ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
เมตตาเจโตวิมุติอันภิกษุนั้นเจริญแล้วอย่างนี้ กรรมใดเป็นกามาพจรที่ภิกษุทำแล้ว กรรมนั้นจักไม่
เหลืออยู่ไม่คงอยู่ในกรรมเป็นรูปาวจรนั้น ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษเป่าสังข์ผู้มีกำลังพึงให้
คนรู้ได้ตลอดทิศทั้งสี่โดยไม่ยาก ฉันใด เมื่อเมตตาเจโตวิมุติที่ภิกษุนั้นเจริญแล้วอย่างนี้ ก็ฉันนั้น
กรรมใดเป็นกามาพจรที่ภิกษุทำแล้ว กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมเป็นรูปาวจรนั้น
แม้ข้อนี้ก็เป็นทางเพื่อความเป็นสหายของพรหม ดูกรมาณพ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบ
ด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจประกอบด้วยอุเบกขา ... แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศ
ที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไป
ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบ
ด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ เมื่อ
อุเบกขาเจโตวิมุติอันภิกษุนั้นเจริญแล้วอย่างนี้ กรรมใดเป็นกามาวจรที่ภิกษุทำแล้ว กรรมนั้นจัก
ไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมเป็นรูปาวจรนั้น ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษเป่าสังข์ผู้มีกำลัง
พึงให้คนรู้ได้ตลอดทิศทั้งสี่โดยไม่ยาก ฉันใด เมื่ออุเบกขาเจโตวิมุติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้
ก็ฉันนั้น กรรมใดเป็นกามาวจรที่ภิกษุทำแล้ว กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมเป็น
รูปาวจรนั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นทางเพื่อความเป็นสหายของพรหม.
	[๗๓๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพโตเทยยบุตรได้กราบทูลพระผู้มี-
*พระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายเปรียบเหมือนหงาย
ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุ
จักเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็น
สรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไป ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอทูลลาไป ณ บัดนี้ ข้าพระองค์มีกิจมาก มี
กรณียะมาก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ ท่านจงสำคัญเวลาอันควร ณ บัดนี้เถิด.
ครั้งนั้นแล สุภมาณพโตเทยยบุตรเพลิดเพลินพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล้วลุกออกจาก
อาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้วกลับไป.
	[๗๓๒] สมัยนั้น ชาณุโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถี โดยรถอันเทียมด้วย
ม้าขาวทั้งหมด แต่ยังวัน ได้เห็นสุภมาณพโตเทยยบุตรกำลังมาแต่ไกล แล้วได้ถามสุภมาณพ
โตเทยยบุตรว่า ท่านภารทวาชะไปไหนมาแต่วัน. สุภมาณพโตเทยยบุตรตอบว่า ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าจากสำนักพระสมณโคดมมาที่นี่.
	ชา. ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านภารทวาชะเห็นจะเป็นบัณฑิต รู้พระปัญญา
อันเฉียบแหลมของพระสมณโคดม?
	สุ. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใคร และเป็นอะไรเล่า จึงจักรู้เท่าพระปัญญาอันเฉียบแหลม
ของพระสมณโคดม ผู้ใดพึงรู้เท่าพระปัญญาอันเฉียบแหลมของพระสมณโคดม แม้ผู้นั้นก็พึงเป็น
เช่นพระสมณโคดมเป็นแน่.
	ชา. เพิ่งได้ฟัง ท่านภารทวาชะสรรเสริญพระสมณโคดมด้วยการสรรเสริญอย่างยิ่ง.
	สุ. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใคร เป็นอะไรเล่า จึงจักสรรเสริญพระสมณโคดม ท่าน
พระโคดมอันเทวดาและมนุษย์สรรเสริญแล้วๆ ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อนึ่ง
ธรรม ๕ ประการนี้ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ เพื่อทำบุญ เพื่อยินดีกุศล พระสมณโคดมตรัสว่า
เป็นบริขารแห่งจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน.
	[๗๓๓] เมื่อสุภมาณพโตเทยยบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ชาณุโสณีพราหมณ์ลงจากรถอัน
เทียมด้วยม้าขาวทั้งหมด แล้วห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง น้อมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับ
แล้วเปล่งอุทานว่า เป็นลาภของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้ดีแล้วหนอ
ที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับในแว่นแคว้นของพระองค์ ฉะนี้แล.
จบ สุภสูตร ที่ ๙.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๑๑๕๐๔-๑๑๕๔๗ หน้าที่ ๕๐๑-๕๐๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=11504&Z=11547&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=13&A=11504&w=ุต&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=49              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=709              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=13&A=13289#730top              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=7993              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=13&A=13289#730top              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=7993              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_13              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i709-e1.php# https://suttacentral.net/mn99/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]