ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๓๓๓-๓๔๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส

๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส๑-
ว่าด้วยการสดุดีธรรมเป็นเหตุให้ถึงฝั่ง
[๙๓] (พระธรรมสังคาหกาจารย์เมื่อจะสรรเสริญพระธรรมเทศนานี้ จึงได้ กล่าวไว้ดังนี้ว่า) พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถานี้แล้ว เมื่อประทับอยู่ ณ ปาสาณกเจดีย์ แคว้นมคธ ได้ทรงรับอาราธนากราบทูลหลายครั้งจากพราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็น ศิษย์ใกล้ชิด ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว คำว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถานี้แล้ว ได้แก่ ได้ตรัสปารายนวรรคนี้แล้ว คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถา นี้แล้ว คำว่า เมื่อประทับอยู่ ... แคว้นมคธ ได้แก่ ในชนบทที่ชื่อว่ามคธ คำว่า เมื่อประทับอยู่ ได้แก่ เมื่อประทับอยู่ คือ ทรงเคลื่อนไหว ทรงเป็นไป ทรงเลี้ยงพระชนมชีพ ทรงดำเนินไป ทรงยังพระชนมชีพให้ดำเนินไป คำว่า ณ ปาสาณกเจดีย์ ได้แก่ พุทธอาสน์ตรัสเรียกว่า ปาสาณกเจดีย์ รวมความว่า เมื่อประทับอยู่ ณ ปาสาณกเจดีย์ แคว้นมคธ คำว่า จากพราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิด ได้แก่ ปิงคิยพราหมณ์ เป็นที่ปรารถนา ประพฤติถูกใจ เป็นคนรับใช้ของพราหมณ์พาวรี อธิบายว่า พราหมณ์ เหล่านั้นมี ๑๖ คน รวมทั้งปิงคิยมาณพ รวมความว่า จากพราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิด อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง พราหมณ์ ๑๖ คนเหล่านั้น พึงเป็นที่ปรารถนา ประพฤติถูกพระทัย เป็นปริจาริกาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าได้ รวมความว่า จากพราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิด อย่างนี้บ้าง @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๑๑๓๑-๑๑๓๗/๕๕๐-๕๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๓๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส

คำว่า ได้ทรงรับอาราธนา ในคำว่า ได้ทรงรับอาราธนากราบทูลหลายครั้ง ...ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว ได้แก่ ได้ทรงรับอาราธนา คือ รับอัญเชิญแล้ว คำว่า กราบทูลหลายครั้ง ได้แก่ กราบทูลหลายครั้ง คือ ทูลถามแล้วถามอีก ทูลขอแล้วขออีก ทูลอัญเชิญแล้วอัญเชิญอีก ทูลให้ทรงประกาศแล้วประกาศอีก คำว่า ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว อธิบายว่า ได้ทรงพยากรณ์แล้ว คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศปัญหาแล้ว รวมความว่า ได้ทรงรับอาราธนากราบทูลหลายครั้ง...ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวไว้ดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถานี้แล้ว เมื่อประทับอยู่ ณ ปาสาณกเจดีย์ แคว้นมคธ ได้ทรงรับอาราธนากราบทูลหลาย ครั้งจากพราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิด ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว” [๙๔] ถ้าแม้บุคคลรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแห่งปัญหาแต่ละปัญหาแล้ว ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม ก็จะพึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน เพราะธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น ธรรมบรรยายนี้ จึงชื่อว่าปารายนะ คำว่า ถ้าแม้ ... แห่งปัญหาแต่ละปัญหา อธิบายว่า ถ้าแม้... แห่งปัญหาของ ท่านอชิตะแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านปุณณกะแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านเมตตคูแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านโธตกะแต่ละ ปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านอุปสีวะแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหา ของท่านนันทกะแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านเหมกะแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านโตเทยยะแต่ละปัญหา ถ้าแม้ ... แห่งปัญหาของท่าน กัปปะแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านชตุกัณณิแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านภัทราวุธแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านอุทัยแต่ละ ปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านโปสาละแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของ ท่านโมฆราชแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านปิงคิยะแต่ละปัญหา รวม ความว่า ถ้าแม้ ... แห่งปัญหาแต่ละปัญหา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๓๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส

คำว่า รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม อธิบายว่า ปัญหานั้นนั่นแหละ เป็นธรรม การวิสัชนา เป็นอรรถ บุคคลรู้ คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งอรรถแล้ว รวมความว่า รู้ทั่วถึงอรรถ คำว่า รู้ทั่วถึงธรรม ได้แก่ รู้ คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งธรรมแล้ว รวมความว่า รู้ทั่วถึงธรรม คำว่า ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม อธิบายว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ การ ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม รวมความว่า ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม คำว่า ก็จะพึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน อธิบายว่า อมตนิพพาน ตรัสเรียกว่า ฝั่งแห่งชราและมรณะ ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่ สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่ เย็นสนิท คำว่า ก็จะพึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน อธิบายว่า พึงถึงฝั่ง คือ บรรลุฝั่ง ถูกต้องฝั่ง ทำให้แจ้งฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน รวมความว่า ก็จะ พึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน คำว่า ธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง อธิบายว่า ธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง คือ ให้บรรลุฝั่ง ให้บรรลุถึงฝั่ง ให้ตามบรรลุถึงฝั่ง ย่อมเป็นไปเพื่อข้ามชราและมรณะ รวมความว่า ธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง คำว่า เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น ในคำว่า เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น ธรรมบรรยายนี้ อธิบายว่า เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น รวมความว่า เพราะเหตุดังกล่าว มานี้นั้น คำว่า ธรรมบรรยายนี้ ได้แก่ ปารายนวรรคนี้ รวมความว่า เพราะเหตุดัง กล่าวมานี้นั้น ธรรมบรรยายนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๓๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส

คำว่า จึงชื่อว่า ปารายนะ อธิบายว่า อมตนิพพานเรียกว่า ฝั่งแห่งชรา และมรณะ ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่ สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท มรรคเรียกว่า อายนะ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า จึงชื่อว่า ได้แก่ เป็นชื่อ เป็นการนับ การขนานนาม บัญญัติ ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า จึงชื่อว่าปารายนะ เพราะเหตุนั้น พระธรรม- สังคาหกาจารย์จึงกล่าวไว้ดังนี้ว่า ถ้าแม้บุคคลรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแห่งปัญหาแต่ละปัญหาแล้ว ปฏิบัติ ธรรมถูกต้องตามหลักธรรม ก็จะพึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน เพราะ ธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น ธรรมบรรยายนี้ จึงชื่อว่า ปารายนะ [๙๕] (๑) อชิตะ (๒) ติสสเมตเตยยะ (๓) ปุณณกะ (๔) เมตตคู (๕) โธตกะ (๖) อุปสีวะ (๗) นันทะ (๘) เหมกะ (๑) [๙๖] (๙) โตเทยยะ (๑๐) กัปปะ (๑๑) ชตุกัณณิ ผู้เป็นบัณฑิต (๑๒) ภัทราวุธ (๑๓) อุทัย (๑๔) โปสาละ (๑๕) โมฆราช ผู้มีปัญญา (๑๖) ปิงคิยะ ผู้เป็นมหาฤๅษี (๒) [๙๗] พราหมณ์ ๑๖ คนนี้ พากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยจรณะ ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เมื่อจะทูลถามปัญหาที่ลุ่มลึก จึงเข้าไปใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ (๓) คำว่า นี้ ในคำว่า พราหมณ์ ๑๖ คนนี้ พากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้แก่ พราหมณ์ผู้ดำเนินไปสู่ฝั่งทั้ง ๑๖ คน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๓๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส

ว่าด้วยความหมายแห่งพุทธะ
คำว่า พระพุทธเจ้า ได้แก่ พระผู้มีพระภาค เป็นพระสยัมภู ไม่มีครูอาจารย์ ได้ตรัสรู้สัจจะในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน ด้วยพระองค์เอง ทรงบรรลุความเป็น พระสัพพัญญูในสัจจะนั้น และความเป็นผู้ทรงชำนาญในพละทั้งหลาย๑- คำว่า พระพุทธเจ้า อธิบายว่า ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้สัจจะทั้งหลายแล้ว ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงทำหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้ ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นพระสัพพัญญู ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้เห็นธรรมทั้งปวง ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้รู้ธรรมที่ควรรู้ ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้เบิกบาน ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นพระขีณาสพ ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ปราศจากอุปกิเลส ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ปราศจากโทสะโดยสิ้นเชิง ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ปราศจากโมหะโดยสิ้นเชิง ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะเสด็จถึงทางสายเอก ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณลำพังพระองค์เดียว ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ขจัดความไม่รู้ได้แล้ว เพราะทรงเป็นผู้ได้ เฉพาะความรู้ @เชิงอรรถ : @ พละทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงพละ ๑๐ หรือตถาคตพลญาณ ๑๐ คือพระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต @(ขุ.ม.อ. ๑๙๒/๔๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๓๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส

พระนามว่า พระพุทธเจ้า นี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง มิใช่ พระภาดาทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรและอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติและ ผู้ร่วมสายโลหิตทรงตั้ง เหล่าสมณพราหมณ์มิได้ตั้ง เหล่าเทวดามิได้ตั้ง คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม เป็นสัจฉิกาบัญญัติ ของพระผู้มี- พระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย เกิดขึ้นพร้อมกับการทรงได้เฉพาะพระสัพพัญญุตญาณที่ โคนต้นโพธิ์ รวมความว่า พระพุทธเจ้า คำว่า พราหมณ์ ๑๖ คนนี้ พากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า อธิบายว่า พราหมณ์เหล่านี้ มาเข้าเฝ้า คือ เข้าไปเฝ้า เข้าไปนั่งใกล้ ทูลถามแล้ว ทูลสอบถาม พระพุทธเจ้าแล้ว คำว่า ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยจรณะ ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อธิบายว่า ความสำเร็จแห่งศีลและอาจาระ เรียกว่า จรณะ สีลสังวร อินทรีย์สังวร ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ความ เป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ สัทธรรม ๗ ๑- ฌาน ๔ ชื่อว่าจรณะ คำว่า ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยจรณะ ได้แก่ ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยจรณะ คือ มีจรณะประเสริฐสุด มีจรณะวิเศษสุด มีจรณะชั้นแนวหน้า มีจรณะสูงสุด มีจรณะ ยอดเยี่ยม รวมความว่า ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยจรณะ คำว่า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อธิบายว่า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระผู้มีพระภาค ทรงแสวงหา คือ ค้นหา เสาะหาสีลขันธ์ใหญ่ จึงชื่อว่าผู้ทรงแสวง หาคุณอันยิ่งใหญ่ ฯลฯ อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค อันเหล่าสัตว์ผู้มเหศักดิ์ แสวงหา ค้นหา เสาะหาว่า “พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ไหน พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ไหน พระ ผู้ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพประทับอยู่ที่ไหน พระผู้ทรงองอาจกว่านรชนประทับอยู่ ที่ไหน” จึงชื่อว่าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ รวมความว่า ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วย จรณะ ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ @เชิงอรรถ : @ สัทธรรม ๗ ได้แก่ (๑) สัทธา (๒) หิริ (๓) โอตตัปปะ (๔) พหูสูต (๕) อารัทธวิริยะ (๖) สติ (๗) ปัญญา @(ม.อุ. ๑๔/๙๒/๗๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๓๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส

คำว่า เมื่อจะทูลถาม ในคำว่า เมื่อจะทูลถามปัญหาที่ลุ่มลึก อธิบายว่า เมื่อทูลถาม คือ ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศ คำว่า ปัญหาที่ลุ่มลึก ได้แก่ ปัญหาอันลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก ละเอียด ประณีต เข้าถึงไม่ได้ด้วยตรรกะ(ตรึก) ลุ่มลึก บัณฑิตเท่านั้นที่พึงรู้ได้ รวมความว่า ปัญหาที่ลุ่มลึก คำว่า จึงเข้าไปใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ อธิบายว่า คำว่า พระพุทธเจ้า ได้แก่ พระผู้มีพระภาค ฯลฯ คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑- คำว่า ผู้ประเสริฐ ได้แก่ ผู้เลิศ ผู้ประเสริฐ คือ วิเศษสุด หัวหน้า สูงสุด ยอดเยี่ยม รวมความว่า พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ คำว่า จึงเข้าไปใกล้ ได้แก่ จึงมาเข้าเฝ้า คือ เข้าเฝ้า เข้าไปนั่งใกล้ ทูลถาม ทูลสอบถาม รวมความว่า จึงเข้าไปใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวไว้ดังนี้ว่า พราหมณ์ ๑๖ คนนี้ พากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยจรณะ ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เมื่อจะทูลถามปัญหาที่ลุ่มลึก จึงเข้าไปใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ [๙๘] (พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวว่า) พระพุทธเจ้า (อันพราหมณ์เหล่านั้น) ทูลสอบถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์แก่พราหมณ์เหล่านั้นตามความเป็นจริง พระพุทธมุนีทรงทำให้พราหมณ์ทั้งหลายพอใจ ด้วยการทรงพยากรณ์ปัญหาทั้งหลาย (๔) @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๓๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส

คำว่า เหล่านั้น ในคำว่า พระพุทธเจ้า ... ทรงพยากรณ์แก่พราหมณ์ เหล่านั้น ได้แก่ พราหมณ์ผู้ดำเนินไปสู่ฝั่ง ๑๖ คน คำว่า พระพุทธเจ้า ได้แก่ พระผู้มีพระภาค ฯลฯ คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ คำว่า ทรงพยากรณ์แล้ว อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศแก่พราหมณ์เหล่านั้น รวมความว่า พระพุทธเจ้า ... ทรงพยากรณ์แก่พราหมณ์เหล่านั้น คำว่า ทูลสอบถามปัญหาแล้ว ในคำว่า ทูลสอบถามปัญหาแล้ว... ตามความ เป็นจริง อธิบายว่า ทูลสอบถาม คือ ทูลถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศ ปัญหาแล้ว คำว่า ตามความเป็นจริง อธิบายว่า ควรตรัสบอกอย่างไร ก็ตรัสบอก อย่างนั้น ควรแสดงอย่างไร ก็ทรงแสดงอย่างนั้น ควรบัญญัติอย่างไร ก็ทรง บัญญัติอย่างนั้น ควรกำหนดอย่างไร ก็ทรงกำหนดอย่างนั้น ควรเปิดเผยอย่างไร ก็ ทรงเปิดเผยอย่างนั้น ควรจำแนกอย่างไร ก็ทรงจำแนกอย่างนั้น ควรทำให้ง่าย อย่างไร ก็ทรงทำให้ง่ายอย่างนั้น ควรประกาศอย่างไร ก็ทรงประกาศอย่างนั้น รวมความว่า ทูลสอบถามปัญหาแล้ว ... ตามความเป็นจริง คำว่า ด้วยการทรงพยากรณ์ปัญหาทั้งหลาย อธิบายว่า ด้วยการทรง พยากรณ์ คือ ด้วยการบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศปัญหาทั้งหลาย รวมความว่า ด้วยการพยากรณ์ปัญหาทั้งหลาย คำว่า ทรงทำให้... พอใจ ในคำว่า พระพุทธมุนีทรงทำให้พราหมณ์พอใจ ได้แก่ ทรงทำให้พอใจ คือ ทำให้ดีใจ ให้เลื่อมใส ให้ยินดี ให้ปลื้มใจ คำว่า พราหมณ์ ได้แก่ เหล่าพราหมณ์ผู้ดำเนินไปสู่ฝั่ง ๑๖ คน คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยา ที่รู้ชัด ฯลฯ พระองค์ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี รวมความว่า พระพุทธมุนีทรงทำให้พราหมณ์ทั้งหลายพอใจ ด้วยเหตุนั้น พระธรรม สังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๔๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส

พระพุทธเจ้า (อันพราหมณ์เหล่านั้น) ทูลสอบถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์แก่พราหมณ์เหล่านั้นตามความเป็นจริง พระพุทธมุนีทรงทำให้พราหมณ์ทั้งหลายพอใจ ด้วยการทรงพยากรณ์ปัญหาทั้งหลาย [๙๙] (พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวว่า) พราหมณ์เหล่านั้น อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ ทรงเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ทำให้พอใจแล้ว ได้ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาอันประเสริฐ (๕) คำว่า เหล่านั้น ในคำว่า พราหมณ์เหล่านั้น อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ ... ทำให้พอใจแล้ว ได้แก่ พราหมณ์ผู้ดำเนินไปสู่ฝั่ง ๑๖ คน คำว่า ทำให้พอใจแล้ว ได้แก่ ทำให้พอใจ คือ ให้ดีใจ ให้เลื่อมใส ให้ยินดี ให้ปลื้มใจแล้ว รวมความว่า พราหมณ์เหล่านั้นอันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ ... ทำให้ พอใจแล้ว
ว่าด้วยพระจักษุ ๕ ชนิด
คำว่า ผู้มีพระจักษุ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค ชื่อว่ามีพระจักษุด้วยจักษุ ๕ ชนิด คือ ๑. มีพระจักษุด้วยมังสจักขุบ้าง ๒. มีพระจักษุด้วยทิพพจักขุบ้าง ๓. มีพระจักษุด้วยปัญญาจักขุบ้าง ๔. มีพระจักษุด้วยพุทธจักขุบ้าง ๕. มีพระจักษุด้วยสมันตจักขุบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๔๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส

พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุด้วยมังสจักขุ เป็นอย่างไร คือ ฯลฯ พระผู้มีพระภาค ชื่อว่ามีพระจักษุด้วยสมันตจักขุ เป็นอย่างนี้๑- รวมความว่า พราหมณ์เหล่านั้น อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ ... ทำให้พอใจแล้ว คำว่า พระพุทธเจ้า ในคำว่า อันพระพุทธเจ้า ... ทรงเป็นเผ่าพันธุ์แห่ง พระอาทิตย์ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค ฯลฯ คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็น สัจฉิกาบัญญัติ คำว่า ทรงเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ อธิบายว่า พระสุริยะตรัสเรียกว่า พระ อาทิตย์ พระสุริยะ ชื่อว่าเป็นพระโคดมโดยพระโคตร แม้พระผู้มีพระภาค ก็ทรงเป็น พระโคดมโดยพระโคตร พระผู้มีพระภาคจึงปรากฏโดยโคตรพระอาทิตย์ คือทรงเป็น เผ่าพันธุ์โดยโคตรพระอาทิตย์ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าทรงเป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์ รวมความว่า อันพระพุทธเจ้า...ทรงเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ คำว่า ได้ประพฤติพรหมจรรย์ อธิบายว่า การงด งดเว้น เว้นขาด เจตนา งดเว้น การงดเว้น กิริยาที่ไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ละเมิด การไม่ก้าวล่วงแดนแห่ง การเข้าถึงอสัทธรรม การทำลายกิเลสด้วยอริยมรรค เรียกว่า พรหมจรรย์ อนึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมา- กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็เรียกว่า พรหมจรรย์ โดยสิ้นเชิง คำว่า ได้ประพฤติพรหมจรรย์ ได้แก่ ประพฤติ คือ ได้ประพฤติ สมาทาน ประพฤติพรหมจรรย์ รวมความว่า ได้ประพฤติพรหมจรรย์ คำว่า ในสำนักพระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาอันประเสริฐ ได้แก่ พระพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาอันประเสริฐ คือ มีพระปัญญาอันเลิศ มีปัญญาประเสริฐสุด มีพระปัญญาวิเศษสุด มีพระปัญญาชั้นแนวหน้า มีพระปัญญาสูงสุด มีพระปัญญา ยอดเยี่ยม คำว่า ในสำนัก ได้แก่ ในสำนัก คือ ในที่ใกล้ ใกล้เคียง ไม่ไกล ใกล้ชิด รวมความว่า ในสำนักพระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาอันประเสริฐ ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๘๕/๒๙๙-๓๐๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๔๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส

พราหมณ์เหล่านั้น อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ ทรงเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ทำให้พอใจแล้ว ได้ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาอันประเสริฐ [๑๐๐] (พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวว่า) การพยากรณ์ปัญหาแต่ละปัญหา ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการใด ผู้ใดปฏิบัติตามโดยประการนั้น ผู้นั้นพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ (๖) คำว่า ปัญหาแต่ละปัญหา อธิบายว่า ปัญหาของท่านอชิตะ แต่ละปัญหา ปัญหาของท่านติสสเมตเตยยะ แต่ละปัญหา ฯลฯ ปัญหาของท่านปิงคิยะ แต่ละ ปัญหา รวมความว่า ปัญหาแต่ละปัญหา คำว่า พระพุทธเจ้า ในคำว่า ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการใด ได้แก่ พระผู้มีพระภาค ฯลฯ คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑- คำว่า ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการใด อธิบายว่า ที่พระพุทธ- เจ้าทรงบอกแล้ว คือ ทรงแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว กำหนดแล้ว เปิดเผยแล้ว จำแนกแล้ว ทำให้ง่ายแล้ว ประกาศแล้วโดยประการใด รวมความว่า ที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้วโดยประการใด คำว่า ผู้ใดปฏิบัติตามโดยประการนั้น อธิบายว่า พึงปฏิบัติข้อปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ การ ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม รวมความว่า ผู้ใดปฏิบัติตามโดยประการนั้น คำว่า พึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ อธิบายว่า อมตนิพพาน คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท เรียกว่า ฝั่ง @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๔๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส

กิเลส ขันธ์ และอภิสังขารเรียกว่า ที่มิใช่ฝั่ง คำว่า พึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ อธิบายว่า พึงถึงฝั่ง คือ บรรลุฝั่ง ถูก ต้องฝั่ง ทำให้แจ้งฝั่ง จากที่มิใช่ฝั่งได้ รวมความว่า พึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ ด้วย เหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า การพยากรณ์ปัญหาแต่ละปัญหา ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการใด ผู้ใดปฏิบัติตามโดยประการนั้น ผู้นั้นพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ [๑๐๑] (พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวว่า) บุคคลเมื่อเจริญมรรคอันสูงสุด จะพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ (เพราะ) มรรคนั้น (เป็นไป)เพื่อให้ถึงฝั่ง เพราะฉะนั้น มรรคนั้น จึงชื่อว่าปารายนะ (๗) คำว่า จะพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ อธิบายว่า กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร เรียกว่า ที่มิใช่ฝั่ง อมตนิพพาน คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท เรียกว่า ฝั่ง คำว่า จะพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ อธิบายว่า พึงถึงฝั่ง คือ บรรลุฝั่ง ถูกต้องฝั่ง ทำให้แจ้งฝั่ง จากที่มิใช่ฝั่งได้ รวมความว่า จะพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ คำว่า มรรค ในคำว่า เมื่อเจริญมรรคอันสูงสุด ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ๑- เรียกว่า มรรค คำว่า อันสูงสุด ได้แก่ เลิศ คือ ประเสริฐ วิเศษสุด ชั้นแนวหน้า สูงสุด ยอดเยี่ยม รวมความว่า มรรคอันสูงสุด @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๙๙/๓๔๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๔๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส

คำว่า เมื่อเจริญ ได้แก่ เมื่อเจริญ คือ เมื่อเสพคุ้น ทำให้มาก รวมความว่า เมื่อเจริญมรรคอันสูงสุด คำว่า (เพราะ) มรรคนั้น(เป็นไป)เพื่อให้ถึงฝั่ง ได้แก่ มรรค ปันถะ ปถะ ปัชชะ อัญชสะ วฏุมายนะ นาวา อุตตรเสตุ กุลละ ภิสิ และสังกมะ คำว่า (เป็นไป)เพื่อให้ถึงฝั่ง ได้แก่ (เป็นไป) เพื่อให้ถึงฝั่ง คือ เพื่อบรรลุ ถึงฝั่ง เพื่อตามบรรลุให้ถึงฝั่ง เพื่อข้ามชราและมรณะ รวมความว่า (เพราะ)มรรคนั้น (เป็นไป)เพื่อให้ถึงฝั่ง คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น มรรคนั้นจึงชื่อว่าปารายนะ อธิบายว่า เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น ได้แก่ อมตนิพพาน อันเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็น ที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท เรียกว่า ฝั่ง มรรค เรียกว่า อายนะ คำว่า ว่า เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า ว่า นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลัง เข้าด้วยกัน รวมความว่า เพราะฉะนั้น มรรคนั้นจึงชื่อว่าปารายนะ ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า บุคคลเมื่อเจริญมรรคอันสูงสุด จะพึงจากที่มิใช่ฝั่งถึงฝั่งได้ (เพราะ)มรรคนั้น(เป็นไป)เพื่อให้ถึงฝั่ง เพราะฉะนั้น มรรคนั้น จึงชื่อว่าปารายนะ
ปารายนัตถุติคาถานิทเทสที่ ๑๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๔๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๓๓๓-๓๔๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=333&pages=13&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=9614 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=9614#p333 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๓๓-๓๔๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]