บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ระงับอธิกรณ์ด้วยเยภุยยสิกา [๖๑๑] สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ถึงความวิวาทกัน ในท่ามกลางสงฆ์ กล่าวทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่อาจเพื่อระงับอธิกรณ์นั้นได้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วยเยภุยยสิกา พึงสมมติ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ให้จับฉลาก คือ:- ๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ ๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง ๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย ๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ ๕. รู้จักฉลากที่จับแล้วและยังไม่จับ ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-กรรมวาจาสมมติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับฉลาก นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้ เป็นผู้ให้จับฉลาก การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ให้จับฉลาก ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด ภิกษุมีชื่อนี้อันสงฆ์สมมติแล้วให้เป็นผู้ให้จับฉลาก ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯการจับฉลากไม่เป็นธรรม ๑๐ อย่าง [๖๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การจับฉลากไม่เป็นธรรม ๑๐ อย่าง เป็น ธรรม ๑๐ อย่าง เหล่านี้ การจับฉลากไม่เป็นธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไฉน คือ:- ๑. อธิกรณ์เป็นเรื่องเล็กน้อย ๒. ไม่ลุกลามไปไกล ๓. ภิกษุพวกนั้นระลึกไม่ได้เอง และพวกอื่นก็ให้ระลึกไม่ได้ ๔. รู้ว่า อธรรมวาทีมากกว่า ๕. รู้ว่า ไฉน อธรรมวาทีพึงมีมากกว่า ๖. รู้ว่า สงฆ์จักแตกกัน ๗. รู้ว่า ไฉน สงฆ์พึงแตกกัน ๘. อธรรมวาทีภิกษุจับโดยไม่เป็นธรรม ๙. อธรรมวาทีภิกษุจับเป็นพวกๆ ๑๐. ไม่จับตามความเห็น การจับฉลากไม่เป็นธรรม ๑๐ อย่าง เหล่านี้ ฯการจับฉลากเป็นธรรม ๑๐ อย่าง [๖๑๓] การจับฉลากเป็นธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไฉน คือ:- ๑. อธิกรณ์ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๒. ลุกลามไปไกล ๓. ภิกษุพวกนั้นระลึกได้ และพวกอื่นก็ให้ระลึกได้ ๔. รู้ว่า ธรรมวาทีมากกว่า ๕. รู้ว่า ไฉนธรรมวาทีพึงมีมากกว่า ๖. รู้ว่า สงฆ์จักไม่แตกกัน ๗. รู้ว่า ไฉนสงฆ์ไม่พึงแตกกัน ๘. ธรรมวาทีภิกษุจับโดยธรรม ๙. ธรรมวาทีภิกษุพร้อมเพรียงกันจับ ๑๐. จับตามความเห็น การจับฉลากเป็นธรรม ๑๐ อย่าง เหล่านี้ ฯเนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๖ บรรทัดที่ ๘๓๘๑-๘๔๓๐ หน้าที่ ๓๕๔-๓๕๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=6&A=8381&Z=8430&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=6&A=8381&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=6&siri=51 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=-611 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=6&A=6607 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=6&A=6607 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_6 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/brahmali#pli-tv-kd14:9.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/horner-brahmali#Kd.14.9
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]