ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ ปริวาร
ว่าด้วยให้เข้าใจ
[๑๑๐๘] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่าให้เข้าใจในสถานะควรให้เข้าใจ? ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่าอธรรม ชื่อว่าให้เข้าใจในสถานะควรให้เข้าใจ ภิกษุแสดงธรรมว่าธรรม ชื่อว่าให้เข้าใจในสถานะควรให้เข้าใจ ... ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าให้เข้าใจในสถานะควรให้เข้าใจ ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าให้เข้าใจในสถานะควรให้ เข้าใจ อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าให้เข้าใจในสถานะควรให้เข้าใจฯ
ว่าด้วยพินิจ
[๑๑๐๙] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่าย่อมพินิจในสถานะควรพินิจ? ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่าอธรรม ชื่อว่าย่อมพินิจในสถานะควรพินิจ ภิกษุแสดงธรรมว่าธรรม ชื่อว่าย่อมพินิจในสถานะควรพินิจ ... ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าย่อมพินิจในสถานะควรพินิจ ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าย่อมพินิจในสถานะควรพินิจ อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าย่อมพินิจในสถานะควรพินิจ.
ว่าด้วยเพ่งเล็ง
[๑๑๑๐] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่าย่อมเพ็งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง? ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่าอธรรม ชื่อว่าย่อมเพ่งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง. ภิกษุแสดงธรรมว่าธรรม ชื่อว่าย่อมเพ่งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง ... ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าย่อมเพ่งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าย่อมเพ่งเล็งในสถานะควร เพ่งเล็ง อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าย่อมเพ่งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง.
ว่าด้วยความเลื่อมใส
[๑๑๑๑] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่าเลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส? ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่าอธรรม ชื่อว่าย่อมเลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส ภิกษุแสดงธรรมว่าธรรม ชื่อว่าย่อมเลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส ... ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าย่อมเลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าย่อมเลื่อมใสในสถานะควร เลื่อมใส อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าย่อมเลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส.
ว่าด้วยดูหมิ่นพรรคพวกอื่น
[๑๑๑๒] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่าย่อมดูหมิ่นพรรคพวกอื่นด้วยเข้าใจว่า เราได้พรรค- *พวกแล้ว? ตอบว่า ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้พรรคพวก ได้บริวาร มีพรรคพวก มีญาติ คิดว่า ผู้นี้ไม่ได้พรรคพวก ไม่ได้บริวาร ไม่มีพรรคพวก ไม่มีญาติ จึงดูหมิ่นภิกษุนั้น ย่อมแสดงอธรรมว่า ธรรม แสดงธรรมว่า อธรรม ... แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าดูหมิ่นพรรคพวกอื่น ด้วยเข้าใจว่า เราได้พรรคพวกแล้ว.
ว่าด้วยดูหมิ่นภิกษุมีสุตะน้อย
[๑๑๑๓] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่าดูหมิ่นท่านผู้มีสุตะน้อยด้วยเข้าใจว่าเรามีสุตะมาก? ตอบว่า ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะ ดูหมิ่นภิกษุนั้นว่า ท่านผู้นี้มีสุตะน้อย มีอาคมน้อย ทรงจำไว้ได้น้อย ย่อมแสดงอธรรมว่า ธรรม แสดงธรรมว่า อธรรม ... แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ ชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าดูหมิ่นภิกษุมีสุตะน้อย ด้วยเข้าใจว่า เรามีสุตะมาก.
ว่าด้วยดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่า
[๑๑๑๔] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่า ด้วยเข้าใจว่าเราเป็นผู้แก่กว่า ตอบว่า ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นเถระ รู้ราตรีบวชนาน ดูหมิ่นภิกษุนั้นว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้อ่อนกว่า ไม่มีชื่อเสียง มีสุตะน้อย ไม่รู้นิพพานอันปัจจัยอะไรทำไม่ได้ ถ้อยคำ ของผู้นี้จักทำอะไรไม่ได้ ย่อมแสดงอธรรมว่า ธรรม แสดงธรรมว่า อธรรม ... แสดงอาบัติ ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยเข้าใจว่า เราเป็นผู้แก่กว่า.
ว่าด้วยไม่พูดเรื่องที่ยังไม่มาถึง
[๑๑๑๕] คำว่า ไม่พูดเรื่องที่ยังไม่มาถึง นั้น คือ ไม่เก็บเอาคำพูดที่ไม่เข้าประเด็น คำว่า ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วตกหล่น จากธรรม จากวินัย นั้น คือ สงฆ์ประชุมกัน เพื่อประโยชน์อันใด ไม่พึงยังประโยชน์อันนั้นให้บกพร่องจากธรรม จากวินัย.
ว่าด้วยธรรมวินัยสัตถุศาสน์
[๑๑๑๖] คำว่า ด้วยธรรมใด คือด้วยเรื่องจริง. คำว่า ด้วยวินัยใด คือ โจทก์แล้วให้จำเลยให้การ. คำว่า ด้วยสัตถุศาสน์ใด คือ ด้วยญัตติสัมปทา ด้วยอนุสาวนสัมปทา.
ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
พากย์ว่า อธิกรณ์นั้นย่อมระงับด้วยธรรมใด ด้วยวินัยใด ด้วยสัตถุศาสน์ใด พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับด้วยอย่างนั้น มีใจความว่า อันภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงถามโจทก์ว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงดปวารณาแก่ภิกษุรูปนี้นั้น ท่านงดเพราะเรื่องอะไร? ท่านงดเพราะศีลวิบัติ งดเพราะอาจารวิบัติ งดเพราะทิฏฐิวิบัติ หรือ? ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า งดเพราะศีลวิบัติ งดเพราะอาจารวิบัติ หรือว่างดเพราะทิฏฐิ วิบัติ ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ท่านรู้ศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรือ? ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้ศีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ทิฏฐิวิบัติ ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ก็ศีลวิบัติเป็นอย่างไร? อาจาร- *วิบัติเป็นอย่างไร? ทิฏฐิวิบัติเป็นอย่างไร? ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ นี้เป็นศีลวิบัติ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต นี้เป็นอาจารวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ อันตคาหิกทิฏฐิ นี้เป็นทิฏฐิวิบัติ. ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงดปวารณา แก่ภิกษุ รูปนี้นั้น ท่านงดเพราะเรื่องที่ได้เห็น งดเพราะเรื่องที่ได้ยินได้ฟัง งดเพราะเรื่องที่รังเกียจ หรือ? ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า งดเพราะเรื่องที่ได้เห็น งดเพราะเรื่องที่ได้ยินได้ฟัง หรือว่า งดเพราะเรื่องที่รังเกียจ. ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงดปวารณาแก่ภิกษุรูปนี้ เพราะเรื่องที่ได้เห็นนั้น ท่านเห็นเรื่องอะไร? เห็นว่าอย่างไร? เห็นเมื่อไร? เห็นที่ไหน? ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ ต้องอาบัติปาราชิก หรือ ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิตหรือ? อนึ่ง ท่านอยู่ที่ไหน? และภิกษุรูปนี้อยู่ที่ไหน? ท่านทำอะไรอยู่? ภิกษุรูปนี้ทำอะไรอยู่? ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ได้งดปวารณา แก่ภิกษุรูปนี้ เพราะเรื่อง ที่ได้เห็น ก็แต่ว่า ข้าพเจ้างดปวารณา เพราะเรื่องที่ได้ยินได้ฟัง. ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงดปวารณา แก่ภิกษุ รูปนี้ เพราะเรื่องที่ได้ยินได้ฟังนั้น ท่านได้ยินได้ฟังอะไร? ได้ยินได้ฟังว่าอย่างไร? ได้ยินได้ฟัง เมื่อไร? ได้ยินได้ฟังที่ไหน? ท่านได้ยินได้ฟังว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านได้ยิน ได้ฟังว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือ? ท่านได้ยินได้ฟังต่อภิกษุ หรือ ได้ยินได้ฟังต่อภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา ราชมหาอำมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ หรือ? ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ได้งดปวารณา แก่ภิกษุรูปนี้ เพราะเรื่องที่ ได้ยินได้ฟัง ก็แต่ว่า ข้าพเจ้างดปวารณา เพราะเรื่องที่รังเกียจ. ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงดปวารณาแก่ภิกษุรูปนี้ เพราะเรื่องที่รังเกียจนั้น ท่านรังเกียจอะไร? รังเกียจว่าอย่างไร? รังเกียจเมื่อไร? รังเกียจที่ ไหน? ท่านรังเกียจว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือ ท่านรังเกียจว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือ? ท่านได้ยินได้ฟังต่อ ภิกษุแล้วรังเกียจ หรือท่านได้ยินได้ฟังต่อภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา รานมหาอำมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ จึงรังเกียจ หรือ?

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๙๙๔๓-๑๐๐๔๒ หน้าที่ ๓๘๑-๓๘๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=9943&Z=10042&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=8&A=9943&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=102              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1108              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=8&A=8445              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=8&A=8445              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr15/en/brahmali#pli-tv-pvr15:22.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr15/en/horner-brahmali#Prv.15.1.5

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]