บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด หมวดที่ ๑ [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์จำนงจะพึง ลงนิยสกรรมก็ได้ คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มี มรรยาทไม่สมควร ๑ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึง ลงนิยสกรรมก็ได้ ฯหมวดที่ ๒ [๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อ สงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมก็ได้ คือ เป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล ๑ เป็นผู้มี อาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฐิวิบัติ ในอติทิฐิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึง ลงนิยสกรรมก็ได้หมวดที่ ๓ [๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์ จำนงจะพึงลงนิยสกรรมก็ได้ คือ กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ กล่าวติเตียน พระธรรม ๑ กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงจะพึง ลงนิยสกรรมก็ได้ ฯหมวดที่ ๔ [๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อ ฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาท ไม่สมควร ๑ รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป นี้แล ฯหมวดที่ ๕ [๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฐิวิบัติ ในอติทิฐิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป นี้แล ฯหมวดที่ ๖ [๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป นี้แล ฯข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด จบ วัตร ๑๘ ข้อ ในนิยสกรรม [๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้วต้องประพฤติ โดยชอบ วิธีประพฤติโดยชอบในนิยสกรรมนั้น ดังต่อไปนี้:- ๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย ๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติไว้แล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี ๖. ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น ๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๙. ไม่พึงติกรรม ๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน ๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๑๕. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น ๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ฯวัตร ๑๘ ข้อ ในนิยสกรรม จบ วัตรที่ควรระงับและไม่ควรระงับ [๗๖] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะแล้ว คือ ให้ กลับถือนิสัยอีก เธอถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ซ่องเสพ คบหา นั่งใกล้กัลยาณมิตร ขอให้แนะนำ ไต่ถาม ได้เป็นพหูสูต ช่ำชอง ในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นลัชชี มีความรังเกียจ ใคร่ต่อ สิกขา เธอประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ เข้าไปหาภิกษุ ทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้วได้ ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ผมจะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อไป ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ฯ [๗๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นสงฆ์จง ระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะวัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด หมวดที่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ คือ ๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย ๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ นิยสกรรม ฯหมวดที่ ๒ [๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ ๑. ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น ๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๔. ติกรรม ๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ นิยสกรรม ฯหมวดที่ ๓ [๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๘ คือ ๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๖. โจทภิกษุอื่น ๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ นิยสกรรม ฯวัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด จบ ----------------------------------------------------- วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด หมวดที่ ๑ [๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ คือ ๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย ๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ นิยสกรรม ฯหมวดที่ ๒ [๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ ๑. ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมเพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น ๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๔. ไม่ติกรรม ๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับนิยสกรรม ฯหมวดที่ ๓ [๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์ ๘ คือ ๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น ๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ นิยสกรรม ฯวัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด จบ ----------------------------------------------------- วิธีระงับนิยสกรรม [๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงระงับนิยสกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุ เสยยสกะนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลีแล้วกล่าวคำขอระงับนิยสกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้:-คำขอระงับนิยสกรรม ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับนิยสกรรม พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-กรรมวาจาระงับนิยสกรรม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะรูปนี้ ถูกสงฆ์ ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับนิยสกรรม ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง ระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ นี่เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะรูปนี้ ถูกสงฆ์ ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ การ ระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า พระเสยยสกะรูปนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดย ชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ ระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ การระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า พระเสยยสกะรูปนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ การระงับนิยสกรรมแก่พระ เสยยสกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด นิยสกรรมอันสงฆ์ระงับแล้วแก่พระเสยยสกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯจบนิยสกรรม ที่ ๒ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๖ บรรทัดที่ ๖๖๓-๘๔๔ หน้าที่ ๒๙-๓๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=6&A=663&Z=844&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=6&A=663&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=6&siri=4 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=-69 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=6&A=541 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=6&A=541 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_6 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/brahmali#pli-tv-kd11:10.1.75.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/horner-brahmali#Kd.11.10.1
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]