ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

หน้าที่ ๓๘๘-๓๘๙.


                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์]

                                                                 ๑. สุตตันตภาชนีย์

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ให้ดอกไม้ ให้ ผลไม้ ให้เครื่องสนาน ให้ไม้ชำระฟัน การพูดยกย่องเพราะต้องการประจบให้เขารัก การพูดทีเล่นทีจริงเหมือนแกงถั่ว การรับเลี้ยงเด็ก การรับใช้ส่งข่าวสาร หรือด้วย มิจฉาอาชีวะอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ นี้เรียกว่า อนาจาระ อาจาระ เป็นไฉน ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา ทั้งทางกายและวาจา นี้เรียกว่า อาจาระ ศีลสังวรแม้ทั้งหมดก็เรียกว่า อาจาระ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ให้ดอกไม้ ให้ ผลไม้ ให้เครื่องสนาน ให้ไม้ชำระฟัน การพูดยกย่องเพราะต้องการประจบให้เขารัก การพูดทีเล่นทีจริงเหมือนแกงถั่ว การรับเลี้ยงเด็ก การรับใช้ส่งข่าวสาร หรือด้วย มิจฉาอาชีวะอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ นี้เรียกว่า อาจาระ [๕๑๔] คำว่า โคจร อธิบายว่า โคจรก็มี อโคจรก็มี ใน ๒ อย่างนั้น อโคจร เป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร มีหญิงหม้ายเป็นโคจร มีสาวเทื้อเป็นโคจร มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร มีภิกษุณีเป็นโคจร หรือมีร้านสุราเป็น โคจร เป็นผู้อยู่คลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวก เดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร หรือเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ตระกูล ที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไม่เป็นดุจบ่อน้ำ มักด่าและบริภาษ ๑- ปรารถนาแต่สิ่งที่ มิใช่ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่ผาสุก ไม่ปรารถนา ความหลุดพ้นจากโยคะแก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกาเช่นนั้น นี้เรียกว่า อโคจร๒- โคจร เป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีหญิง หม้ายเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีสาวเทื้อเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร ไม่เป็น ผู้มีภิกษุณีเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีร้านสุราเป็นโคจร ไม่อยู่คลุกคลีกับพระราชา @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ.อ. ๑๙๙/๑๑๔ @ ขุ.ม. ๒๙/๑๙๖/๔๐๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๘๘}

                                                                 พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์]

                                                                 ๑. สุตตันตภาชนีย์

มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ที่ไม่สมควร หรือเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ตระกูลที่มีศรัทธาเลื่อมใสเป็นดุจบ่อน้ำ รุ่ง เรืองไปด้วยผ้ากาสาวะ๑- อบอวลไปด้วยกลิ่นของฤษี ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นความผาสุก ปรารถนาแต่ความหลุด พ้นจากโยคะแก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกาเช่นนั้น นี้เรียกว่า โคจร ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยอาจาระนี้และด้วยโคจรนี้ ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร๒- [๕๑๕] ในคำว่า เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย อธิบายว่า ในคำว่า เห็น ภัยในโทษมีประมาณน้อย นั้น โทษมีประมาณน้อย เป็นไฉน โทษอย่างต่ำ อย่างเบา ที่สมมติกันว่าโทษเบา ที่จะพึงทำด้วยความสำรวม ระวัง และด้วยจิตตุปบาทที่เนื่องด้วยมนสิการ เหล่านี้เรียกว่า โทษมีประมาณน้อย ภิกษุเป็นผู้เห็นโทษ ภัย ความชั่วร้าย และเห็นการสลัดออกในโทษที่มีประมาณ น้อยเหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย ด้วยประการฉะนี้ [๕๑๖] ในคำว่า สมาทานศึกษาในสิกขาทั้งหลาย นั้น สิกขา เป็นไฉน สิกขา ๔ คือ ๑. สิกขาของภิกษุ เรียกว่า ภิกขุสิกขา ๒. สิกขาของภิกษุณี เรียกว่า ภิกขุนีสิกขา ๓. สิกขาของอุบาสก เรียกว่า อุปาสกสิกขา ๔. สิกขาของอุบาสิกา เรียกว่า อุปาสิกาสิกขา เหล่านี้เรียกว่า สิกขา ภิกษุสมาทานในสิกขาเหล่านี้ทั้งหมดด้วยการสมาทานทุกอย่าง ไม่ให้มีส่วนเหลือ ประพฤติอยู่ในสิกขาเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สมาทานศึกษา ในสิกขาทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ คำว่า “ผ้ากาสาวะ” ได้แก่ ผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาดมีน้ำแก่นขนุนเป็นต้น @ ขุ.ม. ๒๙/๑๙๖/๔๐๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๘๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๓๘๘-๓๘๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=35&page=388&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=10970 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=10970#p388 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๘๘-๓๘๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]