บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๔. โสณทัณฑสูตร]
เรื่องพราหมณ์และคหบดีชาวกรุงจัมปา
๔. โสณทัณฑสูตร ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโสณทัณฑะ เรื่องพราหมณ์และคหบดีชาวกรุงจัมปา [๓๐๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นอังคะพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงกรุงจัมปา ประทับอยู่ใกล้สระโบกขรณีคัคครา สมัยนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะปกครองกรุงจัมปา ซึ่งมีประชากรและสัตว์เลี้ยง มากมาย มีพืชพันธุ์ธัญญาหารและน้ำหญ้าอุดมสมบูรณ์ เป็นพระราชทรัพย์ที่พระ เจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธพระราชทานปูนบำเหน็จให้เป็นพรหมไทย (ส่วนพิเศษ) [๓๐๑] พราหมณ์และคหบดีชาวกรุงจัมปาได้ฟังข่าวว่า ท่านพระสมณโคดม เป็นศากยบุตรเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นอังคะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงกรุงจัมปาโดยลำดับ ประทับอยู่ใกล้สระโบกขรณีคัคคราในกรุงจัมปา ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อัน งามขจรไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ด้วย พระองค์เองแล้วทรงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มี ความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้ เป็นความดีอย่างแท้จริง ต่อมา พราหมณ์และคหบดีชาวกรุงจัมปา ออกจากกรุงจัมปาเดินรวมกันเป็น หมู่ไปยังสระโบกขรณีคัคครา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๑๑}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๔. โสณทัณฑสูตร]
ความเป็นผู้ดีของพราหมณ์โสณทัณฑะ
[๓๐๒] สมัยนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะพักผ่อนกลางวันอยู่ ณ ปราสาทชั้น บน มองเห็นพราหมณ์และคหบดีชาวกรุงจัมปาซึ่งล้วนออกจากกรุงจัมปาเดินรวม กันเป็นหมู่ไปยังสระโบกขรณีคัคครา จึงเรียกอำมาตย์ที่ปรึกษามาถามว่า พ่อ อำมาตย์ พราหมณ์และคหบดีชาวกรุงจัมปา ออกจากกรุงจัมปาเดินรวมกันเป็นหมู่ ไปยังสระโบกขรณีคัคคราทำไมกัน อำมาตย์ที่ปรึกษาตอบว่า ท่านขอรับ พระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จ ออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นอังคะพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงกรุงจัมปาโดยลำดับ ประทับอยู่ใกล้สระโบกขรณี คัคคราในกรุงจัมปา ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะ เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้ อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น พระผู้มีพระภาค คนเหล่านั้นพากันไปเข้าเฝ้าท่านพระโคดมนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะกล่าวว่า พ่ออำมาตย์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงไปหาพวก พราหมณ์และคหบดีชาวกรุงจัมปา ครั้นแล้วจงบอกอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ พราหมณ์ โสณทัณฑะพูดว่า ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงรอก่อน พราหมณ์โสณทัณฑะจะไป เข้าเฝ้าพระสมณโคดมด้วย อำมาตย์ที่ปรึกษารับคำของพราหมณ์โสณทัณฑะแล้ว เข้าไปหาพวกพราหมณ์ และคหบดีชาวกรุงจัมปา ครั้นแล้วก็บอกว่า ท่านขอรับ พราหมณ์โสณทัณฑะ พูดว่า ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงรอก่อน พราหมณ์โสณทัณฑะจะไปเข้าเฝ้าพระ สมณโคดมด้วยความเป็นผู้ดีของพราหมณ์โสณทัณฑะ [๓๐๓] เวลานั้น พราหมณ์ต่างถิ่น ๕๐๐ คน มีธุระเดินทางมาพักอยู่ใน กรุงจัมปา พอได้ฟังว่า พราหมณ์โสณทัณฑะจักไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดมด้วย จึงพา กันเข้าไปหาพราหมณ์โสณทัณฑะแล้วถามว่า ท่านโสณทัณฑะจักไปเข้าเฝ้า พระสมณโคดมจริงหรือ พราหมณ์โสณทัณฑะตอบว่า ใช่ เราคิดจะไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๑๒}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๔. โสณทัณฑสูตร]
ความเป็นผู้ดีของพราหมณ์โสณทัณฑะ
พวกพราหมณ์ห้ามว่า ท่านโสณทัณฑะอย่าได้ไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม เลย ท่านโสณทัณฑะไม่ควรไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม ถ้าไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม เกียรติยศของท่านโสณทัณฑะจะเสื่อมเสีย เกียรติยศของพระสมณโคดมจะเจริญ รุ่งเรืองยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ ท่านโสณทัณฑะจึงไม่ควรไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม พระ สมณโคดมต่างหากควรจะเสด็จมาหาท่านโสณทัณฑะ เพราะว่า ท่านโสณทัณฑะ เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่ว บรรพบุรุษ๑- ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล ด้วยเหตุนี้ ท่าน โสณทัณฑะจึงไม่ควรไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม พระสมณโคดมต่างหากควรจะเสด็จ มาหาท่านโสณทัณฑะ อนึ่ง ท่านโสณทัณฑะเป็นคนมั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก ฯลฯ เป็นผู้คง แก่เรียน ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ รู้ตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และ ลักษณะมหาบุรุษ ฯลฯ เป็นผู้มีรูปงามน่าดูน่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนักดุจ พรหม มีกายดุจพรหม โอกาสที่จะได้พบเห็นยากนัก ฯลฯ เป็นผู้มีศีล มีศีลที่เจริญ ประกอบด้วยศีลที่เจริญ ฯลฯ เป็นผู้มีวาจาไพเราะสุภาพ ประกอบด้วยถ้อยคำ อ่อนหวานอย่างชาวเมือง นุ่มนวล เข้าใจง่าย ฯลฯ เป็นอาจารย์และปาจารย์ของ หมู่ชน สอนมนตร์แก่มาณพ ๓๐๐ คน เหล่ามาณพผู้ต้องการมนตร์จำนวนมาก จากทิศทางต่างชนบทพากันมาเรียนมนตร์ในสำนักของท่านโสณทัณฑะ ฯลฯ ท่าน โสณทัณฑะเป็นคนแก่คนเฒ่าเป็นผู้ใหญ่ มีชีวิตอยู่หลายรัชสมัย ล่วงกาลผ่านวัย มามาก ส่วนพระสมณโคดมเป็นคนหนุ่ม บวชแต่ยังหนุ่ม ฯลฯ ท่านโสณทัณฑะ เป็นผู้ที่พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธและพราหมณ์โปกขรสาติสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ฯลฯ ท่านโสณทัณฑะปกครองกรุงจัมปา ซึ่งมีประชากรและสัตว์เลี้ยงมากมาย มี พืชพันธุ์ธัญญาหารและน้ำหญ้าอุดมสมบูรณ์ เป็นพระราชทรัพย์ที่พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพมคธพระราชทานปูนบำเหน็จให้เป็นพรหมไทย ด้วยเหตุนี้ ท่านโสณทัณฑะ จึงไม่ควรไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม พระสมณโคดมต่างหากควรจะเสด็จมาหาท่าน โสณทัณฑะ @เชิงอรรถ : @๑ วิธีนับลำดับบรรพบุรุษแบบหนึ่ง เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ของวงศ์สกุล โดยนับจากปัจจุบันขึ้นไป ๗ ชั้น @(ที.สี.อ. ๓๐๓/๒๕๒-๒๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๑๓}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๔. โสณทัณฑสูตร]
พราหมณ์โสณทัณฑะแสดงพระพุทธคุณ
พราหมณ์โสณทัณฑะแสดงพระพุทธคุณ [๓๐๔] เมื่อพวกพราหมณ์กล่าวอย่างนี้ พราหมณ์โสณทัณฑะได้กล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกท่านโปรดฟังเราบ้าง เรานี่แหละควรไปเข้าเฝ้าท่าน พระโคดม ท่านพระโคดมไม่ควรเสด็จมาหาเรา ได้ทราบว่า พระสมณโคดมทรงเป็น ผู้มีพระชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระชนกและฝ่ายพระชนนี ทรงถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดี ตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล ด้วยเหตุ นี้ ท่านพระโคดมจึงไม่ควรเสด็จมาหาเรา เราต่างหากควรไปเข้าเฝ้าท่านพระโคดม ท่านทั้งหลาย ข่าวว่า พระสมณโคดมทรงละพระประยูรญาติผนวชแล้ว ฯลฯ ทรงสละทรัพย์สินเงินทองมากมายทั้งที่ฝังอยู่ในพื้นดินและในอากาศผนวชแล้ว ฯลฯ พระสมณโคดมกำลังหนุ่มแน่นมีพระเกศาดำสนิท ทรงพระเจริญอยู่ในปฐมวัยเสด็จ ออกจากพระราชวังไปผนวชเป็นบรรพชิต ฯลฯ เมื่อพระชนกพระชนนีไม่ทรง ปรารถนา(จะให้เสด็จออกผนวช) มีน้ำพระเนตรชุ่มพระพักตร์ทรงกันแสงอยู่ พระ สมณโคดมทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุแล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์เสด็จออกจาก พระราชวังไปผนวชเป็นบรรพชิต ฯลฯ พระสมณโคดมมีพระรูปงดงามน่าดูน่าเลื่อมใส มีพระฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนักดุจพรหม มีพระวรกายดุจพรหม โอกาสที่จะได้พบเห็น ยากนัก ฯลฯ พระสมณโคดมทรงมีอริยศีล มีศีลที่เป็นกุศล ประกอบด้วยศีลที่เป็น กุศล ฯลฯ มีพระวาจาไพเราะสุภาพ ประกอบด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน อย่างชาว เมือง นุ่มนวล เข้าใจง่าย ฯลฯ ทรงเป็นอาจารย์และปาจารย์ของหมู่ชนมากมาย ฯลฯ ทรงสิ้นกามราคะไม่ประดับตกแต่ง ฯลฯ ทรงเป็นกรรมวาที กิริยวาที ไม่ทรง มุ่งร้ายต่อพราหมณ์ ฯลฯ ผนวชแล้วจากตระกูลสูงคือขัตติยตระกูลอันบริสุทธิ์ ฯลฯ ผนวชแล้วจากตระกูลมั่งคั่งมีทรัพย์มากมีโภคะมาก ฯลฯ ประชาชนต่างบ้านต่าง เมืองพากันมาทูลถามปัญหาพระสมณโคดม ฯลฯ ทวยเทพหลายพันองค์ถวายชีวิต ขอถึงพระสมณโคดมเป็นที่พึ่ง ฯลฯ พระสมณโคดมทรงมีพระกิตติศัพท์อันงามขจร ไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็น สารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ฯลฯ พระสมณโคดมทรงประกอบด้วย ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ ฯลฯ ทรงมีปกติตรัสเชื้อเชิญ ตรัสผูกมิตรไมตรี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๑๔}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๔. โสณทัณฑสูตร]
พราหมณ์โสณทัณฑะแสดงพระพุทธคุณ
อ่อนหวาน ไม่ทรงสยิ้วพระพักตร์ ทรงเบิกบาน มักตรัสทักทายก่อน ฯลฯ ทรงเป็น ผู้ที่บริษัท ๔ ๑- สักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ฯลฯ เทวดาและมนุษย์ มากมายเลื่อมใสพระสมณโคดม ฯลฯ พวกอมนุษย์ย่อมไม่เบียดเบียนมนุษย์ในหมู่ บ้านหรือนิคมที่พระสมณโคดมทรงพำนักอยู่ ฯลฯ พระสมณโคดมทรงเป็นหัวหน้า ทรงเป็นคณาจารย์ ได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าเจ้าลัทธิอื่นๆ ไม่ ทรงรุ่งเรืองพระยศเหมือนพวกสมณพราหมณ์ที่รุ่งเรืองยศ ที่แท้ทรงรุ่งเรืองพระยศ เพราะทรงมีวิชชาและจรณะอันยอดเยี่ยม ฯลฯ พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธ พร้อมทั้งพระราชโอรส พระมเหสี ข้าราชบริพารและหมู่อำมาตย์ต่างมอบชีวิตถึงพระ สมณโคดมเป็นสรณะ ฯลฯ พระเจ้าปเสนทิโกศล พร้อมทั้งพระราชโอรส พระมเหสี ข้าราชบริพารและหมู่อำมาตย์ต่างมอบชีวิตถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ ฯลฯ พราหมณ์โปกขรสาติ พร้อมทั้งบุตร ภรรยา ข้าราชการ และหมู่อำมาตย์ต่างมอบ ชีวิตถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ พระสมณโคดมทรงเป็นผู้ที่พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพมคธทรงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ฯลฯ ทรงเป็นผู้ที่พระเจ้า ปเสนทิโกศลทรงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ฯลฯ ทรงเป็นผู้ที่พราหมณ์ โปกขรสาติสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ฯลฯ พระสมณโคดมเสด็จถึงกรุงจัมปาโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ ริมสระโบกขรณี- คัคครา ในกรุงจัมปา ท่านทั้งหลาย สมณพราหมณ์ที่มาสู่เขตหมู่บ้านของเราจัดว่า เป็นแขกของเรา ซึ่งพวกเราควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา และนอบน้อม พระ สมณโคดมเสด็จมาถึงกรุงจัมปาโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ ริมสระโบกขรณีคัคครา ในกรุงจัมปา พระสมณโคดมจึงจัดเป็นแขกของเราที่พวกเราควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา และนอบน้อม ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ พระสมณโคดมจึงไม่ควรเสด็จมาหา เรา เราต่างหากควรไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม เราทราบพระคุณของพระสมณโคดม เพียงเท่านี้ แต่พระสมณโคดมไม่ใช่ว่าจะมีพระคุณเพียงเท่านี้ แท้จริงแล้ว พระ สมณโคดมมีพระคุณนับประมาณมิได้ @เชิงอรรถ : @๑ ในที่นี้หมายถึง ผู้เข้าเฝ้าโดยทั่วไป มีอยู่ ๔ จำพวก คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัทและ @สมณบริษัท {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๑๕}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๔. โสณทัณฑสูตร]
ความคำนึงของพราหมณ์โสณทัณฑะ
[๓๐๕] เมื่อพราหมณ์โสณทัณฑะกล่าวอย่างนี้ พราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวว่า ท่านโสณทัณฑะกล่าวยกย่องพระสมณโคดมถึงเพียงนี้ ถึงหากท่านพระโคดม พระองค์นั้นจะประทับอยู่ไกลจากที่นี่ตั้ง ๑๐๐ โยชน์ ก็สมควรอยู่ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธา จะไปเข้าเฝ้า แม้จะต้องขนเสบียงไปก็ควร พราหมณ์โสณทัณฑะกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น พวกเราทั้งหมดจักไปเข้าเฝ้าพระ สมณโคดมด้วยกันความคิดคำนึงของพราหมณ์โสณทัณฑะ [๓๐๖] ต่อมา พราหมณ์โสณทัณฑะพร้อมด้วยคณะพราหมณ์หมู่ใหญ่เข้าไป ถึงสระโบกขรณีคัคครา เมื่อผ่านราวป่าไป เขาเกิดความคิดคำนึงว่า ถ้าเราจะถาม ปัญหากับพระสมณโคดม หากพระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า พราหมณ์ ปัญหาข้อนี้ ท่านไม่ควรถามอย่างนี้ ที่ถูก ควรจะถามอย่างนี้ บริษัทก็จะดูหมิ่นเราเพราะเหตุนั้น ว่า พราหมณ์โสณทัณฑะโง่เขลา ไม่อาจแยกแยะตั้งคำถามกับพระสมณโคดมได้ ผู้ ถูกบริษัทดูหมิ่นจะพึงเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศก็จะเสื่อมโภคสมบัติ เพราะมียศเราจึงมี โภคสมบัติ ถ้าพระสมณโคดมจะถามปัญหากับเรา และเราตอบไม่ถูกพระทัยของ พระสมณโคดม หากพระสมณโคดมจะตรัสอย่างนี้ว่า พราหมณ์ ปัญหาข้อนี้ท่านไม่ ควรตอบอย่างนี้ ที่ถูก ควรตอบอย่างนี้ บริษัทก็จะดูหมิ่นเราเพราะเหตุนั้นว่า พราหมณ์โสณทัณฑะโง่เขลา ไม่อาจตอบปัญหาให้ถูกพระทัยของพระสมณโคดมได้ ผู้ถูกบริษัทดูหมิ่นจะพึงเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศก็จะเสื่อมโภคสมบัติ เพราะมียศเราจึงมี โภคสมบัติ อนึ่ง เราเข้ามาใกล้ถึงเพียงนี้แล้ว ยังไม่ทันได้เฝ้าเลย แต่คิดจะกลับ บริษัทก็จะดูหมิ่นเราเพราะเหตุนั้นว่า พราหมณ์โสณทัณฑะโง่เขลา ถือตัวมาก ขลาดกลัว ไม่อาจเข้าเฝ้าพระสมณโคดมได้ เข้ามาใกล้ถึงเพียงนี้แล้ว ยังไม่ทันได้เฝ้า เลย ไฉนจึงกลับเสียเล่า ผู้ถูกบริษัทดูหมิ่นจะพึงเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศก็จะเสื่อม โภคสมบัติ เพราะมียศ เราจึงมีโภคสมบัติ [๓๐๗] ลำดับนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนากับพระผู้มีพระภาค ครั้นสนทนาพอคุ้นเคยกันดีแล้วจึงนั่งลง ณ ที่สมควร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๑๖}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๔. โสณทัณฑสูตร]
ข้อบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์
ฝ่ายพราหมณ์และคหบดีชาวกรุงจัมปา บางพวกกราบพระผู้มีพระภาค บางพวก สนทนา บางพวกไหว้ไปทางพระผู้มีพระภาค บางพวกประกาศชื่อและตระกูล บาง พวกนิ่งเฉยแล้วนั่ง ณ ที่สมควร [๓๐๘] ขณะนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะนั่งวิตกถึงแต่เรื่องนี้ว่า ถ้าเราจะถาม ปัญหากับพระสมณโคดม หากพระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า พราหมณ์ ปัญหาข้อ นี้ท่านไม่ควรถามอย่างนี้ ที่ถูก ควรจะถามอย่างนี้ บริษัทก็จะดูหมิ่นเราเพราะเหตุ นั้นว่า พราหมณ์โสณทัณฑะโง่เขลา ไม่อาจแยกแยะตั้งคำถามกับพระสมณโคดมได้ ผู้ถูกบริษัทดูหมิ่นจะพึงเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศก็จะเสื่อมโภคสมบัติ เพราะมียศเราจึงมี โภคสมบัติ ถ้าพระสมณโคดมจะถามปัญหากับเรา และเราตอบไม่ถูกพระทัยของ พระสมณโคดม หากพระสมณโคดมจะตรัสอย่างนี้ว่า พราหมณ์ ปัญหาข้อนี้ท่าน ไม่ควรตอบอย่างนี้ ที่ถูก ควรตอบอย่างนี้ บริษัทก็จะดูหมิ่นเราเพราะเหตุนั้นว่า พราหมณ์โสณทัณฑะโง่เขลา ไม่อาจตอบปัญหาให้ถูกพระทัยของพระสมณโคดมได้ ผู้ถูกบริษัทดูหมิ่นจะพึงเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศก็จะเสื่อมโภคสมบัติ เพราะมียศเราจึงมี โภคสมบัติ โอหนอ ขอให้พระสมณโคดมตรัสถามปัญหากับเราเรื่องไตรเพทอันเป็น ความรู้ของอาจารย์เรา เราจะตอบให้ถูกพระทัยของพระสมณโคดมได้ข้อบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์ [๓๐๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงของเขาด้วยพระทัย ทรงพระดำริว่า พราหมณ์โสณทัณฑะนี้กำลังอึดอัดใจ เราควรถามปัญหากับเขาใน เรื่องไตรเพทอันเป็นความรู้ของอาจารย์เขา จึงได้ตรัสถามเขาว่า พราหมณ์ พวก พราหมณ์จะเรียกผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติเท่าไรว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อเขาจะพูด ว่า เราเป็นพราหมณ์ ก็พูดได้โดยชอบ ทั้งไม่เป็นผู้พูดเท็จด้วย [๓๑๐] พราหมณ์โสณทัณฑะคิดว่า เราปรารถนา มุ่งหวัง ตั้งใจ ต้องการว่า โอหนอ ขอให้พระสมณโคดมตรัสถามปัญหากับเราในเรื่องไตรเพทอันเป็นความ รู้ของอาจารย์เรา เราจะตอบให้ถูกพระทัยของพระสมณโคดมได้ เผอิญที่พระ สมณโคดมตรัสถามปัญหากับเราในเรื่องไตรเพท อันเป็นความรู้ของอาจารย์เรา เรา จะตอบให้ถูกพระทัยของพระสมณโคดมได้แน่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๑๗}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๔. โสณทัณฑสูตร]
คุณสมบัติของผู้เป็นพราหมณ์
คุณสมบัติของผู้เป็นพราหมณ์ [๓๑๑] ทันใดนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะยืดกายขึ้นเหลียวดูบริษัทแล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม พวกพราหมณ์จะเรียกผู้ประกอบด้วย คุณสมบัติ ๕ อย่างว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อเขาจะพูดว่า เราเป็นพราหมณ์ ก็ พูดได้โดยชอบ ทั้งไม่เป็นผู้พูดเท็จด้วย คุณสมบัติ ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา ถือปฏิสนธิ บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้ เพราะอ้างถึงชาติตระกูล ๒. เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและ ไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ๑- ๓. เป็นผู้มีรูปงามน่าดูน่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนักดุจพรหม มีกายดุจพรหม โอกาสที่จะได้พบเห็นยากนัก ๔. เป็นผู้มีศีล มีศีลที่เจริญ ประกอบด้วยศีลที่เจริญ ๕. เป็นบัณฑิตมีปัญญาลำดับที่ ๑ หรือที่ ๒ ในบรรดาพราหมณ์ผู้ รับการบูชา พวกพราหมณ์จะเรียกผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ อย่างนี้แลว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อเขาจะพูดว่า เราเป็นพราหมณ์ ก็พูดได้โดยชอบ ทั้งไม่เป็นผู้พูดเท็จด้วย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ บรรดาคุณสมบัติ ๕ อย่างนี้ (หาก)เว้นเสีย ๑ อย่าง พวกพราหมณ์จะเรียกผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติเพียง ๔ อย่างว่าเป็น พราหมณ์ได้หรือไม่ และเมื่อเขาจะพูดว่า เราเป็นพราหมณ์ ก็พูดได้โดยชอบ ทั้ง ไม่เป็นผู้พูดเท็จด้วย พราหมณ์โสณทัณฑะกราบทูลว่า ได้ ท่านพระโคดม บรรดาคุณสมบัติ ๕ อย่าง เว้นผิวพรรณเสียอย่างหนึ่งก็ได้ เพราะผิวพรรณจักทำอะไรได้ บุคคลชื่อว่าเป็น พราหมณ์เพราะ @เชิงอรรถ : @๑ ดูเชิงอรรถ ๒ และ ๓ ในหน้า ๘๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๑๘}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๔. โสณทัณฑสูตร]
คุณสมบัติของผู้เป็นพราหมณ์
๑. เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา ถือปฏิสนธิ บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้ เพราะอ้างถึงชาติตระกูล ๒. เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและ ไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ ๓. เป็นผู้มีศีล มีศีลที่เจริญ ประกอบด้วยศีลที่เจริญ ๔. เป็นบัณฑิตมีปัญญาลำดับที่ ๑ หรือที่ ๒ ในบรรดาพราหมณ์ผู้ รับการบูชา พวกพราหมณ์จะเรียกผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๔ อย่างนี้แลว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อเขาจะพูดว่า เราเป็นพราหมณ์ ก็พูดได้โดยชอบ ทั้งไม่เป็นผู้พูดเท็จด้วย [๓๑๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ บรรดาคุณสมบัติ ๔ อย่างนี้ (หาก)เว้นเสีย ๑ อย่าง พวกพราหมณ์จะเรียกผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติเพียง ๓ อย่างว่าเป็นพราหมณ์ได้หรือไม่ และเมื่อเขาจะพูดว่า เราเป็นพราหมณ์ ก็พูดได้โดย ชอบ ทั้งไม่เป็นผู้พูดเท็จด้วย พราหมณ์โสณทัณฑะกราบทูลว่า ได้ ท่านพระโคดม บรรดาคุณสมบัติ ๔ อย่าง เว้นมนตร์เสียอย่างหนึ่งก็ได้ เพราะมนตร์จักทำอะไรได้ บุคคลชื่อว่าเป็น พราหมณ์เพราะ ๑. เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา ถือปฏิสนธิ บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้ เพราะอ้างถึงชาติตระกูล ๒. เป็นผู้มีศีล มีศีลที่เจริญ ประกอบด้วยศีลที่เจริญ ๓. เป็นบัณฑิตมีปัญญาลำดับที่ ๑ หรือที่ ๒ ในบรรดาพราหมณ์ผู้ รับการบูชา พวกพราหมณ์จะเรียกผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๓ อย่างนี้แลว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อเขาจะพูดว่า เราเป็นพราหมณ์ ก็พูดได้โดยชอบ ทั้งไม่เป็นผู้พูดเท็จด้วย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๑๙}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๔. โสณทัณฑสูตร]
คุณสมบัติของผู้เป็นพราหมณ์
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ บรรดาคุณสมบัติ ๓ อย่างนี้ (หาก) เว้นเสีย ๑ อย่าง พวกพราหมณ์จะเรียกผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติเพียง ๒ อย่างว่า เป็นพราหมณ์ได้หรือไม่ และเมื่อเขาจะพูดว่า เราเป็นพราหมณ์ ก็พูดได้โดยชอบ ทั้งไม่เป็นผู้พูดเท็จด้วย พราหมณ์โสณทัณฑะกราบทูลว่า ได้ ท่านพระโคดม บรรดาคุณสมบัติ ๓ อย่าง เว้นชาติกำเนิดเสียอย่างหนึ่งก็ได้ เพราะชาติกำเนิดจักทำอะไรได้ บุคคลชื่อว่า เป็นพราหมณ์เพราะ ๑. เป็นผู้มีศีล มีศีลที่เจริญ ประกอบด้วยศีลที่เจริญ ๒. เป็นบัณฑิตมีปัญญาลำดับที่ ๑ หรือที่ ๒ ในบรรดาพราหมณ์ผู้ รับการบูชา พวกพราหมณ์จะเรียกผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๒ อย่างนี้แลว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อเขาจะพูดว่า เราเป็นพราหมณ์ ก็พูดได้โดยชอบ ทั้งไม่เป็นผู้พูดเท็จด้วย [๓๑๓] เมื่อพราหมณ์โสณทัณฑะกราบทูลอย่างนี้ พวกพราหมณ์เหล่านั้น กล่าวว่า ท่านโสณทัณฑะอย่าพูดอย่างนั้นเลย ท่านโสณทัณฑะอย่าพูดอย่างนั้น เลย ท่านโสณทัณฑะลบหลู่ผิวพรรณ ลบหลู่มนตร์ ลบหลู่ชาติกำเนิด พูดคล้อย ตามวาทะของพระสมณโคดมถ่ายเดียวเท่านั้น [๓๑๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถ้าพวกท่านคิดว่า พราหมณ์ โสณทัณฑะศึกษามาน้อย พูดไม่เพราะ โง่เขลา และไม่สามารถเจรจาโต้ตอบกับพระ สมณโคดมได้ พราหมณ์โสณทัณฑะจงหยุด พวกท่านจงเจรจาโต้ตอบกับเราแทน แต่หากพวกท่านคิดว่า พราหมณ์โสณทัณฑะศึกษามามาก พูดเพราะ ฉลาด และ สามารถเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมได้ พวกท่านก็จงหยุด พราหมณ์ โสณทัณฑะจงเจรจาโต้ตอบกับเรา (ต่อไป) [๓๑๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ พราหมณ์โสณทัณฑะได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ขอท่านพระโคดมทรงหยุดทรงนิ่งเถิด ข้าพระองค์เองจักตอบ พวกเขาโดยชอบแก่เหตุ แล้วกล่าวกะพวกพราหมณ์เหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๒๐}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๔. โสณทัณฑสูตร]
เรื่องศีลและปัญญา
ทั้งหลายอย่าได้พูดอย่าได้กล่าวอย่างนี้เลยว่า ท่านโสณทัณฑะลบหลู่ผิวพรรณ ลบหลู่มนตร์ ลบหลู่ชาติกำเนิด พูดคล้อยตามวาทะของพระสมณโคดมถ่ายเดียว เท่านั้น แท้จริง เราไม่ได้ลบหลู่ผิวพรรณ มนตร์ หรือชาติกำเนิดเลย [๓๑๖] เวลานั้น อังคกมาณพผู้เป็นหลานของพราหมณ์โสณทัณฑะนั่งอยู่ใน บริษัทนั้นด้วย ทีนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะได้กล่าวกะพราหมณ์เหล่านั้นว่า ท่าน ผู้เจริญทั้งหลายเห็นอังคกมาณพหลานของเรานี้หรือไม่ เห็น ขอรับ อังคกมาณพ เป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนักดุจพรหม มีกายดุจพรหม โอกาสที่จะได้เห็นยากนัก ในที่ประชุมนี้นอกจากพระสมณโคดมแล้วไม่มีใครมี ผิวพรรณเสมอกับอังคกมาณพเลย อังคกมาณพเป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ รู้ จบไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ เราเป็นผู้ บอกมนตร์แก่เขา อังคกมาณพเป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา ถือ ปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึง ชาติตระกูล เรารู้จักบิดามารดาของเขา แต่อังคกมาณพยังฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่ เจ้าของเขาไม่ให้ ล่วงละเมิดภรรยาของผู้อื่น กล่าวเท็จ ดื่มน้ำเมา ในกรณีอย่างนี้ ผิวพรรณ มนตร์ และชาติกำเนิดจักทำอะไรได้เล่า เพราะบุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะเป็นผู้มีศีล มีศีลที่เจริญ ประกอบด้วยศีลที่เจริญ และเป็นบัณฑิต มีปัญญา ลำดับที่ ๑ หรือที่ ๒ ในบรรดาพราหมณ์ผู้รับการบูชา พวกพราหมณ์เรียกผู้ ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๒ อย่างนี้แลว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อเขาจะพูดว่า เรา เป็นพราหมณ์ ก็พูดได้โดยชอบ ทั้งไม่เป็นผู้พูดเท็จด้วยเรื่องศีลและปัญญา [๓๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ บรรดาคุณสมบัติ ๒ อย่างนี้ (หาก) เว้นเสีย ๑ อย่าง พวกพราหมณ์จะเรียกผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติเพียง อย่างเดียวว่าเป็นพราหมณ์ได้หรือไม่ และเมื่อเขาจะพูดว่า เราเป็นพราหมณ์ ก็พูด ได้โดยชอบ ทั้งไม่เป็นผู้พูดเท็จด้วย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๒๑}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๔. โสณทัณฑสูตร]
เรื่องศีลและปัญญา
พราหมณ์โสณทัณฑะกราบทูลว่า ข้อนี้ไม่ได้ ท่านพระโคดม เพราะปัญญา ต้องมีศีลช่วยชำระให้บริสุทธิ์ ศีลก็ต้องมีปัญญาช่วยชำระให้บริสุทธิ์ ปัญญาย่อมมีใน ที่ที่มีศีล ศีลย่อมมีในที่ที่มีปัญญา ปัญญาย่อมมีแก่ผู้มีศีล ศีลย่อมมีแก่ผู้มีปัญญา นักปราชญ์ยกย่องศีลและปัญญาว่า เป็นสิ่งล้ำเลิศในโลก เปรียบเหมือนบุคคลใช้มือ ล้างมือ หรือใช้เท้าล้างเท้า ฉันใด ปัญญาต้องมีศีลช่วยชำระให้บริสุทธิ์ ศีลก็ต้องมี ปัญญาช่วยชำระให้บริสุทธิ์ ปัญญาย่อมมีในที่ที่มีศีล ศีลย่อมมีในที่ที่มีปัญญา ปัญญาย่อมมีแก่ผู้มีศีล ศีลย่อมมีแก่ผู้มีปัญญา นักปราชญ์ยกย่องศีลและปัญญาว่า เป็นสิ่งล้ำเลิศในโลก ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่างนั้นแล พราหมณ์ อย่างนั้นแล พราหมณ์ ปัญญาต้องมีศีลช่วยชำระให้บริสุทธิ์ ศีลก็ต้องมีปัญญาช่วยชำระให้บริสุทธิ์ ปัญญา ย่อมมีในที่ที่มีศีล ศีลย่อมมีในที่ที่มีปัญญา ปัญญาย่อมมีแก่ผู้มีศีล ศีลย่อมมีแก่ผู้มี ปัญญา นักปราชญ์ยกย่องศีลและปัญญาว่า เป็นสิ่งล้ำเลิศในโลก เปรียบเหมือน บุคคลใช้มือล้างมือ หรือใช้เท้าล้างเท้า ฉันใด ปัญญาต้องมีศีลช่วยชำระให้บริสุทธิ์ ศีลก็ต้องมีปัญญาช่วยชำระให้บริสุทธิ์ ปัญญาย่อมมีในที่ที่มีศีล ศีลย่อมมีในที่ที่มี ปัญญา ปัญญาย่อมมีแก่ผู้มีศีล ศีลย่อมมีแก่ผู้มีปัญญา นักปราชญ์ยกย่องศีลและ ปัญญาว่า เป็นสิ่งล้ำเลิศในโลก ฉันนั้น [๓๑๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า พราหมณ์ ศีลนั้นเป็นอย่างไร ปัญญานั้นเป็นอย่างไร พราหมณ์โสณทัณฑะทูลตอบว่า ท่านพระโคดม ในเรื่องนี้พวกข้าพระองค์ มีความรู้เพียงเท่านี้ ขอประทานวโรกาส ขอท่านพระโคดมโปรดขยายความให้ชัดเจน ด้วย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดี เราจักบอก เขาทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระ อรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ ฯลฯ (พึงนำข้อความเต็มในสามัญญผลสูตรมา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๒๒}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๔. โสณทัณฑสูตร]
พราหมณ์โสณทัณฑะประกาศตนเป็นอุบาสก
ใส่ไว้ในที่นี้) ภิกษุชื่อว่าสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอย่างนี้แล ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ บรรลุทุติยฌานอยู่ บรรลุตติยฌานอยู่ บรรลุจตุตถฌานอยู่ ฯลฯ น้อมจิตไปเพื่อ ญาณทัสสนะ ฯลฯ นี้เป็นปัญญาของภิกษุนั้น ฯลฯ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์ แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป นี้เป็นปัญญาของภิกษุนั้น พราหมณ์ ปัญญานั้นเป็นอย่างนี้แล๑-พราหมณ์โสณทัณฑะประกาศตนเป็นอุบาสก [๓๑๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ พราหมณ์โสณทัณฑะได้กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระ โคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศ ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูปได้ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่าน พระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน ตลอดชีวิต ขอท่านพระโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของข้าพระองค์ ในวันพรุ่งนี้เถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยพระอาการดุษณี [๓๒๐] ทีนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับ นิมนต์แล้ว จึงได้ลุกจากอาสนะ กราบพระผู้มีพระภาคแล้วกระทำประทักษิณจากไป ครั้นผ่านคืนนั้นไป พราหมณ์โสณทัณฑะสั่งให้จัดของขบฉันอย่างประณีตไว้ ในนิเวศน์ของตน แล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาลว่า ท่านพระโคดม ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว ตอนเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและ จีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของพราหมณ์โสณทัณฑะพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ประทับนั่ง บนอาสนะที่ปูไว้ พราหมณ์โสณทัณฑะได้นำของขบฉันอันประณีตประเคนภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้อิ่มหนำด้วยตนเอง @เชิงอรรถ : @๑ ดูความเต็มในสามัญญผลสูตร ข้อ ๑๙๐-๒๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๒๓}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๔. โสณทัณฑสูตร]
พราหมณ์โสณทัณฑะประกาศตนเป็นอุบาสก
[๓๒๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จทรงวางพระหัตถ์แล้ว พราหมณ์ โสณทัณฑะจึงเลือกนั่ง ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่ ท่านพระโคดม ถ้าข้าพระองค์อยู่ในท่ามกลางบริษัทจะลุกจากที่นั่งไปกราบท่านพระ โคดม ก็จะถูกบริษัทดูหมิ่นเพราะเหตุนั้นได้ ผู้ถูกบริษัทดูหมิ่นจะเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศ จะเสื่อมโภคสมบัติ เพราะมียศข้าพระองค์จึงมีโภคสมบัติ ถ้าข้าพระองค์อยู่ใน ท่ามกลางบริษัทจะประนมมือ ขอท่านพระโคดมทรงทราบว่านั่นแทนการลุกจาก ที่นั่ง(ไปต้อนรับ) ถ้าข้าพระองค์อยู่ในท่ามกลางบริษัทจะแก้ผ้าโพกศีรษะออก ขอ ท่านพระโคดมทรงทราบว่านั่นแทนการกราบด้วยเศียรเกล้า ถ้าข้าพระองค์อยู่ใน ยานพาหนะจะลงไปกราบท่านพระโคดม บริษัทก็จะดูหมิ่นเพราะเหตุนั้นได้ ผู้ถูก บริษัทดูหมิ่นจะเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศจะเสื่อมโภคสมบัติ เพราะมียศข้าพระองค์จึงมี โภคสมบัติ ถ้าข้าพระองค์อยู่ในยานพาหนะจะยกปฏักขึ้น ขอท่านพระโคดมทรง ทราบว่านั่นแทนการลงจากยานพาหนะ(ไปต้อนรับ) ถ้าข้าพระองค์อยู่ในยานพาหนะ จะลดร่มลง ขอท่านพระโคดมทรงทราบว่านั่นแทนการกราบด้วยเศียรเกล้า [๓๒๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงชี้แจงให้พราหมณ์โสณทัณฑะเห็น ชัด ชักชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้ สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากอาสนะเสด็จจากไปโสณทัณฑสูตรที่ ๔ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๑๒๔}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๑๑-๑๒๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=9&siri=4 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=2833&Z=3477 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=178 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=9&item=178&items=21 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=4&A=6585 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=9&item=178&items=21 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=4&A=6585 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/09i178-e.php# https://suttacentral.net/dn4/en/sujato https://suttacentral.net/dn4/en/tw_rhysdavids
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]