ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๑. วัตถุคาถา

[๔๓] (อชิตมาณพทูลถามปัญหาทางใจว่า) ขอพระองค์ตรัสระบุให้แน่ชัด ถึงชาติ โคตร พร้อมด้วยลักษณะ ขอโปรดตรัสบอกความสำเร็จในมนตร์ทั้งหลายว่า พราหมณ์สอนมาณพเท่าไร [๔๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) พราหมณ์นั้นมีอายุ ๑๒๐ ปี ชื่อพาวรีโดยโคตร มีลักษณะ๑- ๓ อย่างอยู่ในตัว เป็นผู้เรียนจบไตรเพท๒- [๔๕] พราหมณ์นั้นถึงความสำเร็จ ในลักษณะมนตร์๓- และประวัติศาสตร์๔- พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์๕- และเกฏุภศาสตร์๖- ชื่อว่าถึงความสำเร็จในหลักธรรมของตน กล่าวสอนมนตร์แก่ศิษย์ ๕๐๐ คน [๔๖] (อชิตมาณพทูลถามว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่านรชน ผู้ตัดตัณหาเสียได้ ขอพระองค์โปรดประกาศความเด่นชัด แห่งลักษณะของพราหมณ์พาวรี อย่าให้พวกข้าพระองค์มีความสงสัยเลย @เชิงอรรถ : @ ลักษณะ หมายถึงมหาปุริสลักษณะ (ขุ.สุ.อ. ๒/๑๐๒๖-๑๐๒๗/๔๓๒) @ ไตรเพท หมายถึงคัมภีร์ ๓ คัมภีร์ คือฤคเวท (อิรุเวท) ยชุรเวท และสามเวท (ส่วนอาถรรพเวท @ปรากฏภายหลังจากการปรากฏของพระสูตรนี้ @ มนตร์ ในคัมภีร์พระเวท หมายถึงบทสวดสรรเสริญเทพเจ้า ซึ่งรวบรวมเป็นหมวดๆ เรียกชื่อว่า ฤคเวท @ยชุรเวท สามเวท และอาถรรพเวท @ ประวัติศาสตร์ คือพงศาวดารเล่าเรื่องเก่าๆ มักจะมีคำว่า สิ่งนี้ได้เป็นมาอย่างนี้ @ นิฆัณฑุศาสตร์ คัมภีร์ประเภทศัพท์มูลวิทยา (Etymology) คลังศัพท์ (Lexicon) หรืออภิธานศัพท์ @(Glossary) ที่รวบรวมคำศัพท์ในพระเวทซึ่งเป็นคำยาก หรือคำที่เลิกใช้แล้ว นำมาอธิบายความหมาย @เป็นส่วนหนึ่งของนิรุกติ ซึ่งเป็น ๑ ในเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า @นิฆัณฏุ (ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๒, ขุ.จู.อ. ๑๕/๑๔) @ เกฎุภศาสตร์ คัมภีร์ว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมแก่การประกอบพิธีกรรมต่างๆ เป็นส่วน @หนึ่งของกัลปะซึ่งเป็น ๑ ในเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า ไกฏภ @(ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๒, ขุ.จู.อ. ๑๕/๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=8&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=200 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=200#p8 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]