![]() |
|||||
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |||||
![]() | |||||
![]() | |||||
|
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๓๕๕.
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]
๒๗๓. พาลกโลณกคมนกถา
ความมุ่งร้ายกันย่อมระงับ เพราะการปฏิบัติของชนเหล่านั้น พวกคนที่บั่นกระดูก ฆ่า ลักทรัพย์ คือ โคและม้า ถึงจะช่วงชิงแว่นแคว้นกันก็ยังกลับมาคบหากันได้อีก ไฉนพวกเธอจึงคบหากันไม่ได้เล่า ถ้าบุคคลพึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี๑- เป็นปราชญ์ ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนพระราชาทรงละทิ้งแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว ประพฤติอยู่พระองค์เดียว และเหมือนช้างมาตังคะทิ้งโขลงอยู่ตัวเดียวในป่า ฉะนั้น การเที่ยวไปคนเดียวประเสริฐกว่า เพราะคุณเครื่องความเป็นสหายไม่มีในคนพาล บุคคลนั้นพึงเที่ยวไปคนเดียวและไม่ทำบาป เหมือนช้างมาตังคะมีความขวนขวายน้อยอยู่ตัวเดียวในป่า ฉะนั้น๒๗๓. พาลกโลณกคมนกถา ว่าด้วยการเสด็จไปพาลกโลณกคาม เรื่องท่านพระภคุอยู่ ณ พาลกโลณกคาม [๔๖๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ท่ามกลางสงฆ์นั่นแหละ ตรัสพระ คาถาเหล่านี้แล้วเสด็จไปทางพาลกโลณกคาม @เชิงอรรถ : @๑ สาธุวิหารี หมายถึงผู้เพียบพร้อมด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยนิโรธสมาบัติ (ขุ.จู. ๓๐/๑๓๒/๒๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๕๕}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๓๕๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=5&page=355&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=5&A=9485 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=5&A=9485#p355 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 5 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_5 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5 https://84000.org/tipitaka/english/?index_5
จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๕๕.
![]() | ![]() ![]() |
บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]