ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย มหาวรรค

หน้าที่ ๕๐-๕๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

                                                                 ทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์

เมื่อเวลาล่วงไป ๖ ปี เหล่าเทวดาได้ประกาศว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เวลาล่วงไป ๖ ปีแล้ว บัดนี้ถึงเวลาแล้ว พวกท่านพึงเข้าไปยังกรุงพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์’ ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น บางพวกเดินทางไปด้วยฤทธิ์ ด้วยอานุภาพของตน บางพวกเดินทางไปด้วยฤทธิ์ ด้วยอานุภาพของเทวดา เพียงวันเดียวเท่านั้น พากัน เข้าไปยังกรุงพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์
ทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์
[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงแสดงปาติโมกข์๑- ในที่ประชุมสงฆ์ ที่กรุงพันธุมดีราชธานีนั้นดังนี้ ‘ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นบรมธรรม ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ การไม่ทำบาป๒- ทั้งปวง การทำกุศล๓- ให้ถึงพร้อม การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ปาติโมกข์ ในที่นี้มิได้หมายถึงอาณาปาติโมกข์ (ประมวลพุทธบัญญัติที่ทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา ได้แก่ @อาทิพรหมจริยกสิกขา ที่มีพระพุทธานุญาตให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน) แต่หมายถึงโอวาทปาติโมกข์ @ซึ่งประกอบด้วยคาถา ๓ คาถามี ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา เป็นต้น ที่พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ทรงแสดงเอง @(ที.ม.อ. ๙๐/๗๖, วิ.อ. ๑/๑๙/๑๙๐-๑๙๒) @ บาป หมายถึงกรรมที่มีโทษซึ่งสหรคตด้วยอกุศลจิต ๑๒ ดวง (ที.ม.ฏีกา ๙๐/๙๒) @ กุศล หมายถึงกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๔ (ที.ม.อ. ๙๐/๗๖, ที.ม.ฏีกา ๙๐/๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๕๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

                                                                 คำกราบทูลของเทวดา

การไม่กล่าวร้ายผู้อื่น การไม่เบียดเบียนผู้อื่น ความสำรวมในปาติโมกข์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร การอยู่ในเสนาสนะที่สงัด การประกอบความเพียรในอธิจิต นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย’๑-
คำกราบทูลของเทวดา
[๙๑] ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ควงต้นราชสาละ ป่าสุภควัน กรุงอุกกัฏฐะ ขณะที่เรานั้นหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้มีความรำพึงอย่างนี้ว่า ‘เทวโลก ชั้นสุทธาวาสที่เราไม่เคยอยู่มาเลยตลอดกาลนานนี้ ไม่ใช่ใครๆ จะเข้าถึงได้โดยง่าย ยกเว้นเหล่าเทพชั้นสุทธาวาส ทางที่ดี เราควรไปหาเหล่าเทพชั้นสุทธาวาส’ จึงได้ หายไปจากควงต้นราชสาละนั้นไปปรากฏในเหล่าเทพชั้นอวิหาอย่างรวดเร็ว เหมือนบุรุษ ผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ในหมู่เทพนั้น มีเทวดามากมาย จำนวนหลายร้อย หลายพัน เข้ามาหาเรา อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นับจากกัปนี้ถอยหลังไป ๙๑ กัป พระวิปัสสีพุทธเจ้าได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก มีพระชาติ เป็นกษัตริย์ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในตระกูลกษัตริย์ มีพระโคตรว่าโกณฑัญญะ มีพระ ชนมายุประมาณ ๘๐,๐๐๐ ปี ตรัสรู้ที่ควงต้นแคฝอย ทรงมีคู่พระอัครสาวก เป็นคู่ ที่เจริญ ได้แก่พระขัณฑะและพระติสสะ มีการประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ มีภิกษุ ๑๖๘,๐๐๐ รูป ครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๘๐,๐๐๐ รูป พระสาวกที่เข้าประชุมทั้ง ๓ ครั้ง ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ มีภิกษุ อโสกะเป็นอุปัฏฐาก เป็นอัครอุปัฏฐาก มีพระเจ้าพันธุมาเป็นพระบิดา พระนาง @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.ธ. ๒๕/๑๘๓-๑๘๕/๔๙-๕๐, ขุ.อุ. ๒๕/๓๖/๑๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๕๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๕๐-๕๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=10&page=50&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=10&A=1451 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=10&A=1451#p50 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 10 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_10 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu10 https://84000.org/tipitaka/english/?index_10



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๐-๕๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]