ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร
๓. โอวาทวรรค
๑. โอวาทสิกขาบท
[๗๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ไม่ได้รับแต่งตั้ง สั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. โอวาทวรรค

ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ได้รับแต่งตั้งสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ถาม : ในโอวาทสิกขาบทนั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติและอนุปปันนบัญญัติ อยู่หรือ ตอบ : ในโอวาทสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ ไม่มี อนุปปันนบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่ เกิดทางกาย ฯลฯ
๒. อัตถังคตสิกขาบท
[๗๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ยังสั่งสอน ภิกษุณีทั้งหลายอยู่ ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภท่านพระจูฬปันถก ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระจูฬปันถกเมื่อดวงอาทิตย์อัสดงแล้วยังสั่งสอนภิกษุณี ทั้งหลายอยู่ ในอัตถังคตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นปทโสธัมมสมุฏฐาน ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. โอวาทวรรค

๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท
[๗๖] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอน ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ แคว้นสักกะ ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอน ภิกษุณีทั้งหลาย ในภิกขุนูปัสสยสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐิน สมุฏฐาน ฯลฯ
๔. อามิสสิกขาบท
[๗๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้กล่าวว่า “ภิกษุ(ผู้เถระ)ทั้งหลาย สั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายเพราะเห็นแก่อามิส ณ ที่ไหน” ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “ภิกษุ(ผู้เถระ)ทั้งหลายสั่งสอน ภิกษุณีทั้งหลายเพราะเห็นแก่อามิส” ในอามิสสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. โอวาทวรรค

๕. จีวรทานสิกขาบท
[๗๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งได้ให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ในจีวรทานสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๖. จีวรสิพพนสิกขาบท
[๗๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เย็บจีวรให้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีเย็บจีวรให้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ในจีวรสิพพนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๗. สังวิธานสิกขาบท
[๘๐] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับ ภิกษุณี ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๐}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. โอวาทวรรค

ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณี ในสังวิธานสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๔) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
๘. นาวาภิรูหนสิกขาบท
[๘๑] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกัน ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกัน ในนาวาภิรูหนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน ฯลฯ
๙. ปริปาจิตสิกขาบท
[๘๒] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำ ให้จัดเตรียม ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในโอวาทวรรค

ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภพระเทวทัต ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเทวทัตรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม ในปริปาจิตสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท
[๘๓] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นั่งในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสอง ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีนั่งในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสอง ในรโหนิสัชชสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
โอวาทวรรคที่ ๓ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในโอวาทวรรค
๑. โอวาทสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณี ๒. อัตถังคตสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีในเวลาที่ดวงอาทิตย์ อัสดงแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. โภชนวรรค

๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท ว่าด้วยการไปสั่งสอนภิกษุณีถึงที่สำนัก ๔. อามิสสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส ๕. จีวรทานสิกขาบท ว่าด้วยการถวายจีวร ๖. จีวรสิพพนสิกขาบท ว่าด้วยการเย็บจีวรให้ภิกษุณี ๗. สังวิธานสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนเดินทางร่วมกัน ๘. นาวาภิรูหนสิกขาบท ว่าด้วยการโดยสารเรือลำเดียวกัน ๙. ปริปาจิตสิกขาบท ว่าด้วยการฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม ๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๕๗-๖๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=8&siri=9              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=1003&Z=1100                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=82              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=82&items=11              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=82&items=11                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.1/en/brahmali#pli-tv-pvr1.1:141.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr1.1/en/horner-brahmali#Prv.1.1:Bu-Pc.21



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :