลภเป็นหัวหน้า มีความไม่โกรธเป็นหัวหน้า มีความไม่หลงเป็นหัวหน้า ถาม : มีฐานเท่าไร ตอบ : มีฐาน คือ เรื่องทำความแตกร้าว ๑๘ ประการ ถาม : มีวัตถุเท่าไร ตอบ : มีวัตถุ คือ เรื่องทำความแตกร้าว ๑๘ ประการ ถาม : มีภูมิเท่าไร ตอบ : มีภูมิ คือ เรื่องทำความแตกร้าว ๑๘ ประการ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๙๒}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท]
๖. อธิกรณปริยายวาร
ถาม : มีเหตุเท่าไร ตอบ : มีเหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ ถาม : มีมูลเท่าไร ตอบ : มีมูล ๑๒ ถาม : ภิกษุวิวาทกันด้วยอาการเท่าไร ตอบ : ภิกษุวิวาทกันด้วยอาการ ๒ คือ (๑) เห็นว่าเป็นธรรม (๒) เห็นว่า เป็นอธรรม ถาม : วิวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) เยภุยยสิกา [๒๙๔] ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า ตอบ : มีความโลภเป็นหัวหน้า มีความโกรธเป็นหัวหน้า มีความหลงเป็นหัวหน้า มีความไม่โลภเป็นหัวหน้า มีความไม่โกรธเป็นหัวหน้า มีความไม่หลงเป็นหัวหน้า ถาม : มีฐานเท่าไร ตอบ : มีฐาน คือ วิบัติ ๔ ถาม : มีวัตถุเท่าไร ตอบ : มีวัตถุ คือ วิบัติ ๔ ถาม : มีภูมิเท่าไร ตอบ : มีภูมิ คือ วิบัติ ๔ ถาม : มีเหตุเท่าไร ตอบ : มีเหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ ถาม : มีมูลเท่าไร ตอบ : มีมูล ๑๔ ถาม : ภิกษุโจทกันด้วยอาการเท่าไร ตอบ : ภิกษุโจทด้วยอาการ ๒ คือ (๑) วัตถุ (๒) อาบัติ ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๙๓}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท]
๖. อธิกรณปริยายวาร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) สติวินัย (๓) อมูฬหวินัย (๔) ตัสสปาปิยสิกา [๒๙๕] ถาม : อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า ตอบ : มีความโลภเป็นหัวหน้า มีความโกรธเป็นหัวหน้า มีความหลงเป็นหัวหน้า มีความไม่โลภเป็นหัวหน้า มีความไม่โกรธเป็นหัวหน้า มีความไม่หลงเป็นหัวหน้า ถาม : มีฐานเท่าไร ตอบ : มีฐาน คือ กองอาบัติ ๗ กอง ถาม : มีวัตถุเท่าไร ตอบ : มีวัตถุ คือ กองอาบัติ ๗ กอง ถาม : มีภูมิเท่าไร ตอบ : มีภูมิ คือ กองอาบัติ ๗ กอง ถาม : มีเหตุเท่าไร ตอบ : มีเหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ ถาม : มีมูลเท่าไร ตอบ : มีมูล คือ สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน ถาม : ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการเท่าไร ตอบ : ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๖ คือ (๑) ไม่ละอาย (๒) ไม่รู้ (๓) สงสัย แล้วขืนทำ (๔) สำคัญในของไม่สมควรว่าสมควร (๕) สำคัญในของสมควรว่าไม่สมควร (๖) ลืมสติ ถาม : อาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : อาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ [๒๙๖] ถาม : กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๙๔}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท]
๖. อธิกรณปริยายวาร
ตอบ : มีความโลภเป็นหัวหน้า มีความโกรธเป็นหัวหน้า มีความหลงเป็นหัวหน้า มีความไม่โลภเป็นหัวหน้า มีความไม่โกรธเป็นหัวหน้า มีความไม่หลงเป็นหัวหน้า ถาม : มีฐานเท่าไร ตอบ : มีฐาน คือ กรรม ๔ ถาม : มีวัตถุเท่าไร ตอบ : มีวัตถุ คือ กรรม ๔ ถาม : มีภูมิเท่าไร ตอบ : มีภูมิ คือ กรรม ๔ ถาม : มีเหตุเท่าไร ตอบ : มีเหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ ถาม : มีมูลเท่าไร ตอบ : มีมูล ๑ คือ สงฆ์ ถาม : กิจเกิดด้วยอาการเท่าไร ตอบ : กิจเกิดด้วยอาการ ๒ คือ (๑) ญัตติ (๒) อปโลกน์ ถาม : กิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร ตอบ : กิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ สัมมุขาวินัย ถาม : สมถะ มีเท่าไร ตอบ : สมถะมี ๗ คือ ๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย ๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ ๕. เยภุยยสิกา ๖. ตัสสปาปิยสิกา ๗. ติณวัตถารกะ สมถะมี ๗ เหล่านี้ สมถะ ๗ เหล่านี้ เป็นสมถะ ๑๐ ก็มี สมถะ ๑๐ เป็นสมถะ ๗ ก็มี มีโดย อ้อมด้วยอำนาจวัตถุ ถาม : พึงเป็นได้อย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๙๕}
พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท]
๗. สาธารณวาร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์มีสมถะ ๒ อนุวาทาธิกรณ์มีสมถะ ๔ อาปัตตาธิกรณ์ มีสมถะ ๓ กิจจาธิกรณ์มีสมถะ ๑ อย่างนี้ สมถะ ๗ เหล่านี้ เป็นสมถะ ๑๐ สมถะ ๑๐ จึงเป็นสมถะ ๗ โดยอ้อมด้วยอำนาจวัตถุอธิกรณปริยายวารที่ ๖ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๓๙๒-๓๙๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=8&siri=68 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=6749&Z=6840 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=884 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=884&items=6 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=884&items=6 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr5/en/brahmali# https://suttacentral.net/pli-tv-pvr5/en/horner-brahmali
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]